Logistics Corner 573 ศูนย์กลางภัยพิบัติ

SNP NEWS

Follow Us :

    

CEO ARTICLE

ศูนย์กลางภัยพิบัติ

“ศูนย์กลางภัยพิบัติ” เป็นคำที่เกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2562

“ศูนย์กลางภัยพิบัติ” คือ การจัดตั้งคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน​ ภายใต้โครงการจัดตั้งระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินสำหรับใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการยกระดับศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนเป็นองค์กรของอาเซียนอีกด้วย
“ศูนย์กลางภัยพิบัติ” จึงเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพของอาเซียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ในอดีต สมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนต่างก็ประสบปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติกันเกือบทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ พายุไซโคลน หรือแม้แต่วิกฤติการเงิน
ย้อนหลังไปปี 2561 ในวันที่ 23 มิถุนายน 61 วันเดียวกับการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2562 ข่าวการติดถ้ำขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ของ 13 หมูป่าเริ่มแพร่กระจาย
การระดมกำลังความช่วยเหลือเริ่มขึ้นในวันนั้น
เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรจำนวนมากถูกระดมเข้ามาเพื่อให้ความช่วยเหลือ แต่เวลาที่ผ่านไปแต่ละนาทีแต่ละวันเกี่ยวพันธ์กับความเป็นความตายของเด็ก ๆ ทั้ง 13 คน กว่าจะรวบรวมจากภายในและต่างประเทศ และเคลื่อนย้ายไปยังจุดเกิดเหตุได้ก็กินเวลาไปหลายวัน
สุดท้าย ความช่วยเหลือก็บรรรลุผลที่ต้องใช้เวลาไปถึง 18 วัน พร้อมรายจ่ายมหาศาลที่เอกชนและรัฐบาลต่างแบกรับด้วยความเต็มใจ
ในเวลา 18 วันนั้น ความรู้สึก ความห่วงใย และการร่วมใจกันภาวนาของคนในชาติและทั่วโลกต่างเกิดขึ้นพร้อมเพรียงกัน
วันนั้นทำให้รู้ว่า คนไทยและชาวโลกต่างรักกันมากเพียงใด
แม้จะช่วย 13 หมูป่าออกมาได้อย่างปลอดภัย แต่ประเทศไทยก็ต้องสูญเสียจ่าเอกสมาน กุนัน นักทำลายใต้น้ำ หรือหน่วยซีลซึ่งเป็นบุคลกรอันมีค่าไป
หากเวลานั้น อาเซียนมีคลังเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อความช่วยเหลือ ระยะเวลา 18 วันก็น่าน้อยกว่านั้น รายจ่ายก็น่าจะลดลง และการสูญเสียบุคลากรอันมีค่าก็อาจจะไม่เกิดขึ้น
นี่คือตัวอย่างภัยพิบัติที่ใกล้ที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2561
ภายใต้แนวคิดหลัก ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืนทำให้แนวคิดการจัดตั้งคลังเก็บสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในอาเซียนเกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้
คลังสินค้าเพื่อการสนับสนุนสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทุกที่และทุกเมื่อได้อย่างทันท่วงที
ข่าวการเตรียมพร้อมเพื่อการช่วยเหลือนี้จึงเป็นข่าวดีของสมาชิกอาเซียน และข่าวนี้ก็ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทยที่คลังสินค้านี้ในแนวคิดนี้จะจัดตั้งที่จังหวัดชัยนาท
คลังเก็บสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิกัดจะจัดตั้งพร้อมระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉิน

ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ฉุกเฉินด้านภัยพิบัติ
ขณะจัดตั้งคลังสินค้าและระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินจะเกิดการจ้างงาน การก่อสร้าง การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการกระจายชื่อเสียงของประเทศ
เมื่อการจัดตั้งและการติดตั้งระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินในจังหวัดชัยนาทเสร็จสิ้น ไม่มีใครฟันธงได้ชัดเจนว่า ผลด้านต่าง ๆ จะมีอย่างไรบ้าง ???
แต่หากจะประเมินกิจกรรมโลจิสติกส์เพื่อการรวบรวม การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการกระจายเครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีมากมายและมีขนาดใหญ่ย่อมเกิดขึ้นจากประเทศไทยไปยังทั่วโลกและกลับคืนประเทศไทย
กิจกรรมโลจิสติกส์ของไทยจะเกิดมากขึ้น เศรษฐกิจจะถูกกระตุ้นขึ้นไม่มากก็น้อยจึงเป็นประโยชน์ที่ไทยจะได้รับข้อแรก
ประโยชน์ต่อมาคือ การฝึกฝนบุคลากรของไทยให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องมือ การควบคุม หรือการมีส่วนร่วมในเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านั้นก็จะได้รับการพัฒนาตามไปด้วย
หากในอนาคตภัยพิบัติเกิดขึ้นในประเทศไทย ระยะเวลาการรวบรวมและการเคลื่อนย้ายเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการช่วยเหลือก็จะสั้นลง
ความสูญเสียและความเสียหายจากภัยพิบัติก็จะลดลงตามไปด้วย นี่คือประโยชน์ที่ไทยจะได้รับโดยตรงจากการจัดตั้งคลังสินค้าและระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินที่จัดตั้งในประเทศไทย
ประโยชน์อีกข้อคือ การยกระดับศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน แม้แพทย์สาขาต่าง ๆ ของทุกประเทศในอาเซียนจะได้รับการฝึกฝน แต่เพราะศูนย์กลางอยู่ในประเทศไทย โอกาศที่แพทย์ไทยจะได้รับการยกระดับตามไปด้วยก็ย่อมมีมากกว่า
ประการสุดท้ายคือ ชื่อเสียงของจังหวัดชัยนาท
การจดจำชื่อจังหวัดชัยนาทของคนในอาเซียนจะเกิดขึ้น ประเทศไทยสามารถใช้โอกาสนี้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดชัยนาทควบคู่ขนานตั้งแต่บัดนี้
การประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยกำลังจะมีชื่อเสียงด้านการจัดตั้งคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน​ การจัดตั้งระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินสำหรับใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติของอาเซียน และการยกระดับศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน
ทั้งหมดนี้คือ “ศูนย์กลางภัยพิบัติ” ที่กำลังจะเกิดขึ้นและเป็นผลดีส่วนหนึ่งที่ประเทศไทยกำลังจะได้รับจากการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ในครั้งนี้

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

 

LOGISTICS

Yang Ming เปิดบริการเส้นทางตรงเชื่อมต่อจีน-ไทย

เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาวะการค้าโลก สายการเดินเรือ Yang Ming Marine Transport Corp ได้เพิ่มความแข็งแกร่งของเครือข่ายการบริการในทวีปเอเชีย รวมถึงปรับปรุงเส้นทางการเดินเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน สายการเดินเรือฯ ได้เปิดตัวบริการใหม่ในเส้นทางการค้า Intra-Asia ภายใต้ชื่อ China-Thailand Service (CTX service) และมีกำหนดการเดินเรือเที่ยวแรก โดยออกจากท่าเรือ Shanghai ในวันที่ 12 กรกฎาคม ปี 2019

สำหรับบริการ CTX Service จะปฏิบัติการด้วยเรือขนส่งตู้สินค้าขนาดพื้นที่ระวาง 1,200 ทีอียู จำนวนสามลำ ซึ่งหนึ่งในนั้นจะปฏิบัติการโดยสายการเดินเรือ Yang Ming โดยมีรอบการวนเรือออกจากท่าเรือ Shanghai ไปยัง Ningbo, Xiamen, Laem Chabang, Bangkok, Laem Chabang, Hong Kong และกลับเข้าท่าเรือ Shanghai โดยจะใช้ระยะเวลาการเดินทางทั้งหมด 21 วัน

ปัจจุบัน สายการเดินเรือ Yang Ming มีบริการในประเทศไทยรวมทั้งหมดเจ็ดบริการ ซึ่งนอกจากบริการ CTX Service แล้ว ยังมีบริการอื่นๆ อาทิ China-Vietnam/Thailand Service (CTS service), Japan-Thailand Service (JTC service), South East Asia V (SE5 service), Thailand-Indonesia Express (ITS service), Japan-Thailand Express service (JTX Service) และ North China-Thailand Service (NCT service)

ที่มา: http://thai.logistics-manager.com/2019/06/25/yang-ming-ctx-service/

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.