CEO ARTICLE

กงกรรม


Follow Us :

    

“เด็กอนุบาลสารสาสน์ 4 ราย อาการรุนแรง กรีดร้อง ผวา ระดมจิตแพทย์ดูแลใกล้ชิด” 

    ใครเห็นข่าวข้างต้นก็ตกใจ และยิ่งตกใจเมื่อมีข่าวเด็กถูกถุงดำคลุมหัว ถูกจับแก้ผ้า 

ถูกตบหน้า อั้นฉี่ ห้องน้ำสกปรก น้ำดื่มไม่สะอาด และอื่นๆ จากอีกหลายโรงเรียนที่ออกสื่อแทบทุกวัน

เด็กน่าจะถูกทารุณสะสมมานาน ทั้งที่ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมอันงดงาม และมีครูดีๆ มีสำนึกความเป็นครู ให้ความอบอุ่น รักเด็กเหมือนลูกหลานก็มาก แต่ต้องมัวหมองตามไปด้วย

ข่าวสารสาสน์จึงทำให้ครูดีๆ และโรงเรียนดีๆ ได้รับผลกระทบจนน่าเห็นใจ

หากมองมุมตรงข้าม เด็กย่อมมีทั้งเชื่อฟัง ไม่เชื่อฟัง ซุกซน หรือถูกพ่อแม่ตามใจจนดื้อ 

ยิ่งเป็นเด็กอนุบาลที่สื่อสารยังไม่ค่อยรู้เรื่อง พอมาเจอครูหัวร้อนก็อาจถูกอารมณ์เหวี่ยงใส่ได้ง่าย

นักจิตวิทยาให้ความเห็นว่า เด็กคือผ้าขาวผืนหนึ่งถูกระบายด้วยสีอะไร โตขึ้นก็เป็นสีอย่างนั้น ทำให้สันนิษฐานไปได้ว่า เด็กที่ถูกทารุณพอเติบโตขึ้นความเคารพครูจึงน้อยลง นิยมความก้าวร้าวรุนแรง พอเข้าสู่มหาวิทยาลัย วัยทำงาน หรืออาจเป็นนักการเมืองก็ส่งต่อความก้าวร้าวนั้นออกมา

ข้อสันนิษฐานนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า ความวุ่นวายจากการเมือง 2 ขั้วที่ผ่านมา ขั้วหนึ่งน่ามาจากกลุ่มคนที่ได้รับความอบอุ่นในวัยเด็กจึงนิยมวัฒนธรรมไทยอันดีงาม อีกขั้วหนึ่งน่ามาจากกลุ่มคนที่เคยถูกทารุณในวัยเด็กจึงนิยมความก้าวร้าวรุนแรงก็เป็นได้ 

หากเป็นเช่นนี้จริง มันก็คือกระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาลในอดีตนั่นล่ะ ที่ไม่เอาใจใส่ ความวุ่นวายทางการเมืองจึงกลายเป็นกงกรรมที่โหมใส่ทั้งรัฐบาลและนักการเมือง

หากจะแก้กงกรรม มันต้องเริ่มวันนี้โดยกระทรวงศึกษาธิการและรัฐบาล มิเช่นนั้น กงกรรมที่ประเทศไทยจะได้รับในอนาคตก็จะยิ่งวุ่นวายมากกว่านี้

  1. ด้านกล้องวงจรปิด เชื่อว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มี แต่อาจไม่สมบูรณ์ ดังนั้น กระทรวงฯ ต้องมีคำสั่งให้ทุกโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศปรับปรุง และติดตั้งทุกห้อง ทุกมุมที่เป็นส่วนเปิดเผย 

เมื่อผู้ปกครองที่มีส่วนได้เสียขอชมภาพบันทึกก็ต้องชมได้สะดวกในเวลาทำการ แต่ต้องป้องกันการละเมิดเด็กอื่นที่มิใช่ลูกหลานของผู้ปกครอง 

  1. ด้านความปลอดภัย ต้องกำหนดมาตรฐานความสะอาดให้แก่สถานที่ ห้องเรียน ห้องน้ำ และน้ำดื่มให้ชัดเจน

ข้อ 1 และ 2 นี้ กระทรวงฯ ต้องตรวจสอบทุกโรงเรียนทุกปีและเปิดเผยผลการตรวจสอบ

  1. ด้านพฤติกรรม กิจกรรมที่ไม่จำเป็นต่อครูให้ลดลง เช่น งานเอกสารมากมาย แต่ให้มุ่งการสอน สิ่งจำเป็นคือ การอบรมทักษะอารมณ์ครู และต้องประเมินอารมณ์ทุก 3 ปี ไม่เว้นแม้แต่ครูต่างชาติ หรือบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

โรงเรียนต้องจัดให้มีนักจิตวิทยาเพื่อประเมินเด็กปีละครั้งเช่นกัน หากผู้ปกครองไม่ยินยอมก็ควรลงนามไม่ยินยอมเป็นหลักฐานเพื่อป้องกันโรงเรียนที่ดี 

หากพบเด็กคนไหนมีปัญหาทางจิตก็ต้องรายงานเพื่อให้กระทรวงฯ จัดให้มีการบำบัด

  1. ด้านการสื่อสาร สังคมปัจจุบันใช้โซเซียลเป็นหลัก แต่มีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งอาจยากจน ใช้ไม่เป็น หรือไม่ใช้ จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงฯ ที่ต้องช่วยเพื่อผู้ปกครองใช้ช่องทางนี้สื่อสารกับกระทรวงฯ ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครองและกระทรวงฯ สามารถสื่อสารกันได้รวดเร็วขึ้น
  2. ด้านงบประมาณ ครูของรัฐมีสภาพเป็นข้าราชการจึงได้สวัสดิการดีกว่าเอกชน แต่อนาคตของเด็กไม่ว่าจะเรียนในโรงเรียนเอกชนหรือของรัฐ ย่อมเป็นอนาคตของชาติไม่ต่างกัน โรงเรียนจึงควรได้รับการดูแลให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน 

ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องใช้งบพัฒนาครูไทยทั้งของรัฐและเอกชนให้เป็นครูที่ดี ให้มีมาตรฐาน ให้มีจิตสำนึกความเป็นครู และให้มีสวัสดิการไม่ต่างกัน 

     หากรัฐบาลติดขัดด้านงบประมาณ หรือกระทรวงศึกษาฯ ทำไม่ได้ก็ให้เจรจามอบให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจัดสรรงบให้ อปท. เพื่อพัฒนาครู ดูแลโรงเรียน และเด็กในท้องถิ่นภายใต้มาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด 

  1. ด้านบทลงโทษ หากรัฐบาลส่งเสริมได้ดีแล้ว แต่ยังมีผู้บริหารละเลย การเพิ่มโทษให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนที่ละเลยจึงเป็นสิ่งจำเป็น 

ผู้บริหารโรงเรียนของรัฐต้องรายงานบัญชีทรัพย์สินเพื่อแก้ปัญหาแป๊ะเจี๊ยะ การทุจริตอื่น ๆ การเอาเปรียบ หรือการหากินจากโรงเรียน 

 

ความคิดเห็นทั้ง 6 ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่กระทรวงศึกษาฯจำเป็นต้องมีผู้บริหารมืออาชีพ และรัฐบาลต้องไม่เอากระทรวงศึกษาฯมาเป็นเพียงโควต้าแลกเปลี่ยนทางการเมือง

เมื่อไหร่ที่เป็นโควต้าทางการเมือง และได้ผู้บริหารที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ผลกรรมจะตกที่เด็กและผู้ปกครอง ส่วนนักการเมืองและประเทศไทยก็ต้องได้รับความวุ่นวายอย่างเป็นกงกรรม

การสร้างความอบอุ่นให้กับเด็กในวัยศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน เป็นเรื่องคุ้มค่าต่อการลงทุน และเป็นการแก้กรรมจาก 2 ขั้วการเมืองให้แก่อนาคตประเทศไทยไปในตัว

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

CEO – SNP Group 

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

Monorail Well Done – โมโนเรล เวลดัน เตรียมรันปี 2565

สัปดาห์ก่อน เห็นข่าวนายกฯ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในพิธีรับรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ขบวนแรกของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแครายมีนบุรี)และ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าวสำโรง) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 1 .. 2563

วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับรถไฟฟ้าโมโนเรลกันให้มากขึ้น ก่อนที่จะได้เริ่มโดยสารรถไฟฟ้าโมโนเรลกันจริงประมาณปี 2565

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบคร่อมรางบนทางวิ่งยกระดับเหนือแนวเกาะกลางถนน ทำหน้าที่เป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรอง ( Feeder ) ป้อนผู้โดยสารเข้ารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายหลัก รถไฟฟ้าโมโนเรล ที่จะนำมาวิ่งให้บริการเป็นรถรุ่BOMBARDIER INNOVIA MONORAIL 300 ควบคุมด้วยระบบอาณัติสัญญาณCITYFLO 650 แบบไร้คนขับ ภายในห้องโดยสารของขบวนรถมีอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างครบครัน อาทิ กล้อง CCTV เครื่องตรวจจับควัน ปุ่มติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ควบคุมรถ ถังดับเพลิง และที่เปิดประตูฉุกเฉิน

แล้วทำไมถึงต้องเลือกรถไฟฟ้าโมโนเรลสำหรับ 2 โครงการนี้ เหตุผล 9 ข้อด้านล่างจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจ ไปดูกันเลย

1. ความจุไม่ได้น้อยอย่างที่คิด

โมโนเรลที่จะใช้กับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู มีความจุรองรับได้ประมาณ 1,000คนต่อขบวน (6ตู้) ซึ่งเพียงพอกับปริมาณผู้โดยสารที่คาดการณ์ไว้ โดยสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารได้สูงสุด 7ตู้ต่อขบวน ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 28,000คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

2. ความเร็วพอๆ กับ MRT

โมโนเรลสามารถทำความเร็วสูงสุด 80กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเร็วเฉลี่ย 35กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่ากับรถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรืHeavy Rail เช่น BTS สายสีเขียว สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน

3. โครงสร้างทางวิ่งแคบกว่า

โมโนเรลมีเขตทางกว้างประมาณ 6.7 – 7.3 เมตร ที่แคบกว่า Heavy Rail ที่มีเขตทางกว้างประมาณ 9 เมตรทำให้สามารถสร้างเข้าไปในที่แคบๆได้ เหมาะกับพื้นที่ในเส้นทางสายสีเหลืองและสายสีชมพู

4. รัศมีโค้งแคบกว่า

โมโนเรลใช้รัศมีโค้งน้อยสุดประมาณ 70เมตร ในขณะที่ Heavy Rail ใช้รัศมีโค้งน้อยสุด 200 เมตร ทำให้โมโนเรลสามารถเลี้ยวไปตามถนนต่างๆได้โดยไม่ต้องเวนคืนเยอะ

5. ขึ้นทางลาดชันได้สบายๆ

ทางวิ่งสำหรับโมโนเรลสามารถมีความลาดชันสูงสุดได้ถึง 6% ในขณะที่ Heavy Rail ต้องใช้ความลาดชัน 3.5% ทำให้โมโนเรลสามารถยกระดับหรือลดระดับได้ยืดหยุ่นมากกว่าใช้ระยะทางน้อย

6. ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากกว่า

เฉลี่ยแล้วโมโนเรลจะมีค่าก่อสร้างอยู่ที่กิโลเมตรละ 1,500 ล้านบาท ส่วน Heavy Rail จะมีค่าก่อสร้างอยู่ที่กิโลเมตรละ 1,800ล้านบาท

7. น้ำหนักเบา เสียงก็เบา

โมโนเรลตัวรถมีน้ำหนักเบาและใช้ล้อยางจึงมีเสียงรบกวนน้อยกว่า รถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือ Heavy Rail ที่เป็นล้อเหล็กวิ่งบนรางเหล็ก

8. โปร่งสบาย บังแสงน้อยกว่า

โครงสร้างโมโนเรลมีขนาดเล็ก จึงไม่บังแสงบังลม พื้นที่ด้านล่างจะไม่ทึบมาก โปร่งสบายไม่อึดอัด

9. สายสีชมพูและสีเหลือง เป็น Feeder

รถไฟฟ้าทั้งสองสาย ไม่ใช่รถไฟฟ้าสายหลักที่จะพาคนเข้าเมือง แต่เป็นรถไฟฟ้าสายรองหรือ Feeder ที่จะป้อนคนเข้ารถไฟฟ้าสายหลัก ทั้งสองสายจะมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆตามแผนแม่บทปัจจุบัน สายละ 4 สถานี

ที่มา : https://www.renderthailand.com/9-reasons-why-monorail/

ผู้เรียบเรียง น.. สุวิตรี ศรีมงคลวิศิษฏ์
0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.