CEO ARTICLE

ค่าแรง 400


Follow Us :

    

การกำหนด ‘รายได้ขั้นต่ำ 400 บาท’ กับ ‘การประกันรายได้ 400 บาท’
อย่างไหนดีกว่ากัน ???

ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 พรรคการเมืองที่มีความรู้ทางเศรษฐกิจต่างชูนโยบายค่าแรงขั้นต่ำตั้งแต่ 400 บาท ขึ้นไปเกือบทุกพรรค
เป้าหมายคือการหวังคะแนนจากคนใช้แรงงานโดยไม่ถามนายจ้าง
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เพียงพรรคเดียวที่ชูนโยบายประกันรายได้ 120,000 บาทต่อปี หรือเฉลี่ย 400 บาทต่อวันที่ดูเป็นความหวังให้นายจ้างที่ดีกว่า
ภายหลังการเลือกตั้ง ปชป. ได้คะแนนต่ำมาก พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลโดยมี ปชป. เข้าร่วม ข่าวค่าแรงขั้นต่ำค่อย ๆ ชัดขึ้น
ประชาชาติออนไลน์ (https://www.prachachat.net/general/news-349618) ให้หัวข้อข่าววันที่ 14 ก.ค. 62 ด้วยการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ
“ลูกจ้างเฮ! รัฐบาลเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน”

ค่าแรงขั้นต่ำทำให้นายจ้างต้องแบกภาระต้นทุนสูงขึ้น หากรัฐบาลกำหนดเป็นกฎหมายก็ยิ่งทำให้นายจ้างปฏิเสธไม่ได้
ปัจจุบันนี้ ค่าแรงขั้นต่ำถูกกำหนดไว้ที่วันละ 300 บาท หากถูกปรับใหม่ให้เป็น 400 บาท ก็ยิ่งทำให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาหางานในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
คนไทยกลุ่มใหญ่ยังยึดติดค่านิยมเลือกงาน ยังปฏิเสธงานรับจ้างบางประเภท
การเลือกและการปฏิเสธงานของคนไทยกลุ่มใหญ่นี้ ก็ยิ่งทำให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมีโอกาสได้รับการจ้างงานมากยิ่งขึ้น
ค่าแรงขั้นต่ำที่มีข่าวจะปรับขึ้นเป็น 400 บาท ก็ยิ่งเป็นแรงดึงดูดให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านยิ่งเข้ามาหางานในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย หรือกลุ่มที่หางานไม่ค่อยได้ก็มักยอมรับค่าแรงที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด
ปัญหาสังคม ปัญหาการแย่งงานก็ย่อมตามมา
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีเครื่องจักรทันสมัย การจ่ายค่าแรง 400 ต่อวัน หรืออาจถึง 600 บาท ย่อมได้รับผลกระทบน้อยเนื่องจากเครื่องจักรทันสมัยมักเข้ามาแทนที่แรงงานอยู่แล้ว
แรงงานที่จ้างจึงต้องมีความรู้หรือได้รับการพัฒนาให้ควบคุมเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว
เครื่องจักรที่มีจำนวนมากทำให้การใช้แรงงานลดลง ค่าแรงขั้นต่ำที่ถูกปรับให้สูงขึ้นจึงส่งผลกระทบน้อยต่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบมากจึงหนีไม่พ้นกลุ่มอุตหสาหกรรม SME ที่มีขนาดกลางและเล็กที่ยังต้องพึ่งพาแรงงานมากกว่า
หลายปีที่ผ่านมาข่าวผู้ประกอบการ SME มีการปิดตัวมากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เติบโตมากขึ้นเข้าทำนองปลาใหญ่กินปลาเล็ก
หากค่าแรงขั้นต่ำถูกปรับขึ้นจริง ภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจึงน่าจะตกอยู่กับผู้ประกอบการและนายจ้าง SME มากกว่า

เมื่อหันมาพิจารณาการประกันรายได้ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยโพสท์ทูเดย์ (https://www.posttoday.com/politic/news/594827)
“ประชาธิปัตย์เคยเสนอประกันค่าแรง ไม่ให้ต่ำกว่า 120,000 บาทต่อปี หากหักวันหยุดแล้วก็จะเท่ากับค่าแรงวันละ 400 บาทคล้ายกับที่รัฐบาลเสนอ แต่ที่ต่างมโหฬารคือ นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ผลักภาระทั้งหมดให้นายจ้าง แต่เป็นการประกันค่าแรง หากพื้นที่ไหนได้ค่าแรงไม่ถึง 400 บาท รัฐจะชดเชยส่วนต่างให้จนครบ โดยไม่ต้องเป็นภาระนายจ้าง คล้ายกับกรณีศึกษาเทียบเคียง Workfare ของสิงคโปร์ ที่รัฐชดเชยโดยการจ่ายเงินให้ในรายจ่ายสำคัญๆ ของลูกจ้าง”
สรุปง่าย ๆ แนวทางของ ปชป. คือ นายจ้างอาจจ่ายไม่ถึง 400 บาทได้ สมมุตินายจ้างยังจ่ายค่าแรงเท่าเดิมที่ 300 บาท รัฐบาลจะจ่ายให้อีก 100 บาทซึ่งจะทำให้แรงงานได้ 400 บาท ไม่ต่างจากแนวทางของ พปชร.
วิธีการนี้จะทำให้แรงงานที่ลงทะเบียนอย่างถูกกฎหมายได้รับการประกันรายได้ขั้นต่ำซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายไปในตัวและเป็นโอกาสของแรงงานไทยที่ได้งานมากกว่า
น่าเสียดายที่ ปชป. ไม่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล น่าเสียดายที่นโยบายประกันรายได้มีการพูดถึงน้อยมากหลังการจัดตั้งรัฐบาล

ผู้ประกอบการและนายจ้าง SME ก็ได้แต่หวังว่า ก่อนการประกาศขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำที่กำลังจะมาถึงนี้ ปชป. น่าจะมีบทบาทให้มากขึ้น
แม้การผลักดันจะไม่ได้ผล แต่การผลักดันให้เป็นแนวทางของรัฐบาลแบบสิงคโปร์ตามที่อธิบายไว้ก็ยังดีกว่าปล่อยให้อยู่ในความเงียบ
ไม่อย่างนั้น ผู้ประกอบการและนายจ้าง SME ก็อาจจดจำการประกันรายได้ของ ปชป. เพื่อคิดบัญชีกับ ปชป. ซ้ำในอนาคตอีกก็ได้

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

DR. SITTHICHAI  CHAWARANGGOON
DR. SITTHICHAI CHAWARANGGOONChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

ตุรกีกำลังสร้างศูนย์กลางโลจิสติกส์เพื่อกระตุ้นการค้า

ตุรกีได้เร่งดำเนินการสร้างศูนย์โลจิสติกส์ที่สามารถรองรับการค้าที่มีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านดอลล่าร์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโครงการเส้นทางสายไหม (Belt and Road Initiative) ของจีน Cahit Turhan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของตุรกี กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์โลจิสติกส์ที่วางแผนไว้ 9 จาก 21 แห่งกำลังเปิดให้บริการ โดยศูนย์โลจิสติกส์ใน Mersin, Konya และ Kayacık ก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ส่วนใน Kars อยู่ระหว่างการก่อสร้างและส่วนที่เหลืออีกแปดแห่งอยู่ในขั้นตอนการประมูลและการเวนคืนโครงการ โดยนโยบายการขนส่งของตุรกีก็เพื่อให้เกิดสายพานการผลิตอย่างต่อเนื่องจากจีนไปยังลอนดอน

จากโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการมีระเบียงเศรษฐกิจหลักสามเส้นทางที่เชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรป ได้แก่ ตะวันออก – ตะวันตก, เหนือ – ใต้ และกลาง
ระเบียงเศรษฐกิจกลางนั้นเชื่อมเอเชียกลางและภูมิภาคแคสเปียน โดยเริ่มจากประเทศจีนไปยังยุโรปผ่านทางตุรกี ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญเพราะแสดงถึงความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ของเส้นทางสายไหมที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ ยุโรป เอเชียและจีน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเริ่มจากจีนจนไปถึงตุรกีผ่านคาซัคสถาน อาเซอร์ไบจานและเชื่อมต่อกับยุโรป

เส้นทางรถไฟ Baku-Tbilisi-Kars ซึ่งเปิดเมื่อปีที่แล้วเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อถนนทุกสายจากเอเชียกลางและจีนไปยังตุรกี นอกจากนี้โครงการนี้ยังเชื่อม สหราชอาณาจักร,ฝรั่งเศส , เบลเยียม, เยอรมนี, ออสเตรีย, ฮังการี, เซอร์เบีย, บัลแกเรีย, ตุรกี, จอร์เจีย, อาเซอร์ไบจาน, คาซัคสถาน, เติร์กเมนิสถานและจีน โดยสามารถประมาณการค้ารายวันระหว่างจีนและยุโรปในปัจจุบัน ได้ถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะเกิน 2 พันล้านเหรียญต่อวันในอีกห้าถึงหกปี อีกทั้งตุรกียังสร้างระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เช่น Marmaray, สะพาน Yavuz Sultan Selim, มอเตอร์เวย์ Marmara North และอุโมงค์ Eurasia, สะพาน Osmangazi, รถไฟสายความเร็วสูง, ท่าเรือ North Aegean, Gebze Orhangazi-İzmir Motorway, Çanakkale 1915 Bridge และสนามบินอิสตันบูล รวมถึงมีการเริ่มสร้างหมู่บ้านโลจิสติกส์เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งจาก Anatolia, Caucasus,เอเชียกลางและจีนในอนาคต

Turhan ย้ำว่าเส้นทางสายไหมซึ่งมีเส้นทางผ่าน 10 รัฐมีพื้นที่กว่า 4,395 กิโลเมตรภายในเขตแดนของจีนและครอบคลุมกว่า 40 ล้านตารางกิโลเมตรในกว่า 60 ประเทศในเอเชียตะวันออก เอเชียกลาง เอเชียตะวันตก ยุโรปกลาง ยุโรปใต้ และยุโรปตะวันตก ซึ่งทั้งหมดมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 26 ของพื้นที่โลก มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 63 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก และคิดเป็นร้อยละ 29 ของเศรษฐกิจโลก จึงแสดงให้เห็นว่า Belt and Road initiative ของจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อตุรกี

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงอังการา เห็นว่า ประเทศตุรกีตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์สามารถเชื่อมต่อระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย ซึ่งโครงการ Belt and Road Initiative ของจีนจะป็นสะพานเชื่อมระหว่างสามภูมิภาค ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านหลายประเทศ จึงเป็นเส้นทาง Logistic ที่สำคัญในการขนส่งสินค้าและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของตุรกีและประเทศต่างๆ โดยโครงการดังกล่าว จะทำให้ตุรกีสามารถกลายเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุน ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้ามประเทศตุรกี โดยใช้โอกาสจากการทำความตกลง FTA ระหว่างไทย-ตุรกี ซึ่งคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงภายในปี 2563 นี้ เป็นกลไกในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่แน้นแฟ้นยิ่งขึ้น และใช้ตุรกีเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ โดยรอบ

ที่มา: www.ditp.go.th

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.