SNP NEWS

ฉบับที่ 570

Follow Us :     เพิ่มเพื่อน  

CEO ARTICLE

หลังเลือกตั้ง

หลังการเลือกตั้ง 22 มี.ค. 62 ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ???

คำถามนี้เกิดขึ้นจากคนมากมาย

วันนี้ ประเทศไทยได้ ส.ว. (สมาชิกวุติสภา) ได้ ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร) ได้นายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และค่อย ๆ ได้เห็นหน้าตาคณะรัฐบาลแล้ว

หลังการเลือกตั้ง สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยก็น่าจะดีขึ้น แต่จริงหรือ ???

รายงานจาก สรท. (สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย) เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 62 ระบุว่า การส่งออกของไทยเมื่อเดือน มี.ค. 62 ติดลบ 4.9% การนำเข้าติดลบ 7.6% อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เวียตนามที่กำลังตีตื้นขึ้นมา และปัญหาค่าแรงของไทยที่จะส่งกระทบผู้ประกอบการ SME (https://www.efinancethai.com)

เศรษฐกิจโลกมีปัญหาเรื้อรังมาระยะหนึ่ง เวียตนามมีการส่งออกที่เหนือกว่าไทย ขณะที่แรงงานได้เอาแต่เรียกร้องค่าแรงเพิ่มเป็นปัญหาที่ถาโถมไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล

หากพิจารณาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยตามสูตร C+I+G+(X-M) ที่เป็นพื้นฐานการคำนวณจะพบสิ่งต่อไป

C หรือ Consumption หมายถึง การบริโภคของประชาชน

จากการติดตามข่าวสารบ้านเมืองจะพบว่า ก่อนการเลือกตั้ง 22 มี.ค. 62 รัฐบาลทุ่มเงินสวัสดิการต่าง ๆ เข้าสู่มือประชาชนเพื่อให้เกิดการบริโภค

นั่นคือสื่อให้เห็นว่า การบริโภคของประชาชนอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมาจึงเกิดการกระตุ้น

แม้การทุ่มสวัสดิการดังกล่าวจะมีการเมืองแอบแฝง แต่ส่วนหนึ่งก็สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตามทฤษฏีได้บ้าง

I หรือ Investment หมายถึง การลงทุนของเอกชน

ก่อนการเลือกตั้ง เอกชนรายใหญ่ ๆ ต่างก็ดูท่าทีรัฐบาลใหม่ แต่ภายหลังการเลือกตั้ง สิ่งที่เห็นคือ ประเทศไทยได้รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำและตามมาด้วยความวุ่นวายทางการเมืองที่ไม่ยุติลงง่าย ๆ จนกลายเป็นความไม่แน่นอนตามไปด้วย

G หรือ Government หมายถึง การใช้จ่ายของภาครัฐ

ก่อนการเลือกตั้ง รัฐบาลได้ทุ่มเงินลงทุนถึง 1.29 ล้านล้านบาทให้กับ 21 โครงการโดยหวังจะดันเศรษฐกิจให้เติบโต

รัฐยิ่งใช้จ่ายในโครงการการลงทุนมากเท่าไร เงินก็จะแพร่ลงไปสู่ผู้ประกอบการในฐานะผู้ชนะการประมูลหรือผู้รับจ้างจากรัฐ แล้วก็ลงไปสู่มือประชาชนในฐานะผู้ใช้แรงงานมากเท่านั้น

เงิน 1.29 ล้านล้านบาทจึงมีความหมายมากด้วยโครงการ ดังนี้

          1.โครงการทางอากาศจำนวน 4 โครงการมูลค่า 201,000 ล้านบาท เช่น จัดซื้อเครื่องบินลอตใหม่ 38 ลำ ของการบินไทย โครงการเอ็มอาร์โอ
          2. โครงการทางน้ำ 3 โครงการมูลค่า 112,000 ล้านบาท คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 โครงการขยายความสามารถท่าเรือคลองเตย และปรับปรุงท่าเรือระนอง
          3.โครงการทางราง 13 โครงการ มูลค่า 816,000 ล้านบาท เช่น ไฮสปีดเทรน ไทย-จีน ไอสปีดเทรมเชื่อม 3 สนามบิน ไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ – หัวหิน เป็นต้น รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต- ม.ธรรมศาสตร์ และสายสีแดงอ่อนตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช เป็นต้น

ตัวเลขการลงทุนของภาครัฐจำนวน 1.29 ล้านล้านบาท ดู ๆ แล้วจึงน่าจะเป็นที่คาดหวังให้กระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคตอย่างเต็มที่

หากพิจารณา เครื่องยนต์ 3 ตัวแรก C I G จะเห็นว่า Consumption หรือการบริโภคของประชาชนถูกกระตุ้นตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ส่วน Investment การลงทุนของเอกชน วันนี้เอกชนรายใหญ่มองบรรยากาศของประเทศและการเมืองยังคงชะลอตัว ไม่แน่นอน และ Government รัฐมีโครงการลงทุนถึง 1.29 ล้านล้านบาท

ในเครื่องยนต์ 3 ตัวนี้ ตัว I หรือการลงทุนของเอกชนยังคงชะลอตัวจากปัญหาการเมือง

แต่เมื่อพิจารณาเครื่องยนต์ต่อมาคือ E หรือการส่งออก ตามรายงานของ สรท. ข้างต้น จะเห็นตัวเลขการลงออกในช่วงที่ผ่านมาติดลบถึง 4.9% และ M หรือการนำเข้าติดลบถึง 7.6%

ปัญหาหลักการของการส่งออกคือ เศรษฐกิจโลกชะลอตัว คู่แข่งอย่างเวียตนามที่ทำให้สินค้าไทยส่งออกได้น้อยลง และปัญหาค่าแรงงานที่เป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ

ต่าง ๆ นานาจากสภาพแวดล้อมเหล่านี้และภาพที่มองได้จากตัวเลขเหล่านี้ทำให้เห็นว่า เศรษฐกิจของไทยหลังเลือกตั้ง มี.ค. 62 ไม่สู้จะดีนัก และจะส่งผลกระทบต่อการประกอบการในระดับต่าง ๆ การส่งออก การนำเข้า การบริโภค และกิจกรรม Logistics ตามไปด้วย

การเมืองของไทยเป็นปัญหากระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมายาวนาน และยังเป็นปัญหามากที่สุด

วันนี้ นักการเมืองยังคงเล่นเกมการเมืองแย่งตำแหน่งกันไม่รู้จบในภาวะรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ มีการสร้างเรื่องราวให้ตนเองเด่นดังแม้จะถูกโจมตีก็ไม่ใส่ใจ ขอให้เด่นดัง ให้เป็นข่าวเท่านั้นก็พอ

การอ้างเสียงประชาชนที่เลือกเพื่อมาขัดแย้งข้อกฎหมายโดยไม่ใส่ใจประชาชนอีกด้านที่ไม่เลือก การปิดบังความผิดพลาดฝ่ายตนและโพทนาความผิดพลาดฝ่ายตรงข้าม ทั้งหมดนี้เพื่อให้ได้อำนาจการเมืองในการบริหารประเทศ

ทุก ๆ ประเด็นทางการเมืองมักมีด้านดีและด้านเสียควบคู่กัน ผู้ติดตามการเมืองมานานรู้ดี นักการเมืองก็รู้ดี แต่ทั้งที่ต่างก็รู้ดี นักการเมืองกลับฉกฉวยด้านดีใส่ตัวและผลักด้านเสียให้ฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่ละอาย

การเมืองจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ทุกอย่างขอเพียงให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์

หลังการได้นายกรัฐมนตรี การแย่งชิงตำแหน่งของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลมีทีท่าจะไม่ยุติลงง่าย ๆ เป็นลางร้ายต่อเสถียรภาพรัฐบาล

ขณะที่สื่อเลือกข้างก็สร้างและเลือกข่าวที่สร้างความเสียหายต่อฝ่ายตรงข้าม และความชอบธรรมให้ฝ่ายตน มีการให้ข้อมูลด้านเดียวต่อสื่อต่างชาติให้โจมตีประเทศไทย หรือการสร้างเครือข่ายในโลกออนไลน์เพื่อสร้างกระแสจนเป็นที่เบื่อหน่ายในหมู่ประชาชน

หากเป็นแบบนี้ เอกชนรายใหญ่ที่ไหนจะกล้ามาลงทุนสร้างงานในประเทศไทย

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งไปแล้ว แต่สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐยังไม่ยุติลงง่าย ๆ และส่งผลให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย

หากการเมืองยังไม่มีความชัดเจน ปัญหาค่าแรงยังคงไม่มีข้อยุติจากการเมือง นักลงทุนรายใหญ่ก็จะหันไปลงทุนในเวียตนามที่บรรยากาศและการเมืองเอื้อต่อการลงทุนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็อาจทำให้ไทยแพ้เวียตนามไปเกือบทุกมิติ

ความสงบทางการเมืองมีความสำคัญต่อการนำสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ แต่บางครั้ง ความวุ่นวายทางการเมืองก็กลับหันมาทำลายประเทศไทยเสียเอง

    หลังการเลือกตั้ง 22 มี.ค. 2562 ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ???

คำตอบจึงน่าจะอยู่ที่ความสงบหรือความวุ่นวายที่จะเกิดจากนักการเมืองนี่เอง

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

LOGISTICS

RCL ให้บริการเส้นทางRTY  ไปพม่า

สายการเดินเรือRCL ประกาศการเป็นผู้ปฏิบัติการเรือขนส่งสินค้าในบริการRTY แทนเรือของสายการเดินเรือONE  โดยบริการRTY มีเส้นทางการวนเรือออกจากท่าเรือThai Sugar Terminal (TST) ไปยังSingapore, Myanmar Industrial Port (MIP) และท่าเรือThilawa (MITT) ในYangon, Port Klang (North), Singapore และวนกลับมายังท่าเรือTST อีกครั้งโดยใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด21 วันและมีเรือในปฏิบัติการทั้งหมด3 ลำ 

โดยบริการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่จะใช้เรือของสายการเดินเรือRCL ในการปฏิบัติการทั้งสามลำซึ่งเป็นเรือขนาดพื้นที่ระวางสินค้า1,018 ทีอียูอันประกอบด้วยเรือXetha, Yantra และNanta Bhum  ทั้งนี้รอบการวนเรือที่มีการปรับปรุงใหม่จะมีการปฏิบัติการออกจากท่าเรือTST ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง, Singapore, Port Klang, ท่าเรือMITT และท่าเรือMIP ในYangon ก่อนจะวนเรือกลับมายังPort Klang และท่าเรือTST อีกครั้ง 

ตัวแทนของสายการเดินเรือRCL กล่าวว่าการเพิ่มการเข้าเทียบท่าเรือแหลมฉบังจะช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการขนส่งสินค้าเส้นทางตรงทั้งจากกรุงเทพฯและท่าเรือแหลมฉบังไปยังเมียนมาร์โดยช่วงเวลาในการส่งออกจากกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังสามารถเลือกส่งในวันเสาร์และวันอาทิตย์ได้สำหรับการเข้าเทียบท่าเรือในเมียนมาร์สายการเดินเรือRCL จะให้บริการไปยังท่าเรือMIP และMITT ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าได้มากขึ้นเนื่องจากท่าเรือฯตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา(Thilawa Special Economic Zone)”

ที่มาhttp://thai.logistics-manager.com/2019/05/27/rcl-rty-service/