CEO ARTICLE

แผ่นดินนี้ของใคร


Follow Us :

    

“แผ่นดินนี้เป็นของใคร ???”
คำถามง่าย ๆ สั้น ๆ แค่นี้ แต่กลับตอบถูกใจได้ยากจริง ๆ
ในแง่กฎหมาย แผ่นดินทุกตารางนิ้วในประเทศไทยย่อมมีเจ้าของตามเอกสารสิทธิ์ที่แสดงชื่อ ยกเว้นที่ดินสาธารณะ เช่น ป่า เขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเล เป็นต้น
แต่ที่ดินที่มีเจ้าของก็อาจถูกรัฐบาลเวนคืนโดยกฎหมายเมื่อไหร่ก็ได้ ขณะที่เจ้าของที่ดินก็มีสิทธิ์ในทางกฎหมายที่จะคัดค้านโดยการร้องต่อศาลปกครองเพื่อชี้ว่า คำสั่งเวนคืนนั้น “ชอบ” หรือ “มิชอบ” ด้วยกฎหมายเพื่อการคุ้มครองประชาชน
มาถึงจุดนี้ก็พอเข้าใจว่า ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เป็นของประชาชน แต่รัฐก็มีสิทธิ์เวนคืน และศาลปกครองก็มีสิทธิ์ตัดสินการเวนคืน คำตอบจึงอยู่ระหว่าง “ประชาชน” และ “รัฐบาล” อย่างนี้
ส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืน ที่ดินสาธารณะที่อาจมีโฉนดหรือไม่มีก็ตาม รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลและเป็นผู้จัดสรรการใช้ประโยชน์ให้แก่ประชาชนตามที่กฎหมายบัญญัติ
แต่หากพิจารณาในแง่ประวัติศาสตร์ ทุกประเทศจะมีการแย่งชิงทรัพยากรและแย่งชิงแผ่นดิน แผ่นดินทุกตารางนิ้วของประเทศผู้แพ้สงครามต้องตกเป็นของประเทศผู้ชนะ
ทุกประเทศกว่าจะผ่านสงครามมาได้ ต้องมีวีรบุรุษ วีรสตรี หรือมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำเพื่อแย่งชิงแผ่นดิน
พระมหากษัตริย์ที่ชนะสงครามจะกำหนดรูปแบบการปกครอง และมอบที่ดินให้แก่แม่ทัพ นายกอง ทหาร และประชาชน ทั้งเพื่ออยู่อาศัย เพื่อทำการเกษตร เพื่อยึดครอง หรือเป็นรางวัล
ในประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น จีน ที่ดินทั้งหมดเป็นของรัฐ ประชาชนเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยหรือผู้เช่า สิทธิการเช่าจะตกทอดไปสู่ลูกหลานตามเวลาที่กำหนดหรือจนกว่ารัฐบาลจะเวนคืนซึ่งอาจมีการจ่ายเงินชดเชยหรือไม่ก็ได้
แม้จีนถูกมองในอดีตว่าป่วย ขี้โรค เป็นเผด็จการคอมมิวนิสต์ แต่ใครจะไปเชื่อ จีนในวันนี้กลับมีเศรษฐกิจดีมากและก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกจนสหรัฐเกรงกลัวจนต้องครอบงำประเทศอื่น
ประเทศไทยในอดีตก็ไม่ต่างกัน มีทั้งการรวบรวมแผ่นดิน การถูกรุกราน การแพ้สงคราม การเสียดินแดน การใช้เงินของพระมหากษัตริย์ไปไถ่แผ่นดิน และการได้มาซึ่งชัยชนะในทุกๆ สงคราม พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นผู้นำ หากคำถามในแง่ประวัติศาสตร์ว่า “แผ่นดินนี้เป็นของใคร ???”
คำตอบก็ต้องเป็น “สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย” แต่เพราะพระกรุณาของสถาบันพระมหากษัตริย์หลายพระองค์จึงมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง มีระบบกฎหมาย มีรัฐบาลเป็นผู้บริหารประเทศแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายใต้พระกรุณา
ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดในปี 2488 การยึดครองประเทศอื่นเพื่อแย่งชิงทรัพยากรของประเทศมหาอำนาจกลับยังไม่สิ้นสุด แต่พัฒนาจากการทำสงครามมาเป็นการครอบงำทางการเมืองแทน
นักการเมืองที่ต้องการอำนาจจะถูกครอบงำได้ง่ายเพื่อให้มาเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมาย ให้กฎหมายเอื้อประโยชน์ต่างชาติ ให้ทรัพยากรของชาติถูกถ่ายโอนไปประเทศอื่นง่ายขึ้น
ประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯมีประวัติศาสตร์แตกต่างจากประเทศอื่น และไม่มีระบบกษัตริย์ จึงใช้ความเป็น “ประชาธิปไตย” และ “ความแตกแยกในประเทศ” เป็นตัวนำ
วันนี้ ประเทศไทยถูกแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาและถูกกล่าวหาพร้อม ๆ กับที่จะทำให้ไทยเดินตาม “อาหรับสปริง” ในประเทศตะวันออกกลาง และ “ฮ่องกงโมเด็ล” จนเกิดการเดินขบวน การประท้วง การจราจล และปฏิรูประบอบกษัตริย์อย่างเป็นลูกโซ่หรือไม่ ?
คำถามนี้ ไม่มีใครตอบได้ชัด ๆ
ม็อบปลดแอกต้องการความเปลี่ยนแปลง ถูกกล่าวว่า ไม่ชอบ คสช. สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจท่ามกลาง Covid-19 ต้องการปฏิรูประบบกษัตริย์ มีนักการเมืองที่ต้องการอำนาจและต่างชาติที่จ้องทำลายประเทศไทยอยู่เบื้องหลัง
กลุ่มม็อบปลดแอกนี้ ต้องการคำตอบว่า “แผ่นดินนี้เป็นของประชาชน”
ดังนั้น ประชาชนจึงมีสิทธิ์ถามและมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองและปฏิรูปอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์
ส่วนกลุ่มผู้จงรักภักดี ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนรุ่นเก่า กลัวความเปลี่ยนแปลง เกลียดทักษิณ ไม่ชอบกลุ่มเสื้อแดง เห็นชอบกับ คสช. เป็นกลุ่มเคารพและเทิดทูนสถาบัน กลุ่มนี้ต้องการคำตอบว่า “แผ่นดินนี้เป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงกรุณามอบให้ประชาชน”
ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาและถูกกล่าวหา ต่างฝ่ายต่างรับข้อมูลและฟังข่าวที่ตอกย้ำด้านเดียว คำถามที่ว่า “แผ่นดินนี้เป็นของใคร ???” คำตอบจึงวนเวียนอยู่ใน 2 ทางนี้จนหาคำตอบที่ถูกใจยากจริง ๆ
มันขึ้นอยู่กับ กลุ่มไหนเป็นผู้ถาม และผู้ถามจะเอาคำตอบไปทำอะไร
สิ่งที่เห็นชัดเจนจากคำถามคือ ความแตกแยกภายในประเทศค่อย ๆ ขยับสูงขึ้น การโจมตีต่อกันมากขึ้น ความเคารพต่อสถาบันและคนรุ่นเก่าหายไป ความอบอุ่นในสถาบันครอบครัวและความสงบสุขกำลังจะหมดไปจากประเทศไทย
ถามว่า ความแตกแยกจะจบลงอย่างไรและคนกลุ่มไหนมีโอกาสจะชนะมากกว่ากัน ???
หากพิจารณาจากข้อมูลที่กล่าวหา กลุ่มจงรักภักดีเป็นคนรุ่นเก่าที่โรยราล้มตายลงไปเรื่อย ๆ ขณะที่กลุ่มม็อบปลดแอกเป็นคนรุ่นใหม่ ได้รับการหนุนจากต่างชาติ ยึดเทคโนโลยี ยึดแนวคิดตะวันตก กำลังเติบโต และมีคนเกิดใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ มันส่อให้เห็นถึงปริมาณในอนาคตของกลุ่ม
วันนี้ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ชนะขาด แต่ในอนาคตกลับไม่แน่ มันขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองการปกครองทั้งในและระหว่างประเทศ ผลประโยชน์ และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่ในโลกนี้ หากไม่ใช่ระบบกษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ก็ต้องเป็นประธานาธิบดีที่ผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นประมุข
สมมติว่ากลุ่มม็อบปลดแอกก่อการจนสำเร็จในวันหนึ่ง เมื่อถึงวันนั้น ประชาชนทั้งประเทศต้องการระบอบการปกครองแบบไหน ต้องการพระมหากษัตรหรือประธานาธิบดีเป็นประมุข ใครจะเป็นประธานาธิบดี และใครบ้างที่อยู่เบื้องหลังจนได้ประโยชน์ก็ไม่สำคัญแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะเดินไปตามครรลองของมันอย่างไม่อาจขัดขืน
หากวันนั้นมาถึงจริง แล้วประชาชนทั้งประเทศร่ำรวยมีความสุข มันหมายถึง ความวุ่นวายและความแตกแยกในวันนี้คือ “ความถูกต้อง”
แต่หากวันนั้นประชาชนยังยากจน ขาดความสงบสุขภายในครอบครัว และประเทศชาติตกเป็นทาสทางการเมืองและเศรษฐกิจ มันย่อมหมายถึง การถูกหลอกใช้ และความวุ่นวายในวันนี้คือ “ความผิดพลาด” อย่างใหญ่หลวงที่ไม่สามารถย้อนเวลากลับคืนได้อีก
คำถามที่ว่า “แผ่นดินนี้เป็นของใคร ???”
คำตอบแม้จะเข้าใจยากแต่กลับไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือ ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจ มองเห็นอนาคตอย่างไร และต้องการเดินไปที่จุดนั้นหรือไม่???
ความสำคัญจึงอยู่แค่ประชาชนทั้งประเทศเท่านั้นจริง ๆ

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

สินค้าส่งออกจากฮ่องกงไปสหรัฐฯ ต้องตีตรา “Made in China”

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 63 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 63 เป็นต้นไป สินค้าส่งออกจากฮ่องกงไปสหรัฐฯ ต้องได้รับการตีตราว่า “Made in China” แทน และจะไม่มีตรา “Made in HK” อีกต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้จากสหรัฐฯ ต่อการประกาศ “National Security Law” ของรัฐบาลกลางจีนในฮ่องกง

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการระงับกฎหมาย “Hong Kong Policy Act of 1992” ที่ถูกเพิกถอนโดยคำสั่ง “Hong Kong Normalisation”จากประธานาธิบดี Donald Trump เนื่องจากปัจจัยที่ชี้ว่าฮ่องกงไม่มีอิสระเพียงพอที่จะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากจีนอีกต่อไป โดยก่อนหน้านี้บริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มอันเป็นผลจากข้อพิพาทจากสงครามทางการค้าจีน – สหรัฐฯ ที่เริ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้สินค้าที่ผลิตในฮ่องกง ต้องเสียภาษีเมื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ เช่นเดียวกันกับจีน แต่เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 63 กรมศุลกากรสหรัฐฯ ได้แถลงว่าสินค้าฮ่องกงที่ส่งออกจากมายังสหรัฐฯ จะยังคงปลอดภาษี ตามคำยืนยันจากรัฐบาลกลางจากกรุงวอชิงตัน

ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางแห่งการส่งออกแบบ re–exports ที่สำคัญของเอเชีย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติของรัฐบาลฮ่องกงชี้ว่ามูลค่าการส่งออกจากฮ่องกงไปยังสหรัฐฯ ในปี 2563 นี้ (เดือน ม.ค. – พ.ค.) มีมูลค่า 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในปี 2562 ทั้งปี มีมูลค่า 3.91 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นสินค้าที่ผลิตในฮ่องกงเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้น ซึ่งข้อมูลจาก สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Trade and Development Council) ได้แสดงให้เห็นว่าสินค้าที่ผลิตในฮ่องกงส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในปี 2562 มีมูลค่าเพียง 471 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของสินค้าส่งออกทั้งหมดที่รวมสินค้า re-exports ด้วย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลฮ่องกงได้ประท้วงการตัดสินใจดังกล่าวของสหรัฐฯ โดยกล่าวว่าสหรัฐฯ มิได้ใส่ใจต่อการได้รับสถานะของเขตปกครองพิเศษในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) โดยการเปลี่ยนแปลงจากการยกระดับของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีน – สหรัฐฯ นี้ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการฮ่องกงที่ผลิตสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ ต้องทบทวนว่าควรผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ต่อหรือไม่

ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ
1. ข้อมูลจากสำนักงานสำรวจสำมะโนครัว และสถิติฮ่องกง (The Census And Statistics Department, Hong Kong) ได้แสดงให้เห็นมูลค่าการส่งออกจากฮ่องกงไปยังสหรัฐฯ โดยในรอบ 10 ปี จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกในปี 2561 มีมูลค่าสูงสุด

2. มูลค่าการส่งออกจากสินค้าที่ผลิต และแปรรูปจากฮ่องกงไปยังสหรัฐฯ นั้นมีอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกทั้งหมดที่รวมสินค้า re-exports ด้วย แต่ความไม่แน่นอนจากข้อพิพาททางสงครามการค้าระหว่างจีน – สหรัฐฯ นี้ จะทำให้ผู้ประกอบการในฮ่องกงตัดสินใจยกเลิกการผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในธุรกิจ

3. จากข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีน – สหรัฐฯ ที่กำลังยกระดับความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ผู้ประกอบการในฮ่องกงได้มองหาการย้ายฐานการผลิตเพื่อส่งออก และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจมากที่สุดเนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และมีการสนับสนุนการลงทุนจากรัฐบาลไทย จึงเป็นโอกาสดีของไทยที่จะดึงดูดธุรกิจขนาดใหญ่เข้าประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/643861/643861.pdf&title=643861&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.