CEO ARTICLE

เกษตรอุตสาหกรรม


Follow Us :

    

ประเทศไทยจะสานต่อความหวัง ‘เสือเศรษฐกิจแห่งเอเซีย’ ได้หรือไม่โดยการนำไอเดีย ‘เลิกเกาะกลางถนน’ ของ ‘ศักดิ์สยาม’ แล้วหันมาใช้แบริเออร์ยางตามข่าวแทน ???

ประเทศไทยเคยมุ่งมั่นจะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 แห่งเอเซีย แต่ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีแต่ความผันผวนและตกต่ำ วันนี้จะทำอย่างไรให้ไทยมีความหวังเป็นเสือเศรษฐกิจอีกครั้ง
ในอดีตราวปี พ.ศ. 2520 ทวีปเอเซียมี ‘เสือเศรษฐกิจ 4 ตัว’ (Four Asian Tigers) บางครั้งก็เรียกว่า ‘มังกรเอเชีย’ อันได้แก่ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้
เสือเศรษฐกิจทั้ง 4 ตัวเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเวลานั้น ประเทศไทยถูกหมายตาให้เป็นเสือตัวที่ 5
ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 ที่ประเทศไทยประกาศใช้ในปี 2520 เพื่อมุ่งเน้นขยายเกษตรกรรม พัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออก
เป้าหมายคือ การกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนในภูมิภาคของไทย
เวลานั้น คำว่า ‘เกษตรอุตสาหกรรม’ ก็เกิดขึ้น อาชีพเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่มีเป้าหมายให้มีรายได้ดีขึ้นสู่ความเป็น ‘เสือตัวที่ 5’
จากวันนั้น ปี พ.ศ. 2520 มาถึงวันนี้ 2562 เศรษฐกิจไทยผ่านความรุ่งเรือง ผ่านความตกต่ำจากเงินบาทลอยตัวในปี 2540 ผ่านเหตุการณ์ร้าย ๆ ทางการเมืองที่ฉุดเศรษฐกิจให้ตกต่ำหลายต่อหลายครั้ง กระทั่งมาถึงวันที่สหรัฐและจีนเปิดสงครามเศรษฐกิจระหว่างกัน
ยิ่งไปกว่านั้น ปี 2562 การประท้วงในฮ่องกงก็มีทีท่าจะฉุดเศรษฐกิจฮ่องกงให้ตกต่ำ
ขณะที่ไต้หวันและเกาหลีใต้ถูกการเติบโตของจีนบดบังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนไม่เหลือความเป็น ‘เสือเศรษฐกิจ’ อีกต่อไป คงหลือแต่สิงคโปร์ในวันนี้ที่ยังพอยืนหยัดได้ แต่คำว่า ‘เสือเศรษฐกิจ’ ในอดีตกลับค่อย ๆ จางหายไปจนไม่มีใครได้ยินอีก
ด้วยสภาพแวดล้อมทั่วโลกนี้ หากประเทศไทยอยากจะผงาดขึ้นมาเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ประเทศไทยก็ต้องมองอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่นั่นก็คือ เกษตรกรรม
เมื่อมองเกษตรกรรมก็ต้องทำให้เป็นเกษตรอุตสหกรรมอย่างในอดีต ต้องทุ่มเทให้จริงจังตามแผนพัฒนาฉบับที่ 4 เดิม ไม่แน่ว่าประเทศไทยก็อาจผงาดขึ้นใหม่ได้

เมื่อพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐาน พืชผลที่ล้นตลาด ปริมาณเกินความต้องการ ย่อมทำให้ราคาขายตกต่ำลง เช่น ยางพารา จนเกษตรกรอยู่ไม่ได้
จากข่าวการจะใช้แบริเออร์ยางข้างต้น เนื้อหาข่าวสรุปว่าในปี 2563 คมนาคมจะยกเลิกการสร้างเกาะกลางถนน 4 เลน และจะปรับเปลี่ยนมานำแบริเออร์ผลิตจากยางพารามาวางกั้นเลนระหว่างถนนแทนโดยจะนำร่องที่ จว. บุรีรัมย์ให้เป็นโมเดลต้นแบบ
หนึ่งในหลายเหตุผลที่เสนอมาคือ การช่วยเหลือชาวสวนยางที่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำ
หากรัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมทำได้จริง ปริมาณยางพาราจะถูกดึงมาใช้โดยรัฐบาล อุตสาหรรมการผลิตแบริเออร์ยางจะเกิดขึ้น ปริมาณยางพาราจะถูกนำไปใช้จนทำให้ราคาขายในท้องตลาดสูงขึ้นตามหลักพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม แทรกแซงและส่งเสริมการใช้ และเป็นผู้ทำให้ราคาสูงขึ้นได้
ประเทศไทยไม่ได้มียางพาราเป็นพืชผลทางการเกษตรอย่างเดียว แต่มีพืชผลทางการเกษตรอีกมากที่ประสบกับปัญหาราคาตกต่ำ หากรัฐบาลให้ทุนวิจัยแก่สถาบันต่าง ๆ เพื่อให้นำพืชผลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม
อย่างที่เห็นเป็นข่าว กล่องใส่อาหาร หลอด และภาชนะจากวัตถุดิบข้าวแทนพลาสติก เป็นต้น
งานวิจัยมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถืออย่างมากและส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นจากงานวิจัย
รัฐบาลต้องทุ่มเทให้กับงานวิจัยอย่างหนักร่วมกับสถาบันต่าง ๆ ให้ผลงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือและแพร่กระจายออกไป
เมื่อมีผลงานวิจัยทางวิชาการรองรับ รัฐบาลก็เพียงประกาศให้สัญญาจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลทุกประเภทต้องใช้วัตถุดิบที่มาจากพืชผลเกษตรภายในประเทศ
จากนั้นรัฐบาลก็ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากพืชผลการเกษตร ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มากกว่า BOI ที่มีในปัจจุบันเพื่อชักจูงให้เกิดอุตสาหกรรมจากพืชเกษตร
งานวิจัยที่เผยแพร่ออกไปก็จะทำให้อุตสาหกรรมเกิดขึ้นตามมา
คนอยากทำอุตสาหกรรมมีมาก หากผลิตภัณฑ์มีงานวิจัยรองรับ มีความต้องการรออยู่ ใคร ๆ ก็อยากเข้ามาทำ
เกษตรกรที่ทราบก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนทิศทางการปลูกพืชให้สอดคล้องกับความต้องการที่จะเกิดขึ้นภายใต้อุตสาหกรรม
เพียงเท่านี้ พืชผลทางการเกษตรจะมีความต้องการมากขึ้น
ด้วยวิธีการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมย้อนรอยอดีต แม้จะไม่ใช่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เกษตรกรไทยจะได้รับการยกระดับให้มีชีวิตดีขึ้น
เกษตรอุตสาหกรรมอาจไม่ตอบโจทย์ความเป็น ‘เสือเศรษฐกิจแห่งเอเซีย’ โดยตรงจากสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปมากในวันนี้
แต่เกษตรอุตสาหกรรมโดยมีรัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพจะทำให้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรกรที่เคยตกต่ำค่อย ๆ ดีขึ้นและส่งผลต่อเศรษฐกิจให้ดีขึ้นตามไปด้วย
ทั้งหมดนี้สามารถทำได้ในช่วงอายุรัฐบาลหนึ่ง หรืออย่างมากก็ไม่น่าเกิน 2 รัฐบาล หากไม่มีเหตุทางการเมืองใด ๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

LOGISTICS

การรถไฟเปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1

การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ที่ 1 จากสถานีหนองคายถึงสถานีท่านาแล้ง โดยจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือแหลมฉบังไปยังศูนย์กองเก็บตู้สินค้า (CY) ท่านาแล้งเป็นครั้งแรก โดยระยะทางจากสถานีหนองคายถึงสถานีท่านาแล้ง มีความยาวทั้งสิ้น 3.5 กิโลเมตร

โดยขบวนที่ให้บริการประกอบไปด้วย ขบวนรถรวมที่ 481 ออกหนองคาย 07.30 น. ถึงท่านาแล้ง 07.45 น. ขบวนรถรวมที่ 482 ออกท่านาแล้ง 10.00 น. ถึงหนองคาย 10.15 น. ขบวนรถรวมที่ 483 ออกหนองคาย 14.45 น. ถึงท่านาแล้ง 15.00 น. และขบวนรถรวมที่ 484 ออกท่านาแล้ง 17.30 น. ถึงหนองคาย 17.45 น รวมทั้งสิ้น 4 ขบวน

สำหรับขบวนรถไฟขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว เที่ยวแรกเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Bangkok Terminal Logistics (BTL) และการรถไฟแห่งประเทศไทยในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังสถานีท่านาแล้ง เพื่อส่งให้กับลูกค้าในสปป.ลาว

ที่มา: http://thai.logistics-manager.com/2019/08/28/srt-train-to-laos/

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.