CEO ARTICLE

CPTPP

Published on May 18, 2021


Follow Us :

    

ข้าวคลุกกะปิจากจานละ 40 บาท จะขึ้นเป็น 120 บาท ผัดกระเพราหมูกรอบได้หมู 8 ชิ้น ราคาอาจจะ 80 บาท ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า สาธารณูปโภค และทุกอย่างจะแพงขึ้น
การผลิตยาเองจะติดลิขสิทธิ์ ต้องนำเข้า ถูกผูกขาด ยาจะแพงและไม่พอใช้
นักลงทุนต่างชาติจะได้เปรียบด้านสกุลเงิน หลาย ๆ อย่างที่เป็นของคนไทยจะตกเป็นของต่างชาติ คนไทยต้องกลายเป็นผู้เช่า

ข้างต้นเป็นข้อมูลด้านลบในโลกโซเซียลของ CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
CPTPP คือ ข้อตกลงการค้าเสรีประเภทหนึ่ง แต่เป็นข้อตกลงที่ครอบคลุมหลายด้าน เช่น การบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม กลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ เป็นต้น
ข้อตกลงมีมาก ผลดีและผลเสียก็มีมากไปด้วย การคัดค้านจึงมีมากเป็นธรรมดา
ผลดีที่เห็น ๆ คือ สินค้าไทยจะได้รับการยกเว้นภาษีในประเทศสมาชิกทำให้ไทยได้ตลาดใหม่ ๆ ส่งออกได้มากขึ้น เงินไหลเข้าประเทศมากขึ้น สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม การลงทุน การซื้อ การขาย การจ้างงาน และเศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้นทั้งระบบ
ตั้งแต่ Covid-19 เศรษฐกิจโลกและไทยตกต่ำสุด ๆ หากมองในมุมผู้ส่งออก ผู้ค้า ผู้ขาย ผู้ที่อยากให้เศรษฐกิจเติบโต หรือแม้แต่มุมของรัฐบาลก็อยากเข้าร่วม
mangozero.com รายงานว่า หากไทยเข้าร่วม การส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.47 หรือราว 271,340 ล้านบาท การลงทุนจะเพิ่มร้อยละ 5.14 หรือราว 148,240 ล้านบาท
เอาแค่ตัวเลขเศรษฐกิจ 2 ด้านนี้ ไทยก็ได้กว่า 4 แสนล้านบาทแล้ว หากรวมการจ้างงานและอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นอีก ตัวเลขที่ไทยจะได้จากการศึกษาเห็นชัด ๆ เป็นเงินนับแสนล้านบาท
เอาแค่นี้ ผลดีก็มหาศาลจนรัฐบาลต้องเหลียวมอง ตอนเศรษฐกิจตกรัฐบาลถูกด่า พอจะเริ่มโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลุ่มที่ไม่ชอบรัฐบาลก็จะค้านเพื่อให้ดูแย่ ข้อมูลด้านลบจึงถูกลอยในโลกโซเซียลโดยเฉพาะ CPTPP ที่มีด้านลบกระทบเกษตรกรในประเด็น “เมล็ดพันธุ์พืช”
วิถีไทย เกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไว้เพื่อการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป แต่ใน CPTPP ข้อตกลงจะคุ้มครองผู้ที่จดทะเบียนเป็นเจ้าของพันธุ์พืช
คำว่า “คุ้มครอง” นี่ล่ะที่ส่งเสริมให้คนเป็นเจ้าของพันธุ์พืชซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการใหญ่ ๆ ก็จะนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์
เมื่อพันธุ์พืชมีเจ้าของ ได้รับการคุ้มครอง การเก็บรักษาก็จะทำไม่ได้ การเพาะปลูกใหม่ทุกครั้งเกษตรกรก็ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากเจ้าของลิขสิทธิ์
เพียงผลเสียนี้ เกษตรกรไทยก็ได้รับผลกระทบขนาดใหญ่แล้ว มีรายจ่าย เสียเปรียบ และเมื่อรวมกับข้อตกลงอื่นอีกมาก ผลเสียก็ยิ่งมาก เช่น ราคาอาหารสูงขึ้น ราคาสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น การลงทุนและการดำรงชีวิตของคนไทยถูกกระทบเป็นภาพลบให้เห็น

ข้อดีและข้อเสียยังมีอีกหลายด้าน รัฐบาลจึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวังไม่ควรเอาแต่นิ่งเฉย ไม่ด้อยค่าข้อมูลที่ต่อต้าน แม้จะไม่จริงทั้งหมดแต่ประชาชนส่วนหนึ่งก็หลงเชื่อไปแล้ว
หากจะไม่ร่วมกับ CPTPP นั่นหมายถึงไทยจะพึ่งพาตนเองมากขึ้น และพึ่งพาต่างชาติน้อยลง แนวคิดนี้ รัฐบาลจึงต้องทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
อันดับแรก รัฐบาลต้องลดค่าครองชีวิตทุกวิถีทางให้ได้ก่อน และต้องลดให้มากที่สุด ง่าย ๆ ก็ลดราคาน้ำมันทันทีเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งและพื้นฐานค่าครองชีพอื่น ๆ
อันดับต่อมา รัฐบาลต้องเร่งนำชีวิตจาก Covid-19 ให้กลับคืนมาโดยเร็วโดยการทำทุกวิถีทางเพื่อเร่งฉีดวัคซีนเช่นเดียวกับประเทศอื่นเขาเร่งกัน
อันดับสุดท้าย รัฐบาลต้องเร่งระดมมือเศรษฐกิจระดับประเทศทันที ไม่พึ่งพาการเมืองที่ไม่โปร่งใส เอาแต่หาเสียง และวุ่นวายเพื่อร่วมจัดทำโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐบาลต้องทำทุกวิถีทางเพื่อนำประชาชนให้พึ่งพาตนเองให้ได้มากกว่าพึ่งพาต่างชาติ
แต่หากจะเข้าร่วมใน CPTPP นั่นหมายถึงรัฐบาลยังพึ่งพาต่างชาติ พึ่งพาการส่งออก และการท่องเที่ยวเช่นเดิม ส่วนผลดีและผลเสียเป็นอย่างไร วันนี้ทุกคนก็ดูออกแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลยังต้องทำตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประเมินว่าจะได้ให้ประชาชนเข้าใจในเชิงรุกว่าจะได้อะไรและทำให้ได้จริง ต้องระดมนักเศรษฐศาสตร์ มือเศรษฐกิจ นักวิชาการ เพื่อป้องกันข้อเสียที่จะเกิดแก่เกษตรกร สิทธิบัตรยารักษาโรค และการดำรงชีวิต มิใช่ผลักดันเศรษฐกิจให้โตจากต่างชาติ แต่การดำรงชีวิตของคนไทยถูกกระทบตามข้อมูลด้านลบที่ลอยอยู่ในโซเซียล
การตั้งรับ ปล่อยข้อมูลด้านลบให้ลอยอยู่ และแก้ไขช้าจะทำให้รัฐบาลขาดความสง่างาม หากเข้าร่วม CPTPP ถูกต่อต้านจนวุ่นวาย และก็หนีไม่พ้นข้อบกพร่องของรัฐบาลเอง
ไทยจะวุ่นวายจากการร่วม CPTPP หรือไม่ มันจึงอยู่ที่รัฐบาลเองที่จะสร้างความเข้าใจให้ประชาชนก่อนตัดสินใจเท่านั้น

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : May 18, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

ท่าเรือแหลมฉบังหนุนเศรษฐกิจและการค้าไทยในฐานะท่าเรือเกตเวย์ระดับโลก

ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าไทยมาอย่างยาวนานและยังเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญในการค้าระดับสากลอีกด้วยเราจะเห็นได้จากสถิติการเป็นท่าเรือเกตเวย์ติดอันดับต้นๆ
ของโลกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2020 ท่าเรือแหลมฉบังได้รับการจัดอันดับให้เป็นท่าเรือเกตเวย์อันดับ 3 ของโลก (3rd World Gateway Port) เป็นรองท่าเรือ Los Angeles และท่าเรือ Long Beach ตามลำดับซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าผ่านท่าเพื่อสนับสนุนการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทั้งภายในประเทศและภูมิภาคเป็นหลัก (ไม่นับรวมท่าเรือในประเทศจีน)

ในการจัดอันดับท่าเรือระดับโลก หน่วยงานจัดอันดับจะให้ความสำคัญกับปริมาณสินค้าผ่านท่า (Container Throughput) เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการจัดการสินค้าของท่าเรือนั้นๆ รวมถึงบทบาทของท่าเรือในภาคการค้าระดับโลก แต่หากมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่า ท่าเรือที่มีปริมาณสินค้าผ่านท่ามากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นท่าเรือศูนย์กลางการถ่ายลำสินค้า (Transshipment Hub) ตั้งอยู่บนเส้นทางการเดินเรือหลักของโลก ทำหน้าที่เป็นท่าเรือทางผ่านที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากภูมิภาคสู่ภูมิภาค

โดยท่าเรือถ่ายลำสินค้า (Transshipment Port) แม้จะมีข้อได้เปรียบจากปริมาณสินค้าผ่านท่าปริมาณมากในด้านทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดเชื่อมต่อสินค้าจากหลายประเทศ กับบริการที่มุ่งไปยังปลายทางสินค้าในอีกประเทศหรือในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งทำให้มีปริมาณสินค้าผ่านท่าสูงกว่าศักยภาพการผลิตและการบริโภคสินค้าจริงจากภายในประเทศหลายเท่าตัว อนึ่ง สายการเดินเรือจะใช้ประโยชน์จาก Transshipment Hub ในกรณีที่ต้องการขนส่งจากต้นทางหนึ่งไปยังอีกปลายทางหนึ่ง แต่มีปริมาณสินค้าไม่มากพอที่จะเปิดให้บริการตรงระหว่างต้นทางและปลายทางนั้นๆ

ในขณะเดียวกัน ท่าเรือเกตเวย์ (Gateway Port) แม้ว่าจะมีปริมาณสินค้าผ่านท่าน้อยกว่า แต่กลับมีความมั่นคงและสะท้อนศักยภาพด้านเศรษฐกิจและการค้าของประเทศนั้นได้มากกว่า เนื่องด้วยสถานะที่เป็นทั้งท่าเรือต้นทางและปลายทางในเส้นทางการขนส่ง หรือเป็นต้นทางการผลิตของสินค้าและเป็นปลายทางของผู้บริโภคสินค้าด้วย

ในปัจจุบัน สายเรือมีการเปิดบริการเส้นทางตรงไปยังท่าเรือต่างๆ เพิ่มขึ้น ผู้ส่งสินค้าส่วนใหญ่ย่อมเลือกใช้บริการเส้นทางตรงมากกว่าเส้นทางการบริการที่มีการถ่ายลำสินค้าระหว่างภูมิภาค นอกจากนี้ ท่าเรือถ่ายลำสินค้ายังมีความอ่อนไหวต่อผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ของเศรษฐกิจโลก อาทิ ราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง ที่ส่งผลให้มีการใช้เรือขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น และมีการเปิดบริการตรงเพิ่มมากขึ้น ข้อได้เปรียบในการปฏิบัติการท่าเทียบเรือสำหรับรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ (Ultra Large Container Vessel) มีแนวโน้มลดลง รวมไปถึงภาวะเศรษฐกิจการค้าโลกที่ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณสินค้าที่มีการขนส่งไปยังประเทศต่างๆ

ท่าเรือแหลมฉบัง ในฐานะท่าเรือเกตเวย์อันดับ 3 ของโลก เป็นท่าเรือที่มีจุดยุทธศาสตร์ตั้งอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง รวมถึงเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ซึ่งเป็นแหล่งนิคมอุตสาหกรรมหลักของไทย และยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าสำคัญของเอเชียอีกด้วย โดยในปี 2020 มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่ารวม 7.642 ล้านทีอียู และมีตู้สินค้าส่งออกสูงถึง 3.771 ล้านทีอียู นอกจากนี้ ท่าเรือแหลมฉบังยังมีความสามารถในการเชื่อมต่อเส้นทางการขนส่ง ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ ทางราง และทางถนน (Multimodal Transport) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่เพียงแต่ในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน แต่ยังสามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศจีน ผ่านเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 อีกด้วย ส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าที่สำคัญของไทยและเอเชีย

ในฐานะท่าเรือปลายทาง ท่าเรือแหลมฉบังมีข้อได้เปรียบในการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีตัวเลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะด้วยระบบการขนส่งทางรางซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ICD ลาดกระบัง การขนส่งทางน้ำด้วยเรือชายฝั่งไปยังท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือทางภาคใต้ การขนส่งทางถนนที่มีการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมโยงไปยังหลายภูมิภาค ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายการขนส่งทางอากาศสู่ปลายทางอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง

อย่างไรก็ตาม การเป็นท่าเรือเกตเวย์ระดับโลกนั้น ไม่เพียงแต่อาศัยทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์และโครงข่าย การเชื่อมต่อที่ดี แต่ยังต้องมีศักยภาพที่ยอดเยี่ยมในการรองรับและจัดการสินค้าปริมาณมากด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการบริการหลังท่าหรือการปฏิบัติการท่าเรือ โดยท่าเรือแหลมฉบังสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความลึกหน้าท่าถึง 16 เมตร ซึ่งปฏิบัติการโดยผู้ให้บริการท่าเทียบเรือระดับโลก (Global Terminal Operator : GTOs) และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน ตัวอย่างเช่น ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมระยะไกล หรือรถหัวลากอัตโนมัติ เป็นต้น

ปัจจัยเหล่านี้ ช่วยเน้นย้ำถึงการเป็นท่าเรือเกตเวย์ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจน เห็นได้จากการเปิดบริการใหม่เชื่อมตรงสู่ท่าเรือแหลมฉบังจากสายเรือระดับโลกต่างๆ ทั้งเส้นทางระยะใกล้ (Short Haul) และระยะไกล (Long Haul)รวมไปถึงบริการแบบเพนดูลัม (Pendulum Service) ซึ่งเชื่อมต่อสินค้าสู่หลายภูมิภาค และใช้เรือขนส่งสินค้าขนาดระวาง 24,000 ทีอียู ในการปฏิบัติการ

โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา สายการเดินเรือ Mediterranean Shipping Company (MSC) ได้นำเรือ MSC MINA ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่พิเศษ (Ultra Large Container Vessel) เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแหลมฉบังในบริการ Lion-Jaguar ซึ่งเป็นบริการแบบเพนดูลัมเชื่อมต่อ ยุโรป-เอเชีย-อเมริกา เนื่องด้วยสายการเดินเรือฯ เล็งเห็นความสามารถทางการค้าของไทยและศักยภาพของท่าเรือแหลมฉบังในการรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติมาเป็นเวลาหลายปี แต่การท่าเรือแห่งประเทศไทยก็ยังคงเดินหน้าส่งเสริมการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังอย่างต่อเนื่อง ในการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับสินค้าและการให้บริการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นท่าเรือเกตเวย์ชั้นนำของโลกได้อย่างเต็มตัว

ที่มา : https://www.logistics-manager.com/th/laem-chabang-port-the-global-gateway-port/

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.