SNP NEWS

ฉบับที่ 380

CEO Article

“อาบัติ”

SNP-NEWS-380-01
“อาบัติชนะใจคนกรุงเทพฯ ท่วมท้น”
หัวขอ้ขา่วลักษณะขา้งตน้ถูกสาํนักขา่วหลายแหง่นำขึ้นมาพาดหัว ภายหลังการเลือกตัง้สมาชิกวุฒสิภา ส.ว. เขตกรุงเทพฯ เมื่อวันที่19 เมษายน 2549ส่อบางฉบับตัง้ขอ้สังเกตว่า คนกรุงเทพฯ ให้ความสนใจเลือกดารามากขึ้นจนทาํให้อาบัติหรือสมบัติ เมทะนีไดรั้บเลือกเป็น ส.ว. ลาํดับ 6 พร้อมกับผูไ้ดรั้บเลือกรายอื่นรวม 18 รายอาบัติได้เป็น ส.ว. สมใจคนกรุงเทพฯ ท่ามกลางการเมืองที่เริ่มจะขัดแย้งได้เพียงไม่กี่เดือน ในเดือนกันยายน 2549 ก็เกิดการรัฐประหารในประเทศไทยอีกครั้งวุฒิสภาถูกยุบ อาบัติก็ถูกยุบตามไปด้วย
เมื่อทุกอย่างถูกยุบไปจึงไม่มีใครรู้ว่า หากอาบัติปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ว. ในครั้งนั้นจนครบวาระ อาบัติจะมีส่วนทำให้การเมืองที่เริ่มขัดแย้งนั้น หนักขึ้นหรือเบาลง หรือยังคงขัดแย้งอย่างที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้จากนั้น ก็มีข่าวอาบัติไปสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้นบ้าง พรรคการเมืองนี้บ้าง บางข่าวก็ว่า อาบัติป่วยไม่ค่อยสบาย แล้วข่าวอาบัติก็ค่อย ๆ ลดน้อยลงสุดท้ายดูเหมือนว่าข่าวอาบัติจะค่อย ๆ เงียบหายไปจนคนเริ่มจะลืมว่า อาบัติเคยเป็น ส.ว. มาก่อนผ่านไป 9 ปี ใน พ.ศ. 2558 อาบัติก็กลับเข้าอยู่ในกระแสวิจารณ์อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ อาบัติไม่ได้มาในแบบของสมบัติ เมทะนี ไม่ได้มาในฐานะนักการเมือง แต่อาบัติมาในฐานะภาพยนตร์ที่ถูกสั่งแบนไม่ให้ฉาย“ภาพและเนื้อหาไม่เหมาะสม”นี่คือข้อกล่าวหาที่ภาพยนตร์เรื่องอาบัติถูกคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์มอบให้จากนั้น การวิจารณ์ใน Social Media ก็วิ่งสูงขึ้นในลักษณะไม่เห็นด้วยพร้อม ๆ กับการส่งคลิ๊ปหนังตัวอย่างให้เห็นภาพไม่เหมาะสม“จริง ๆ แล้ว หนังเรื่องนี้สอนว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำสอนพระพุทธเจ้าง่าย ๆ แค่นั้นเอง เพียงแต่ว่า วิธีการเล่ามันก็แล้วแต่ผู้กำกับที่เขาอยากเล่าแบบไหน” เป็นคำยืนยันของทีมงานผู้สร้างหนังเสียงวิจารณ์ที่ดังขึ้น ใครที่ไม่สนใจก็เริ่มได้รับข่าวสาร ใครที่ไม่คิดจะดูก็เริ่มอยากดู อาบัติดังขึ้นมาอยู่ในกระแสที่คนอยากสัมผัส เหมือน ๆ กับอาบัติที่เคยลงรับสมัคร ส.ว. ในปี 2549 ที่คนกรุงเทพฯ อยากเลือกแล้วที่มันเหมือน ๆ กันอีกประเด็นคือ ทั้ง 2 อาบัติ ดังขึ้นมาโดยไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณาเพียงไม่กี่วันที่ดังในกระแส ทีมงานผู้สร้างก็ให้ข่าวว่ายินยอมตัดภาพที่ไม่เหมาะสมออกไป แก้ไขเนื้อหาใหม่ และเปลี่ยนชื่อหนังจากอาบัติมาเป็นอาปัติอาบัติดังเข้ากระแสไปแล้ว เมื่อเปลี่ยนเป็นอาปัติก็ไม่ได้ทำให้กระแสเปลี่ยนไป ส่วนกระแสจะติดลมบนหรือจางหายไปเหมือนอาบัติ ส.ว. ก็คงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ในขณะที่ผู้เข้าชมก็ยังคงเรียกอาบัติเหมือนเดิมคนที่วิจารณ์ เขาวิจารณ์อะไร ??? คนที่วิจารณ์เขามองไปในทิศทางเดียวกันว่า ความเป็นจริงศาสนาพุทธถูกย่ำยีมานานแล้ว และถูกย่ำยีมามากกว่าภาพและเนื้อหาในหนังซะอีกพฤติกรรมของสงฆ์ที่ไม่ดีหลายอย่างที่ดูอย่างไรก็ไม่น่าจะใช่สงฆ์ ทั้งยาเสพติด ทั้งหนังโป๊ ทั้งเข้าในสถานที่อโคจร บางรูปก็พกปืน และบางวัดค้าขายทั้งวัตถุและความเชื่อจนกลายเป็นพุทธพาณิชย์สงฆ์ไม่ดีบางรูปทำกำไรเป็นล่ำเป็นสัน แอบมีบ้าน มีรถยนต์หรู มีครอบครัว จากเงินที่แอบเอาเข้ากระเป๋าส่วนตัวยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมของสงฆ์ที่ไม่ดีก็ยังทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม มันหนักหนากว่าเนื้อหาในหนังเป็นร้อยเท่าพันเท่าซะอีก สงฆ์ที่ไม่ดีในชีวิตจริงพร้อมข่าวฉาว ๆ เดินไปเดินมาตามท้องถนนกันเกลื่อนเมืองสงฆ์ในศาสนาพุทธก็มีหน่วยงานกำกับ แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานเหล่านี้ไม่ทำอะไรเลย หรือทำแต่ช้าเกินไป ไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกหลายกรณี คนไทยมองอย่างงง ๆ ว่า ทำไมสงฆ์ที่ไม่ดีจึงทำเรื่องไม่งามได้อย่างอิสระ จนทำให้ศาสนาพุทธถูกย่ำยีมากกว่าในหนัง หน่วยงานที่ดูแลก็เอาแต่นิ่งเฉย แล้วข่าวก็แว่ว ๆ มาว่า มันเป็นเรื่องของสงฆ์ ท่านไม่มีอำนาจไปก้าวก่ายชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ หน่วยงานมากมายทั้งกระทรวง ทบวง กรม และรัฐมนตรี นับสิบนับร้อย ไม่มีใครรู้ว่า ใครบ้างมีอำนาจมากเพียงใด แต่ผลที่เห็นชัด ๆ คือ สงฆ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นมาก เกิดเป็นพุทธพาณิชย์ เกิดการซื้อขายทั้งบุญและบาป และเกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน พอวันดีคืนดี มีผู้นำความจริงส่วนหนึ่งที่เล็ก ๆ นิดเดียว มาสร้างเป็นหนัง หน่วยงานที่ดูแลศาสนาไม่รู้จะกี่หน่วยงานก็ยังนิ่งดูดาย ไม่ทำอะไรให้เห็นเป็นเรื่องราว ภาพยนตร์ไม่ใช่หน้าที่เพราะท่านดูแลศาสนาที่เป็นของจริงแต่พอศาสนาพุทธของจริง ๆ บางเรื่องแย่กว่าในหนัง ทำไมท่านไม่ลุกขึ้นมาทำหน้าที่ พอหนังทำออกมาตีแผ่ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์ที่ไม่มีหน้าที่กำกับศาสนาในชีวิตจริง แต่มีหน้าที่เพียงกำกับหนังกำกับละครก็เข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์ทำงานด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพจนทีมงานผู้สร้างหนังยินยอมตัดภาพ แก้ไขเนื้อหา และเปลี่ยนชื่อหนังจนได้รับอนุญาตให้ออกฉาย ทำไมภาพและเนื้อหาของสงฆ์ในหนังจึงได้รับการแก้ไขรวดเร็วทันใจ แต่ทำไมภาพและเนื้อหาของสงฆ์ที่ไม่ดีในชีวิตจริงจึงอืดอาดชักช้าเหมือนไม่มีวันจบ หากปล่อยให้หนังอาบัติออกฉายโดยไม่ตัดภาพและแก้ไขเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมออก สงฆ์ในชีวิตจริงจะแย่ลง หรือจะดีขึ้น หรือก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้หรือไม่ ??? ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์เพียงหน่วยเดียวทำหน้าที่ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากกว่าหน่วยงานที่ดูแลศาสนาจริงนับสิบนับร้อยหน่วยซะอีก แล้วหน่วยงานที่ดูแลศาสนาจริง ๆ ไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยหน่วยนี้ เขาเอาอำนาจจากไหน ???
คำตอบคือ อำนาจในระบอบประชาธิปไตยต้องมาจากกฎหมาย แล้วหากจะถามต่อว่า ใครเป็นผู้ออกกฎหมาย ใครเป็นผู้พิจารณาข้อดีข้อเสียในกฎหมาย เพื่อแก้ไข คำตอบก็คือ ในระบอบประชาธิปไตยก็หนีไม่พ้นนักการเมืองอย่างอาบัติในปี 2549 ที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ว.
หากเห็นว่า กฎหมายเดิมที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมสงฆ์ไม่ดี นักการเมืองก็แก้ไขได้และหากเห็นว่าหน่วยงานเป็นสิบเป็นร้อยหน่วยไม่มีอำนาจ ท่านก็แก้ไขกฎหมายให้อำนาจได้อีกเช่นกัน มันง่ายแค่ยกฝ่ามือเท่านั้น กฎหมายก็ผ่านแล้ว แต่ทำไมนักการเมืองไม่ทำ???
แล้วหากจะถามต่อว่า ใครเป็นผู้ออกกฎหมาย ใครเป็นผู้พิจารณาข้อดีข้อเสียในกฎหมาย เพื่อแก้ไขคำตอบก็คือ ในระบอบประชาธิปไตยก็หนีไม่พ้นนักการเมืองอย่างอาบัติในปี 2549 ที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ว. ดูก็จะต่อต้านเอง ผู้สร้างหนังก็จะเสียเอง ขาดทุนจนไม่อยากทำ
แต่หากนักการเมืองและหน่วยงานมากมายไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ก็ลองแก้ไขกฎหมายเพียงให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์มากำกับดูแลศาสนาซะเลยซิไม่แน่ว่า สงฆ์ที่ไม่ดีในศาสนาพุทธอาจจะดีขึ้นมาทันตาเห็นก็ได้ มันเป็นแนวคิดประชด แต่หากใครอยากให้เป็นจริงก็ต้องภาวนาให้อาบัติ ส.ว. 2549 ได้กลับมาเป็น ส.ว. อีกครั้ง แล้วเข้ามาแก้ไขกฎหมายให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์ ให้มีอำนาจกำกับดูแลศาสนาไปด้วยในเวลาเดียวกัน เพียงแนวคิดประชดนี้ สงฆ์ที่ไม่ดีในศาสนาพุทธก็จะมีหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพดูแลจริงจังเหมือน ๆ กับอาบัติในหนังไม่ผิดเพี้ยน

สิทธิชัย ชวรางกูร

The Logistics

SNP-NEWS-380-02
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) — พฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 – รายงาน Review of Maritime Transport 2015 ของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ระบุว่า การขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ทางเรือขยายตัว 3.5% ระหว่างระยะเวลา 12 เดือนจนถึงวันที่ 1 ม.ค.2558 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวรายปีที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีรายงานระบุว่า ณ ช่วงต้นปีนี้ เรือขนส่งสินค้ามีจำนวนทั้งหมด 89,464 ลำโดยน้ำหนักรวมของสินค้าอยู่ที่ 1.75 ล้าน DWT กรีซยังคงมีเรือขนส่งสินค้าจำนวนมากที่สุด แม้จะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยบริษัทกรีซครองสัดส่วนกว่า 16% ของธุรกิจดังกล่าวทั่วโลก ตามด้วยบริษัทจากญี่ปุ่น จีน เยอรมนีและสิงคโปร์ เมื่อคิดรวมทั้งหมด บริษัทของทั้ง 5 ประเทศมีสัดส่วน DWT เกินครึ่งหนึ่งจากทั่วโลก ทั้งนี้ จีนรั้งอันดับ 1 ในดัชนี Liner Shipping Connectivity Index (LSCI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือทั่วโลกของประเทศติดชายฝั่งทะเล ตามด้วยสิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย และเยอรมนี รายงานยังระบุว่า ความสามารถในการรองรับตู้สินค้า/ผู้ให้บริการสำหรับแต่ละประเทศ ปรับตัวขึ้น 3 เท่าในช่วงปี 2557-2558 ขณะที่จำนวนบริษัทโดยเฉลี่ยที่ให้บริการในท่าเรือของแต่ละประเทศ ลดลง 29% นอกจากนี้ รายงานคาดการณ์ว่า การกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการยกระดับเทคโนโลยีและการประหยัดต้นทุนจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย ตัวอย่างเช่น การประหยัดจากขนาดของธุรกิจหรือกำลังการผลิต (economies of scale) แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันอย่างเพียงพอ เพื่อให้กลุ่มผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงต้นปี 2558 รายงานชี้ว่า บริษัทเดินเรือชั้นนำ 10 แห่งให้บริการเรือบรรทุกสินค้ากว่า 61% จากทั่วโลก ขณะที่บริษัท 20 อันดับแรกมีสัดส่วนความสามารถในการรองรับตู้สินค้า 83% ของสัดส่วนทั้งหมด เมื่อรวมตัวเลขทั้งสองส่วน บริษัทขนาดใหญ่ที่สุด 3 แห่งครองสัดส่วน 35% ของตัวเลขทั้งหมดจากทั่วโลก สำนักข่าวซินหัวรายงาน

ที่มา : http://www.marinerthai.net/forum/index.php?PHPSESSID=137563c2934c76273af7a704c103e690&topic=7211.0

AEC Info

SNP-NEWS-380-03
ผลวิเคราะห์อุตสาหกรรมไทยมั่นใจศักยภาพแข่งขันรับอาเซียน นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผย ผลกระทบจากการเข้า สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในภาคอุตสาหกรรม ว่า จากการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของประเทศไทย พบว่ามีจุดแข็งที่สำคัญได้แก่
1. ประเทศไทยมีแรงงานที่มีทักษะฝีมือเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
2. มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และมีผลผลิตที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด เป็นต้น
3. มีที่ตั้งเหมาะสมในด้าน การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ทำให้มีข้อได้เปรียบหลายด้าน โดยเฉพาะการขนส่ง และ
4. การคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศครอบคลุมและรองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนจุดอ่อนที่สำคัญมี 5 ข้อ ได้แก่
1. ภาคการผลิตของไทยยังมีประสิทธิภาพต่ำเห็นได้จากข้อมูลการสำรวจปัจจัยในการแข่งขันทั้ง 4 ด้านที่สถาบัน IMD ได้ดำเนินการ สำรวจไว้
2. การขาดแคลนแรงงานจากค่านิยมเกี่ยวกับการทำงาน และการเรียนที่ผิดๆ โดยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์มากกว่าการนำไปใช้จริง
3. การกระจุกตัวของพื้นที่อุตสาหกรรมทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และการอพยพแรงงานเข้ามาหางานทำในกทม. และปริมณฑล รวมทั้ง ในพื้นที่ภาคตะวันออก
4.อุตสาหกรรมหลักของประเทศยังต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ และ
5. สินค้าอุตสาหกรรมยังมีการเชื่อมโยงวัตถุดิบจากภาคการเกษตรไม่มากนัก แม้ว่าภาคการเกษตรจะมีความสำคัญกับประเทศมาอย่างช้านาน
การศึกษาอุตสาหกรรมหลัก 12 กลุ่มของไทย ได้แก่
1. อุตสาหกรรมยานยนต์ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ อันดับ 1 ของอาเซียน มีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ที่มีความเฉพาะใน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รถปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ และรถยนต์ขนาดเล็กคุณภาพสูง ซึ่งในส่วนของรถจักรยานยนต์ไทยมีการผลิตเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม ดังนั้น หากเปิด AEC ไทยควรจะรักษาฐานการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่มีคุณภาพสูง ฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไปตั้งฐานการผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนในอาเซียน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขัน เนื่องจากเป็นฐานการผลิตอันดับ 1 ของอาเซียน อย่างไรก็ตาม หลังการเปิด AEC ไทยอาจได้รับผลกระทบจากการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กรณีทีวีแอลซีดีของโซนี่ ที่ได้ย้ายฐานไปมาเลเซีย เนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่งไปอินเดียที่เป็นตลาดหลักต่ำกว่า แต่ทั้งนี้ ไทยยังคงเป็นฐานการผลิตทีวีแอลซีดีของซัมซุง พานาโซนิก และแอลจี รวมทั้ง ยังรับจ้างผลิตให้กับอีกหลายแบรนด์ ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ยังมีแนวโน้มที่ดี
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไทยยังมีจุดแข็งในเรื่องแรงงานมีฝีมือเป็นที่ยอมรับ และมีระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมแต่ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งการเปิด AEC คาดว่า เรื่องภาษีจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมนี้ไม่มาก เพราะได้ทะยอยลดภาษีเป็น 0 เกือบหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ของมาตรการส่งเสริมการลงทุน ไทยยังเสียเปรียบมาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่ให้สิทธิประโยชน์ยืดหยุ่นกว่า โดยแนวโน้มการ อยู่รอดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
4. อุตสาหกรรมเหล็ก ไทยมีศักยภาพในอันดับต้นๆ ของอาเซียน เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ และยังมีโอกาสขยายตลาดในอาเซียนได้อีกมาก แต่มีจุดอ่อนในเรื่องการพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีโรงถลุงเหล็กต้นน้ำซึ่งหลังจากเปิด AECแล้วความน่าสนใจในการลงทุนอุตสาหกรรมนี้อาจด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่มีการลงทุนเหล็กต้นน้ำ
5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไทยมีจุดแข็งเรื่องฝีมือแรงงาน โดยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพพลอย มีจุดอ่อนในเรื่องแรงงานมีฝีมือมีแนวโน้ม ลดลง เพราะคนรุ่นใหม่หันไปทำงานด้านอื่น และขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศต้องนำเข้าถึง 90% แต่ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบในอาเซียนไทยยังคงมีศักยภาพการแข่งขันสูงกว่า ซึ่งเมื่อเปิด AECจะทำให้ไทยมีแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน
6. อุตสาหกรรมสิ่งทอ ไทยมีจุดเด่นในเรื่องขีดความสามารถในการผลิตครบวงจร เป็นฐานการผลิตใหญ่ในอาเซียนรวมทั้ง ประเทศกัมพูชา พม่า และเวียดนาม ต่างก็ยังพึ่งพาสินค้ากลางน้ำจำพวกผ้าผืนจากไทย ดังนั้นเมื่อเปิด AEC จะเป็นผลดีเนื่องจาก ประเทศเพื่อนบ้านและเวียดนามมีอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังขาดแคลนอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำจึงต้องนำเข้าวัตถุดิบ ทำให้เป็นโอกาสของไทย ในการขยายตลาดในอาเซียน
7. อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ไทยมีความได้เปรียบและความพร้อมในเรื่องคุณภาพการผลิตที่ปราณีต แต่มีจุดอ่อนเรื่องต้นทุนแรงงาน ดังนั้น การเปิด AEC จะเป็นโอกาส ในการออกไปตั้งฐานการผลิตในสินค้า ปลายน้ำในประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนแรงงานต่ำและยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ของประเทศเพื่อนบ้านในการส่งออกไปยังยุโรป และสหรัฐฯแต่ผู้ประกอบการ จะต้องพัฒนาแบรนด์ และเพิ่มการออกแบบ เพื่อให้แข่งขันในตลาดสากลได้
8. อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ไทยมีจุดแข็งเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน เพราะมีกำลังการผลิตมากที่สุดในภูมิภาคการเปิด AEC ลดภาษีเป็น 0% ไทยจะส่งเม็ดพลาสติกเข้าไปขายได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำไม่เพียงพอ เช่น อินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียก็มีมาตรการกีดกันทางการค้าในเม็ดพลาสติก PET จากไทย ดังนั้น หากขจัดอุปสรรคนี้ได้ก็จะทำให้มีการส่งออกมากขึ้น
9. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก มีส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนเป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยมาเลเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว เนื่องจากมีต้นทุนวัตถุดิบ พลังงาน โลจิสติกส์ และแรงงาน ต่ำกว่าไทย รวมทั้งยังมีการเชื่อมโยงคลัสเตอร์พลาสติกที่ดีกว่า ซึ่งเมื่อเปิด AEC อุตสาหกรรมนี้ จะขยายตัวตามเศรษฐกิจ ประกอบการไทยสามารถส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น ยกเว้นเวียดนามที่เป็นตลาดของมาเลเซีย
10. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประเทศไทยมีจุดเด่นในเรื่องการส่งออกวัตถุดิบยางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้อุตสาหกรรมนี้ของไทยมีศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะยางล้อที่เติบโตอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันประเทศลาว และเวียดนามได้ขยายการส่งออกยางมากขึ้นทำให้อัตราการเติบของไทยลดลง และไทยยังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ดังนั้น จึงต้องเร่งผลิตบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งเพิ่มการวิจัยและพัฒนา เพิ่มส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการผลิต และการวิจัยสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมยาง
11. อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว ไทยมีจุดเด่นในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ดีกว่าจีน และยังเป็นทำเลที่เหมาะต่อการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในอาเซียน และยังมีความหลากหลายของสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ แต่การเปิด AECจะทำให้ผู้ประกอบการSMEsต้องปรับตัว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะจะมีคู่แข่งมากขึ้น
12. อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีความเข็มแข็งมาก สิ่งที่ต้องระวังคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงและมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่จูงใจ ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อลดการพึ่งพาแรงงาน
ที่มา : เปิดผลวิเคราะห์อุตสาหกรรมไทยมั่นใจศักยภาพแข่งขันรับAEC (วัชระ ปุษยะนาวิน)

คุยข่าวเศรษฐกิจ

SNP-NEWS-380-04
ครม.เตรียมเคาะมาตรการช่วยเหลือ “SMEs” ระยะที่ 2 งบฯ กว่า 600 ล้าน การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (20 ต.ค.2558) จะมีการพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระยะที่ 2 และพิจารณาข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมเรื่องแผนปฏิบัติการทางถนนและทางรางวงเงิน 1.77 ล้านล้านบาท ขณะที่ สมช.เสนอปรับปรุง พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ ก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติมาตรการช่วยผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) ไปแล้วช่วงต้นเดือนกันยายน 2558 ทั้งการปล่อยสินเชื่อและลดภาษี วันนี้ (20 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอมาตรการระยะที่ 2 ซึ่งจะเน้นแผนการช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างเป็นรูปธรรม เช่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องปรับแผนธุรกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้คำปรึกษาหรือวางแผนธุรกิจให้ โดยตั้งเป้าให้การช่วยเหลือในกลุ่มนี้ 7,000 ราย ใช้งบประมาณ 430 ล้านบาท และอีก 200 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการดูแลเบื้องต้น ซึ่งใช้งบประมาณน้อยกว่า จำนวน 10,000 ราย นอกจากนั้นจะมีการส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการที่เริ่มดำเนินการ (Start-up) ทั้งการพัฒนาศักยภาพและการส่งเสริมเรื่องการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจและแผนพัฒนาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทางธุรกิจ ทางด้านกระทรวงคมนาคมจะเสนอแนวทางการจัดหาแหล่งเงินทุนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วนปี 2558-2560 รวม 19 โครงการ วงเงินประมาณ 1.77 ล้านล้านบาท ซึ่งมีการจัดหาจากแหล่งทุนหลักๆ 5 ส่วน ได้แก่
-เงินลงทุนจากงบประมาณ 220,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.43
-แผนบริหารหนี้สาธารณะหรือกู้เงิน 1.14 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.76
-เอกชนร่วมลงทุน ประมาณ 337,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19
-เงินรายได้จากรัฐวิสาหกิจประมาณ 53,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3
-เงินกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง 14,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.8
ส่วนสภาความมั่นคงแห่งชาติเตรียมเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาหลักจะมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ สมช.โดยให้มีผู้แทนจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ และกระทรวงไอซีที เข้ามาร่วมอยู่ในสภาความมั่นคงแห่งชาติด้วย

ที่มา http://news.thaipbs.or.th/