CEO ARTICLE

ของอันตรายถูกทำลาย

Published on September 19, 2023


Follow Us :

    

ผู้ขนส่งทำลายของอันตรายกลางทะเล ผู้ส่งออกจะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ ?

คำว่า “ของอันตราย” หรือ “วัตถุอันตราย” กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จำแนกแบ่งไว้เป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย (http://reg3.diw.go.th/)
(1) วัตถุระเบิด
(2) ก๊าซ
(3) ของเหลวไวไฟ
(4) ของแข็งไวไฟ วัตถุที่ทำให้เกิดการลุกไหม้ได้เอง และวัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ
(5) สารออกซิไดส์ และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
(6) วัตถุมีพิษ และวัตถุติดเชื้อ
(7) วัตถุกัมมันตรังสี
(8) วัตถุกัดกร่อน
(9) วัตถุอันตรายอื่น ๆ
การเคลื่อนย้ายของอันตรายภายในประเทศ เจ้าของของหรือเจ้าของสินค้าต้องติดฉลากที่แสดงวัตถุอันตราย ต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยทั้งการรับ การขนถ่าย และการเคลื่อนย้ายตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดอยู่แล้ว
ในเบื้องต้น การส่งออกที่ต้องผ่านการเคลื่อนย้ายภายในประเทศก่อนย่อมต้องติดฉลากให้ชัดเจนขณะเคลื่อนย้าย
ในกรณีที่ผู้ส่งออกไม่ติดฉลากให้ชัดเจน ไม่แจ้งข้อควรระวัง และวิธีป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ขนส่งทางทะเลทราบ หากพบความเป็นอันตรายภายหลัง ผู้ขนส่งย่อมสามารถขนของนั้นขึ้นจากเรือ ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ตามความจำเป็นโดยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (พรบ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33)
ในทางตรงกันข้าม กฎหมายยังกำหนดให้ผู้ส่งออกยังต้องรับผิดชอบในความเสียหาย และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความเป็นอันตรายนั้นอีกด้วย
ดังนั้น การที่ผู้ส่งออกไม่ระบุและไม่แจ้งถึงความอันตรายของสินค้าที่ส่งออก หากสินค้าถูกผู้ขนส่งทำลายกลางทะเล ผู้ส่งออกจึงไม่สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
ผู้ส่งออกจึงควรแจ้งถึงความเป็นอันตราย ข้อควรระวัง และวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดในระหว่างการขนส่งให้ผู้ขนส่งทางทะเลทราบทุกครั้ง

ส่วนในกรณีที่ผู้ส่งออกติดฉลาก แจ้งให้ทราบถึงความเป็นอันตราย และวิธีการป้องกันแล้ว แต่ของก็ยังถูกทำลายระหว่างขนส่งกลางทะเล
การปฏิบัติอย่างถูกต้องเช่นนี้แล้ว ผู้ส่งออกก็น่าเรียกค่าสินไหมจากผู้ขนส่งได้หรือไม่ ?
ผู้ขนส่ง หรือผู้ขนส่งอื่นหมายถึง Shipping Line, Shipping Agent, Freight Forwarder, หรือ Logistics Service Provider หรือบุคคลใดที่รับค่าระวางขนส่ง (Freight) และออกใบตราส่งสินค้า (B/L) ให้ผู้ส่งออก (พรบ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3)
การขนส่งสินค้าทางทะเลมีทั้งกฎหมายไทย และกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายไทยกำหนดว่า แม้ผู้ส่งออกจะแจ้งให้ทราบถึงความเป็นอันตรายไว้แล้ว หรือแม้ผู้ขนส่งจะทราบถึงความเป็นอันตรายนั้นแล้ว
แต่หากภายหลังของที่ขนส่งเกิดอันตรายขึ้นจริง ผู้ขนส่งก็สามารถขนของนั้นขึ้นจากเรือ ทำลาย หรือทำให้หมดฤทธิ์ และผู้ขนส่งก็ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใด ๆ เว้นแต่ของนั้นสูญหาย เสียหาย หรือล่าช้าเนื่องจากผู้ขนส่งเอง (พรบ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 34 และ 39)
ดังนั้น แม้ผู้ส่งออกจะติดฉลาดว่าวัตถุอันตราย จะแจ้งข้อควรระวัง แจ้งวิธีป้องกันอันตรายต่อผู้ขนส่ง และปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยไว้อย่างดีแล้วแล้วก็ตาม แต่หากความอันตรายเกิดขึ้นภายหลังโดยมิใช่ความผิดของผู้ขนส่ง
กฎหมายก็ให้อำนาจผู้ขนส่งในการทำลายโดยไม่ต้องรับผิดชอบอยู่ดี.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
👉  Home and Health … https://www.inno-home.com
👉  Art and Design …… https://www.cose.life

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : September 19, 2023

Dr. Sitthichai Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

โอกาสการส่งออก เมื่อค่าขนส่งปรับตัวลดลง

เนื้อหาสาระข่าว: สหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Retail Federation: NRF) ได้รายงานคาดการณ์ถึงช่วงเวลาที่การนำเข้าสินค้าทางเรือของสหรัฐฯ ค่อนข้างคึกคัก หรือ Peak Season ว่าจะพุ่งสูงไปถึงเดือนตุลาคม และมีแนวโน้มที่จะต่อเนื่องไปตลอดทั้งไตรมาสสี่ หรือจนถึงสิ้นปีนี้ โดยในข้อมูลเชิงสถิติทาง NRF ได้คาดการณ์ต่อเนื่องจากในเดือนสิงหาคมซึ่งมีการนำเข้าสินค้าจำนวนทั้งสิ้นกว่า 2 ล้าน TEU (Twenty-foot equivalent unit) หรือตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต ว่ามีแนวโน้มจะต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม เพื่อต้อนรับยอดการสั่งซื้อก่อนเข้าสู่เทศกาลสิ้นปี โดยตัวเลขที่คาดการณ์ดังกล่าวถือว่าสูงกว่าร้อยละ 7 จากช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ในปี 2019 โดยอาจจะสะดุดลงเล็กน้อยในช่วงปลายปี เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม แต่แม้กระนั้นก็ยังคงสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้าที่จะมีโรคระบาดโควิด–19

ปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสภาพการณ์ในข้างต้น มีเหตุผลมาจากต้นทุนค่าขนส่งทางเรือมายังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยค่าขนส่งมายังทั้งฝั่งตะวันตก (West Coast) และ ฝั่งตะวันออก (East Coast) ของสหรัฐฯ ปรับลดลงกว่าร้อยละ 7 ซึ่งเป็นปัจจัยที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ NRF

บทวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ: สิ่งที่น่าสนใจจากข่าวที่ได้หยิบยกมาในสัปดาห์นี้ สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการส่งออกของผู้ส่งออกมายังสหรัฐอเมริกาจากการที่ค่าขนส่งทางเรือมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ ย่อมหมายถึงต้นทุนสินค้าส่งออกที่ลดลงเพื่อการสต๊อกสินค้าสำหรับเทศกาลต่างๆ ในช่วงปลายปีตั้งแต่เทศกาลฮัลโลวีน เทศกาลคริสต์มาส และเทศกาลปีใหม่ ในช่วง 3 เดือนที่เหลือ โดยเทศกาลต่างๆ ที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคสหรัฐฯ มีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคกันมากที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกควรศึกษาแนวโน้ม และพฤติกรรมของผู้บริโภคในสหรัฐฯ เพื่อให้ให้ได้สินค้าที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด

ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/145563

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.