Logistics Corner

ฉบับที่ 481

Follow Us :     เพิ่มเพื่อน  

CEO ARTICLE

“ล่างขึ้นบน”

เมินไทย!

Alibaba เตรียมตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่มาเลเซีย

ดันขึ้นเป็นฮับหรือศูนย์กลางของภูมิภาคนี้

https://brandinside.asia/alibaba-logistics-hub-malaysia/ เว๊บไซค์ดังกล่าวได้ตีห้วข้อข่าวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2560 ซึ่งเป็นข่าวช๊อคคนทำอาชีพ Logistics ยิ่งนัก

ทำไมจะไม่ช๊อค !!! หากจะว่าไปแล้ว ประเทศไทยมีตำแหน่งที่ตั้งได้เปรียบกว่ามาเลเซียและประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคนี้มาก

ตำแหน่งที่ตั้งนี้ ทำให้ไทยมีความเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กลางทางการค้า (International Trading) ศูนย์กลางโลจิสติกส์ (Logistics) ทั้งมวล

หลาย ๆ รัฐบาลที่ผ่านมาก็พูดกันแบบนี้ มีแนวคิดและทฤษฏีก็เป็นแบบนี้ ในทางปฏิบัติก็คล้าย ๆ จะเป็นแบบนี้เช่นกัน แต่หัวข้อข่าวของ Alibaba ข้างต้น กลับทำลายความฝันอย่างสิ้นเชิง

ข่าวจากหลายสำนักให้ข้อมูลคล้าย ๆ กันว่า แจ๊คม่าได้ทำการทดลองขนสินค้าประเภทเครื่องสำอางและอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือจากประเทศจีนเข้ามาถ่ายลำที่สนามบินสุวรรณาภูมิเพื่อส่งต่อไปยังยุโรปและอเมริกา

พอมาถึงสุวรรณภูมิกลับทำพิธีการศุลกากรไม่ได้

ข่าวให้เหตุผลว่า มันเป็นเพราะระเบียบกฎหมายของกรมศุลกากรเป็นอุปสรรคในการถ่ายลำผ่านแดนใน “เขตปลอดอากร” (Customs Free Zone)

สินค้าถ่ายลำต้องทำพิธีการเหมือนสินค้านำเข้าหรือส่งออก เมื่อสินค้าเป็นของต้องกำกัดที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบพิธีการนำเข้าและส่งออก สินค้าถ่ายลำก็ต้องมีใบอนุญาตตามไปด้วยทั้ง ๆ ที่สินค้านั้นไม่ได้เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

รายงานข่าวบอกว่า ประเทศมาเลเซียใช้วิธีดูประเทศปลายทาง หากสินค้าไม่ใช่สินค้าต้องกำกัดที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าในประเทศปลายทาง หรือใช่ แต่ผู้นำเข้าในประเทศปลายทางมีใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ทางการมาเลเซียก็ปล่อยให้ถ่ายลำไปได้ทันที

โลกสมัยใหม่ เทคโนโลยีทันสมัย เขาใช้ E-Commerce กันแล้ว

ในวงการ Logistics เขาทำบัญชีเรือ บัญชีเครื่องบินเพื่อการขนส่ง หรือการควบคุมสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าและส่งออก แล้วก็ใช้ระบบ NSW (National Single Window) ที่ทุกอย่างบรรจุใส่หน้าต่างเดียวกันตั้งแต่แรกเริ่มแล้วก็สามารถดูร่วมกันทั่วโลกได้แล้ว

วันนี้ กลายเป็นว่า กฎระเบียบของไทยเป็นอุปสรรคต่อการทำสินค้าถ่ายลำจนทำให้ลูกค้าอย่าง Alibaba หนีไป

เมื่อรู้ปัญหาก็น่าจะแก้ไขได้ นี่เป็นสมมติฐานของการบริหารการจัดการแบบง่าย ๆ

แล้วข่าวก็ออกมาเรื่อย ๆ ว่า การแก้ไขปัญหากำลังทำอยู่ แต่จนบัดนี้ การแก้ไขปัญหาอาจเสร็จแล้ว หรืออาจยังไม่เสร็จโดยไม่มีการประกาศความชัดเจนให้เห็น

วันนี้ หากใครมีสินค้าที่ต้องกำกัดมาถ่ายลำหรือผ่านแดนที่ไทยเพื่อไปยังประเทศที่ 3 โดยไม่มีใบอนุญาตดังกล่าว สินค้าก็ต้องถูกกัก ถูกอายัต และอาจเป็นเหตุเกิดต้นทุน Logistics ที่สูงขึ้น

แล้วก็ไม่แน่ว่า สินค้าถ่ายลำอาจถูกยึดไปเลยก็ได้

ทั้งหมดนี้จึงเป็นการขัดต่อการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้าและ Logistics อย่างสิ้นเชิง

หากจะถามว่า ความผิดพลาดหรือลักษณะที่ขัดต่อกฎระเบียบ แต่ทำให้การพัฒนาความเป็นศูนย์กลางทางการค้าและ Logistics ของไทยแบบนี้ มีใครต้องรู้ก่อนเป็นระดับต้น ๆ

คำตอบก็คือ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องนั่นล่ะ

หลายปีที่ผ่านมา ข้าราชการไทยมักยึดโยงระบบราชการมากเกินไป ยึดกฎหมาย ระเบียบมากเกินไป จนไม่มีระบบเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงให้แก้ไขกฎระเบียบ

ทั้ง ๆ ที่ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานย่อมรู้ดีกว่าผู้ใด

เมื่อไม่มีการเสนอแก้ไขกฎระเบียบ ราชการจึงมักรอเอกชนให้ร้องเรียนขึ้นมาก่อน เอกชนเสนอก่อน หรือไม่ก็ต้องรอประชุมร่วมกันกับเอกชนก่อน

นี่ละ อุปสรรคต่อการเป็นศูนย์กลางของไทยอย่างแท้จริง

วันนี้ ประเทศไทยจะลองใช้วิธีการบริหารจากล่างขึ้นบนบ้าง ไม่แน่ว่า การเปลี่ยนแปลงก็อาจเกิดขึ้นได้ง่าย

วันนี้ หากมีการประกาศว่า การเสนอปรับปรุงระบบงานหรือวิธีการทำงานให้ถือเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่เกี่ยวข้อง

ขอย้ำว่า ให้ถือเป็นหน้าที่

ผู้ใดรู้แต่ไม่เสนอ หรือพึงรู้แต่ไม่เสนอจากล่างขึ้นสู่บน ให้ถือเป็นความผิดทางวินัย ส่วนการลงโทษก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายและดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาต่อไป

หากข้าราชการผู้ปฏิบัติงานผู้ซึ่งเห็น ผู้ซึ่งรู้ดี แล้วรีบเสนอ ระบบราชการก็ย่อมได้รับการพัฒนาด้วยข้าราชการด้วยกันเอง

หากเป็นแบบนี้ได้ ไทยก็ย่อมวิ่งนำหน้าชาติอื่นอย่างแน่นอน

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

ปล. บทความที่ส่งกันในโลกโซเซียล

“ทำไม.? อาลีบาบาจึงหนีไทยไปลงทุนตั้งศูนย์การขนส่งและกระจายสินค้าของโลกในระบบ E Commerce ในมาเลเซีย เป็นข่าวช๊อคโลก..เพราะไทยมีปัจจัยได้เปรียบมาเลเซียทุกด้าน

    1.           ไทยเป็นศูนย์กลางของ กลุ่ม GMS & ASEAN และอยู่ใกล้เคียงกับจีน
    1.      ความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมไทยจีนคล้ายคลึงใกล้ชิดกันมากที่สุด
    1.      จีนไทยจะเปิดเส้นทางรถไฟ เชื่อมต่อใกล้ชิดมากกว่า
    1.      ไทยขยายสนามบินสุวรรณภูมิอีกเท่าตัว และมีที่ดินแปลงกว่า 4,000.-ไร่ ใกล้สนามบิน เชื่อม ถ.บางนา-ตราดและถ.มอเตอร์เวย์ ใกล้ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง
    1.      ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของโลกย่านเอเชียมากกว่ามาเลเซีย

ปัจจัยทั้ง 5 ข้อ จึงควรตัดสินใจเลือกไทย  แต่มีข้อสรุปของ World Bank ในการสำรวจความพึงพอใจของนักลงทุนในไทย ว่า ปี 2010 ไทยอันดับ 12 มาเลเซีย อันดับ 23

ปี 2017 ไทยอันดับ 56 มาเลเซีย อันดับ 23 ไทยตกอันดับเกือบ 5 เท่า

อาลีบาบาก็ยังพอทนรับการพัฒนาได้ แต่เมื่อแจ๊คม่าเริ่มทดลองขนสินค้าประเภทเครื่องสำอางและอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือจากจีนเข้ามาถ่ายลำเปลี่ยนเครื่องบินไปยุโรปและอเมริกา กลับกระทำที่สนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้ เพราะระเบียบกฎหมายของกรมศุลกากรเป็นอุปสรรคในการถ่ายลำผ่านแดนใน “เขตปลอดอากร” (Customs Free Zone) เพราะสินค้าถ่ายลำจะต้องปฏิบัติพิธีการตรวจสอบเหมือนสินค้านำเข้าเพื่อส่งออก ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้ข้อห้ามข้อจำกัดของกฎหมายภายในมากมาย สินค้าถ่ายลำนี้จึงไม่ได้รับความสะดวกในการขนส่ง และห้ามถ่ายลำผ่านแดน

แจ็คม่าจำเป็นต้องสละไทยไปพึ่งมาเลเซียทันทีเพราะศุลกากรมาเซียดูเอกสารการขนส่ง(Airway bill) และให้ขนสินค้าถ่ายลำไปยังเครื่องบินอื่นได้ทันที โดยไม่มีปัญหาอุปสรรคใด ๆ ตามเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างประเทศ

นี่คือวิสัยทัศน์โลกใหม่ของข้าราชการและนักการเมือง ยุค DIGITAL ECONOMY or E – COMMERCE”

The Logistics

มาทำความรู้จักระบบขนส่งพื้นฐานของ BRICS กันเถอะ (Brazil ตอนที่ 2)

 

– ระบบการคมนาคมขนส่งทางถนน

ระบบขนส่งทางถนนของบราซิลครอบคลุมถนนประมาณ 2 ล้านกิโลเมตรทั่วประเทศ (เป็นลำดับที่ 4 ของโลก)แต่มีทางหลวง (Highway) ที่ปรับปรุงแล้วเสร็จประมาณ 200,000 กิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของถนนทั้งหมด(ร้อยละ 90 ยังไม่ได้รับการปรับปรุง) ทางหลวงที่มีความสำคัญมากที่สุดของประเทศ คือ สาย BR-116 และ BR-101 ตามลำดับ โดยที่สาย BR-116 นั้นจะเป็นเส้นที่วิ่งจากทางเหนือ-ใต้ของประเทศ (ทางเหนือสุดที่เมืองFortaleza, Cearáทางใต้สุดที่เมือง Jaguarão, Rio Grande do Sul) เป็นถนนที่มีความสำคัญมากที่สุดและเป็นถนนที่มีความยาวเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ (ประมาณ 4,610.21 km) ทางหลวง สายนี้ผ่านเมือง Fortaleza, Salgueiro, Feira de Santana, Vitória da Conquista, Teófilo Otoni, Governador Valadares, Rio de Janeiro, Volta Redonda, São José dos Campos, São Paulo, Curitiba, Lages, Canoas, Porto Alegre

ปริมาณยานพาหนะบนท้องถนนของบราซิลมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ ตามสถิติของกรมขนส่งทางบก (BrazilianTrafficDepartment) ปริมาณยานพาหนะมีดังนี้ (1) รถยนต์ ส่วนบุคคล 49 ล้านคัน (2) รถบรรทุก2.6 ล้านคัน (3) รถบรรทุกปิคอัพ 6.5 ล้านคัน (4) รถบรรทุก เทเลอร์ 5 แสนคัน (5) รถบัส 5-6 แสนคัน และ (6)รถมอเตอร์ไซด์ 19 ล้านคันโดยถนนบราซิลที่ยังไม่ได้มาตรฐานมีมากถึงร้อยละ 69 ประกอบกับระยะทางจากรัฐต่อรัฐมีความไกลพอสมควร ประชาชนจึงนิยมเดินทางโดยเครื่องบิน ทั้งนี้ ถนนในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือยังต้องได้รับการปรับปรุงอีกมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร อาทิ ถนนในภาคเหนือ (รัฐ Amazonasและ Pará)สามารถใช้งานได้เพียง 6 เดือนต่อปี โดยในฤดูฝนจะเกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิเช่น น้ำท่วม ถนนขาด (เกิดขึ้นระหว่าง ต.ค. – มี.ค.) โดยทั่วไปแล้วการขนส่งควรใช้เวลาเพียง 5 วัน แต่เมื่อเกิดปัญหาช่วงฤดูฝน รถบรรทุกจะใช้เวลาถึง 18 วัน ในการขนส่ง

ทางหลวงเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในบราซิล แต่เนื่องจากมีต้นทุนและความเสี่ยงสูง อาทิ สินค้าสูญหายหรือเสียหายระหว่างการขนส่ง แต่กระนั้นก็มีการใช้เส้นทางถนนในการขนส่งสินค้าทางไกล เพราะยังมีเส้นทางเดินรถไฟไม่เพียงพอและการขนส่งชายฝั่งทะเลยังมีน้อย (เนื่องจากฎระเบียบที่ซับซ้อน)ในปี 2012 รัฐบาลได้มีการลงทุนสร้างระบบ การขนส่งสินค้าใหม่ที่เรียกว่า Programa de Investimentos em Logística มีมูลค่าการลงทุน 1.33 แสนล้านเรอัล (ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท) โดยจะใช้งบประมาณ 7.9 หมื่นล้านเรอัล (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ในช่วง 5 ปีแรก นอกจากนี้จะมีการปรับปรุงทางหลวงเดิมซึ่งมีความยาว5,700กิโลเมตรมูลค่า 4.2 หมื่นล้านเรอัล (ประมาณ 5.3 แสนล้านบาท) ซึ่งขณะนี้ทางหลวงสายสำคัญ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดงบประมาณในการซ่อมแซมในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

คราวหน้าพบกับระบบขนส่งทางรถไฟกันต่อนะคะ

ที่มา: International Institute for Trade and Development (ITD) www.itd.or.th