CEO ARTICLE

ผู้นำสหรัฐ


Follow Us :

    

โดนัล ทรัมป์ VS โจ ไบเดน
การเลือกตั้งผู้นำสหรัฐ 3 พ.ย. 2563 ใครจะได้ใจประเทศต่าง ๆ มากกว่ากัน ?

การเลือกตั้งปี 2559 (2016) โดนัล ทรัมป์ ใช้นโยบาย “America First” อเมริกาต้องเป็นที่ 1 เพื่อโน้มน้าวคนอเมริกันที่คลั่งชาติให้เลือกตนแข่งกับฮิลลารี คลินตัน
ปรากฎว่า ฮิลลารีได้ 64.2 ล้านคะแนน ทรัมป์ได้ 62.2 ล้านคะแนนในระบบป๊อบปูลาโหวต (Popular Vote) ตามหลัก 1 คนมีสิทธิ์ 1 เสียงเท่าเทียมกัน ฮิลลารีชนะทรัมป์ราว 2 ล้านเสียง
แต่เมื่อนำมาแปรผลเป็นคะแนนแบบอิเล็กทอรัลโหวต (Electroral Vote) ฮิลลารี่ได้ 232 คะแนน ส่วนทรัมป์ได้ 290 คะแนน
ผลพลิกกลับ ทรัมป์ชนะได้เป็นประธานาธิบดี
ป๊อปปูลาโหวตคือ คะแนนที่ได้โดยตรงจากประชาชน ส่วนอิเล็กทอรัลโหวตคือ คะแนนที่ได้จากคณะผู้เลือกตั้ง (Electroral College) ซึ่งเป็นคะแนนตัดสินผลแพ้ชนะจึงสำคัญมากกว่า
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College Vote) มาจากจำนวน ส.ส. 435 คน รวมกับ ส.ว. 100 คน และเสียงพิเศษอีก 3 เสียงรวมเป็น 538 เสียง ใครได้ 270 เสียงก็ถือว่าชนะ
สหรัฐให้ความสำคัญ 1 คน 1 เสียงน้อยกว่าเสียงจาก ส.ส. และ สว. และใช้ระบบนี้เพื่อถ่วงดุลมิให้เกิด “เผด็จการเสียงข้างมาก” (Tyranny of the Majority) ในรัฐสภาที่ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไปจนกฎหมายที่ออกมาอาจขาดความชอบธรรม
ระบบนี้ใช้มาร้อยกว่าปี ไม่มีข้อมูลยืนยันว่าเหตุผลลึก ๆ ที่แท้จริงคืออะไร แต่กรรมเป็นสิ่งชี้เจตนาก็คงเกิดจากประชาชนที่ลงคะแนนมีคุณภาพแตกต่างกันเมื่อร้อยกว่าปีก่อนก็เป็นได้
แม้คนอเมริกันมองว่า การเมืองของตนดีที่สุด แต่ในสหรัฐก็มีคนจน มีคนว่างงาน และมีคนไร้บ้านจำนวนมาก ภาษีก็จ่ายสูง แถมค่าครองชีพก็สูงมากจนอยู่ลำบาก
บางประเทศที่เคยมีเผด็จการเสียงข้างมาก หรือมีคนขาดคุณภาพมากก็นำแนวคิดนี้ผสมในรัฐธรรมนูญ กำหนดที่มาของ ส.ว. จากการแต่งตั้งให้มีสิทธิ์โหวตเลือกผู้นำสักระยะก็มี

20 ปีที่ผ่านมาสหรัฐครองอันดับ 1 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจโต ส่วนจีนไม่รู้อยู่อันดับไหนแต่ค่อย ๆ วิ่งไล่มาเป็นอันดับ 2 จนเป็นที่น่ากลัวแก่สหรัฐ
ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว ทรัมป์จึงสู้กับจีน แทรกแซงตะวันออกกลาง และประเทศอื่นเพื่อรักษาผลประโยชน์สหรัฐตามนโยบาย “America First” แต่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานไปทั่วโลก
หากทรัมป์ชนะ ทั่วโลกก็คงวุ่นวายเหมือนเดิม หรืออาจมากกว่าเดิม และการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถือว่า ทรัมป์ได้ผ่านการรับรองจากระบบอีกครั้ง
วันนี้ สหรัฐมีผู้ติดเชื้อ Covid-19 สูงสุดของโลกราว 10 ล้านคน ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่ละวันก็เป็นแสน เสียชีวิตรวมราว 3 แสน ทรัมป์น่าจะเสียคะแนนนิยมจากเรื่องนี้
เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษล็อกดาวน์ประเทศรอบ 2 อีก คนอเมริกันคงไม่อยากถูกล็อกให้อยู่กับบ้าน หากโจ ไบเดนชนะ การป้องกันก็น่าจะมีบทเรียน เศรษฐกิจก็น่าจะดีกว่านี้
สหรัฐมีหน่วยงานความมั่นคง หน่วยงานต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศจำนวนมากเป็นเสาหลักทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์สหรัฐ และทำตัวเป็นพี่ใหญ่ของโลกมาตลอด
หน่วยงานย่อมมีทั้งคนดีและไม่ดี ในทางลับมีการแทรกแซงการเงิน สังคม และการเมืองในประเทศต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์สหรัฐ แต่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในหลายประเทศ
สงครามภายในของเกาหลีจนต้องแยกตัวเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ หรือแม้แต่ญี่ปุ่นที่แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีสหรัฐเกี่ยวข้อง จนปัจจุบันทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่นต้องมีฐานทัพสหรัฐ และจ่ายเงินค่าคุ้มครองให้สหรัฐปีละนับพันล้านเหรียญ เป็นต้น
ส่วนอีกเสาหลักคือ ใครก็ได้ที่มีคุณสมบัติครบ ผ่านการเลือกตั้งตามระบบให้เป็นผู้นำ
สหรัฐมีประชากรมากกว่า 300 ล้าน หลายเชื้อชาติ หลายเผ่าพันธ์ ในอดีต (1861-1865) ก็เคยมีสงครามกลางเมืองจากความขัดแย้งของคนในชาติ ทหารเสียชีวิต 620,000 นาย พลเมืองอีกนับไม่ถ้วน ความขัดแย้งในอนาคตก็อาจมีซ้ำรอยอีก
นโยบายของเสาหลักนี้จึงเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จากนโยบายที่ใช้หาเสียงทุก ๆ 4 ปี ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นไปด้วย สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด
2-3 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ การสุ่มสำรวจพบว่า โจ ไบเดน มีคะแนนนำในป๊อปปูลาโหวต แต่คนอเมริกันที่คลั่งชาติชอบความเป็นที่ 1 แบบทรัมป์ก็มีข่าวจะก่อม็อบเพื่อประท้วงหากทรัมป์แพ้ ขณะที่กลุ่มเชียร์โจ ไบเดนก็ให้ข่าวจะก่อม็อบประท้วงบ้างหากแพ้เช่นกัน
หากการไม่ยอมรับนี้เป็นจริง เกิดความขัดแย้ง และรุนแรง สหรัฐและโลกคงวุ่นวายแน่
ทรัมป์อยู่ในฐานะแชมป์ มีข่าวทั้งดีและร้ายตลอด 4 ปีที่เป็นผู้นำ ส่วนโจ ไบเดนซึ่งตามข่าวมีท่าทีนุ่มนวลกว่า มีแต่นโยบาย แต่เมื่อมองภาพรวม ประเทศส่วนใหญ่น่าจะได้ประโยชน์มากกว่าทรัมป์
โจ ไบเดนจึงน่าจะได้ใจประเทศต่าง ๆ มากกว่า แม้ทุกประเทศต่างรู้ดีว่า สหรัฐก็คือสหรัฐ ไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้นำ ทั้งนโยบายและหน่วยงานเสาหลักก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอยู่ดี
การเลือกตั้งท่ามกลาง Covid-19 ที่ระบาดหนักมากในสหรัฐ การลงคะแนนที่ยากลำบาก การนับผลที่ยุ่งยาก และการใช้ระบบอิเล็กทอรัลโหวต จึงเป็นที่จับตามองทั่วโลก และผลก็อาจพลิกได้เช่นกัน

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

สถานการณ์ค่าระวางเรือปรับเพิ่มสูงขึ้น และ สภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศจีน

ผู้ประกอบการที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนในช่วงนี้ คงจะปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน เนื่องจากตอนนี้ในประเทศจีนมีปัญหาเรื่องขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์อย่างหนัก Space บนเรือเต็ม
ค่า Freight ปรับเพิ่มขึ้น ราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น อันเป็นภาระที่ผู้นำเข้าต้องแบกรับ
ในขณะที่บริษัท Freight Forwarder ต่างก็ต้องต่อสู้อย่างหนักกับการแย่งชิง Space / Freight จากสายเรือ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าอย่างเร่งด่วน

สถานการณ์นี้เริ่มก่อตัวและส่งสัญญาณมาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และเกิดการประกาศปรับราคาค่า Freight จากประเทศจีน มายัง South East Asia อย่างเป็นทางการของหลายๆ สายเรือ เช่น สายเรือ Wan Hai
แน่นอนว่าประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่พ้น นอกเหนือจากปัญหาข้างต้น ก็ยังมีปัญหาเรื่องเรือล่าช้า ตารางเดินเรือไม่เสถียร ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากสภาวะท่าเรือหนาแน่น (Port Congestion) ในท่าเรือหลายๆแห่ง

ผู้ประกอบการในประเทศไทย คงต้องเตรียมพร้อมวางแผนรับมือกับปัญหาเหล่านี้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ แม้ว่าปัญหาข้างต้นจะเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุม หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด แต่หนึ่งวิธีที่พอจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแรงที่จะเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ได้ ก็คือ การมีพันธมิตร / คู่หูทางการค้าที่ดี มีระบบการทำงานอย่างมืออาชีพที่จะช่วยเหลือสนับสนุน จัดการและวางแผนงานให้ท่านได้รับสินค้าอย่างรวดเร็วตามเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม

น.ส. สุวิตรี ศรีมงคลวิศิษฎ์

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.