CEO ARTICLE

ชู 3 นิ้ว


Follow Us :

    

“เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ”

สัญลักษณ์ชู 3 นิ้วมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 – 1799 ที่ให้ความหมายข้างต้น (https://www.posttoday.com/politic/report/298157)

เสรีภาพ คือ บุคคลมีเสรีภาพด้านความคิด ความเชื่อ และการเมือง ฯลฯ

เสมอภาค คือ บุคคลมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายตามหลักความยุติธรรม ฯลฯ

ภราดรภาพ คือ บุคคลมีความเป็นพี่น้องกัน ไม่เน้นผิวพรรณ หรือเผ่าพันธุ์ ฯลฯ

ขณะที่หนังเรื่อง The Hunger Game นำการชู 3 นิ้วให้นักแสดงนำใช้ แต่สื่อความหมายว่า “ขอบคุณ สรรเสริญ และลาก่อน” (https://accesstrade.in.th)

ปัจจุบัน “เด็กดิจิทัล” และม็อบ “เยาวชนปลดแอก” ก็ใช้สัญลักษณ์ชู 3 นิ้วที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านเคยใช้มาก่อนเพื่อขับไล่ “รัฐบาลอนาล็อก” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยสื่อความหมาย 3 ประการคือ 

        1. ให้หยุดคุกคามประชาชน
        2. ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
        3. ให้มีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การชู 3 นิ้วได้ลุกลามไปถึงนักเรียนมัธยม ไม่มีใครตอบได้ว่า เยาวชนชู 3 นิ้วที่เข้าใจความหมายข้างต้นจะมีสักกี่คน แต่จากรายงานข่าวของสื่อต่าง ๆ พบว่าเยาวชนที่ชู 3 นิ้ว น้อยคนจริง ๆ ที่เข้าใจความหมาย

ส่วนใหญ่การชู 3 นิ้วของนักเรียนมัธยมก็เพื่อระบาย หรือเรียกร้องความต้องการของกลุ่มตน เช่น การไม่ใส่ชุดนักเรียน การไว้ผมยาว ห้ามให้เกรด 0 ห้ามลงโทษ และอื่น ๆ ควบคู่กับการขับไล่รัฐบาลที่ตนได้ข้อมูลมาว่า “เผด็จการ” 

สิ่งนี้สื่อให้เห็นถึงสมอง ความแยบยล เล่ห์เหลี่ยม และความเหี้ยมเกรียมของผู้อยู่เบื้องหลังที่นำความต้องการส่วนตัวและความบริสุทธิ์ของนักเรียนมัธยมมาใช้ควบคู่กับการขับไล่รัฐบาลได้ 

แต่หากผู้บริหารประเทศ ผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ปกครองพิจารณาข้อเรียกร้องด้วยสติ แม้จะเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่าก็จะพบความใสซื่อและความบริสุุทธ์อย่างมากของเยาวชนเหล่านี้

แม้ข้อเรียกร้องส่วนตนจะดูขาดหลักการ และเหตุผลไปบ้าง แต่ก็พอสัมผัสถึงความกดดันที่เยาวชนได้รับ มันอาจเกิดจากการขาดความอบอุ่นในครอบครัว การขาดการแสดงออก หรือเป็นไปตามสภาพความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ประเทศไทยมีมาตั้งแต่ก่อนปี 2475 ก็ได้

ขณะที่ครูบางท่านให้การสนับสนุนการชู 3 นิ้ว บางท่านก็คัดค้าน ส่วนผู้ปกครองก็มีทั้งสนับสนุนและคัดค้าน แต่บางท่านก็โกรธครูที่มีความเห็นไม่สอดคล้องกับผู้ปกครอง

การให้อิสระในการพูด การเปิดพื้นที่ให้แสดงออกภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และการขอให้โรงเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานของรัฐรับฟังเยาวชนซึ่งกระทรวงศึกษามีคำสั่งออกมาจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

รัฐบาลและผู้บริหารโรงเรียนจะแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อเยาวชนเหล่านี้ไม่ได้เด็ดขาด เขาคือพลังบริสุทธิ์ แม้ข้อเรียกร้องส่วนตัวบางเรื่องอาจเกินเลยกฎโรงเรียนและระเบียบสังคมไปบ้างก็ตาม

ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยเกิดขึ้นมานานและเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการปฏิวัติปี 2475 

ฐานะที่แตกต่างกันมาก ระดับความรู้ ความเข้าใจ และการศึกษามีส่วนทำให้ความเหลื่อมล้ำมีระดับขึ้น ๆ ลง ๆ ตามไปด้วย 

ภายหลังปฏิวัติ 2475 ทหารและนักการเมืองต่างหมุนเวียนเข้ามาบริหารประเทศ ร่วมกันได้บ้าง แบ่งปันกันบ้าง แก่งแย่งกันเองบ้าง ทหารเข้ามาโดยการรัฐประหารมากกว่าการเลือกตั้ง 

ส่วนนักการเมืองนิยมการสร้างนโยบาย การอภิปราย การจูงใจ และการเลือกตั้งมากกว่า

แต่ทั้งทหารและนักการเมืองในอดีตต่างก็ถูกกล่าวหาเรื่อง “การทุจริต” และใช้ “การทุจริต” สาดโคลนเข้าใส่กัน จริงบ้าง เท็จบ้างจนกว่าศาลท่านจะตัดสินซึ่งมักใช้เวลานาน

การหมุนเวียนเข้ามาบริหารประเทศของทหารและนักการเมือง โดยการรัฐประหารและการเลือกตั้งถูกเรียกว่าเป็นวงจรอุบาทว์เกือบ 100 ปี โดยความเหลื่อมล้ำไม่ได้ลดลงจากสังคมนัก

ตรงกันข้าม การแก่งแย่งอำนาจโดยมีประชาชนถูกมอมเมาด้วยนโยบายขายฝัน ด้วยการจูงใจ หรือชักนำให้เป็นฐานเสียงของทั้ง 2 ฝ่ายกลับตอกย้ำความเหลื่อมล้ำให้มากขึ้น 

ทหารและนักการเมืองไม่ใช่ว่าจะไม่ดีทุกคน ทหารและนักการเมืองที่ดีก็มีมาก แต่ไม่ว่าจะมีมากเท่าไร สุดท้ายความเหลื่อมล้ำก็ยังมีมากและลุกลามถึงเยาวชนในวันนี้

ตัวอย่างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ เช่น คดีของนายบอสกระทิงแดงยังไม่ถูกนำขึ้นสู่ศาลเป็นเวลา 8 ปี แต่คดีแกนนำม็อบเยาวชนถูกตามจับตามหมายศาลในเวลารวดเร็ว หรือการจัดซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำที่เป็นข่าว ท่ามกลางการเห็นด้วยและการคัดค้านของประชาชน เป็นต้น 

คำว่า “เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ” จึงคล้าย ๆ จะยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย  

โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ความคิดเห็นของเยาวชนก้าวไกลมาก หากตัดประเด็นข้อเรียกร้องส่วนตัวออกไปจะพบว่า ข้อเรียกร้องหลายข้อเกิดจากความเหลื่อมล้ำจนกลายเป็นความกดดัน

แม้รัฐบาลจะรู้ว่ามีต่างชาติและกลุ่มผู้ต้องการอำนาจอยู่เบื้องหลัง แต่รัฐบาลจะอ้างความชอบธรรมทางกฎหมายเข้าปราบก็ไม่ได้ ความบริสุทธิ์ของเยาวชนจะทำให้เรื่องลุกลามใหญ่โตมากขึ้น 

สิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำได้ดีที่สุดนอกจากการเปิดพื้นที่ให้แล้ว การสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นด้วยผลงานทั้งด้านการปราบปรามการทุจริต การลงโทษด้วยความรวดเร็ว การแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

หากรัฐบาลทำได้อย่างเป็นรูปธรรม พลังของฝ่ายต่าง ๆ ก็จะขาดความชอบธรรมไปเอง

ไม่มีใครตอบได้ว่าม็อบเยาวชนจะก้าวไกลไปถึงจุดใด และความเหี้ยมโหดของผู้อยู่เบื้องหลังจะทะลุไปถึงมิติใด แต่หากรัฐบาลไม่มีผลงานให้เกิดความเชื่อมั่น พลังบริสุทธิ์นี่แหละจะใหญ่โตขึ้นพร้อม ๆ กับเล่ห์เหลี่ยมของผู้อยู่เบื้องหลังจนนำไปสู่การล้มรัฐบาลอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ใครจะไปเชื่อ การชู 3 นิ้วของเยาวชนที่บริสุทธิ์อาจลุกลามไปช่วยผู้อยู่เบื้องหลังล้มรัฐบาลได้จริง ๆ ทั้งหมดนี้อยู่ที่ตัวรัฐบาลเอง ไม่ได้อยู่ที่นิ้วทั้ง 3 ที่ชูขึ้นมา

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

ส่องสวนทุเรียน ในมณฑลไห่หนาน

เมื่อปี 2562 ต้นทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน (คนไทยรู้จักในนาม “ไหหลำ”) ได้ให้ผลผลิตครั้งแรก ณ ตอนนั้นหลังจากที่มีข่าวเผยแพร่ออกไป ทุเรียนไห่หนานได้รับความสนใจอย่างมาก

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563 นักข่าวจาก China News ไปสำรวจสวนทุเรียนที่เขตเป่าถิง มณฑลไห่หนาน พบว่า ปีนี้ทุเรียนไห่หนานให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าปี 2562 โดยคุณ Yu Desheng (ผู้ดูแลสวนเงาะ Hua Sheng ในเขตเป่าถิง มณฑลไห่หนาน ซึ่งได้มีพื้นที่บางส่วนทดลองปลูกทุเรียนด้วย) กล่าวว่า ปีนี้ ผลทุเรียนค่อนข้างใหญ่ (โดยคุณ Yu Desheng ได้ชี้ให้นักข่าวดูทุเรียนผลหนึ่ง ที่น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม) และต้นทุเรียนที่ออกผลมากที่สุด ประมาณ 20 ผล สำหรับต้นทุเรียนที่เพิ่งออกผลครั้งแรกในปีนี้ให้ผลผลิต 3-5 ลูกต่อต้น อนึ่ง เมื่อปี 2558 ได้เริ่มปลูกทุเรียนประมาณ 40 ต้นในพื้นที่แปลงนี้ โดยตั้งใจว่าเป็นการปลูกเพื่อประดับตกแต่งสวนเท่านั้น โดยไม่คาดหวังว่าทุเรียนจะออกผล

คุณ Feng Xuejie ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยผลไม้เมืองร้อน สังกัดวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนาน กล่าวว่า เมื่อปี 2562 สถาบันวิจัยฯ ได้ร่วมกับเกษตรกรที่ปลูกเงาะ ในเขต Baoting ดำเนินโครงการนำเข้าพันธุ์ทุเรียนคุณภาพสูงและการประเมินการปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนาน และในปีนี้สถาบันวิจัยฯได้กระตุ้นให้ต้นทุเรียนออกดอก โดยการควบคุมการแตกยอดของต้นทุเรียน และเร่งต้นทุเรียนให้ออกดอก ทำให้ทุเรียนออกผล 2 ช่วงเวลา ผลผลิตทุเรียนในปีนี้จึงสูงกว่าปีที่แล้ว โดยรสชาติและกลิ่นของทุเรียนค่อนข้างดีตรงกับที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ต้นทุเรียนที่ปลูกนี้ในตอนต้นเข้าใจว่าเป็นพันธุ์หมอนทอง หรือพวงมณี แต่เมื่อชิมรสแล้วปรากฏว่า รสชาติใกล้เคียงกับทุเรียนก้านยาวของไทย
ขณะนี้ ทุเรียนที่ปลูกในสวนเงาะ ได้ให้ผลผลิต 2 ปีต่อเนื่อง ทำให้คุณ Feng Xuejie มั่นใจว่า มณฑลไห่หนานสามารถปลูกทุเรียนได้แน่นอน อนึ่ง จีนเป็นตลาดการบริโภคทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประมาณการบริโภคต่อปี 500,000 ตันขึ้นไป อย่างไรก็ตาม มณฑลไห่หนานเป็นเกาะเขตร้อนแห่งเดียวในจีน สภาพภูมิอากาศคล้ายกับแหล่งที่ปลูกทุเรียนอย่างประเทศไทยและมาเลเซีย จึงกล่าวได้ว่าในอนาคต ทุเรียนไห่หนานมีโอกาสแข่งขันในการตลาดสูงมาก
ทั้งนี้ คุณ Feng Xuejie ได้ให้คำแนะนำกับผู้ที่ปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนานว่า แม้ว่าไห่หนานสามารถปลูกทุเรียนได้แล้ว แต่ยังไม่แนะนำให้เกษตรกรปลูกต้นทุเรียนในปริมาณมาก ขอให้รอผลการวิจัยก่อน เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้ต้นทุเรียนออกผลดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ที่ผ่านมาพบว่าฤดูหนาวอุณหภูมิต ่าไม่เอื้อต่อการออกดอก นอกจากนี้ สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในฤดูร้อนอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุเรียน หากความชื้นของอากาศอยู่ในระดับต ่า ส่งผลให้ใบไม้อาจจะไหม้ได้ อนึ่ง ปัจจุบันมีเกษตรกรบางรายในไห่หนานได้เริ่มปลูกต้นทุเรียนแล้ว โดยไม่รอผลการวิจัย
ขณะนี้ หลายพื้นที่ในมณฑลไห่หนาน เช่น เขต Baoting (เป่าถิง), เขต Le dong (เล่อตง), เขต Ling shui (หลิง สุ่ย), เมือง Sanya (ซานย่า) มีพื้นที่ปลูกต้นทุเรียนแล้วกว่า 10,000 หมู่ (หรือ ประมาณ 4,163 ไร่) คาดว่า อีก 2 ปีข้างหน้าจะปลูกมากกว่า 30,000 หมู่ (ประมาณ 12,487 ไร่)
ความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประแทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : ตลาดจีนยังคงมีความต้องการบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากศุลกากรแห่งชาติจีน (ประมวลโดย © 2020 IHS Markit) ระบุว่า ปี 2562 จีนนำเข้าทุเรียนสด 604,477 ตัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.94 ) ในขณะที่ ครึ่งปีแรกของปี 2563 จีนนำเข้าทุเรียนสด 382,727 ตัน (เพิ่มขี้น ร้อยละ 10.15 )
อนึ่ง มณฑลไห่หนาน มีลักษณะภูมิอากาศแบบลมมรสุมเขตร้อน มีอากาศอบอุ่นตลอดปี ด้วยเหตุนี้ไห่หนานจึงปลูกผลไม้เมืองร้อนหลายชนิดในเชิงพาณิชย์ เช่น มังคุด ลำไย มะพร้าว มะม่วง จำปาดะ มะละกอ ลิ้นจี่ เป็นต้น และเมื่อปี 2562 ต้นทุเรียนที่ปลูกที่ไห่หนาน เริ่มให้ผลผลิตเป็นครั้งแรก ต่อมาปี 2563 ต้นทุเรียนในสวนดังกล่าวได้ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา อีกทั้งเนื้อทุเรียนมีรสชาติดีขึ้น จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า ไห่หนานสามารถปลูกทุเรียนได้ ทำให้ขณะนี้เกษตรกรในไห่หนานตื่นตัวที่จะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น แม้ว่า สถาบันวิจัยผลไม้เมืองร้อน สังกัดวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนาน ยังไม่สนับสนุนให้เกษตรกรเร่งปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ โดยขอให้รอผลการวิจัยที่สมบูรณ์ เนื่องจากพบว่ามีหลายปัจจัยที่จะทำให้ต้นทุเรียนออกผลดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปัจจุบัน ตลาดจีนยังคงต้องการบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้ ศุลกากรแห่งชาติจีนได้อนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีต่อการส่งออกทุเรียนสดไทยไปจีน อย่างไรก็ตาม เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนไม่ควรชะล่าใจ ควรเพิ่มความเข้มแข็งในการร่วมมือกันพัฒนาการปลูกทุเรียนครบวงจร (ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ) การควบคุมคุณภาพทุเรียนก่อนการส่งออกเพื่อรักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของทุเรียนไทย รวมทั้งขยายฐานการค้าไปยังผู้บริโภคจีนในเมืองรองอื่นๆเพิ่มขึ้น เพื่อให้ทุเรียนไทยครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งในจีนและครองใจผู้บริโภคทุเรียนในจีนอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ จะต้องติดตามสถานการณ์การปลูกทุเรียนในจีนอย่างใกล้ชิด หากจีนสามารถปลูกทุเรียนเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จเมื่อใด อาจจะกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนในระดับหนึ่ง
0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.