CEO ARTICLE

ที่ปรึกษาที่ดี


Follow Us :

    

การบริหารและการจัดการคืออะไร ???

คำถามพื้น ๆ แบบนี้ ใครได้ยินก็พอจะเข้าใจแบบพื้น ๆ ไปด้วย แต่จะหาคำอธิบายชัด ๆ สู่การปฏิบัติจริงกลับยากมากขึ้น บางคนถึงกลับนั่งนิ่ง ไปไม่ถูก คล้ายงงกับคำตอบที่ได้รับ

เมื่อเปิดพจนานุกรม หรือหาคำตอบในกูเกิ้ลก็จะได้หลากหลาย แม้คำตอบจะไปในทิศทางเดียวกัน แต่คำอธิบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงตามหลักการกลับไม่ง่าย

ผมเรียนมาด้านนี้โดยตรง และมีประสบการณ์ตรงจึงมักสร้างคำนิยามส่วนตัวเพื่อให้ความเข้าใจและให้การอธิบายง่ายขึ้น ดังนี้

การบริหารคือ การประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวให้ “ถูกต้องและแม่นยำ”

หัวใจของการบริหารจึงเป็น “ความถูกต้องและแม่นยำ”

ถามว่า การบริหารต้องการอะไรเพื่อให้การประเมินสถานการณ์มีความถูกต้องและแม่นยำจริง ๆ คำตอบคือ การบริหารต้องการข้อมูลข่าวสาร ตัวเลขทางสติถิ ศาสตร์และศิลป์อื่น ๆ อีกมาก รวมถึงการมี “คำปรึษาที่ดี” เพื่อ “ความถูกต้องและแม่นยำ”

ส่วนการจัดการคือ การนำสิ่งที่การบริหารประเมินมาสร้างวิธีการให้เกิดการปฏิบัติได้จริงและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

หัวใจของการจัดการจึงเป็น “การปฏิบัติได้จริงตามวิธีการ”

ถามว่า การจัดการต้องการอะไรเพื่อให้การปฏิบัติได้จริง คำตอบคือ การจัดการต้องอาศัย ศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผน การจัดองค์กร การจัดการทีมงาน การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน การจัดเงินและงบประมาณ รวมถึง “คำปรึกษาที่ดี” เพื่อ “การปฏิบัติจริงให้ได้ตามวิธีการ”

“คำปรึกษาที่ดี” จึงเป็นหัวใจของการบริหารและการจัดการเพื่อการเป้าหมายบรรลุผลตามเป้าหมาย ผู้บริหารที่ดีจึงต้องมี “ที่ปรึกษาที่ดี” ตามไปด้วย

ทันทีที่ Covid-19 กลายเป็นข่าวใหญ่จากประเทศจีนและมีการปิดเมืองอู่ฮั่นช็อกคนทั้งโลก คนมีความรู้ทางแพทย์ต่างประเมินว่า ประเทศไทยคงหนีไม่พ้นแน่

เสียงเรียกร้องรัฐบาลให้สั่งปิดประเทศก็ค่อย ๆ ดังขึ้น

พอ Covid-19 เริ่มเข้ามาเยือน รัฐบาลอาจดูช้าเกินไป อาจมองความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจมีความสำคัญมากกว่า การไล่แก้ตามสถานการณ์คล้ายการทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก และการไม่สั่งปิดประเทศจึงดูเหมือนรัฐบาลไม่เด็ดขาด
จากนั้นไม่นาน นายกรัฐมนตรีก็เปิดทีมคณะที่ปรึกษาซึ่งมีความรู้ทางการแพทย์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสูง เป็นที่ยอมรับในสังคมให้ออกทีวี มีให้การอธิบาย และมีการให้สัมภาษณ์

สิ่งที่ทุกคนต่างยอมรับคือ นายกรัฐมนตรีไม่มีความรู้ทางการแพทย์แน่ ภาพของคณะทีมที่ปรึกษาทำให้เห็นว่า นักการเมืองที่มีแต่ความวุ่นวายในตอนแรกถูกกันออกไป คนที่ทำงานหนักก็มีแต่แพทย์ พยาบาล และนักการเมืองเฉพาะผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องโดยตำแหน่งเท่านั้น

ภาพของคณะทีมที่ปรึกษาทำให้เห็นว่า รัฐบาลได้รับ “คำปรึกษาที่ดี” มี “ความถูกต้องและแม่นยำ” ซึ่งกำลังเดินไปสู่หัวใจของการจัดการคือ “การปฏิบัติให้ได้จริงตามวิธีการ”

หากทำได้จริง โอกาสที่เป้าหมายการหยุดยั้งการแพร่กระจายก็จะบรรลุตามไปด้วย

ประชาชนในฐานะ “ผู้ปฏิบัติให้ได้จริงตามวิธีการ” เป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบจริง และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัวจริงจึงจำเป็นต้องเข้าใจ Social Distancing การใช้ชีวิตประจำวันให้มีระยะห่างจากคนอื่นให้ได้ก่อน

มาตรการนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทีมคณะแพทย์ที่ปรึกษาและรัฐบาลจึงพยายามให้ข้อเสียเกิดขึ้นแก่ประชาชนน้อยที่สุด แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จนการแพร่กระจายในแต่ละวันค่อย ๆ สูงขึ้น

ในที่สุด วันที่ 21 มีนาคม 2563 การสั่งการเชิงรุกด้วยการสั่งปิดสถานที่ต่าง ๆ โดยคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับลูกกันเป็นทอด ๆ ตามแต่ละท้องที่รวมทั้งกรุงเทพฯ ก็เริ่มขึ้น

คำสั่งปิดกระทบถึงห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา สนามกีฬาเกือบทุกประเภท สถานความงาม สถานที่บริการต่าง ๆ สถานที่ที่เป็นแหล่งชุมชนถูกสั่งปิด ยกเว้นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา และธนาคารที่ยังให้เปิดได้

ทันทีที่คำสั่งปิดสถานที่ออกไป ประชาชนกลุ่มหนึ่งเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตนตามคำสั่งนั้น ขณะที่ประชาชนอีกส่วนหนึ่งต่างทะยอยหนีออกต่างจังหวัดที่ขัดต่อวิธีการ Social Distancing และอาจเป็นตัวการนำเชื้อไปแพร่กระจายสู่ต่างจังหวัด หรือ Covid Delivery ไปสู่ญาติพี่น้องอย่างไม่รู้ตัว

นักการเมืองส่วนใหญ่ต่างสงบนิ่ง ส่วนหนึ่งให้คำแนะนำโดยหนังสือไปยังรัฐบาลเพื่อมิให้เกิดความวุ่นวาย แต่อีกส่วนหนึ่งให้คำแนะนำพร้อมกับสร้างผลประโยชน์ทางการเมืองร่วมด้วย

การวิจารณ์ในเชิงสัญลักษณ์ การต่อต้านโลกโซเซียลยังไม่ยอมยุติ การยุยงประชาชนให้ต่อต้าน ให้เรียกร้องเงินชดเชย และสุดท้ายก็วกเข้าสู่การเมืองด้วยการเรียกร้องนายกรัฐมนตรีให้ลาออก และเริ่มต้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เกิดขึ้น

ในสถานการณ์แบบนี้ ไม่รู้ว่าในสมองมีอะไรอยู่บ้างจึงคิดและทำได้แบบนี้

คำแนะนำที่ได้จากทีมคณะที่ปรึกษาเป็นสิ่งที่ดี และใคร ๆ ก็มองออกว่า การแก้ไขปัญหา Covid-19 ระหว่างนักการเมืองกับทีมคณะที่ปรึกษาที่เป็นสุดยอดทางการแพทย์นั้น

ใครจะดีกว่ากัน

หากจะกล่าวว่า นักการเมืองแบบนี้ไม่มีความรู้ด้านการบริหารและการจัดการ ย่อมเป็นไปไม่ได้ คนระดับนี้ ก้าวมาถึงขั้นนี้จะไม่มีความรู้ได้อย่างไร

แต่ทั้งที่มีความรู้ ทั้งที่รู้ว่าหากประชาชนปฏิบัติไม่ได้จริงตามวิธีการ การแพร่กระจายอาจเพิ่มเป็นทวีคูณ นักการเมืองแบบนี้ก็ทำเป็นไม่รู้

ทั้งที่รู้ว่าการลาออกของนายกรัฐมนตรีย่อมทำให้ประเทศเกิดสูญญากาศ การแพร่กระจายของ Covid-19 จะเกิดขึ้นมาก ประชาชนจะเจ็บป่วยล้มตายมาก นักการเมืองแบบนี้ก็ทำ

จากนั้นก็นำความหายนะที่เกิดขึ้นมาตีกินทางการเมือง การเมืองของไทยเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เดินมาถึงจุดที่เอาความไม่รู้ของประชาชนและความเป็นความตายมาเล่นกันง่าย ๆ

คนชอบและไม่ชอบนายกรัฐมนตรีมีอยู่มาก จำนวนน่าจะต่างกันไม่เท่าไร แต่หากการเมืองยังอยู่ในวังวนแห่งผลประโยชน์แบบนี้ ทีมคณะที่ปรึกษาเหนื่อยหนักแน่

วันนี้ วิธีการต่อสู้กับ Covid-19 โดยทีมคณะที่ปรึกษาย่อมเดินมาในทางที่ดีมากกว่าเสียแต่จะประสบความสำเร็จหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับประชาชนผู้ปฏิบัติจริงเท่านั้น

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

ปล. คณะแพทย์ในทีมที่ปรึกษา (https://news.thaipbs.or.th/content/289929)

1. ศ.นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาธร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

2. ศ.นพ. อุดม คชินทร อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ

3. ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

4. ศ.นพ. อมร ลีลารัศมี อาจารย์แพทย์อายุรศาสตร์ นายกแพทยสมาคม

5. ศ.พญ. สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

การขนส่งทางทะเลของเมืองเซี่ยเหมินภายหลัง COVID-19

ท่าเรือเมืองเซี่ยเหมินกลับมาดำเนินการในระดับปกติแล้วภายหลังการหยุดชะงักในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ ตามรายงานของสมาคมท่าเรือของจีน/ก.คมนาคมจีน ท่าเรือหลัก 8 แห่งของจีนรวมถึงท่าเรือเซี่ยเหมิน มีปริมาณตู้ขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกลดลงกว่าร้อยละ 20 ในช่วงเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และประเมินว่าจะมีกำไรลดลงร้อยละ 15 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้โดยเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ท่าเรือหลักทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ หนิงโป กว่างโจว เทียนจิน เซี่ยเหมิน ต้าเหลียน เซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และชิงต่าว มีสัดส่วนการนำเข้าและส่งออกตู้สินค้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณตู้สินค้าที่ขนส่งทางทะเลทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อต้น มี.ค. ที่ผ่านมา ท่าเรือหลักของจีนเริ่มเข้าสู่ช่วงฟื้นตัว โดยสมาคมท่าเรือของจีนประเมินว่าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคภายในประเทศ

ท่าเรือเซี่ยเหมิน นอกจากจะเป็นท่าเรือแห่งแรกของจีนแผ่นดินใหญ่ที่เชื่อมโยงเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลสู่ท่าเรือเมืองเกาสงซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวันแล้ว ยังเป็นท่าเรือหลักแห่งหนึ่งในการขนส่งสินค้าสู่ประเทศตามเส้นทาง BRI โดยในปี 2562 มีปริมาณการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนและ ประเทศตามเส้นทาง BRI เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 มีมูลค่ากว่า 4.45 แสนล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 34 ของปริมาณการส่งออกทั้งมณฑล

ที่มา : https://thaibizchina.com/#section-4

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.