CEO ARTICLE

ฟื้นฟูประเทศ


Follow Us :

    

เศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2563 ตกหนักแน่ !!!

อย่างนี้แล้วการฟื้นฟูประเทศไทยจะทำอย่างไร ???

หน่วยงานมากมายต่างประเมินว่า ความตกต่ำทางเศรษฐกิจของโลกจะหนักไปเรื่อยจนถึงปี 2564 บางหน่วยงานประเมินว่า ความตกต่ำนี้จะเป็นตัว U และกินเวลาตกต่ำไปถึง 3 ปี ที่กว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเหมือนก่อน Covid-19 ได้

โอลิมปิค 2020 ต้องเลื่อนไปปีหน้า และหาก Covid-19 ยังไม่ดีขึ้นก็อาจยกเลิกส่งผลต่อความเสียหายหนักยิ่งขึ้น กิจการหลายแห่งต้องปิดตัว การลงทุนทุกด้านหดตัว การว่างงานจะหนักขึ้นมหาศาล คลื่นปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจกำลังโหมกระหน่ำทั่วโลก

ขณะที่ ประเทศไทยกิจการและโรงงานจำนวนมากที่ทนต่อสภาพช่วง Covid-19 นี้ไม่ไหว ต่างก็ทะยอยกันปิดตัวหรือย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น บางแห่งต้องประกาศให้มีการลาออกด้วยความสมัครใจ

คลื่นปัญหาที่กำลังถาโถมเข้ามาและจะหนักยิ่งขึ้นต่อไปประเทศไทยคงหนีไม่พ้นแน่นอน

ในช่วงต่อสู้กับ Covid-19 รัฐบาลประกาศ พรก. ฉุกเฉิน พร้อมกับใช้ พรบ. โรคติดต่อ จากนั้นก็มอบให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดมีอำนาจสั่งการภายในจังหวัดของตน

ช่วงการแพร่ระบาดหนักมากในปลายเดือน มี.ค. 63 ต่อเนื่องไปถึง เม.ย. 63 หลายจังหวัดและหลายหมู่บ้านประกาศกักกันตัวเอง มีการตรวจเข้มหนัก หน่วยงานและเจ้าหน้าที่แต่ละจังหวัดภายใต้การกำกับของผู้ว่าฯ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานเป็นที่ประจักษ์

ประเทศไทยค่อย ๆ ผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดไปได้ด้วยดีจนเป็นที่ชื่นชมของทั่วโลก

ในอดีตความรวยของไทยกระจุกอยู่ที่คนกลุ่มเล็กขณะที่ความจนกระจายไปทั่วประเทศแต่การต่อสู้กับ Covid-19 เราได้เห็นผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดรับผิดชอบจังหวัดของตัวเอง เราเห็นคณะแพทย์เป็นผู้นำการต่อสู้ และสุดท้ายเราได้เห็นมหาเศรษฐีระดับต้น ๆ ของไทยเข้ามาให้ความคิดเห็นและช่วยเหลือสังคม

ดังนั้น หากจะฟื้นฟูประเทศไทยโดยการฟื้นฟูสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกันด้วยการมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดอีกครั้งแบบ New Normal พร้อมคณะกรรมการก็น่าจะเป็นแนวคิดทางหนึ่ง

คณะกรรมการฯ ที่ว่านี้ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วยนักธุรกิจในแต่ละจังหวัดที่ประสบความสำเร็จ มีความรู้ทางเศรษฐกิจ มีประวัติดี และเป็นที่ยอมรับ จำนวน 10 หรือ 15 คน

รัฐบาลเพียงกำหนดเป้าหมาย “การสร้างความสุขให้ประชาชนในจังหวัด” คณะกรรมการฯ ในแต่ละจังหวัดมีหน้าที่เสนอแผนงาน หรือโครงการเพื่อพัฒนาจังหวัดของตนในระยะ 1 ปี และ 3 ปี เข้ามายังรัฐบาล เป้าหมายย่อยแต่ละแผนงานมีดังนี้

สร้างงานให้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในวัยทำงานและพร้อมทำงานให้มีงานทำ

ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพหลักในท้องถิ่นอย่างมีความรู้และความมั่นคง

สร้างร้านค้าท้องถิ่น สร้างโอกาสการทำธุรกิจด้วยการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างถูกต้อง

ดูแลและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่สาธารณะต้องดี

สร้างปลอดภัยในจังหวัด ถนน ซอย แสงสว่าง หมู่บ้าน และการจัดเวรยามในหมู่บ้าน

สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีสมาคม ชมรม กลุ่มอาชีพ ยกเว้นเรื่องการเมือง

ส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดไม่ว่าการเรียนในสถานศึกษาหรือออนไลน์

เชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่น ความอบอุ่นของครอบครัว อาหารชุมชน และมีครัวชุมชน

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บริษัทห้างร้านเพื่อการตอบแทนชุมชนในจังหวัด

เป้าหมายย่อยเหล่านี้ล้วนมุ่งสู่เป้าหมายหลัก “การสร้างความสุขให้ประชาชนในจังหวัด”คณะกรรรมการฯ มีเวลา 60 วัน ในการเสนอแผนงาน จังหวัดไหนต้องการอะไรก็เสนอมา หากไม่ขัดต่อหลักการ เหตุผล กฎหมาย และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ รัฐบาลต้องจัดให้

ช่วงต่อสู้กับ Covid-19 ไม่มีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยว ดังนั้น คณะกรรมการฯ จังหวัดที่จัดขึ้นก็ต้องไม่มีการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวเช่นกัน แม้ผู้ว่าฯ จะมีความสามารถแตกต่างกัน แต่ช่วงต่อสู้กับ Covid-19 ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “เอาอยู่” ทุกจังหวัด

หากจะพึ่งพาระบบราชการแบบ Old Normal เพื่อฟื้นฟูสังคมและเศรษฐกิจของจังหวัดไปพร้อมกัน ผลในอดีตก็เห็นอยู่ ชนบทในหลายจังหวัดยังด้อยพัฒนามาจนทุกวันนี้

การให้ผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดเป็นประธานเพราะไม่ว่าอย่างไร การสนับสนุนหลายเรื่องรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานต้องมาจากส่วนกลาง

ส่วนคณะกรรมการให้เป็นเอกชนที่ประสบความสำเร็จเพราะต้องการดึงศักยภาพ ความรู้ และความสามารถเพื่อส่งเสริมและผลักดันแผนงาน ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑลอาจยกเว้นเพราะเป็นศูนย์กลางที่มีหน่วยงานมากมายประจำอยู่แล้ว

หากโครงการความร่วมมือเช่นนี้เกิดขึ้น ปัญหารัฐมนตรีที่ไม่รู้งาน ที่สั่งงานจากห้องแอร์จะลดลง ปัญหาการย้ายถิ่นฐานไปสู่จังหวัดทางเศรษฐกิจจะลดลง การเรียนออนไลน์ เรียนทางอินเตอร์เนทจะดีขึ้น ความอบอุ่นและปัญหาสังคมก็จะดีขึ้น

ผู้ว่าฯ แต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดก็แตกต่างกัน ผู้ว่าฯ จังหวัดไหนทำไม่ได้หรือผลงานไม่ดีก็ถูกสั่งย้ายไปดูแลจังหวัดที่เหมาะสมกว่า

แนวคิดนี้ทำให้รัฐบาลมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และตรวจสอบให้เป็นไปตามเป้าหมาย หากรัฐบาลและนักการเมืองทุกฝ่ายไม่มองให้เป็นการเมืองมากเกินไป และหากมองเพียงความสุขของประชาชนอย่างแท้จริง แนวคิดการฟื้นฟูโดยคณะกรรมการฯ แบบ New Normal นี้ก็น่าจะตอบโจทย์ได้โดยตรง

แนวคิดเป็นเพียงแนวคิด ส่วนการตัดสินใจ การดำเนินการ และความรับผิดชอบการฟื้นฟูยังคงเป็นของรัฐบาลท่ามกลางปัญหาโลกที่สาหัส และปัญหาภายในที่รุมเร้านับแต่นี้เป็นต้นไป

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

บริษัท Panasonic ย้ายโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามายังเวียดนาม

บริษัท Panasonic กำลังจะปิดโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทตู้เย็นและเครื่องซักผ้าซึ่งตั้งอยู่ไทยตั้งแต่ปี 2522 และย้ายฐานการผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนดังกล่าวไปรวมกับโรงงานผลิตสินค้าของ Panasonic ในเวียดนามเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
โรงงานที่ไทยจะหยุดการผลิตเครื่องซักผ้าในเดือนกันยายน 2563 และการผลิตตู้เย็นในเดือนตุลาคม 2563 ทั้งนี้บริษัทจะปิดตัวทั้งหมด รวมทั้งศูนย์การวิจัยและพัฒนาที่อยู่ใกล้เคียง ภายในเดือนมีนาคม 2564
ปัจจุบัน โรงงาน Panasonic ในไทยมีพนักงานประมาณ 800 คนที่ทำงานที่โรงงานดังกล่าวจะได้รับความช่วยเหลือให้ย้ายไปทำงานในบริษัทย่อยอื่นๆ ของบริษัท
เหตุผลที่บริษัท Panasonic ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ไปยังเวียดนาม เนื่องจากต้องการลดต้นทุนดำเนินการ และการจัดหาชิ้นส่วนการผลิต โดยปัจจุบัน โรงงาน Panasonic ที่เวียดนามซึ่งตั้งอยู่ชานเมืองของกรุงฮานอยเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทสำหรับสินค้าตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในอาเซียน ยังคงมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึง แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ามายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มต้นในปี 2513 บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นย้ายการผลิตเข้าไปสิงคโปร์และมาเลเซีย เนื่องจากค่าเงินเยนปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของญี่ปุ่น และต่อมาบริษัทผู้ผลิตญี่ปุ่นได้ย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่นๆ เช่น ไทย เนื่องจากค่าจ้างของสิงคโปร์ที่สูงขึ้นมาก ในขณะที่ปัจจุบัน บริษัทดังกล่าว กำลังปรับตัวอีกครั้ง โดยมองหาที่ตั้งที่ถูกกว่าและยังมีความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และไมโครเวฟสูง โดยมุ่งเป้าไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนประชากรมาก เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ปัจจุบันบริษัท Panasonic มีพนักงานในเวียดนามประมาณ 8,000 คน นอกเหนือจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้ว ยังผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ทีวี โทรศัพท์ไร้สาย เครื่องชำระบัตร และอุปกรณ์อุตสาหกรรม
บริษัท Panasonic กำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างโดยมีเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายประมาณ 100 พันล้านเยน (930 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในเดือนมีนาคม 2565 และอยู่การพิจารณา การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า
เมื่อปีที่แล้ว บริษัท Sharp เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเครื่องซักผ้าและตู้เย็นในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 30% และ 20% ตามลำดับ

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/614047/614047.pdf&title=614047&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.