CEO ARTICLE

ระบบไต่สวน


Follow Us :

    

“เสนอให้เปลี่ยนระบบกระบวนการยุติธรรมจากระบบกล่าวหาเป็นระบบไต่สวน”

เนื้อหาข้างต้นเป็นบางส่วนของคุณวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญานายบอส เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการพิจารณาความผิดในกระบวนการยุติธรรมของไทย
“ระบบกล่าวหา” VS “ระบบไต่สวน” 2 ระบบนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ???
คำถามนี้ ผู้มีความรู้กฎหมายน่าจะเข้าใจดี แต่บุคคลทั่วไปอาจเข้าใจยาก
ปัจจุบัน “ศาลแพ่งและอาญา” ของไทยใช้ “ระบบกล่าวหา” โดยโจทย์กล่าวหาจำเลย จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็ส่งพยานหลักฐานที่หาได้ ทนายทั้ง 2 ฝ่ายซักถามและซักค้าน ศาลนั่งฟังบนบัลลังก์
หลักการของ “ระบบกล่าวหา” แบบง่าย ๆ คือ ศาลต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่ซัก ไม่ถามให้ฝ่ายใดรู้สึกว่า ศาลไม่เป็นกลาง
บางครั้งศาลเห็นพิรุธที่อาจเป็นคุณหรือโทษต่อฝ่ายหนึ่งแต่เพราะความเป็นกลาง ศาลจึงต้องปล่อยความยุติธรรมให้เกิดจากพยานหลักฐานทั้ง 2 ฝ่ายเท่านั้น ระบบนี้จึงมีกฎหมายคุ้มครองศาล ผู้ใดจะหมิ่นศาลมิได้ ความสามารถของทนายจึงเป็นปัจจัยสำคัญของ “ระบบกล่าวหา”
หากทั้ง 2 ฝ่ายส่งพยานหลักฐานไม่แน่นพอ หรือทนายซักถามหรือซักค้านไม่เก่ง ผลที่ออกมาก็อาจค้านสายตาประชาชนอย่างคดีนายบอสที่อัยการผู้เป็นทนายแผ่นดินถึงกับสั่งไม่ฟ้องก็ได้
ดังนั้น ข้อดีของระบบกล่าวหาคือ ศาลเป็นกลาง ภาระการพิสูจน์เป็นของโจทย์และจำเลย
ส่วนข้อเสียคือ พยานหลักฐานอาจไม่เพียงพอ อาจบิดเบือน อาจล่าช้า ศาลอาจเห็นแต่ยุ่งไม่ได้ กว่าจะสืบพยานแต่ละฝ่าย กว่าจะตัดสิน กว่าจะอุทธรณ์ กว่าจะฎีกา บางคดีจึงใช้เวลานับสิบ ๆ ปี
ความสามารถของทนายความและอัยการก็เป็นอีกปัจจัย ทั้งหมดมีส่วนให้ความยุติธรรมอาจไม่ใช่ความยุติธรรมที่แท้จริง บางคดีจึงพลิกกลับไปมาอย่างที่เห็น
ส่วน “ระบบไต่สวน” เป็นอย่างไรก็ให้ดูภาพยนต์ “เปาบุ้นจิ้น” ท่านเปาถามพยานเอง บางครั้งก็ให้จั่นเจาไปเสาะหาข้อมูลมาประกอบ หรือให้ดู “คดียุบพรรคอนาคตใหม่” โดยศาลรัฐธรรมนูญ
คดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญถามพยานฝ่ายโจทย์และจำเลยโดยตรง คุณธนาธร ครอบครัว และผู้อื่นอยู่ในฐานะพยาน หากจำตอนนั้นได้ คุณธนาธรตอบศาลหลายคำถามด้วยคำว่า “จำไม่ได้”
ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญท่านก็ตัดสินให้พรรคอนาคตใหม่ในฐานะจำเลยถูกยุบ และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารเป็นเวลา 10 ปี จากนั้นศาลก็ถูกวิจารณ์
ข้อดีของ “ระบบไต่สวน” จึงเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยศาลเองเพื่อหาพิรุธซึ่งมีส่วนช่วยประชาชนผู้รู้กฎหมายไม่มากหรือถูกใส่ร้ายให้ได้รับความยุติธรรม
ในเมื่อศาลถามข้อสงสัยเอง ความยุติธรรมตามหลักกฎหมายจึงเกิดได้มากกว่า คดีจึงเดินหน้าได้เร็วซึ่งต่างจากคดีนายบอสที่ใช้เวลา 7-8 ปีกว่าจะส่งถึงศาลจนบางข้อหา “หมดอายุความ”
ส่วนข้อเสียก็เกิดจากศาลต้องแสวงหาข้อมูลเอง อาจถูกมองว่าซักถามมากไปหรือน้อยเกินไปที่อาจเป็นข้อดี ข้อเสียแก่โจทย์หรือจำเลย แบบนี้ศาลก็อาจถูกมองว่า “ไม่เป็นกลาง” ระบบนี้จึงไม่มีกฎหมายคุ้มครองศาล ทำให้ศาลถูกวิจารณ์ได้ง่าย
แต่ผู้วิจารณ์ก็ต้องรับผิดชอบ ถูกศาลฟ้องร้องโดยส่วนตัวหากศาลเสียหายจากการถูกวิจารณ์
ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของ 2 ระบบยังมีปลีกย่อยอีกมาก และความจริงประเทศไทยก็ใช้ทั้ง 2 ระบบผสมกันมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 แล้ว คือศาลแพ่งและอาญาใช้ “ระบบกล่าวหา” ส่วนศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญใช้ “ระบบไต่สวน”

การเสนอของคุณวิชา มหาคุณครั้งนี้ ไม่รู้ว่าผู้เกี่ยวข้องจะตัดสินใจอย่างไร จะมีเงื่อนไขอะไร แต่ผลของการเสนอครั้งนี้น่าจะมีการคัดค้านไม่มากก็น้อย
ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากผู้มีอิทธิพล และนักการเมืองบางท่านที่ได้ประโยชน์จาก “การประวิงเวลา” และ “ความสามารถในการหาทนายเก่ง ๆ” ในระบบกล่าวหาจึงไม่ชอบระบบไต่สวน
อีกส่วนก็น่าจะเกิดจากความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่างกันมากในปัจจุบัน ความเชื่อนี้ก่อให้เกิดความแตกแยก ตามมาด้วยภาพและข่าวเท็จ การปล่อยข่าว การทำลาย การเกิดม็อบ เกิดการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุมาปิดกั้น สุดท้ายมีการแจ้งจับและการฟ้องร้องเป็นคดีความต่อเนื่องมากมาย
ผลของพฤติกรรมเหล่านี้ซ้ำเติมความแตกแยกให้มากและลึกยิ่งขึ้น เป็นคดีความมากยิ่งขึ้น และทุกคดีความก็ต้องขึ้นสู่ศาลมากยิ่งขึ้น
การใช้เวลาในกระบวนการทางศาลยิ่งมาก การพิสูจน์ความถูกผิดก็ยิ่งนาน ความแตกแยกก็ยิ่งพัฒนา บานปลาย ยืดเยื้อ สร้างความเสียหายมากขึ้น และยิ่งส่งผลให้ความเชื่อแต่ละฝ่ายแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น ลึกยิ่งขึ้น ภายใต้ “ระบบกล่าวหา”
ดังนั้น หากจะเร่งพิจารณาข้อดีข้อเสียของ “ระบบไต่สวน” ให้เร็วขึ้น เร่งแก้ไขกฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องให้เร็วขึ้น และนำ “ระบบไต่สวน” มาใช้ให้เร็วขึ้น การพิจารณาคดีเหล่านี้ก็น่าจะเร็วขึ้น และส่งผลให้ความแตกแยกลดลงไปด้วย
แต่ก็อย่างที่ว่า ทุกระบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย และให้ประโยชน์ต่อฝ่ายหนึ่ง
ผู้หวังดีต่อบ้านเมืองจริง ๆ จึงได้แต่ภาวนาให้ข้อเสนอการใช้ “ระบบไต่สวน” ของคุณวิชา ครั้งนี้จะไม่กลายเป็นการสาดน้ำมันเข้ากองไฟ ไม่เพิ่มความแตกแยกให้มากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

แรงไม่หยุด ฉุดไม่อยู่… ขนส่ง “เรือ+รถไฟ” ทางเลือกใหม่ของผู้ส่งออกไทยไปตลาดจีน

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 63 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 63 เป็นต้นไป สินค้าส่งออกจากฮ่องกงไปสหรัฐฯ ต้องได้รับการตีตราว่า “Made in China” แทน และจะไม่มีตรา “Made in HK” อีกต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้จากสหรัฐฯ ต่อการประกาศ “National Security Law” ของรัฐบาลกลางจีนในฮ่องกง

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการระงับกฎหมาย “Hong Kong Policy Act of 1992” ที่ถูกเพิกถอนโดยคำสั่ง “Hong Kong Normalisation”จากประธานาธิบดี Donald Trump เนื่องจากปัจจัยที่ชี้ว่าฮ่องกงไม่มีอิสระเพียงพอที่จะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากจีนอีกต่อไป โดยก่อนหน้านี้บริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มอันเป็นผลจากข้อพิพาทจากสงครามทางการค้าจีน – สหรัฐฯ ที่เริ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้สินค้าที่ผลิตในฮ่องกง ต้องเสียภาษีเมื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ เช่นเดียวกันกับจีน แต่เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 63 กรมศุลกากรสหรัฐฯ ได้แถลงว่าสินค้าฮ่องกงที่ส่งออกจากมายังสหรัฐฯ จะยังคงปลอดภาษี ตามคำยืนยันจากรัฐบาลกลางจากกรุงวอชิงตัน

ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางแห่งการส่งออกแบบ re–exports ที่สำคัญของเอเชีย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติของรัฐบาลฮ่องกงชี้ว่ามูลค่าการส่งออกจากฮ่องกงไปยังสหรัฐฯ ในปี 2563 นี้ (เดือน ม.ค. – พ.ค.) มีมูลค่า 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในปี 2562 ทั้งปี มีมูลค่า 3.91 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นสินค้าที่ผลิตในฮ่องกงเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้น ซึ่งข้อมูลจาก สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Trade and Development Council) ได้แสดงให้เห็นว่าสินค้าที่ผลิตในฮ่องกงส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในปี 2562 มีมูลค่าเพียง 471 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของสินค้าส่งออกทั้งหมดที่รวมสินค้า re-exports ด้วย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลฮ่องกงได้ประท้วงการตัดสินใจดังกล่าวของสหรัฐฯ โดยกล่าวว่าสหรัฐฯ มิได้ใส่ใจต่อการได้รับสถานะของเขตปกครองพิเศษในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) โดยการเปลี่ยนแปลงจากการยกระดับของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีน – สหรัฐฯ นี้ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการฮ่องกงที่ผลิตสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ ต้องทบทวนว่าควรผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ต่อหรือไม่

ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ
1. ข้อมูลจากสำนักงานสำรวจสำมะโนครัว และสถิติฮ่องกง (The Census And Statistics Department, Hong Kong) ได้แสดงให้เห็นมูลค่าการส่งออกจากฮ่องกงไปยังสหรัฐฯ โดยในรอบ 10 ปี จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกในปี 2561 มีมูลค่าสูงสุด

2. มูลค่าการส่งออกจากสินค้าที่ผลิต และแปรรูปจากฮ่องกงไปยังสหรัฐฯ นั้นมีอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกทั้งหมดที่รวมสินค้า re-exports ด้วย แต่ความไม่แน่นอนจากข้อพิพาททางสงครามการค้าระหว่างจีน – สหรัฐฯ นี้ จะทำให้ผู้ประกอบการในฮ่องกงตัดสินใจยกเลิกการผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในธุรกิจ

3. จากข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีน – สหรัฐฯ ที่กำลังยกระดับความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ผู้ประกอบการในฮ่องกงได้มองหาการย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออก และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจมากที่สุดเนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และมีการสนับสนุนการลงทุนจากรัฐบาลไทย จึงเป็นโอกาสดีของไทยที่จะดึงดูดธุรกิจขนาดใหญ่เข้าประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/643861/643861.pdf&title=643861&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.