CEO ARTICLE

หน้ากากถูกกำกัด


Follow Us :

    

ในทางศุลกากรมีศัพท์อยู่ 2 คำที่คนอยู่ในวงการเข้าใจดี ตรงกันข้าม คนอยู่นอกวงการก็อาจเข้าใจลำบากนั่นคือคำว่า

“ของต้องห้าม” กับ “ของต้องกำกัด”

“ของต้องห้าม” หมายถึง สินค้าหรือของที่กฎหมายบัญญัติห้ามในการนำเข้าหรือส่งออกไม่ว่ากรณีใด ๆ หรือจะเรียกว่า “ห้ามขาด” เลยก็ได้

“ของต้องกำกัด” หมายถึง สินค้าหรือของที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกประกอบการผ่านพิธีการศุลกากรเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก

กฎหมายไม่ได้ห้าม “ของต้องกำกัด” แบบห้ามขาด ยังสามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ แต่ต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลสินค้าหรือของนั้นมาประกอบเท่านั้น

รัฐบาลโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลสินค้าหรือของนั้นจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไข การควบคุม หรือวิธีการเพื่อให้ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกมาขอรับใบอนุญาต

หากได้รับใบอนุญาตก็เพียงนำไปยื่นต่อกรมศุลกากร ส่วนกรมศุลกากรก็มีหน้าที่เพียงตรวจสอบให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่หน่วยงานนั้นกำหนดมาเท่านั้น

แล้ววิกฤติโคโรนาที่ทั่วโลกกำลังประสบอยู่ก็ทำให้ “หน้ากากอนามัย” กลายเป็นสินค้า “ต้องกำกัด” ขึ้นมาจนได้

วิกฤติโคโรนากิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ส่งผลให้ “หน้ากากอนามัย” กลายเป็นสินค้าจำเป็นที่ทุกประเทศและประชาชนเกือบทุกคนต้องใช้

เอกชน องค์กร และสมาคมหลายแห่งต่างเที่ยวหาซื้อเพื่อใช้เองบ้าง และเพื่อไปบริจาคช่วยเหลือบ้างโดยเฉพาะการช่วยเหลือประเทศจีน ขณะที่พ่อค้าเห็นเป็นโอกาสก็ซื้อมาเก็บตุนไว้เพื่อขายในราคาที่สูงขึ้น

ประเทศจีนมีความต้องการมากกว่าใครทั้งจากเป็นต้นทางของไวรัส และทั้งจากจำนวนประชากรราว 1,400 ล้านคนที่ต้องใช้จำนวนมหาศาล

หน้ากากอนามัยที่มีในประเทศจีนขาดแคลนอย่างหนัก การรับบริจาคจากต่างประเทศก็ดูไม่พอ สุดท้ายก็ต้องซื้อจากพ่อค้าที่กักตุนไว้ไม่ว่าจากประเทศไทยหรือประเทศอื่น

มันเป็นไปตามพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อมีความต้องการจริง (Real Demand) เกิดขึ้น คนกลุ่มหนึ่งก็จะสร้างความต้องการเทียม (Atificial Demand) ผสมเข้าไปเพื่อค้ากำไร

ความต้องการเทียมเป็นความต้องการไม่จริง แต่ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปั่นราคาให้สูง

เมื่อหน้ากากอนามัยถูกความต้องการทั้งจริงและเทียมผสมเข้าไป ราคาซื้อขายไม่ว่าในประเทศจีน ไทย หรือประเทศไหน ๆ ก็สูงขึ้นอย่างหยุดไม่อยู่ ขณะที่สินค้ามีไม่พอจำหน่าย ขาดตลาด หรือโรงงานผลิตไม่ทันอย่างเช่นกรณีนี้

ช่วงเวลาไม่เท่าไร นอกจากราคาในประเทศจะสูงไปแล้ว หน้ากากอนามัยก็ไม่มีในสต๊อกให้ซื้อไม่ว่าผู้ซื้อจะยอมซื้อในราคาเท่าไรจนคนไทยเกือบทั้งประเทศเดือดร้อนหนัก

ในที่สุด รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ก็ประกาศฉบับที่ 1 วันที่ 4 ก.พ. 63 กำหนดให้หน้ากากอนามัย ใยสังเคราะห์เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย และผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือเป็นสินค้าควบคุมเป็นเวลา 1 ปี

จากนั้น สำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการก็มีประกาศ ฉบับที่ 4 ตามออกมาในวันที่ 5 ก.พ. 63 กำหนดวิธีการส่งออกหน้ากากอนามัย

วัตถุประสงค์ของการควบคุมในประกาศข้อ 6 คือ “โดยคำนึงถึงสถานการณ์เร่งด่วนและความจำเป็นในการใช้ภายในประเทศ หรือความจำเป็นตามสมควร”

สรุปวัตถุประสงค์ของการควบคุมคือ “การใช้ในประเทศของคนไทยต้องมาก่อน”

ในที่สุด หน้ากากอนามัยก็ถูกกำหนดให้เป็นสินค้าหรือของ “ต้องกำกัด” ไปทันทีตามนัยของศุลกากรดังกล่าวข้างต้น

ส่วนเงื่อนไขที่สำคัญ ๆ ที่ผู้ประสงค์จะส่งออกในเวลา 1 ปีนี้พึงทราบ คือ

ก. ปริมาณที่อยู่ในข่ายต้องขออนุญาตส่งออกต้องมีจำนวนตั้งแต่ 500 ชิ้นขึ้นไป ดังนั้น การส่งออกที่มีปริมาณไม่เกิน 500 ชิ้น ไม่ต้องขอใบอนุญาต

ข. การส่งออกจะใช้ชื่อนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้

ค. ผู้ส่งออกต้องแสดงหลักฐานแหล่งที่มาของหน้ากากอนามัยและเงินค่าสินค้า เช่น ใบประกอบกิจโรงงาน (รง. 4) คำสั่งซื้อ ใบยืนยันคำสั่งซื้อขาย สัญญาการซื้อขาย หรือเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit : L/C) คำร้องขอเปิด L/C ตั๋วแลกเงินทางธนาคาร และ/หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้า ในเสร็จรับเงินค่าซื้อขายสินค้า หรือข้อมูลการซื้อขายโดยไม่ได้มีการชำระเงิน เป็นต้น

ง. หน่วยงานที่รับผิดชอบออกใบอนุญาตคือ สำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

นี่คือข้อมูลที่ผู้ประสงค์จะส่งออกควรทราบ

ด้วยประกาศนี้จะทำให้ผู้ที่ซื้อหน้ากากอนามัยมากักตุน ไม่สามารถแสดงแหล่งที่มาได้หรือต้นทุน ไม่สามารถแสดงหลักฐานการรับเงินจากต่างประเทศก็ยากที่จะส่งออกได้

ดังนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หน้ากากอนามัยจึงกลายเป็น “ของต้องกำกัด” ในทางศุลกากรเป็นเวลา 1 ปี หรือจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นโดยกระทรวงจะมีประกาศออกมาอีกครั้ง

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

ผลกระทบของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ต่อการบริโภคของจีน

ช่วงเทศกาลตรุษจีนถือเป็นช่วงสัปดาห์ทองของภาคธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร โดยช่วงตรุษจีนปี 2019 ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารมียอดจ าหน่ายสูงถึง 1.0050 ล้านล้านหยวน ซึ่งเป็นการทะลุล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรก ท าให้ทุกภาคส่วนต่างคาดหวังว่าตรุษจีนปีหนูปีนี้ (ปี 2020) จะมีการบริโภคเพิ่มสูงขึ้น โดยก่อนหน้านี้ Ctirp ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชื่อดัง ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวแบบครบวงจรของจีน ได้คาดการณ์ว่าในช่วงตรุษจีนปี 2020 ชาวจีนจะออกเดินทางท่องเที่ยวมากถึง 450 ล้านครั้ง

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ขึ้นในประเทศจีนและลุกลามไปทั่วโลก ท าให้ผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เช่นเดียวกับสถิติจากกรมการขนส่งของจีน ในช่วงระหว่างวันที่ 25 – 30 มกราคม ปี 2020 จ านวนผู้โดยสารที่รับ-ส่งทั่วประเทศลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจที่เห็นได้ชัดเจนคือประชาชนออกจากบ้านน้อยลง ท าให้การจับจ่ายใช้สอยน้อยลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการบริโภคในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านบริการ ท่องเที่ยว คมนาคม บันเทิง ค้าปลีก และร้านอาหารด้วย ซึ่งเมื่อรวมกับช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีนที่ปกติเป็นช่วง High season ของการบริโภคในประเทศ ก็ยิ่งท าให้ได้รับผลกระทบมากขึ้น
แต่ถึงแม้ว่าโรคระบาดจะท าให้ผู้คนมีความวิตกกังวล ประกอบกับมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมการระบาดของโรค ท าให้ไม่ออกไปจับจ่ายชั่วคราว แต่เมื่อพิจารณาในระยะยาวผลกระทบต่อการขยายตัวของการบริโภคของจีนยังคงมีจ ากัด และอาจจะน ามาซึ่งโอกาสของธุรกิจใหม่ และการปรับตัวของโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยคาดว่าจะมีแนวโน้ม ดังนี้

1) เกิดรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ และธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาการบริโภคที่หายไป โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี 2003 ที่เกิดการระบาดของโรคซาร์ส เศรษฐกิจใหม่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ส าคัญของชีวิตชาวจีน อาทิ การค้าออนไลน์ที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นธุรกิจที่ช่วยลดผลกระทบจากโรคระบาด และท าให้ประชาชนที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ แต่สามารถสั่งซื้อสินค้าแบบเดลิเวอรี่ หรือช้อปปิ้งในแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ยัง รวมถึงการใช้บริการความบันเทิงในรูปแบบออนไลน์ได้เพิ่มมากขึ้น อาทิ ภาพยนตร์ใหม่ๆ ละคร มิวสิควิดีโอ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ท าให้เกิดการบริโภคผ่านอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้แสดงความเห็นว่า นอกจากกระบวนการฆ่าเชื้อโรคและควบคุม
การระบาดของโรคที่เพิ่มขึ้นแล้ว การอยู่บ้านก็ไม่ได้ท าให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่สามารถเลือกซื้อสินค้าอาหารสด และช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มชั้นน าหลายแห่งของจีนได้ โดยยังคงสามารถใช้บริการเดลิเวอรี่ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีข้อจ ากัดของระยะเวลาในการส่งที่ยาวนานขึ้นก็ตาม

2) ผลกระทบเชิงลบจากการเกิดโรคระบาดในด้านการบริโภคเป็นเพียงระยะสั้น โดยนักวิเคราะห์ชาวจีนส่วนใหญ่เห็นว่า โรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีผลกระทบต่อการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวจะเป็นเพียงในระยะสั้น เนื่องจากการระบาดของโรคเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน แต่ความต้องการบริโภคของผู้บริโภคยังคงคั่งค้างอยู่ต่อเนื่องจากเทศกาลตรุษจีนที่ท าให้ผู้บริโภคชาวจีนไม่สามารถออกเดินทางและบริโภคได้ตามปกติ ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะค่อยๆ ฟื้นตัว ท าให้แนวโน้มการบริโภคของจีนในระยะยาวจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส าคัญ ซึ่งมีผู้ยกตัวอย่างของเหตุการณ์การระบาดของโรคซาร์สเมื่อปี 2003 โดยในครั้งนั้น การระบาดของโรคได้ส่งผลกระทบต่อการบริโภคของจีนอย่างมาก แต่การเติบโตของการบริโภคก็ฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากที่สถานการณ์ผ่านพ้นไป และท าให้การบริโภคสูงขึ้นในปี 2004 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าเสื้อผ้า รองเท้า สิ่งทอ กีฬา สินค้าบันเทิง และอุปกรณ์ส านักงานที่สามารถฟื้นตัวสูงขึ้นมากกว่าก่อนเกิดโรคระบาด

3) ภาครัฐยื่นมือเข้าช่วยภาคธุรกิจการบริโภคที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอย่าง อาทิ ร้านอาหาร ธุรกิจขนส่ง ท่องเที่ยว ค้าปลีก เช่นเดียวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัทขนาดใหญ่บางแห่ง โดยเฉพาะด้านการเงิน แต่ปัญหาเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่ารัฐบาลจะพิจารณามาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยการใช้นโยบายให้การสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจต่างๆ หรือการสนับสนุนช่องทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อลดผลกระทบด้านการบริโภคที่เกิดจากการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วที่สุด

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย
การเกิดโรคระบาดอย่างกะทันหัน และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศจีน แต่ยังลุกลามถึงประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากจีนเป็นประเทศมหาอ านาจทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ซึ่งถือเป็นผู้บริโภคหลักของโลก โดยการระบาดของโรคดังกล่าวท าให้จีนควบคุมการเข้าออกของประชากรในประเทศ จึงส่งผลกระทบต่อการบริโภคทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศไทยที่ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคไปยังประเทศจีนเป็นจ านวนมาก และมีแนวโน้มที่จะส่งออกไปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตการณ์โรคระบาดดังกล่าว ท าให้ความต้องการในการบริโภคสินค้าน าเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งจากประเทศไทย ลดน้อยลง ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย ควรติดตามสถานการณ์ดังกล่าว และพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนอย่างใกล้ชิด เพื่อก าหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมภายหลังการระบาดของโรคคลี่คลายลง อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นและระยะกลางควรพิจารณาหาโอกาสในการขยายตลาดไปสู่ตลาดศักยภาพในภูมิภาคอื่น หรือพิจารณาส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าของจีนควบคู่กันไปด้วย เพื่อทดแทนการส่งออกไปยังตลาดจีน ในขณะที่ระยะยาว เมื่อสถานการณ์การระบาดของโรคดีขึ้น และบรรยากาศของการบริโภคในประเทศจีนกลับมาคึกคักได้ตามปกติ ภาครัฐและผู้ประกอบการไทยสามารถร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างเต็มที่ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าไทย-จีนให้กลับมาแน่นแฟ้นดังเดิม

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/583395/583395.pdf&title=583395&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.