CEO ARTICLE

FTA กับ VAT


Follow Us :

    

FTA ย่อมาจากคำว่า Free Trade Agreement หมายถึง “ข้อตกลงการค้าเสรี” และย่อมาจากคำว่า Free Trade Area ซึ่งหมายถึง “เขตการค้าเสรี”
ทั้ง 2 คำให้ความหมายคล้ายกัน ในทิศทางเดียวกัน คือ การยกเว้น “ภาษีศุลกากร” ให้กับสินค้าที่นำเข้าตามเงื่อนไขในข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ หรือกลุ่มประเทศ หรือพื้นที่ที่กำหนด
ในที่นี้ FTA จึงเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ
VAT ย่อมาจากคำว่า Value Added Tax หมายถึง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ซึ่งเป็นภาษีเพื่อการบริโภค ผู้ใดเป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ ผู้นั้นเป็นผู้ชำระ
ในกรณีนำเข้า ผู้นำเข้าต้องชำระ VAT ขณะนำเข้าให้กรมศุลกากรไปก่อน และขอคืนจากกรมสรรพากรในแต่ละเดือน ต่อมาหากผู้นำเข้าขายสินค้าที่นำเข้าภายในประเทศ ผู้นำเข้าก็ต้องเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อในประเทศไปส่งให้กรมสรรพากรอีกต่อหนึ่ง
ระบบเป็นเช่นนี้ตั้งแต่เริ่ม VAT ในวันที่ 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นมา
FTA กับ VAT มาเกี่ยวพันกันตรงที่ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าจากต่างประะเทศตามสิทธิ์ FTA ได้รับยกเว้น “ภาษีศุลกากร” แล้ว คำว่า “ยกเว้น” ก็น่าจะยกเว้นทั้งหมด แต่ทำไมกรมศุลกากรยังเรียกเก็บ VAT อีก บางท่านยอมชำระเรื่อยมา แต่ก็ยังเก็บข้อสงสัยไว้ … ทำไม ???

“ภาษีศุลกากร” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Customs Duty” ซึ่งน่าจะเรียกว่า “อากรศุลกากร” มากกว่า
เมื่อใดสินค้านำเข้ามีมาก เมื่อนั้นอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่เหมือนกัน และการจ้างงานภายในประเทศก็จะถูกกระทบมาก คนว่างงานก็จะมากขึ้น
ยิ่งสินค้าต่างประเทศมีคุณภาพมากกว่า ราคาถูกกว่า ผลกระทบก็ยิ่งมากขึ้น
การนำเข้ามาก ยังทำให้เงินตราต่างประเทศมีความต้องการเพื่อนำไปชำระค่าสินค้ามาก ค่าเงินต่างประเทศก็จะแพงขึ้น แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงและสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและวัตถุดิบเพื่อการผลิตที่ต้องนำเข้ามีราคาสูงขึ้น ค่าครองชีพก็จะสูงขึ้นอย่างเป็นห่วงโซ่
ภาษีศุลกากรจึงถูกใช้ให้เป็นกำแพงป้องกัน หรือเรียกว่า “กำแพงภาษี” (Tax Barrier) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อป้องกันสินค้าจากต่างประเทศ มิให้ไหลบ่าเข้ามามากเกินไป ในเมื่อเป็นภาษีเกี่ยวกับสินค้าและเพื่อป้องกันการนำเข้า ที่ถูกจึงควรเรียกว่า “อากรขาเข้า” (Import Duty)
2. เพื่อป้องกันสินค้าที่ผลิตภายในประเทศแต่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มิให้ไหล่บ่าออกไปต่างประเทศมากเกินไป ในเมื่อเป็นภาษีป้องกันการส่งออก ที่ถูกก็ควรเรียกว่า “อากรขาออก“ (Export Duty)
3. เพื่อป้องกันผลกระทบต่าง ๆ ดังที่กล่าวถึงข้างต้น
ขณะเดียวกัน หากสินค้านำเข้าหรือส่งออกเป็นสินค้าที่มีภาษีอื่นภายในประเทศต้องชำระร่วมด้วย กรมศุลกากรก็จะทำหน้าที่เรียกเก็บแทนหน่วยงานอื่นขณะนำเข้าหรือส่งออกไปเลย
ตัวอย่างภาษีอื่นภายในประเทศ คือ ภาษีสรรพสามิตสำหรับ เหล้า บุหรี่ เป็นต้น ก็เก็บแทนกรมสรรสามิต ภาษีมหาดไทยสำหรับ ปืน กระสุน รถยนต์ เป็นต้น ก็เก็บแทนกระทรวงมหาดไทย ภาษีมูลค่าเพิ่มก็เก็บแทนกรมสรรพากร เป็นต้น
แต่เมื่อโลกค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นไร้พรมแดน หลาย ๆ ประเทศต้องการให้สินค้าตนเองส่งออกได้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและการจ้างงานาภายในประเทศ การทำข้อตกลง FTA เพื่อทำลาย “กำแพงภาษี” ให้การส่งออกคล่องตัวจึงเกิดขึ้นเรื่อยมา
“กำแพงภาษี” หรือ “ภาษีศุลกากร” หรือ “อากรขาเข้า” จึงเป็นภาษีที่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นตามข้อตกลง FTA ระหว่างประเทศเท่านั้น ส่วนภาษีอื่นที่ไม่เกี่ยวกับข้อตกลง FTA และเป็นภาษีภายใน ประเทศ ไม่ได้ทำหน้าที่ “กำแพงภาษี” จึงไม่ได้รับการยกเว้น
นี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิ์ FTA จึงยังต้องชำระภาษีภายในประเทศอื่น เช่น ภาษี VAT เป็นต้น
ส่วนสินค้าที่อาจได้รับการยกเว้น VAT อยู่แล้วตามประกาศของกรมสรรพากร เช่น พืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต หรืออื่น ๆ หากนำเข้าก็จะได้รับการยกเว้น VAT ตามประกาศกรมสรรพากรเช่นเดิม มิได้ยกเว้นตาม FTA
FTA กับ VAT จึงเป็นคนละส่วนและไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ ต่อกันด้วยเหตุนี้

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

รถไฟจีน – ลาว คืบหน้ากว่า 90% ผู้ส่งออกนำเข้าจีน – ไทย ต้องเตรียมรับมือ

เส้นทางรถไฟจีน (คุนหมิง) – ลาว (เวียงจันทน์) ความยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศในยุทธศาสตร์การขยายอิทธิพลผ่านการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับนานาประเทศ Belt and Road Initiative (BRI) หรือโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะสร้างโอกาสสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก แต่จากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายบุคลากรข้ามพรมแดนเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ซึ่งรวมไปถึงการก่อสร้างในโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ด้วยเช่นกัน

แต่ภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ทางการจีนกลับยิ่งเพิ่มความเข้มแข็งในการประสานงานเพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้ Belt and Road Initiative (BRI) เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเส้นทางรถไฟที่กำลังเป็นที่จับตามองในภูมิภาคอาเซียนขณะนี้คือ เส้นทางรถไฟจีน – ลาว โดยเป็นเส้นทางรถไฟรางเดี่ยวที่เชื่อมต่อจากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ผ่านเมืองบ่อเต็น ชายแดนประเทศลาว และมุ่งลงใต้ไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสองประเทศในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2020 ที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศลาว ได้เข้าเยี่ยมชมการก่อสร้างทางรถไฟจีน – ลาว ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 91 และโครงการก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดใช้งานจริงได้ในเดือนธันวาคม ปี 2021

โดยทางรถไฟจีน – ลาว เป็นเส้นทางรถไฟสายแรกในโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ที่มีการลงทุน ก่อสร้าง และจัดการโดยฝ่ายจีนทั้งหมด สร้างขึ้นตามมาตรฐานทางเทคนิคและมาตรฐานการจัดการของจีน เนื่องจากเป็นรถไฟรางเดี่ยวจึงมีความเร็วอยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงไม่จัดเป็นรถไฟความเร็วสูงที่กำหนดความเร็วไว้ที่มากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นายโจว หมินเหลียง นักวิจัยอาวุโสจาก Chinese Academy of Social Sciences กล่าวให้ความเห็นว่า การเกิดวิกฤตเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการความร่วมมือในโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) แต่กลับช่วยเร่งความมือร่วมระหว่างประเทศให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่านานาประเทศต่างให้ความสำคัญกับโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และช่วยให้เศรษฐกิจแต่ละประเทศฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุด

ความคิดเห็น สคต.กวางโจว
รถไฟจีน-ลาว ไม่เพียงจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศลาว แต่ยังช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจีนและไทย เนื่องจากรถไฟจีน – ลาว ที่เชื่อมต่อจากเมืองคุน หมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ผ่านเมืองบ่อเต็น ชายแดนประเทศลาว และมุ่งลงใต้ไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว จะช่วยประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้ามาถึงจังหวัดหนองคายมากกว่าเส้นทางรถยนต์ R3A ถึง 2 วัน และยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่ง โดยข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร คำนวณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าจะมีต้นทุนถูกกว่าการขนส่งทางถนนถึง 2 เท่า ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเผชิญทั้งโอกาสและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นจากเส้นทางรถไฟจีน – ลาว ที่จะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2021 โดย โดยสินค้านำเข้าจากจีนจะสามารถทำราคาได้ถูกมากยิ่งขึ้นและเข้ามาตีตลาดประเทศไทยเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันสินค้าจากไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรอย่างผักและผลไม้สดที่ส่งออกไปยังจีนจะสามารถลดต้นทุนและประหยัดเวลาขนส่งได้มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันเส้นทางรถยนต์ R3A เป็นอีกหนึ่งเส้นทางหลักในการขนส่งผักและผลไม้สดจากไทยเข้าสู่เมืองทางใต้ของจีน เพื่อรับมือกับความท้าทายจากโครงการรถไฟจีน-ลาว ผู้ประกอบการไทยควรต้องรีบศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของตน และเตรียมแผนรับมือต่อไป

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/644291/644291.pdf&title=644291&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.