CEO ARTICLE

เหลียวหลังแลหน้า

Published on February 9, 2021


Follow Us :

    

พม่ากับไทยต่อสู้กันมาในอดีต ผลัดกันแพ้และชนะ มีระบบกษัตริย์ ผ่านยุคล่าอาณานิคมและผ่านการรัฐประหารเหมือนกัน แต่ภาพที่เห็นปัจจุบันต่างกัน

ทุกประเทศในเอเซียล้วนตกเป็นเป้าหมายในยุคล่าอาณานิคม อินเดียมีรัฐเล็ก ๆ มาก เจ้าผู้ครองแคว้นก็มาก แผ่นดินจึงมีแต่ความขัดแย้ง ไม่มีเอกภาพ
อังกฤษใช้วิธียุแหย่ ให้ผลประโยชน์ สร้างความขัดแย้ง ฆ่าฟันกันเอง และใช้กำลังทหารยึดครองอินเดียได้ในปี พ.ศ. 2300 (Matichon Online 20 พ.ค. 62)
จากนั้นอังกฤษก็ใช้วิธีการเดียวกันกับพม่าที่มีชนเผ่าเป็นร้อย แตกแยก ไร้เอกภาพเหมือนอินเดีย การยุแหย่ด้วยผลประโยชน์จึงง่ายจนพม่าตกเป็นของอังกฤษในปี 2380
ระบบกษัตริย์ถูกทำลาย พระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายถูกจับเป็นเชลยให้ไปอยู่ที่อินเดีย กระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น นับแต่นั้นพม่าไม่มีระบบกษัตริย์อีกเลย
อังกฤษนำแขกเบงกอลที่อาศัยตามพรมแดนระหว่างอินเดียและบังกลาเทศ หรือโรฮินจาที่พม่าไม่นับญาติด้วยมาใช้แรงงานในพม่า สร้างผลประโยชน์มหาศาลจากไม้สัก ป่าไม้ ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และทำกำไรมหาศาลจากพม่า
กระทั่งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) ญี่ปุ่นต้องการบุกยุโรปจึงเข้ายึดพม่าเพื่อใช้เป็นทางผ่านเข้าสู่ยุโรป “อูอองซาน” จึงนำคนเข้าร่วมกับญี่ปุ่นเพื่อขับไล่อังกฤษ
แต่เมื่อพบความไม่จริงใจ อูอองซานจึงหันกลับไปร่วมมือกับอังกฤษขับไล่ญี่ปุ่น
ปี 2488 ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษอยู่ฝ่ายชนะจึงหวนกลับเข้ายึดพม่าเป็นรอบที่ 2 แต่จากการเจรจาของอูอองซานและความดีความชอบที่ช่วยขับไล่ญี่ปุ่น อังกฤษจึงยินยอมลงนามคืนเอกราชให้พม่าในวันที่ 27 ม.ค. 2490
พม่าได้เอกราช อูอองซานยกร่างรัฐธรรมนูญ เชิญผู้นำชนกลุ่มน้อยมากมายร่วมลงนามในวันที่ 12 ก.พ. 2490 สาระสำคัญคือ “การให้ชนเผ่าต่าง ๆ รวมอยู่กับพม่าเป็นเวลา 10 ปีเพื่อสร้างชาติให้เข้มแข็ง และจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ” อูอองซานมุ่งที่ความสามัคคีของคนในชาติ
เมื่อครบ 10 ปี และพม่าเข้มแข็งแล้ว ชนเผ่าใดจะแยกตัวเป็นอิสระก็มีเสรีภาพทำได้
แต่แล้วแผ่นดินที่ไม่มีเอกภาพ แต่มีผลประโยชน์ทางการเมืองก็ทำให้พม่าพังพินาศอีก วันที่ 19 ก.ค. 2490 อูอองซานถูกสังหารโดยนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม และเสียชีวิตในวัย 32 ปี
จากนั้นไม่นาน ทหารก็ยึดอำนาจ และครองอำนาจเรื่อยมา การขาดเอกภาพ การถูกยุแหย่จากต่างชาติ การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์เป็นสาเหตุของการล่มสลาย
อูอองซานถูกจารึกเป็นผู้เสียสละ ทุ่มเทจนได้เอกราช และได้ชื่อว่าเป็น “วีระบุรุษของพม่า”
“อองซานซูจี” เป็นบุตรสาวของ “อูอองซาน” เกิดเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2488 ในเวลาที่ระบบกษัตริย์พม่าถูกลืมเลือนไปแล้ว ขณะที่บิดาถูกสังหารเธอมีอายุเพียง 2 ปี
ซูจีผ่านความทุกข์ยากมามาก เรียนหนังสือจากอินเดียและอังกฤษ ทำงานให้กับองค์การสหประชาชาติในสหรัฐ และการทูตหลายแห่ง แต่งงานกับคนอังกฤษ ไม่มีความสนใจหรือมีท่าทีจะยุ่งกับการเมืองในพม่าเลย
เมื่อซูจีมีอายุ 43 ในปี 2531 ขณะกลับพม่ามาเยี่ยมมารดาที่ป่วย เธอก็พบว่า เศรษฐกิจในพม่าตกต่ำมาก ประชาชนเกือบทั้งหมดแสดงความไม่พอใจรัฐบาลทหาร เกิดการประท้วง เกิดการจราจล เกิดการปราบปราม การฆ่า และความวุ่นวายไปทั่ว
แม้ทหารจะเปลี่ยนตัวผู้นำ แต่พฤติกรรมต่าง ๆ ก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม
ซูจีถูกเรียกร้องให้ขึ้นปราศัย และต่อมาก็ถูกขอร้องให้เป็นผู้นำกลุ่มเรียกร้องในฐานะที่เธอเป็นลูกสาวของ “อูอองซาน” วีระบุรุษของพม่า เธอตอบรับ และยอมเสียสละตนเอง
นับแต่ปี 2531 เป็นต้นมา อองซานซูจีก็กลายเป็นสัญลักษณ์เรียกร้องประชาธิปไตย และเป็นผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD (National League for Deocracy)
ซูจียึดแนวทางสันติ อหิงสา ละทิ้งครอบครัว ไม่สร้างวาทะกรรมให้เกิดความแตกแยก นำฝูงชนได้เกือบทั้งประเทศ ยอมถูกจองจำ และถูกกักบริเวณหลายครั้งเกือบ 20 ปี
กระทั่งเธอได้รับการปล่อยตัวในปี 2555 และนำพรรค NLD เข้าสู่การเลือกตั้ง ได้คะแนนเสียงราวร้อยละ 90 ทุกครั้ง ทั้งที่ทหารกำหนดรัฐธรรมนูญให้มีสัดส่วนทหารเป็นสมาชิก และห้ามบุคคลที่มีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีก็ตาม เธอก็ไม่ต่อต้าน
ซูจีไม่มีประวัติการทำธุรกิจ ไม่มีเงินนับพัน นับหมื่นล้าน ไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมือง มีเลือดนักสู้จากบิดา การต่อสู้เรียกร้องของเธอจึงดูไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่เป็นการเสียสละทั้งชีวิตที่แท้จริง
การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 จึงได้รับการต่อต้านจากคนพม่าส่วนใหญ่เกือบทั้งประเทศที่กำลังลุกลามใหญ่โตยกเว้นคนกลุ่มน้อยที่เคยได้ประโยชน์จากรัฐบาลทหาร

เหลียวหลังพม่าก็เพื่อแลหน้าประเทศไทย
การชิงอำนาจบริหารเป็นเรื่องปกติของทุกประเทศ แต่วันนี้ไทยยังมีระบบกษัตริย์เป็นศูนย์รวม ไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร ทุ่มเทให้กับประชาชน คนส่วนใหญ่ยอมรับ รัก และเทิดทูล
ไทยมีรัฐบาลจากทหาร มีผู้สูญเสียผลประโยชน์ มีเหตุการณ์มหาวิปโยคตุลา 2516 มีการชุมนุมทางการเมืองใหญ่ ๆ หลายครั้ง มีผู้ต่อต้านรัฐบาลทหารด้วยความบริสุทธิ์ใจ มีม็อบจัดตั้งที่มีธุรกิจและเงินนับพันนับหมื่นล้านอยู่เบื้องหลัง และมีการเลียนแบบการต่อสู้ซึ่งกันและกัน
แต่ที่ต่างกันคือ ปัจจุบันไทยมีเสรีภาพภายใต้กฎหมาย และมีการสร้างข่าวเท็จข่าวลวงเพื่อใช้พลังบริสุทธิ์ส่วนน้อยสร้างกลียุคย้อนรอยพม่า
พม่าเปลี่ยนเป็นเมียนม่า มีอองซานซูจีที่เป็นผู้หญิง คนเกือบทั้งประเทศสนับสนุน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ขณะที่ไทยไม่มีคนอย่างเธอ แต่กลับมีคนในไทยแอบอ้างเธอ ฉวยโอกาสจากเธอหลายครั้ง ไม่ใส่ใจความยากลำบาก และไม่เรียนรู้การต่อสู้ของครอบครัวอองซานอย่างแท้จริง
นี่คือภาพที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
พม่าและไทยยังวนเวียนอยู่กับการชิงอำนาจไม่สิ้นสุด ไม่มีใครตอบได้ว่าฝ่ายใดชอบธรรม หรือไม่ชอบธรรมนอกจากเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าใจประวัติศาสตร์ของประเทศจริง ๆ ไม่ใช่จากเสียงส่วนน้อย และไม่ใช่จากข่าวเท็จข่าวลวงจนภาพที่เห็นปัจจุบันต่างกัน
เหลียวหลังแลหน้าก็เพื่อเสริมความเข้าใจมิให้คนไทยแตกแยกกันไปมากกว่านี้

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : February 9, 2021

Dr. Sitthichai Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

รัฐบาลท้องถิ่นในจีนออกนโยบายสร้างแรงจูงใจให้พนักงานไม่เดินทางกลับบ้านช่วงตรุษจีน

วันขึ้นปีใหม่จีน หรือวันตรุษจีน ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ รัฐบาลท้องถิ่นทุกแห่งในจีนต่างต้องกังวลกับการที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการเดินทางกลับบ้านในต่างถิ่นและเดินทางกลับมาจากต่างถิ่น ซึ่งอาจจะนำมาสู่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 เป็นต้นมา รัฐบาลท้องถิ่นของเมืองต่าง ๆ ในจีนได้เริ่มทยอยออกนโยบายสิทธิประโยชน์แก่ประชาชนในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในพื้นที่ไม่เดินทางกลับบ้านที่อยู่ต่างเมืองหรือต่างมณฑล เพื่อควบคุมและลดโอกาสการแพร่ระบาดของโควิด-19

จนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 รัฐบาลท้องถิ่น 9 เมืองจาก 16 เมืองในมณฑลซานตง ได้ทยอยประกาศนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นที่สนใจของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เช่น นครจี่หนานแจกเงินชดเชยให้คนงานที่มาจากต่างถิ่น 500 หยวนต่อคน เมืองชิงต่าวแจกคูปองอิเล็กทรอนิกส์มูลค่า 600 หยวนและแจกคูปองชอปปิงมูลค่า 1,000 หยวน เมืองตงหยิง หลินอี๋และเต๋อโจวแจกเงินชดเชย 1,000 หยวนต่อคน และหลาย ๆ เมืองได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีน อีกทั้ง ฟรีบัตรเข้าชมการแสดง ฟรีค่าเข้าสถานที่ออกกำลังกายและค่าลงทะเบียนเข้ารักษาพยาบาล

ขณะนี้ รัฐบาลท้องถิ่นในกรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และมณฑลอื่น ๆ ได้ทยอยออกนโยบายฯ ที่มีความหลากหลายและคล้ายคลึงกัน เช่น การแจกอั่งเปาเงินสด พนักงานจะได้รับอั่งเปาเงินสดตั้งแต่ 300 – 2,000 หยวนต่อคน บางพื้นที่ได้รับอั่งเป่าเงินสด 50 – 100 หยวนต่อวันต่อคน สำหรับห้างร้านบริการต่าง ๆ จะได้รับอั่งเปาตั้งตแต่ 2,000 – 100,000 หยวนต่อแห่ง นอกจากนี้ ยังมีการแจกคูปองเงินสด ลดค่าเช่าบ้านครึ่งเดือน ฟรีค่าจอดรถในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งการจัดเลี้ยงอาหารในวันก่อนวันตรุษจีน ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละพื้นที่

ทั้งนี้ การออกนโยบายดังกล่าว ไม่เพียงแต่ช่วยควบคุมและลดโอกาสการแพร่ระบาดของโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาทำงานไม่ได้ของพนักงานภายหลังเทศกาลตรุษจีน ซึ่งบางพื้นที่อาจต้องล็อกดาวน์อีกครั้งหรือพนักงานอาจต้องกักตัวเป็นระยะเวลานาน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงงานหรือบริษัท และกระทบต่อผลผลิต รายได้ และเศรษฐกิจในพื้นที่ รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนส่วนใหญ่จะยอมอยู่ฉลองเทศกาลตรุษจีนในพื้นที่ที่ตนทำงานอยู่

ที่มา : https://thaibizchina.com/

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.