CEO ARTICLE

โอกาสจากซาอุ

Published on November 15, 2022


Follow Us :

    

สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ ATTA (Association of Thai Travel Agents) มั่นใจว่านักท่องเที่ยวจากซาอุจะมาไทยเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว (http://www.thansetakij.com 4 พ.ย. 65)
ธุรกิจท่องเที่ยว อาหาร ผู้ส่งออก โลจิสติกส์ และอื่น ๆ จะคว้าโอกาสนี้ได้อย่างไร ???

32 ปีที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบียประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย
มูลเหตุเกิดจาก (1) คนไทยขโมยเพชรที่มีน้ำหนักรวมกว่า 90 กิโลกรัมที่รวม ‘บลูไดมอน’ ที่มีค่ามหาศาลจากวังซาอุ และ (2) คดีลอบสังหารเจ้าหน้าที่ทูตและคนของซาอุ 4 รายในไทย
ทั้ง 2 คดีข้างต้นเกิดขึ้นระหว่างปี 2532-2533 ในเวลานั้น รัฐบาลไทยพยายามสร้างความกระจ่างให้รัฐบาลซาอุ แต่ก็ไม่ได้รับความพึงพอใจ
นับแต่นั้นมาซาอุก็ไม่อนุญาตให้พลเมืองของตนเดินทางมายังประเทศไทยสำหรับการท่องเที่ยว แต่ให้มาเฉพาะการรักษาพยาบาล การเจรจาธุรกิจ และราชการเท่านั้น
คนงานที่มีฝีมือของไทยไม่สามารถไปทำงานขุดทองที่ซาอุได้ ธุรกิจไทยที่เกี่ยวข้องกับซาอุมีทั้งชะลอตัวและหยุดไป เศรษฐกิจในภาพรวมของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก
แต่ความสัมพันธ์ที่ดีก็กลับมาพลิกฟื้นในปี 2565 ที่ให้ความหวังและโอกาสทางเศรษฐกิจ
สายการบินแห่งชาติของซาอุและของไทยเริ่มบินตรง สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ การท่องเที่ยวของไทยที่คนซาอุนิยมทั้งชายทะเลและเมืองวัฒนธรรม เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และเมืองอื่น ๆ อีกมากย่อมเติบโตขึ้น
การซื้อ การขายสินค้าต่าง ๆ อาหารฮาลาล ธุรกิจโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม จัดเก็บ เคลื่อนย้าย และกระจายสินค้า และธุรกิจอื่นจะต้องเติบโตขึ้น
ในเมื่อโอกาสจากซาอุมาเยือน คนทำธุรกิจที่มีความรู้คงเตรียมตัว ใครมีสายสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้วก็คงไขว่คว้าโอกาสนี้ไว้ได้ ส่วนคนไม่มีก็น่าจะใช้โอกาสนี้สร้างโอกาสให้กับธุรกิจของตน

วิธีการง่าย ๆ คือ ใครทำธุรกิจอะไรในประเทศไทยก็ควรเริ่มจากสิ่งที่ตนถนัดก่อน
ใครทำธุรกิจท่องเที่ยว อาหาร การผลิต การขายสินค้าต่าง ๆ การขนส่ง การบริการโลจิสติกส์ สินค้า หรือการบริการอื่น ๆ ใครทำอะไรก็เริ่มอย่างนั้น
ในประเทศซาอุดิอาระเบียก็มีผู้ประกอบการธุรกิจแบบเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องที่จะมาเป็นคู่ค้า เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Business Parter) ร่วมกัน
การเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือ การมองหาหุ้นส่วนธุรกิจในซาอุให้ได้ก่อน ปัจจุบันการค้นหาชื่อ ที่อยู่ อีเมล และข้อมูลต่าง ๆ ของหุ้นส่วนไม่ใช่เรื่องยาก จากนั้นก็ทำเว็บไซต์ แนะนำตัว สร้างจุดเด่นให้สินค้าและบริการ สร้างความแตกต่าง สร้างทีมงาน สร้างวิสัยทัศน์ และแผนงาน
นักวิเคราะห์และสมาคมธุรกิจต่างประเมินในทิศทางเดียวกันว่าดีแน่ เติบโตแน่
การเริ่มต้นจึงเป็นการสร้างโอกาสให้ธุรกิจ แต่หากติดต่อคู่ค้าไม่ได้เลย การเริ่มจากสมาคมธุรกิจก็เป็นสิ่งที่ดี ในประเทศซาอุย่อมมีสมาคมไม่ต่างกัน ระหว่างสมาคมย่อมมีข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ไม่มากก็น้อย
หากผู้นำองค์กรไม่มีความรู้ด้านธุรกิจต่างประเทศ อย่างน้อยการสร้างทีมงานต่างประเทศขึ้นมา มอบวิสัยทัศน์ให้ทีมงาน สร้างเจตนารมณ์ และเป้าหมายก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี
สิ่งที่จะตามมาคือ ทีมงานจะตื่นตัว จะขอคำปรึกษาผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ จะติดต่อ สื่อสาร มีการติดตาม มีการรายงาน และมีการประเมินผลที่มุ่งสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
แม้ทีมงานจะสร้างความสำเร็จจากการเปิดความสัมพันธ์ไทย-ซาอุครั้งนี้ไม่ได้ในเวลาสั้น ๆ แต่ก็ได้รู้ ได้ฝึกฝน ได้ประสบการณ์ และหากทำไปเรื่อย ๆ ผลในระยะยาวย่อมเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย
ประเทศต่าง ๆ ค่อย ๆ ทะยอยเปิดประเทศมากขึ้นจาก Covid-19 ประสบการณ์ที่ทีมงานจะได้จากการเริ่มของซาอุครั้งนี้ย่อมนำไปต่อยอดกับประเทศอื่นง่ายขึ้น สร้างโอกาสให้ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้เติบโตมากขึ้น
ใครมองอะไรก็เห็นอย่างนั้น ใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น การทำงานเชิงรับ (Reactive) ที่ไม่มีแผนงานกับการทำงานเชิงรุก (Proactive) ภายใต้วิสัยทัศน์ย่อมให้ผลต่างกัน
ในโลกธุรกิจ วิสัยทัศน์ของผู้นำถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด
วิสัยทัศน์ที่เกิดขึ้นในโอกาสเช่นนี้จะทำให้เกิดการพัฒนา การเรียนรู้ การสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และการสร้างความเจริญเติบโตขององค์กรเคียงคู่กับเศรษฐกิจของประเทศไปในตัว.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : November 15, 2022

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

เมืองเซี่ยเหมินเร่งพัฒนาการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ

เมืองเซี่ยเหมินออกแผนปฏิบัติการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (ปี 2565 – 2568) เพื่อส่งเสริมให้มลฑลฝูเจี้ยนเป็นมณฑลที่มีความแข็งแกร่งด้านการขนส่งทางอากาศภายในปี 2568
โดยกำหนดมาตรการและเป้าหมายหลัก ดังนี้

3.1 การขยายเส้นทางการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น และตั้งเป้าหมายการเพิ่มปริมาณการขนส่งผ่านท่าอากาศยานเซี่ยเหมินให้สูงกว่า 180,000 ตัน ภายในปี 2566 และสูงกว่า 200,000 ตัน ภายในปี 2567 เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นท่าอากาศยานขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศชั้นนำของจีน

3.2 การให้เงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศในการเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน รวม 300 ล้านหยวน และเพิ่มเงินอุดหนุนรวมทั้งสิ้น 1.7 พันล้านหยวน ภายในปี 2568 โดยให้เงินอุดหนุนสำหรับผู้ประกอบการที่ขนส่งสินค้าในเส้นทางโอเชียเนีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ สูงสุดไม่เกิน 110 ล้านหยวน และสำหรับผู้ประกอบการที่ขนส่งสินค้าในเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านหยวน

3.3 การขยายเส้นทางขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศในกลุ่ม BRICS

3.4 การเร่งก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งใหม่ของเมืองเซี่ยเหมินที่เขตเสียงอัน และดึงดูดวิสาหกิจสายการบินและวิสาหกิจโลจิสติกส์ชั้นนำของประเทศ อาทิ บริษัท Shandong Airlines บริษัท China Eastern Airlines บริษัท ‎China Post Group จำกัด และบริษัท SF-Express จำกัด มาจัดตั้งสำนักงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศของท่าอากาศยานเซี่ยเหมิน

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศของเมืองเซี่ยเหมินมีความโดดเด่นด้วยปัจจัยเกื้อหนุนจาก (1) โครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมอากาศยานที่เข้มแข็ง (2) มีความพร้อมด้านบุคลากร โดยเมืองเซี่ยเหมินมีการเปิดการเรียนการสอนสาขาวิศวะกรรมการบินที่มีชื่อเสียงที่มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมินตั้งแต่ปี 2487 และได้พัฒนาบุคลากรด้านการบินจำนวนมาก และ (3) ข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้กับเกาะไต้หวัน จึงสามารถรองรับการขนส่งชิ้นส่วนประกอบอากาศยานจากไต้หวันได้

ปัจจุบัน ท่าอากาศยานเซี่ยเหมินเป็นท่าอากาศยานหลักแห่งหนึ่งในมณฑลฝูเจี้ยน มีเส้นทางการบินทั้งในและต่างประเทศทั้งหมด 350 เส้นทาง และเส้นทางการขนส่งสินค้าทั้งหมด 47 เส้นทาง คิดเป็นร้อยละ 76 ของจำนวนเส้นทางขนส่งสินค้าทางอากาศของทั้งมณฑล เชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ อาทิ ประเทศในกลุ่ม BRI และประเทศสมาชิกของ BRICS และ RCEP โดยในปี 2564 มีปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าอากาศยานเซี่ยเหมินกว่า 136,600 ตัน สูงเป็นอันดับ 1 ของมณฑล หรือร้อยละ 70 ของปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศของทั้งมณฑล

อนึ่ง รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยเหมินแห่งใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค และประตูแห่งการเชื่อมโยงกับต่างประเทศภายใต้ข้อริเริ่ม BRI โดยการก่อสร้างท่าอากาศยาน เซี่ยเหมินแห่งใหม่จะช่วยเพิ่มศักยภาพการรองรับเที่ยวบินรวมกว่า 380,000 เที่ยวบินต่อปี รองรับผู้โดยสารกว่า 45 ล้านคนต่อปี และขยายการรองรับผู้โดยสารได้ถึง 62 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2573 รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าผ่านท่าอากาศยานกว่า 750,000 ตันต่อปี โดยคาดว่า ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งใหม่ของเมืองเซี่ยเหมินจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569

ที่มา: https://thaibizchina.com

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.