
CEO ARTICLE
นำเข้า ผลิต ส่งออก
Published on April 1, 2025
Follow Us :
วัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์และส่งออกจะได้รับคืนอากรหรือไม่ ?
ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้รับการส่งเสริมจาก BOI (Board of Investment) หรือเป็นการนำเข้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก FTA (Free Trade Agreement) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก วัตถุดิบที่นำเข้าจะได้ยกเว้นอากร เมื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์และส่งออกก็ไม่ต้องขอคืนอากรให้วุ่นวาย
หากวัตถุดิบที่นำเข้าไม่อยู่ภายใต้ BOI ไม่สามารถใช้ FTA และไม่ได้ยกเว้นอากรตามสิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นใด วัตถุดิบหรือของที่นำเข้าก็ต้องเสียอากรขาเข้า
หากเสียอากรแล้วเก็บไว้เฉย ๆ ไม่ได้นำมาผลิต ไม่มีการใช้ประโยชน์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูป เมื่อส่งกลับออกไปสภาพเดิม (Re-Export) อากรที่ชำระไปแล้วย่อมได้รับคืนเกือบทั้งหมดตามมาตรา 28 แห่ง พรบ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 (บทความที่ 872 ของส่งกลับสภาพเดิม)
แต่หากวัตถุดิบที่นำเข้าเสียอากร นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และส่งออก อากรที่เสียไปก็ยังได้รับคืนตามมาตรา 29 ของกฎหมายศุลกากรเดียวกัน
กฎหมายมาตรา 28 และมาตรา 29 เป็นเรื่องของการขอได้คืนอากรที่เสียไปขณะนำเข้าให้ได้คืนเมื่อส่งกลับออกไปเหมือนกัน ส่วนที่ต่างกัน คือ
มาตรา 28 วัตถุดิบหรือของที่นำเข้า “ไม่มีการผลิต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูป”
มาตรา 29 วัตถุดิบหรือของที่นำเข้า “มีการผลิต มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูป”
คำว่า “ผลิต” ตามความหมายของมาตรา 29 หมายถึง การผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ตัวอย่างเช่น การนำผ้าผืนและส่วนต่าง ๆ เข้ามาผลิตเป็นเสื้อผ้า หรือการนำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาประกอบเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
เงื่อนไขของมาตรา 29 ที่ทำให้ได้รับการคืนอากร ประกอบด้วย
1. ต้องยื่นหลักการเพื่อแสดงความจำนงค์ก่อนนำเข้าว่าจะนำเข้าวัตถุดิบอะไรบ้าง ผลิตอะไรเพื่อส่งออกพร้อมหลักฐานที่กำหนด และต้องได้รับอนุมัติในหลักการก่อนนำเข้าครั้งแรก
2. รายการวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติในหลักการสามารถนำเข้าได้ ต้องสำแดงชื่อและรายละเอียดให้สอดคล้องกับชื่อที่ได้รับอนุมัติเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และยินยอมให้ชักตัวอย่างของที่นำเข้า
3. ภายใต้มาตรา 29 อากรขาเข้าต้องชำระได้โดยเงินสด แต่ภายใต้มาตรา 30 ผู้นำเข้าอาจยื่นขอชำระโดยหนังสือธนาคารค้ำประกัน การประกันลอย การค้ำประกันด้วยระบบบัญชี หรือวิธีการอื่นตามเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด
4. ต้องยื่นสูตรการผลิตก่อนส่งออกเพื่อพิสูจน์ได้ว่า วัตถุดิบที่นำเข้านั้นนำไปผลิตจริง มีการตรวจโรงงาน และต้องพิสูจน์ว่าปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่เกินกว่าที่กรมศุลกากรกําหนด
5. ต้องส่งออกภายใน 1 ปีนับแต่วันนําเข้า เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยโดยอธิบดีมีอำนาจขยายเวลาได้ แต่การขยายเวลาจะไม่เกิน 6 เดือน
6. กรณีผู้ผลิตนำผลิตภัณฑ์ไปขายภายในประเทศให้ผู้อื่น และผู้อื่นทำการส่งออกก็สามารถขอคืนอากรได้ แต่ต้องยื่นคำร้องก่อน และผู้อื่นที่ส่งออกทำการโอนสิทธิการขอคืนอากรให้ผู้นำเข้า
7. การยื่นขอคืนอากรสามารถขอคืนได้ภายหลังสูตรการผลิตได้รับอนุมัติ ต้องยื่นขอคืนอากรภายในกําหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ส่งออก เว้นแต่อธิบดีจะขยายระยะเวลา แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน
8. เงินอากรจะได้รับคืนตามสัดส่วนที่ได้รับอนุมัติในสูตรการผลิต กรณีวัตถุดิบมีส่วนสูญเสียจากการผลิตก็อาจได้รับคืน หากสูตรการผลิตได้รับอนุมัติให้คืนอากรได้
9. อากรขาเข้าที่ชำระด้วยเงินสด หรือด้วยวิธีการอื่นใดก็จะได้รับคืนด้วยวิธีการนั้น
10. ในกรณีที่มีการนำเข้าและการส่งออกหลายครั้ง ผู้นำเข้าต้องจัดทำบัญชีวัตถุดิบ (Stock) ที่แสดงเข้าก่อนออกก่อน หรือ FIFO (First In First Out) ให้สอดคล้องกับบัญชีวัตถุดิบของศุลกากร
11. การขอคืนอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าตามมาตรา 29 และการขอรับเงินชดเชยภาษีสินค้าส่งออกเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายในประเทศที่ทับซ้อนกัน ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจึงควรเปรียบเทียบด้านใดให้ประโยชน์มากกว่าก็ให้เลือกด้านนั้น
การนำเข้าเพื่อส่งออกยังมีวิธีอื่นอีกมาก และเป็นกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐที่เขียนไว้ในหนังสือ “การค้าระหว่างประเทศ” (International Trade) โดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
หนังสือให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มหาสินค้า การนำเข้า การส่งออก วิธีการทำภาษีอากรให้ต่ำ ถูกกฎหมาย ทำต้นทุนให้ต่ำ เขียนด้วยภาษาง่าย ๆ หนังสือมีขนาด 17.6 x 25 cm จำนวน 408 หน้า
หนังสือจะวางจำหน่ายใน “ร้านซีเอ็ด” เร็ว ๆ นี้ ราคา 380 บาท หรือสามารถสั่งซื้อได้ขณะนี้ในราคาสมาชิกพร้อมจัดส่งฟรีได้ที่หมายเลข 086-325-3597 (ว่าน) 063-345-1788 (เบล)
ผลกำไรมอบให้เด็กยากไร้ในชนบทเพื่อให้มีเงินติดตัวไปโรงเรียนทุกวันในโครงการ CSR
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
(พื้นที่โฆษณา)
โฉนดแลกเงินด่วน ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ถูกกฎหมาย
อนุมัติใน 3 วัน ทำสัญญาที่สำนักงานเขตที่ดิน ไม่เช็คบูโร
ติดต่อ https://inno-home.com/loan-lead/
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : April 1, 2025

Logistics
ติดปีกอินเดีย …คาด FTA EU – อินเดียจะเสร็จสิ้นในปีนี้
เกือบสองทศวรรษนับตั้งแต่มีการเริ่มเจรจา FTA ครั้งแรกระหว่างสหภาพยุโรป (EU) กับอินเดีย ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ได้ข้อสรุปและเห็นว่า การเจรจาที่ยืดเยื้อนี้ใกล้จะบรรลุผลสำเร็จแล้ว โดยนาง Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EU) และนาย Narendra Modi นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียตั้งเป้าที่จะให้สรุปการเจรจาฯ ภายในเก้าเดือนข้างหน้านี้ ซึ่งนาง von der Leyen กล่าวว่า FTA ฉบับนี้จะถือเป็น “ข้อตกลง FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก” และนาง von der Leyen เห็นด้วยกับนาย Modi ที่จะ “เร่งดำเนินการเพื่อให้เราบรรลุข้อตกลงดังกล่าวได้ในปีนี้” และในระหว่างการปรากฏตัวต่อหน้าสื่อมวลชนของนาย Modi ก็ได้มีการเน้นย้ำอีกครั้งว่า เขาได้สั่งให้ผู้เจรจาของฝั่งอินเดียเร่งสรุปข้อตกลง FTA ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันกับ EU ให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ ดังนั้น ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนของทั้ง 2 ฝ่าย ที่มีต่อข้อตกลงทำให้การเจรจาที่เคยเหมือนว่าจะหยุดชะงักไปแล้วนั้น กลับมามีแรงกระตุ้นใหม่อีกครั้ง โดยที่ผ่านมามีการประชุมเจรจาร่วมกันกว่า 9 รอบ แต่ก็แทบจะไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่ทำให้ Donald Trump ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีก 1 สมัย ได้สร้างความกลัวต่อข้อขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯ และสร้างความกังวลใจให้แก่อินเดียและ EU เป็นอย่างมาก จนทำให้เกิดแรงกดดันอย่างหนักที่จะให้เร่งบรรลุข้อตกลง FTA ให้ได้ ซึ่งในการกล่าวสุนทรพจน์ของนาง von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการ EU ก่อนการพบปะกับนาย Modi ได้มีการบรรยายถึงสถานการณ์โลกที่ดูจะเลวร้าย ซึ่งเธอเชื่อว่า สถานการณ์ดังกล่าวกำลังทำให้อินเดียและยุโรปเขยิบตัวเขาหากันมากขึ้น ทั้ง EU และอินเดียต่างก็กำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) และภูมิเศรษฐกิจ (Geoeconomic) อย่างหนัก
นาง von der Leyen ยังได้กล่าวอีกว่า “ปัจจุบันเราทุกคนต่างเคยเห็นประเทศต่าง ๆ ใช้จุดแข็งของตนเป็นอาวุธโจมตีกัน เรากำลังเห็นแนวทางนี้ที่ก้าวร้าวมากขึ้นจากมหาอำนาจ โดยในโลกที่มีการแข่งขันที่รุนแรง (Hypercompetition) อย่างเช่นในปัจจุบันนี้” อินเดียและยุโรปมีผลประโยชน์ร่วมกันมากกว่าที่จะแบ่งแยกผลประโยชน์ซ ซึ่ง “เราต่างมีสิ่งที่ต้องสูญเสียมากมายในโลกที่เต็มไปด้วยเขตอิทธิพล (Sphere of Influence) และแนวคิดเชิดชูลัทธิการอยู่โดดเดี่ยว (Isolationism)” นาง von der Leyen ซึ่งเดินทางไปยังประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเป็นครั้งที่สามในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ EU ไม่ได้เอ่ยถึงสหรัฐฯ หรือจีนซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของอินเดีย อย่างไรก็ตาม นาง von der Leyen พยายามนำเสนอภาพลักษณ์ของ EU ว่าเป็นพันธมิตรที่น่าเชื่อถือ โดบนาง von der Leyen กล่าวว่า “การแข่งขันของมหาอำนาจในรูปแบบใหม่ถือเป็นโอกาสสำหรับยุโรปและอินเดียที่จะปรับเปลี่ยนความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่าย” โดยนาง von der Leyen นักการเมืองสังกัดพรรคสหภาพคริสต์เตียนเพื่อประชาธิปไตยประเทศเยอรมนี (CDU – Christlich Demokratische Union Deutschlands) ยังได้เน้นย้ำว่า ความสัมพันธ์กับอินเดียจะเป็น “หนึ่งในรากฐานของนโยบายต่างประเทศของยุโรป” ในปีหรือทศวรรษต่อ ๆ ไป ตามข้อมูลของคณะกรรมาธิการฯ ปัจจุบัน EU ถือว่าเป็นพันธมิตรทางการค้ารายใหญ่ที่สุดของอินเดียอยู่แล้ว ในปี 2023 ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ 124 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้น 90% จากทศวรรษที่แล้ว ขณะนี้มีบริษัทจาก EUประมาณ 6,000 ราย เข้าไปดำเนินกิจการอยู่ในอินเดีย นาง von der Leyen กล่าวว่า “แต่เราจะสามารถทำได้ดีมากกว่านี้มากหากสามารถปรับปรุงการเข้าถึงตลาด และขจัดอุปสรรคการค้า” การศึกษาวิจัยที่นำเสนอโดยรัฐสภายุโรปในปี 2020 ประเมินว่า การส่งออกจาก EU ไปอินเดียอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% หลังจากที่สรุปข้อตกลง FTA และการส่งออกของอินเดียไปยังยุโรปจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ใน 3 ด้วยเช่นกัน
การจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้จริงภายในสิ้นปีนี้หรือไม่นั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน โดยกำหนดเวลาที่ทะเยอทะยานนี้ ได้เคยพลาดมาแล้วหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น ในารเจรจาการค้าระหว่าง สหราชอาณาจักรกับอินเดีย นาย Boris Johnson นาง Liz Truss และนาย Rishi Sunak นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ต่างก็สัญญาว่า การเจรจาจะสรุปได้ภายในไม่กี่เดือน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อตกลงใด ๆ แล้วเสร็จ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายพึ่งเริ่มการเจรจารอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งในระหว่างการเจรจาการค้า นาย Modi ต้องเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบากระหว่างการเปิดตลาดส่งออกใหม่สำหรับเศรษฐกิจของอินเดีย แต่ในขณะเดียวกับเขาก็ต้องการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศจากการแข่งขันระหว่างประเทศ เป้าหมายของเขา คือ การทำให้อินเดียกลายเป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วภายในวันครบรอบ 100 ปี การประกาศเอกราชในปี 2047 ให้ได้ โดยปัจจุบันอินเดียยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายอัตราการเติบโตของประเทศราว 8% ได้ ซึ่งที่ปรึกษาเศรษฐกิจต่างเชื่อว่า เป็นตัวเลขการขยายตัวที่มีความจำเป็น ตามข้อมูลเศรษฐกิจใหม่ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 6.2% ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยหลังจากที่ประเทศต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ การเติบโตฟื้นตัวในระดับนี้เรียกได้ว่า น้อยมาก นาง von der Leyen กล่าวว่า เธอต้องการขยายความร่วมมือกับอินเดียในภาคส่วนสำคัญ เช่น การพัฒนาและการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) นอกจากนี้ยังเสนอให้ทั้งสองฝ่ายขยายความร่วมมือด้านความมั่นคง และการป้องกันประเทศตามแบบตัวอย่างพันธมิตรที่มีอยู่แล้วกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นาง von der Leyen เผยว่า กำลังมีการสำรวจความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ “ความร่วมมือนี้จะทำให้เราสามารถต่อสู้กับภัยคุกคามทั่วไปได้มากขึ้น” โดยเบื้องหลังการปรับนโยบายความมั่นคงของ EU ก็มีความต้องการที่จะแยกอินเดียออกจากความร่วมมือทางทหารที่ใกล้ชิดกับประเทศรัสเซียนั่นเอง โดยปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้จำหน่ายอาวุธที่สำคัญที่สุดของอินเดีย แต่พันธมิตรอื่น ๆ ก็มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน นาง von der Leyen กล่าวว่า อินเดียกำลังจัดการประเด็นดังกล่าวอย่างหนักเพื่อ “เพิ่มความหลากหลายในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์” ในส่วนของสงครามที่ของรัสเซียรุกรานยูเครนนั้น อินเดียไม่ได้ออกมาประณามรัสเซียอย่างชัดเจน นาง von der Leyen ย้ำว่า การเจรจาในการสรรหาสันติภาพนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการมีสันติภาพที่ยุติธรรมด้วย นาง von der Leyen ยกตัวอย่างข้อโต้แย้งที่สะท้อนกลับมาที่อินเดีย ซึ่งอินเดียเคยมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับเพื่อนบ้านอย่างจีน และปากีสถานอยู่บ่อยครั้ง โดยประเทศอื่น ๆ กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า ประเทศเหล่านี้จะหนีรอดจากการรุกรานประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ถูกลงโทษได้หรือไม่
ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/199856
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!