Logistics Corner

ฉบับที่ 484

Follow Us :     เพิ่มเพื่อน  

CEO ARTICLE

ชิปปิ้ง 4.0

ชิปปิ้งคืออะไร ???

ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา คำว่า ‘ ชิปปิ้ง’ เป็นที่กล่าวขวัญกันมาก พอรัฐบาลมีนโยบาย ‘ไทยแลนด์ 4.0’ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน คนที่เกี่ยวข้องกับชิปปิ้งไม่ว่าภาพบวกหรือภาพลบก็พาลคิดถึง ‘ชิปปิ้ง 4.0’ ขึ้นมาบ้าง

ในไทยแลนด์ 4.0 ประชาชนต้องมีความเข้าใจตรงกัน รวมพลังร่วมกัน และเดินในทิศทางเดียวกันเพื่อนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ ระบบงาน การบริหาร และการจัดการ ดังนั้น หากมีใครกล่าวถึง ‘ชิปปิ้ง 4.0’ อย่างน้อยคนในแวดวงการค้าระหว่างประเทศ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และ International Logistics ก็ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกันให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นจะเดินไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างไร

เอาง่าย ๆ แค่ความหมายของชิปปิ้งก่อน ชิปปิ้งคืออะไร ???

ในประเทศไทย เชื่อว่ามีคนเข้าใจความหมายอย่างถูกต้องอยู่กลุ่มหนึ่ง แต่ไม่มาก อีกกลุ่มหนึ่งก็รู้ว่าชิปปิ้งคือตัวแทนผู้ทำผ่านพิธีการศุลกากรให้แก่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กลุ่มนี้อาจมีมากหน่อย

ส่วนกลุ่มสุดท้าย กลุ่มนี้ไม่รู้ว่าชิปปิ้งคืออะไร หรืออาจรู้แบบงู ๆ ปลาๆ ซึ่งมีไม่น้อย มันจึงน่าประหลาดที่คนในวงการเดียวกันกลับให้ความหมายไม่เหมือนกัน

หากนำคำถามเดียวกันนี้ไปถามคนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ก็เชื่อว่าคนต่างชาติทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของคำว่า‘Shipping’ ในทิศทางเดียวกัน

คำว่า Ship ง่าย ๆ ก็แปลว่า เรือ Shipping ก็คือการเดินเรือ การขนส่งสินค้าทางเรือ หรือการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แม้แต่ในการ์ตูนเด็ก ๆ เรื่องโรบินสัน ครูโซ

(Robinson Crusoe) ก็ยังกล่าวถึงพระเอกของเรื่องทำงานชิปปิ้ง ไปกับเรือส่งสินค้า เรือล่มในทะเล ติดเกาะ แล้วผจญภัยให้เด็ก ๆ สนุกสนาน

ด้วยเหตุนี้ คำว่า ‘ชิปปิ้ง’ สำหรับคนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักจึงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ต่างจากคนไทยอย่างสิ้นเชิง

ความเข้าใจต่างกันอย่างนี้ แล้วจะไปพูดถึง ‘ชิปปิ้ง 4.0’ ได้อย่างไร

มันจะทำให้ต่างคนต่างเดินไปคนละทางเปล่า ๆ ในความเข้าใจของคนต่างชาติ ชิปปิ้งเป็นอาชีพที่สำคัญมาก

ชิปปิ้งต้องมีความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตั้งแต่ความเข้าใจเรื่องหีบห่อ การจัดรถบรรทุก เรือ เครื่องบิน การประกันภัย การประสานงาน การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง พิธีการศุลกากรและอื่น ๆ ที่เป็นพื้นฐานให้สินค้าเคลื่อนตัวระหว่างประเทศ

เวลาคนต่างชาติบอกว่าต้องการชิปปิ้ง เขาจึงหมายถึงคนที่มีความรู้ และมีความสามารถที่จะเข้ามาจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไม่ใช่แค่คนทำหน้าที่ตัวแทนผ่านพิธีการศุลกากร แต่คนไทยกลุ่มหนึ่งก็ยังเข้าใจว่า ชิปปิ้งคือ ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร

หรืออย่างน้อยก็น่าจะมีกฎหมายรองรับบ้างใน พรบ. ศุลกากร 2469 ที่ใช้มาตั้งแต่สมัสมบูรณาญาสิทธิราชย์

มาตรา 106 ก็เรียกผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของสินค้าให้มากระทำแทนว่า ‘ตัวแทน’ กฎหมายตั้งแต่โบราณไม่มี คำว่า ‘ ชิปปิ้ง’ แต่ใช้คำว่า ‘ ตัวแทน’

ดังนั้น จึงพออนุมานได้ว่า คนไทยในแวดวงที่เกี่ยวข้อง ‘เรียกกันเอง’ กระทั่งกรมศุลกากรออกประกาศที่ 13/2549 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับตัวแทนออกของในประกาศกำหนดกฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการยื่นขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ หน้าที่ของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการออกของ หน้าที่ตัวแทนออกของ ความรับผิดชอบของตัวแทนออกของ และอื่น ๆ ให้มีความชัดเจนโดยไม่มีคำว่า ‘ ชิปปิ้ง’ แต่อย่างใด สุดท้ายก็ถูกตอกย้ำด้วย พรบ.ศุลกากรใหม่ ที่จะประกาศใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2560 นี้ มาตรา 99 – 101 กล่าวถึงผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ฯลฯ โดยใน พรบ. นี้เรียกว่า ‘ตัวแทน’ ไม่มีคำว่า ‘ชิปปิ้ง’เหมือนเดิม

เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่า ‘ชิปปิ้ง’ ไม่มีกำหนดในกฎหมาย แต่ใช้เรียกกันเอง ทั้งที่กฎหมายเรียกว่า ‘ตัวแทนออกของ’ อย่างนี้แล้ว

หากจะพูดถึง 4.0 สำหรับอาชีพนี้ คนในอาชีพนี้ก็ต้องมาสรุปกันให้ได้ก่อนว่า มันคือ ‘ตัวแทนออกของ 4.0’ หรือ ‘ ชิปปิ้ง 4.0’ กันแน่

หากเป็น ‘ตัวแทนออกของ 4.0’ ก็ง่ายขึ้นเพราะมีประกาศกรมศุลกากร มีกฎหมาย มีกฎ มีระเบียบ และมีความรู้ทางวิชาการให้ปฏิบัติ

หากปฏิบัติได้โดยพร้อมเพรียงกัน ไม่สร้างความเสื่อมเสีย ไม่เห็นแก่เงินมากกว่าจริยธรรมจนถูกตราหน้าว่า ชิปปิ้งคบไม่ได้ อย่างนี้ก็แค่เติมเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ ๆ ระบบงาน การบริหาร การจัดการเข้าไปเท่านั้นมันก็ค่อย ๆ เข้าสู่ยุค 4.0 ตามนโยบายรัฐบาล

แต่หากจะเป็น ‘ชิปปิ้ง 4.0’ นี่ เรื่องจะใหญ่กว่าเพราะมันเกี่ยวพันถึงต่างประเทศเข้าไปด้วย อย่างน้อยก็หนีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารไปไม่พ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนที่จะมีการเดินไปสู่ ‘ชิปปิ้ง 4.0’ จริง ๆ

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

The Logistics

มาทำความรู้จักระบบขนส่งพื้นฐานของ BRICS กันเถอะ (Brazil ตอนที่ 5)

– ระบบการขนส่งทางอากาศ

โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางอากาศของบราซิลค่อนข้างพัฒนาไปอย่างดี ในปัจจุบันมีประมาณ 300สนามบินภายในประเทศ และมีสนามบินหลักทางด้านการค้าประมาณ 50 สนามบินการค้าที่สำคัญ และอีก 21สนามบินเป็นสนามบินนานาชาติ ที่มีการขนส่งจานวนผู้โดยสารมากกว่า 115 ล้านคน เข้า-ออกจากประเทศบราซิลในแต่ละปี

เที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ต้องไปที่เมืองเซาเปาโลหรือริโอเดจาเนโร สนามบินนานาชาติ Guarulhosและสนามบินนานาชาติ Galeao ตามลาดับ แต่ถ้านอกเมืองเซาเปาโลและ ริโอเดจาเนโร ก็จะเป็นสนามบินนานาชาติ Belo Horizonte ที่เป็นสนามบินนานาชาติหลักไม่กี่ที่ไปบราซิเลียเรซีเฟนาตาลและเพิ่งได้รับการยอมรับ Fortaleza มีเที่ยวบินระหว่างประเทศในปี 2013 ประเทศบราซิลเป็นตลาดการบินที่มีผู้โดยสารมากที่สุดเป็นลำดับที่หกของโลกอีกด้วย เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลได้มีการให้สัมปทานการสนามบินขนาดใหญ่ 2 แห่งคือสนามบิน Galeão ในเมืองรีโอเดจาเนโรและสนามบิน Confins ในเมืองเบโลฮอรีซอนเต รวมทั้งอนุมัติแผนการลงทุนภายใต้โครงการ PAC เพื่อพัฒนาเครือข่ายสนามบินในประเทศมูลค่า 9.2 หมื่นล้านเรอัล (ประมาณ 1.2ล้านล้านบาท) การพัฒนาดังกล่าวได้รวมถึงการปรับปรุงการขยายลานบิน การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมและเพิ่มบริเวณลานบิน TaxiTakeoff รวมทั้งการจัดซื้อรถดับเพลิงเพิ่มด้วยและเนื่องด้วยรายได้ของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีประชาชนเลือกการเดินทางโดยเครื่องบินแทนรถประจำทางเพิ่มมากขึ้นและยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารเครื่องบินเพิ่มขึ้นจาก 71 ล้านคนในปี 2007 เป็น 100 ล้านคนในปี 2014 จากการที่อุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้นและการแข่งขันของสายการบินที่รุนแรงขึ้นนั้นส่งผลให้ราคาตั๋วเครื่องบินค่อย ๆ มีราคาที่ลดต่ำลง

ที่มา: International Institute for Trade and Development (ITD) www.itd.or.th