CEO ARTICLE

ไทยได้-ไทยเสีย


Follow Us :

    

ครม. ไฟเขียวเปิดรับต่างชาติ นักท่องเที่ยวพิเศษ
กักตัว 14 วัน อยู่ยาวได้ 9 เดือน

ข่าวข้างต้นแม้ยังไม่ยุติ แต่ข่าวนี้ก็สร้างความดีใจต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติอย่างมาก
เงิน 2 ล้านล้านบาทที่สูญไปกับการท่องเที่ยวจาก Covid-19 กำลังจะมีทิศทางดีขึ้น
เงื่อนไขเพื่อให้อยู่ได้ 9 เดือนประกอบด้วย ต้องพักระยะยาว ต้องมีหลักฐานการชำระค่าที่พัก หรือสำเนาโฉนดห้องชุดที่พักที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้พักหรือบุคคลในครอบครัว หลักฐานการเช่า หรือการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลซึ่งจะได้พักครั้งละ 90 วัน และต้องมีประกัน Covid-19
เมื่อครบกำหนดแล้วก็ให้มาขอขยายเวลาอยู่ต่อได้อีก 2 ครั้ง ถ้าได้รับการอนุมัติก็จะอยู่ได้อีกครั้งละ 90 วัน รวมทั้งหมดเป็น 270 วัน หรือ 9 เดือน
เจ้าของกิจการที่กล่าวถึงกำลังจะมีรายได้ เศรษฐกิจกำลังจะถูกกระตุ้น แรงงานไทยกำลังจะมีงานทำจากพิษภัยของ Covid-19 ที่ผ่านมา เมื่อธุรกิจหนึ่งยืนขึ้นได้ก็จะกระตุ้นการจ้างงานและกำลังซื้อให้กับธุรกิจอื่นให้ยืนได้ตามมา
นี่คือด้านดีที่ประเทศไทยกำลังจะ “ได้”
แต่จากข่าวการแพร่ระบาด Covid-19 ทั่วโลกที่มากขึ้นไม่หยุดหย่อน การเข้ามาของชาวต่างชาติก็อาจทำให้คนไทยได้รับเชื้อง่ายขึ้นไปด้วย
นี่คือด้านร้ายที่ประเทศไทยกำลังจะ “เสีย”
ขณะเดียวกัน ต้นทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการ Social Distancing เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ และพื้นที่ที่ต้องเสียไปกลายเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นส่งผลให้กำไรลดลง
ขณะที่จำนวนชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาก็ไม่มากเหมือนก่อน Covid-19 รายได้และผลกำไรของเจ้าของกิจการก็ต้องไม่มากตามไปด้วย
ทางเดียวที่จะทำให้อยู่รอดคือ การลดต้นทุนซึ่งหนึ่งในนั้นคือการจ้างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าจ้างต่ำกว่าแถมไม่เกี่ยงงานอีกด้วย
ดังนั้น ข่าวนี้นอกจากผู้ประกอบการไทยและแรงงานไทยจะดีใจแล้ว แรงงานประเทศเพื่อนบ้านก็ดีใจด้วย การหลั่งไหลเข้ามาทั้งถูกและผิดกฎหมายก็จะมากขึ้นส่งให้ Covid-19 มีโอกาสแพร่ระบาดมากขึ้น
แรงงานไทยกำลังจะถูกแย่งงาน และความเสี่ยงต่อ Covid-19 รอบ 2 จากแรงงานประเทศเพื่อนบ้านคือด้านร้ายอีก 2 ด้านที่ประเทศไทยกำลังจะ “เสีย”

หากประเทศไทยต้องการจะได้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวพิเศษครั้งนี้ รัฐบาลต้องลดข้อเสียให้น้อยลงด้วยการสร้างแรงจูงใจให้เจ้าของกิจการจ้างแรงงานไทย วิธีการง่าย ๆ เช่น
1. ให้ลดเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเหลือร้อยละ 0 ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเป็นระยะเวลา 12 เดือน เฉพาะแรงงานที่ได้ค่าแรงรายวันในอัตราขั้นต่ำ หรือเงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท
2. ให้ช่วยเหลือนายจ้างที่จ้างแรงงานไทยด้วยเงินในอัตรา 40 บาทต่อวัน หรือ 1,000 บาทต่อเดือนสำหรับแรงงานที่จ้างรายวันและรายเดือนตามอัตราค่าจ้างในตามข้อ 1.
หากไม่มีการจ้างในส่วนนี้ กองทุนประกันสังคมก็ไม่ได้เงินเข้ากองทุนอยู่แล้ว
อีกประการหนึ่ง กองทุนมีเงินมหาศาลอยู่แล้ว การลดเหลือร้อยละ 0 เฉพาะแรงงานที่ได้ค่าจ้างต่ำจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไร

นายจ้างไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเวลา 12 เดือน แถมยังได้เงินช่วยเหลืออีก 40 บาท ต่อการจ้างรายวัน หรือ 1,000 บาท ต่อการจ้างรายเดือนสำหรับค่าจ้างขั้นต่ำ
แบบนี้นายจ้างก็จ้างแรงงานไทยดีกว่า ลดปัญหาความยุ่งยากจากแรงงานต่างชาติไปมาก
นายจ้างอาจนำเงินช่วยเหลือที่ได้รับจากรัฐไปเพิ่มให้แรงงานไทยเพื่อจูงใจก็ได้ หากเห็นว่า ค่าจ้างที่ตนจ่ายได้นั้นยังไม่จูงใจมากพอต่อแรงงานไทย
หากรัฐบาลและกรมแรงงานช่วยเหลือนายจ้างตามแนวคิดนี้ ก็เชื่อว่า การเปิดประเทศครั้งนี้จะทำให้แรงงานไทยได้รับการจ้างงานมากขึ้น และประเทศไทยก็ “ได้” มากขึ้น
ส่วนความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 รอบ 2 เป็นสิ่งที่รัฐต้องใช้มาตรการที่เด็ดขาดมากกว่านี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทยต่อไป
แนวคิดนี้เป็นตัวอย่าง และตัวเลขก็เป็นสิ่งสมมติ รัฐบาลและกระทรวงแรงงานสามารถนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้เพื่อให้ประเทศไทย “ได้” มากกว่า “เสีย” จากการเปิดประเทศจริง

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

ชีวิตดี๊ดี เพราะยื่น Form D ผ่านระบบใหม่ – ESS

กรมการค้าต่างประเทศ เปลี่ยนระบบออก Form D ใหม่ เดิมทีการยื่นขอ Form D (ATIGA) กับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผู้ประกอบการต้องยื่นข้อมูลผ่านระบบ Digital Signature (DS)
แต่เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ และเป็นการยกระดับงานบริการด้วยนวัตกรรมดิจิทัลของกรมการค้าต่างประเทศ จึงมีประกาศยกเลิกการใช้ระบบ Digital Signature เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563
โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบ Electronic Signature and Seal (ESS) แทน เพื่อรองรับระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองฯ (OCP) ที่ปรับปรุงใหม่
การเปลี่ยนมาใช้ระบบ ESS ของกรมการค้าต่างประเทศ ได้เพิ่มการเชื่อมโยงกับอีก 2 ประเทศ คือ ประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เปิดบริการให้แก่ประเทศในอาเซียนทั้ง 6 ประเทศ คือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน และกัมพูชา ทั้งนี้ เหลือเพียงประเทศเดียวที่อยู่ระหว่างการทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูลของกรมฯ คือ ประเทศฟิลิปปินส์
ถ้าหากทุกประเทศในอาเซียนสามารถเชื่อมโยงระบบได้ทั้งหมด จะส่งผลให้การค้าขายภายในอาเซียนมีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถเพิ่มมูลค่าระหว่างกันได้มากขึ้นอีกด้วย

Form D ที่ยื่นผ่านระบบ ESS จะเอื้อให้ผู้ประกอบการมีชีวิตดี๊ดี เพราะสามารถช่วยประหยัดค่าจัดส่งเอกสารจากประเทศต้นทางไปยังประเทศปลายทางได้ อีกทั้งสะดวกและประหยัดเวลา
เพราะว่าผู้ซื้อที่ประเทศปลายทางสามารถสั่งพิมพ์ Form D ผ่านระบบได้เลย โดย Form D ที่สั่งพิมพ์ผ่านระบบที่ประเทศปลายทางจะมี Barcode เพื่ออ้างอิงอยู่ด้านบน
อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการปรับเปลี่ยนระบบออก Form D ใหม่นี้ ผู้ประกอบการอาจต้องใช้เวลาปรับตัวกันอีกสักระยะ
แหล่งข่าวแนะนำว่า เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในเรื่องของเอกสารสำหรับเดินพิธีการศุลกากรที่ประเทศนำเข้า
ผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออกควรขอกรมการค้าต่างประเทศให้จัดพิมพ์ original Form D ที่ประเทศไทยเผื่อไว้ด้วยจะดีกว่า
หากผู้ประกอบการมีข้อสงสัย/ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรไปที่สายด่วน กรมการค้าต่างประเทศ 1385

อ้างอิง : http://www.bni-prosperity.com/EN/read/atiga.html

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.