CEO ARTICLE

Ant Group

Published on January 26, 2021


Follow Us :

    

“แจ๊ค หม่า” ปรากฎตัวครั้งแรกหลังโดนรัฐบาลจีนเล่นงาน

20 ม.ค. 64 Prachachart.net ขึ้นหัวข่าวข้างต้น Jack Ma ใช้ VDO Conference ออกสื่อสาธารณะโดยไม่กล่าวถึงสาเหตุของการหายตัวไปราว 2 เดือนและไม่พาดพิงรัฐบาลจีน
ทุกเรื่องราววิกฤติในโลกโซเซียลปัจจุบันมักทำให้ข้อมูลที่กว้างและลึกถูกตีแผ่เสมอ
การหายตัวไปราว 2 เดือนนี้ก็เช่นกัน สื่อต่าง ๆ ขุดคุ้ย คนทั่วโลกให้ความสนใจทำให้ข้อมูลของรัฐบาลจีน Jack Ma, Ant Group, และ Alibaba ถูกตีแผ่
Alibaba เป็นธุรกิจ eCommerce อันดับ 1 ของจีน ตอบสนองประชากรเกือบ 1,400 ล้านคน สร้างการเติบโตควบคู่กับเศรษฐกิจของจีนมานาน ครอบคลุมธุรกิจหลากหลาย
Alibaba เป็นสถานที่พบกันของคนซื้อคนขาย เป็น Supply Chain เป็น Logistics เป็นศูนย์รวมโฆษณา เป็น Cloud Data เป็นบริการชำระเงินออนไลน์ เป็นธุรกิจให้เงินกู้ภายใต้ชื่อ Ant Financial หรือ Fintech ต่อมาเปลี่ยนเป็น Ant Group และธุรกิจอื่นอีกมาก
Ant Group ทำธุรกิจการเงินมีส่วนแบ่งในจีน 54.9% ใช้ AI (Aritficial Intelligent) ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถประเมินสินเชื่อได้ราว 3 นาที มีความแม่นยำ ไม่วุ่นวายกับหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีความเสี่ยงต่ำมาก
การเติบโตของประเทศจีนจึงเป็นการเติบโตของ Alibaba คู่กัน จนสำนักวิจัย Center for Economics and Business Research ในอังกฤษคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐในปี 2032
ความเป็นที่ 1 ของจีนและของ Alibaba จึงเป็นสิ่งเคียงคู่กันอย่างน่าคิด
ตัวอย่างง่าย ๆ หาก Ant Group ทำให้คนจีนมีแต่หนี้สินจากการกู้ง่าย ใช้จ่ายเกินตัว ฟองสบู่ก็อาจเกิดในจีนอย่างที่ไทยเคยเกิด และกระทบต่อความเป็นที่ 1 ที่จีนกำลังจะก้าวไปก็ได้
ปลายปีที่แล้ว ขณะที่ Jack Ma กำลังขออนุญาตนำหุ้น Ant Group ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alibaba มูลค่าหุ้นมีมากถึง 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในฮ่องกงและจีน Jack Ma ก็ให้สัมภาษณ์ว่า “ระบบการเงินของจีนล้าสมัย”
คำพูดนี้ถูกวิเคราะห์ว่า เข้าทางรัฐบาลจีนจน Jack Ma ถูกเรียกพบ ถูกสั่งระงับการซื้อขายหุ้น Ant Group จากข้อบกพร่องของหุ้นที่พบภายใต้กฎหมายจีน
Jack Ma เป็นคนช่างพูด ชอบออกสื่อ และชอบให้สัมภาษณ์จึงอาจเคยพาดพิงรัฐบาลจีนที่ส่งผลลบ ขณะที่ข่าวให้ข้อมูลว่า Jack Ma ถือหุ้นในกลุ่มนี้น้อยมากเพียง 3-5% หรืออาจไม่ถึง 10% โดยหุ้นส่วนใหญ่เป็นของธนาคารในญี่ปุ่นและนักลงทุนสหรัฐ
หาก Alibaba เติบโตมากยิ่งขึ้นจนรัฐบาลจีนคุมไม่ได้ เป็นที่คาดหมายว่าไม่วันใดก็วันหนึ่งเศรษฐกิจจีนจะถูกควบคุมโดย Alibaba ภายใต้ผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐและญี่ปุ่นซึ่งรัฐบาลจีนคงยอมไม่ได้
ข่าว Jack Ma หายตัวจึงเกี่ยวพันกับหุ้น Ant Group และรัฐบาลจีน คนจีนและทั่วโลกจึงให้ความสนใจ ส่วน Jack Ma ก็ถูกสื่อสรุปว่า “ชีวิตคงจบสิ้นคราวนี้เพราะปาก”

ทุกประเทศในปัจจุบัน ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์หรือประชาธิปไตยต่างก็มีกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นกับประชาชน และใช้กฎหมายควบคุมธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่มีแต่การแข่งขันจนอาจนำไปสู่การผูกขาดเศรษฐกิจของประเทศ
สหรัฐก็มีกฎหมาย และมีกิจการยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon, Apple, eBay และอื่น ๆ
ขณะที่ไทยก็มีกฎหมาย มี 7-Eleven, มีสหพัฒ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ระบบการเงิน และมีกิจการอื่น ๆ ที่เป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ครอบคลุมประเทศไม่ต่างกัน
การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต้องควบคู่กับการเติบโตของธุรกิจเอกชน แต่ธุรกิจมักมุ่งผลกำไร ปลาใหญ่มักกินปลาเล็ก และการผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดภายใต้กฎหมายจึงเกิดได้ง่าย
ประเทศในระบอบประชาธิปไตยต้องอาศัยนักการเมือง การเลือกตั้ง ใช้เงินเพื่อหาคะแนนนิยม มีการรับบริจาคจากธุรกิจ การตอบแทน และสุดท้ายก็ได้นักการเมืองมาออกกฎหมาย
แต่ในระบอบคอมมิวนิสต์แบบจีนที่โชคดีได้ผู้นำมีวิสัยทัศน์และมุ่งพัฒนาประเทศ ไม่สนใจคะแนนนิยมและนักการเมือง และก็มีกฎหมายที่ให้ผลสำเร็จในวันนี้ไม่ต่างจากประชาธิปไตย
การที่ Ant Group ถูกยับยั้งด้วยกฎหมาย Jack Ma อาจไม่ยอมรับด้วยใจ อาจเกรงกลัว แต่ไม่ต่อต้าน เมื่อปรากฎตัวอีกครั้งก็ไม่พูดถึงคล้ายแสดงการยอมรับ
Ant Group และกฎหมายจึงน่าจะเป็นบทเรียนที่ดีของประเทศไทย
หากรัฐบาลมั่นใจว่าระบบกฎหมายของไทยสามารถสร้างความเท่าเทียม สร้างความเจริญ และความสุขได้ รัฐบาลก็ควรบังคับใช้กฎหมายที่มีให้เต็มที่ ให้เร็ว และให้ผลงานสร้างการยอมรับโดยไม่หวั่นเกรงการต่อต้านใด ๆ
มิฉะนั้นตัวรัฐบาลเองจะกลายเป็นผู้ผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดอำนาจร่วมกับธุรกิจกึ่งผูกขาดยักษ์ใหญ่ ไม่ใช้อำนาจจัดการจริงจัง เป็นเงื่อนไขให้เกิดการต่อต้านมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งซะเอง

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : January 26, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

เวียตเจ็ทขึ้นแท่น ‘สายการบินโลว์คอสต์แห่งปี’ จากการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ

สายการบินเวียตเจ็ทได้รับรางวัล “สายการบินโลว์คอสต์แห่งปี” และ รางวัล “ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าใต้ท้องเครื่องแห่งปี” จากนิตยสารเพย์โหลด เอเชีย (Payload Asia) นิตยสารชั้นนำระดับนานาชาติในวงการการขนส่งสินค้า เป็นผลจากการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ยอดเยี่ยมของสายการบินฯในปี 2563
รางวัลเพย์โหลด เอเชีย ครั้งที่ 7 นี้ มอบให้แก่ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศที่มีผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นสายการบินต่าง ๆ ทั่วโลก ท่าอากาศยาน และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เป็นให้ความสำคัญกับบริการต่าง ๆ ที่สร้างคุณประโยชน์แก่ตลาดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

จูเลียน นาวาร์รา บรรณาธิการนิตยสารเพยโหลด เอเชีย กล่าวว่า “เวียตเจ็ทชนะรางวัลถึงสองสาขาด้วยกันในปีนี้ เป็นผลจากการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการขนส่งทางอากาศอย่างทันการณ์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และด้วยความโดดเด่นในการบริหารงานด้านการขนส่งทางอากาศ ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในการเติมเต็มความต้องการด้านการขนส่งทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก กล่าวได้ว่า เวียตเจ็ทได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเป็นมืออาชีพในวงการการขนส่งสินค้าทางอากาศได้อย่างน่าประทับใจ”

“เราภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ชนะรางวัลระดับโลกเช่นนี้จากการให้บริการการขนส่งสินค้าทางอากาศในปี 2563 ซึ่งนับเป็นปีที่ท้าทายอย่างมาก ผมเชื่อว่า การปฏิบัติการด้านขนส่งสินค้าของเวียตเจ็ทและสายการบินอื่น ๆ ทั่วโลก จะเติบโตอย่างมากในเวลาอันใกล้นี้” โด๋ ซวน กวาง ประธานธรรมการบริหาร เวียตเจ็ทคาร์โก้ กล่าว

ในปีที่ผ่านมา เวียตเจ็ทได้ปรับเปลี่ยนเครื่องบินโดยสารจำนวนหนึ่งให้เป็นเครื่องบินสำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยใช้กลวิธีการดำเนินงานแบบใหม่เพื่อเพิ่มขีดสมรรถนะในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศให้ดียิ่งขึ้น เวียตเจ็ทได้ขนส่งสินค้าไปแล้วรวมกว่า 60,000 ตันทั่วโลก ส่งผลให้ผลประกอบการจากการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 75% นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา สายการบินเวียตเจ็ทยังได้ลงจอด ณ ทวีปอเมริกาและทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก อันเป็นผลจากข้อตกลงร่วมการสายการบินอื่น ๆ ด้วยผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เวียตเจ็ทเป็นหนึ่งในไม่กี่สายการบินในโลกที่รายงานงบการเงินเป็นบวกในปี 2020 ที่ผ่านมา

ที่มา : http://www.logisticstime.net/archives/21624

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.