CEO ARTICLE

นายกฯ 8 ปี

Published on August 16, 2022


Follow Us :

    

อุตส่าห์เขียนรัฐธรรมนูญเอง แต่งตั้ง ส.ว. เอง ป้องกันการผูกขาดอำนาจเองโดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ 8 ปี แต่ไม่ชัดเจนว่าการนับอายุควรเริ่มนับตั้งแต่เมื่อไร
ความแตกแยกจากวิกฤตินายกฯ 8 ปีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ประชาชนควรรับฟังอย่างไร ?

หากจะกล่าวว่า พล อ. ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. สร้างกติกาเพื่อตนเองให้ได้เปรียบผู้อื่น “ก็ใช่” อย่างที่ถูกบูลลี่ในโลกโซเซียล
หากจะว่าไม่ได้สร้างเองอย่างเดียวแล้วใช้เลย แต่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมลงประชามติ และได้คะแนน 16,820,402 เสียง หรือคิดเป็น 61.35% ถือเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่เต็มใจมอบรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ พล อ. ประยุทธ์ ได้เปรียบ “ก็ใช่” อย่างมีหลักการและเหตุผล
หากจะว่าการลงประชามติเมื่อปี 2559 คนรุ่นใหม่ในวันนั้นยังเด็กมาก ยังลงมติไม่ได้ หากให้ลงประชามติใหม่ คะแนนที่ไม่เห็นชอบอาจจะมากกว่าเห็นชอบ “ก็ใช่” อีกอย่างพอจะเข้าใจ
ไม่ว่าจะมองมุมไหน “มันก็ใช่ทั้งหมด” แต่เป็น “การใช่” ที่มีนัยทางการเมืองต่างกันจนมาถึงการนับอายุ 8 ปี ของ พล อ. ประยุทธ์ กลับเป็นความขัดแย้งตามตัวอย่าง ดังนี้
ตัวอย่าง 1 นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ (มาตรา 158 วรรค 4)
คนที่ยึดตัวอย่าง 1 จะตีความว่า “พล อ. ประยุทธ์เริ่มเข้าสู่ตำแหน่งนายกฯ ครั้งแรกจากการรัฐประหารในวันที่ 24 ส.ค. 2557 นับรวม 8 ปี ก็ต้องสิ้นสุดในวันที่ 23 ส.ค. 2565 ที่จะถึงนี้”
ตัวอย่าง 2 คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” (บทเฉพาะกาล มาตรา 264)
คนที่ยึดตัวอย่าง 2 จะตีความว่า “รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้เมื่อวันนี้ 6 เม.ย. 2560 พล อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ มาก่อนรัฐธรรมนูญนี้จึงถือเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 เม.ย. 2560 ไปด้วย หากนับรวม 8 ปี ก็ต้องสิ้นสุดในวันที่ 5 เม.ย. 2568 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า”
ตัวอย่าง 3 นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี” (มาตรา 158 วรรค 2 และ 3)
คนที่ยึดตัวอย่าง 3 จะตีความว่า “นายกรัฐมนตรีต้องเป็นคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภาฯ และประธานสภาฯ ลงนามสนองพระบรมราชโองการเท่านั้น หากเป็นนายกฯ ก่อนหน้านั้นไม่นับ กรณี พล อ. ประยุทธ์ ผ่านระบบการเลือกตั้งในปี 2562 จากนั้นก็ได้ก็รับการแต่งตั้งจากสภาฯ และประธานสภาฯ ลงนามสนองฯ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2562 ดังนั้น หากนับรวม 8 ปี ก็ต้องสิ้นสุดในวันที่ 8 มิ.ย. 2570 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า”
ทั้ง 3 ตัวอย่างลอยไปมาอยู่ในโซเซียลเวลานี้ ส่งผลให้ พล อ. ประยุทธ์ อยู่เป็นนายกฯ ต่อได้ถึง 3 ระยะคือ อยู่ได้แค่ปี 2565 นี้, หรืออยู่ถึงปี 2568 หรืออยู่อีกยาวไปถึงปี 2570
พล อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ จากการรัฐประหารมาก่อน ระยะเวลา 8 ปีจึงเริ่มนับได้ถึง 3 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างล้วนมีความเป็นไปได้ มีกฎหมายรองรับ และเป็นความขัดแย้งทางกฎหมายที่ทำให้ประชาชนอยู่ข้างไหนก็จะรับฟังแต่ตัวอย่างของข้างนั้นซ้ำเติมความขัดแย้งให้มากขึ้น

นักกฎหมายจากสถาบันเดียวกัน อาจารย์สอนคนเดียวกัน ตำราเล่มเดียวกันยังตีความไม่เหมือนกัน นับประสาอะไรกับประชาชนที่ไม่รู้กฎหมายจะตีความให้ขัดแย้งกันไม่ได้
วันนี้ ประชาชนกลุ่มหนึ่งรู้สึกดีกับ พล อ. ประยุทธ์ จึงยึดการตีความให้อยู่ยาวที่สุด
แต่ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เบื่อ รู้สึกไม่ชอบ อยากเปลี่ยนนายกฯ จึงยึดการตีความให้พ้นตำแหน่งให้เร็วที่สุดจนกลายเป็นผลประโยชน์ทางการเมือง
นักการเมืองบางคนจึงหยิบฉวย 1 ใน 3ตัวอย่างข้างต้นที่ตนได้ประโยชน์ โหมกระหน่ำในโซเซียล อ้างอิงข้อมูลจากนักวิชาการ นักกฎหมาย หรือหนึ่งในคณะกรรมการร่างรัฐธรรนูญ รู้ทั้งรู้ว่าไม่ใช่มติ แต่เพื่อกดดันและด้อยค่าฝ่ายตรงข้ามโดยให้ข้อมูลไม่ครบทั้ง 3 ตัวอย่าง
ผลก็คือ ความแตกแยกในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น แต่สร้างผลประโยชน์ในทางการเมือง
นักการเมืองรู้ทั้งรู้ว่า การตีความในกฎหมายขัดแย้งกันได้ แต่จะตัดสินกันเองไม่ได้ ต้องให้คนกลางเป็นผู้ตัดสิน และคนกลางในระบอบประชาธิปไตยคือ ‘ศาล’ และศาลในความขัดแย้งนี้ก็ต้องเป็น ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’
ส่วนการตีความก็อาจต้องใช้ทั้งเจตนารมณ์และเนื้อหาในหลายมาตราร่วมกันก็ได้
แต่นักการเมืองที่อยู่ในวังวนไม่รอ ไม่บอกให้ประชาชนรับรู้ แต่นำ 1 ใน 3 ตัวอย่างข้างต้นที่ตนได้ประโยชน์มาโหมกระหน่ำลงสู่ประชาชนที่ไม่รู้กฎหมาย ให้ตกเป็นเหยื่อ ให้ร่วมบูลลี่ ให้ส่งต่อข้อมูลที่ยังไม่รู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด และยังไม่รู้จะลงเอยอย่างไร
นักการเมืองเล่นการเมืองบนความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อประชาชนเข้าร่วมมาก ๆ ก็จะกลายเป็นวิกฤติทางการเมืองที่กระทบความเชื่อมั่นต่อศาล ต่อประเทศ ต่อสังคม เศรษฐกิจ และในที่สุดก็ต่อตัวประชาชนเองที่ต้องรับกรรมอย่างรู้ไม่เท่าทัน
ประชาชนจึงควรรู้ให้เท่าทัน ฟังด้วยหลักการ เหตุผล และรอให้ศาลวินิจฉัยก่อนจะดีกว่า.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : August 16, 2022

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

จีนเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าไฮบริดพลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บริษัท พัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ (Yalong Hydro) ออกมาเปิดเผยว่า กำลังมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สถานีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ (Yalongjiang Lianghekou) เป็นโครงการเฟสแรกในการดำเนินงาน ส่วนสถานีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Kela Photovoltaic) กำลังเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ

สถานีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ (Yalongjiang Lianghekou) เป็นโรงไฟฟ้าอ่างเก็บน้ำชั้นนำ ที่พัฒนาโดยบริษัท Yalong Hydro เป็นโรงไฟฟ้าอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลเสฉวน ซึ่งสถานีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Kela Photovoltaic) อยู่ภายใต้ของโครงการพัฒนาสถานีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ (Yalongjiang Lianghekou) โดยโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในเขตกานจือ มณฑลเสฉวน ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 4,000-4,600 เมตร มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5,300 ล้านหยวน มีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้สูงถึง 1 ล้านกิโลวัตต์ต่อจำนวนการใช้งานประมาณ 1,735 ชั่วโมงต่อปี ประมาณการปริมาณการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดอยู่ที่ 2,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี คาดว่าในปี 2566 ทั้งสองสถานีจะสามารถเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid-connected) ในการจำหน่ายไฟฟ้า

จากการวิจัยวางแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนแบบบูรณาการ คาดว่าฐานการผลิตพลังงานสะอาดริมแม่น้ำ Yalong จะมีกำลังการผลิตทะลุ 80 ล้านกิโลวัตต์ โดยมาจากไฟฟ้าพลังงานน้ำประมาณ 30 ล้านกิโลวัตต์ พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์รวมกันเกิน 40 ล้านกิโลวัตต์ และโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ (Pumped storage Hydro) อีก 10 ล้านกิโลวัตต์ เมื่อโครงการสร้างเสร็จสมบูรณ์ จะกลายเป็นฐานพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฐานผลิตพลังงานไฟฟ้าริมแม่น้ำ Yalong ที่จะผลิตพลังงานสะอาดหมุนเวียนแบบผสมผสานระหว่างน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ คาดว่าทุกปีจะสามารถผลิตพลังงานสะอาดรวมกันได้มากกว่า 220,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับการลดการใช้ถ่านหินมาตรฐานประมาณ 70 ล้านตัน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 180 ล้านตัน สาเหตุที่ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์เสริมรวมกัน เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับผลกระทบอย่างมากในตอนกลางคืน กำลังการผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วงกลางวัน ส่วนในช่วงตอนเย็นกำลังการผลิตเป็น 0 ส่งผลเกิดความผันผวนในกระแสการผลิตสูง กระแสไฟฟ้าการผลิตไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องเชื่อมเส้นทางไฟฟ้าพลังงานน้ำเข้าด้วยกันเพื่อรักษากระแสไฟฟ้าในการผลิตที่มั่นคง

การสร้างสถานีผลิตพลังงานไฟฟ้าในครั้งนี้ จะเป็นการส่งเสริมการบริโภคพลังงานใหม่ สร้างโมเดลในการสำรวจพัฒนาพลังงานสะอาดในระดับภูมิภาค และสร้างแบบจำลองการพัฒนาขนาดใหญ่ของพลังงานสีเขียว ในการเป็นต้นแบบในการสร้างพลังงานสะอาดในภูมิภาคอื่นๆต่อไป

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน :
จีนประกาศมุ่งมั่นตามนโยบายด้านพลังงานสีเขียว โดยมีเป้าหมายภายในปี 2030 จะจำกัดการปล่อยคาร์บอนไม่ให้สูงเกินกว่าสถิติที่เคยเป็นมาในอดีต และจะควบคุมให้ลดลงจนมีปริมาณการปล่อย CO2 เป็น 0 ให้ได้ภายในปี 2060 และได้ตอกย้ำจุดยืนในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP26 (Conference of the Parties ) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา เนื่องด้วยที่ผ่านมาจีนมีการผลักดันการเติบโตอุตสาหกรรมในประเทศ การเติบโตด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว จึงเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุดในโลก ประกอบกับการเกิดปัญหาการขาดแคลนถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าในช่วงตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นในภาคการผลิตอุตสาหกรรม ราคาถ่านหินและก๊าซเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิตที่ต้องใช้ไฟฟ้ามากเป็นพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกล้า อุตสาหกรรมหลอมอะลูมิเนียม การผลิตปูนซีเมนต์ และการผลิตปุ๋ย ส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตในโรงงาน กระทบต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรม จากหลากหลายปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตในธุรกิจพลังงานสะอาดของจีน และเร่งออกนโยบายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับชาติ และมีเป้าหมายเป็นผู้นำด้าน “พลังงานสะอาด” ระดับโลก
ปัจจุบัน จีนมีการขยายตัวให้อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านยุคสู่ยุคพลังงานสะอาด อย่างอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จะเริ่มเข้าสู่ยุคการใช้พลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้เกิดห่วงโซการผลิตใหม่ทั้งหมดในอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก และยังเป็นผลดีต่อต้นทุนการผลิตสินค้าอีกด้วย จีนจะมีความมั่นคงทางด้านพลังงานเพิ่มมากขึ้น การสร้างสถานีผลิตพลังงานไฟฟ้า Yalongjiang จะเป็นต้นแบบการสร้างพลังงานสะอาดแก่หลายๆ ประเทศ และยังเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนในธุรกิจ “พลังงานสะอาด” ในจีน

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/791363/791363.pdf&title=791363&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.