CEO ARTICLE

ลูกค้าทางอ้อม

Published on November 7, 2023


Follow Us :

    

ใครคือลูกค้าทางอ้อม และจะให้ประโยชน์อะไร ?

“ลูกค้าคือพระเจ้า” (Customer is God)
คำกล่าวข้างต้นเป็นของท่านมหาตมะ คานธี นักปราชญ์ชั้นนำชาวอินเดียที่คนส่วนใหญ่ต้องเคยได้ยินไม่มากก็น้อย เป็นคำที่สื่อให้เห็นถึงความสำคัญของลูกค้า และลูกค้าเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการมากเพียงใด
ลูกค้าถูกแบ่งกว้าง ๆ ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ลูกค้าทางตรง
หมายถึง ลูกค้าตัวจริง หรือบุคคลที่จะมาซื้อสินค้าหรือการบริการ เป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด การจะได้ลูกค้าทางตรงแม้จะไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ วิธีการง่าย ๆ คือ ผู้ประกอบการต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อน และนำคำตอบนั้นไปดำเนินการต่อ
1.1 อะไรคือจุดแข็งของสินค้าหรือการบริการที่กำลังจะขาย ?
1.2 จุดแข็งเหล่านี้เหมาะกับลูกค้า หรือองค์กรประเภทไหน และอยู่ที่ไหน ?
1.3 วิธีการอะไรที่จะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้หันมาสนใจจุดแข็งนี้ ?
1.4 วิธีการสื่อสารแบบไหนที่จะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้ง่าย ?
1.5 ช่องทางจำหน่ายแบบไหนที่จะให้ความสะดวกแก่ลูกค้ามากที่สุด ?
2. ลูกค้าทางอ้อม
หมายถึง บุคคลที่ช่วยพูดปากต่อปากเกี่ยวกับสินค้า การบริการ หรือตัวผู้ประกอบการเองให้เป็นที่รู้จัก เป็นบุคคลที่จะพาลูกค้าตัวจริงให้มาซื้อสินค้าหรือการบริการ และเป็นที่ต้องการมากไม่ยิ่งหย่อนไปว่าลูกค้าทางตรง
ลูกค้าทางอ้อมประกอบด้วย
2.1 ลูกค้าตัวจริงที่พอใจสินค้าหรือการบริการ
2.2 ผู้ผลิตสินค้า ผู้ค้าส่ง นายหน้า ตัวแทน หรือผู้จัดหา (Supplier)
2.3 ผู้ให้บริการต่าง ๆ เช่น ผู้ขนส่ง คลังสินค้า โลจิสติกส์ ตัวแทนออกของ
2.4 ตัวแทนประกันภัย ธนาคาร สถาบันการเงิน และอื่น ๆ
2.5 พนักงานในองค์กรของผู้ประกอบการเอง
2.6 เพื่อน ๆ และประชาชนทั่วไปที่พบเห็นสินค้า การบริการ หรือตัวผู้ประกอบการ

ความสำคัญของลูกค้าทางอ้อมอยู่ที่การพูดปากต่อปาก
หากเป็นการพูดในสิ่งไม่ดี พูดด้อยค่า ยิ่งเป็นการพูดในโซเซียลที่ไปไกลเกินการควบคุมในปัจจุบัน สินค้า การบริการ หรือตัวผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบมาก เสียหายมาก และทำให้ลูกค้าทางตรงลดลง
แต่หากเป็นการพูดในทางที่ดี ลูกค้าทางตรงก็มีโอกาสเข้ามาซื้อมากขึ้น
ลูกค้าทางอ้อมจึงมีความสำคัญและมีอิทธิพลมาก ทำให้กิจการมีความเจริญก้าวหน้า หรือเสื่อมถอยก็ได้ในเวลาเดียวกัน
ปัจจุบันจึงเกิดอาชีพรับจ้างเป็นลูกค้าทางอ้อมเพื่อพูดปากต่อปาก พูดในโซเซียล พูดในสื่อโฆษณา เช่น อาชีพ Influencer รับจ้างเขียน รับจ้าง Review สินค้าหรือการบริการ เป็นต้น
แต่การจ้างก็คือการจ้าง อาจจริง หรืออาจไม่จริง และดูออกว่าเป็นการจ้าง
ลูกค้าทางอ้อมที่เกิดจากบุคคลตามข้อ 2. จึงดูเป็นธรรมชาติมากกว่า น่าเชื่อถือ และให้ประโยชน์ต่อสินค้า การบริการ และผู้ประกอบการมากกว่าการจ้าง
พนักงานในองค์กรอยู่ใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับสินค้า การบริการ และตัวผู้ประกอบการมากที่สุด รองลงมาก็คือ ผู้จัดหา (Supplier) และผู้ให้บริการต่าง ๆ บุคคลเหล่านี้จึงมีความสำคัญสูงสุด และเป็นลูกค้าทางอ้อมที่ดีที่สุด
มันจึงอยู่ที่ตัวผู้ประกอบการเองจะปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้อย่างไร ?
หากปฏิบัติให้เป็นเพียงพนักงาน ให้เป็นเพียงผู้จัดหา เป็นเพียงผู้ให้บริการ หรือเป็นบุคคลอื่น ๆ การพูดปากต่อปากก็อาจเกิดได้น้อย อาจไม่เกิดขึ้น หรืออาจเป็นการพูดในทางที่ไม่ดี
แต่หากปฏิบัติให้เป็นลูกค้าทางอ้อม ให้ข้อมูลข่าวสาร คุณค่า และภาพลักษณ์ที่ดี การพูดปากต่อปากในโซเซียล การช่วยกด Like กด Share เรื่องราวที่ดีให้กระจายออกไปจะเกิดขึ้นได้ง่าย
ไม่ว่าจะปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้อย่างไร ผู้ประกอบการก็ได้อย่างนั้นกลับคืน.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
👉 Home and Health … https://www.inno-home.com
👉 Art and Design …… https://www.cose.life

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : November 7, 2023

Dr. Sitthichai Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

ยูนนานเปิดตัวขบวนรถไฟขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิที่มีตารางเวลาประจำ จีน-สปป.ลาว และจีน-เวียดนาม

เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ได้มีพิธีปล่อยขบวนรถไฟขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold-chain) ที่มีตารางเวลาประจำ เส้นทางจีน-สปป.ลาว และจีน-เวียดนาม เที่ยวปฐมฤกษ์ ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกรมพาณิชย์ สำนักงานศุลกากร และการรถไฟมณฑลยูนนาน โดยออกจากสถานีรถไฟเหยียนเหอในเมืองยวี่ซีของมณฑลยูนนาน จากนั้น ขบวนเส้นทางจีน-สปป.ลาวจะผ่านด่านรถไฟโม่ฮานไปยังเวียงจันทน์ของสปป.ลาว โดยใช้เวลาประมาณ 26 ชั่วโมง ขณะที่ ขบวนเส้นทางจีน-เวียดนามจะเปลี่ยนไปใช้รางรถไฟขนาดความกว้าง 1 เมตรที่อำเภอเหอโข่ว ก่อนผ่านด่านรถไฟเหอโข่วไปยังจังหวัดหล่าวกายของเวียดนาม โดยใช้เวลาประมาณ 20 ชั่วโมง

ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold-chain) ที่มีตารางเวลาประจำดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมบทบาทของมณฑลยูนนานในการเป็น “สะพานเชื่อมต่อ” ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีน โดยใช้ประโยชน์จากการขนส่งระบบรางที่มีความปลอดภัย มีเสถียรภาพ มีความตรงต่อเวลา และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยรักษาความสดใหม่ของสินค้าเกษตร รวมทั้งช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง

เนื่องจากมณฑลยูนนานมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติซึ่งเพาะปลูกผักและผลไม้ได้หลากหลายชนิดตลอดปี ส่งผลให้มณฑลยูนนานมีผลผลิตผักสดสูงถึงปีละกว่า 28 ล้านตันและมีผลผลิตผลไม้มากกว่าปีละ 13 ล้านตัน ในจำนวนนี้ แต่ละปีมีการส่งออกผักและผลไม้ไปยังประเทศอาเซียนประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าขบวนรถไฟขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold-chain) ที่มีตารางเวลาประจำทั้งเส้นทางจีน-สปป.ลาว และจีน-เวียดนาม จะสามารถช่วยเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรของมณฑลยูนนานได้อีกปีละกว่า 50,000 ตัน ขณะเดียวกัน ผลไม้เขตร้อนทั้งจากไทย สปป.ลาว และเวียดนาม ก็สามารถส่งออกไปยังจีนได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง ปีละไม่น้อยกว่า 100,000 ตัน

โดยในระยะแรกของการเปิดใช้งาน ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold-chain) เส้นทางจีน-สปป.ลาว จะให้บริการวันละ 1 ขบวน ขณะที่ ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold-chain) เส้นทางจีน-เวียดนาม จะให้บริการสัปดาห์ละ 1 ขบวน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการประเมินอุปสงค์-อุปทานและปรับความถี่ของขบวนรถไฟต่อไป

ทั้งนี้ นอกเหนือจากด่านโม่ฮานซึ่งเป็นช่องทางหลักที่ไทยส่งออกผลไม้ไปยังมณฑลยูนนานอยู่แล้ว สำหรับเส้นทางรถไฟจีน-สปป.ลาวซึ่งเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ครบ 22 เดือนเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้ให้บริการขนส่งสินค้าแล้วกว่า 26.8 ล้านตัน ในจำนวนนี้ เป็นสินค้าข้ามแดนกว่า 5.50 ล้านตัน ที่สำคัญคือ เป็นการขนส่งผักและผลไม้รวมกว่า 83,500 ตัน แบ่งเป็น นำเข้าผลไม้เข้าจีนกว่า 72,500 ตัน และส่งออกผักและผลไม้ออกจากจีนกว่า 11,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 2,200 ล้านหยวน

ขณะที่ นับตั้งแต่เส้นทางรถไฟจีน (เหอโข่ว)-เวียดนาม (หล่าวกาย) ได้เปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าข้ามแดนเป็นต้นมา ก็ได้ให้บริการขนส่งสินค้าแล้วกว่า 4,100 ขบวน คิดเป็นปริมาณสินค้า ข้ามแดนกว่า 1.6 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขณะนี้ด่านรถไฟเหอโข่วยังไม่ได้เป็น “ด่านจำเพาะ เพื่อการนำเข้าผลไม้” ดังนั้น เส้นทางรถไฟจีน-เวียดนามจึงยังไม่สามารถนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศผ่านด่านรถไฟเหอโข่วได้โดยตรง จึงต้องใช้การขนส่งหลากรูปแบบ โดยสับเปลี่ยนจาก “ราง” ไปใช้ “ถนน” เพื่อผ่านด่านเหอโข่วเข้าจีน ก่อนจะกลับมาใช้ “ราง” ช่วงภายในจีนต่อไป

ในส่วนของเส้นทางรถไฟจีน-เมียนมา ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางรถไฟเชื่อมเข้าไปในเมียนมา แต่ก็ได้มีการเปิดใช้เส้นทางรถไฟช่วงภายในมณฑลยูนนานถึงชายแดนจีน-เมียนมาซึ่งเชื่อมการขนส่งทางบกต่อไปยังเมียนมาแล้ว ได้แก่ เส้นทางคุนหมิง-เป่าซานซึ่งเปิดใช้เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 โดยในอนาคตจะขยายเส้นทางไปถึงเมืองรุ่ยลี่ และเส้นทางรถไฟคุนหมิง-หลินชางซึ่งเปิดใช้เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 โดยสถานีรถไฟเป่าซานเหนือมีปริมาณการขนส่งสินค้ากว่า 3.2 ล้านตัน และสถานีหลินชางมีปริมาณการขนส่งสินค้ากว่า 1 ล้านตัน

ที่มา: https://thaibizchina.com/transportation-logistics

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.