CEO ARTICLE
คลองขุด
แลนด์บริดจ์จะเปลี่ยนเป็นการสร้างคลองขุดได้หรือไม่ ?
ในด้านวัตถุประสงค์ แลนด์บริดจ์และคลองขุดเป็นโครงการเพื่อเชื่อมทะเล 2 ฝั่งให้ถึงกันเหมือนกัน เป็นการชักจูงเรือขนส่งต่างชาติให้มาใช้บริการ ให้วิ่งทางลัด ให้ลดต้นทุนการเดินเรือ ส่งผลให้เกิดการสร้างงาน และสร้างเศรษฐกิจของประเทศเหมือนกัน
แลนด์บริดจ์เป็น “ทะเล-บก-ทะเล” ส่วนคลองขุดเป็นการขุดแผ่นดินให้เป็น “ทะเล-คลอง-ทะเล” การขนส่งผ่านแลนด์บริดจ์จึงมีความเสี่ยงมากกว่า ต้องขนสินค้าขึ้นบกและลงเรืออีกฝั่ง ต้อง เคลื่อนย้ายทางบก มีพิธีการศุลกากร และมีการจัดการเพิ่มขึ้น
คลองขุดทำให้เรือขนส่งวิ่งเข้าคลองทะลุทะเล 2 ฝั่ง เรือจึงสะดวกมากกว่า ทั้งแลนด์บริดจ์และการขุดคลองต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย และใช้กันหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น
สะพานเศรษฐกิจทางบกอเมริกาเหนือ (North American Landbridge) ใช้เชื่อมท่าเรือฝั่งตะวันตกและตะวันออกในอเมริกาเหนือ สะพานเศรษฐกิจยุโรปเอเซีย (Eurasian Landbridge) ใช้เชื่อมประเทศจีน รัสเซีย และทวีปยุโรปด้วยการขนส่งทางราง (กรุงเทพธุรกิจ 28 ต.ค. 66)
คลองสุเอชในอียิปต์ใช้เชื่อมทวีปยุโรปและเอเซีย มีความยาวราว 163 กม. กว้างน้อยที่สุดราว 55 กม. และลึกน้อยที่สุดราว 12 เมตร ใช้เวลาผ่านคลองราว 13 ชั่วโมงโดยไม่ต้องอ้อมไปทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาที่ต้องเดินทางถึง 6,400 กม.
คลองปานามาเชื่อมทวีปอเมริกาเหนือกับใต้ และเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับแอตแลนติก ยาวราว 65 กม. กว้างน้อยที่สุดราว 91 เมตร ลึกน้อยที่สุดราว 12 เมตร และใช้เวลาผ่านคลองราว 8 ชั่วโมง เป็นต้น (www.saranukromthai.or.th)
ในเมื่อมีการใช้ทั้ง 2 แบบในหลายประเทศ มันจึงตอบไม่ได้ง่าย ๆ ว่าแบบไหนดีกว่ากัน
ประเทศไทยเคยได้รับการติดต่อจากอังกฤษให้ขุดคลองบริเวณ “คอคอดกระ” ตั้งแต่รัชการที่ 4 แต่สุดท้ายเพราะผลประโยชน์ของอังกฤษเอง สงครามโลก และการเมืองทำให้ต้องล้มเลิกไป
ต่อมาก็มีการศึกษาอีกหลายครั้ง มีหลายพื้นที่ให้เลือกขุดคลอง แต่ก็พบปัญหาเดิม ๆ เช่น ภูเขาสูงใหญ่ ขุดลำบาก ความไม่คุ้มค่า และการเมืองทั้งภายในและระหว่างประเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีการขุดพัฒนาไปมาก การเมืองระหว่างประเทศลดลง การขนส่งทางทะเลมากขึ้น คลองขุดจึงน่าจะได้รับความสนในจากเรือขนส่งต่างชาติมากกว่าแลนด์บริดจ์
ในเมื่อความคุ้มค่าเปลี่ยน การลองคิดเล่น ๆ ถึงผลดีของคลองขุดเพิ่มก็ไม่เสียหายอะไร
1. ขนาดของคลอง
ความกว้างและความลึกของคลองดูจากข้างต้นเต็าที่ไม่เกิน 55 กม. ลึก 12 เมตร ส่วนจะขุดตรงไหน ยาวแค่ไหน และขนาดเท่าไรก็ต้องเป็นเรื่องของการสำรวจทางวิศวกรรม
2. ดินที่ได้จากการขุดคลอง
ดิน หิน และแร่ต่าง ๆ ที่ได้จากการขุดคลอง หากไม่ใช้ประโยชน์ก็นำไปถมทะเลด้านอ่าวไทยและอันดามันจะได้แผ่นดินเพิ่มมหาศาล แผ่นดินที่เพิ่มสามารถสร้างสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ให้เป็นที่ทำกินของคนท้องถิ่นที่ถูกเวรคืนที่ดิน หรือสร้างสาธารณประโยชน์เพิ่มได้มากมาย
3. เชิดชูศาสนาอิสลาม
แผ่นดินที่เพิ่มให้นำไปสร้างสถานที่ทางศาสนาอิสลามให้ใหญ่โต ให้สวยงาม ให้ชาวมุสลิมมีส่วนร่วม ให้เป็นที่สักการะบูชา ให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจ และเพื่อลดความขัดแย้ง
4. ตลอดแนวคลอง
ตลอดแนวคลองที่ขุดใหม่สามารถสร้างสะพานเชื่อมหลายแห่ง สร้างทิวทัศน์ให้สวยงามให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นการสร้างงานให้แก่คนท้องถิ่นได้มากมาย
5. ศูนย์แสดงสินค้า
ศูนย์แสดงสินค้าปลอดอากรสามารถเกิดได้ทันที เรือสินค้าเทียบท่าและขนสินค้าขึ้นแสดงโดยไม่ต้องเสียอากร ภายหลังการแสดงก็ขนกลับทางเรือ หรือเสียอากรในภายหลังเพื่อนำเข้า
6. ระบบนิเวศ
การขุดคลองกระทบแน่ แต่ก็สามารถสร้างระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ได้ เมื่อรู้ถึงผลกระทบล่วงหน้าก็ควรใช้การบริหารและการจัดการทั้งป้องกันและแก้ไขให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
ทั้งหมดเป็นแนวคิดเล่น ๆ เพื่อดึงความคิดให้ออกจากแลนด์บริดจ์ชั่วคราว
แต่สิ่งที่เป็นจริงคือ คลองขุดเป็น “ทะเล-คลอง-ทะเล” ที่ดึงดูดสายการเดินเรือต่างชาติให้มาวิ่งผ่านมากกว่า ให้มาใช้บริการได้มากกว่า และได้แผ่นดินเพิ่มขึ้นมหาศาล
ในเมื่อแลนด์บริดจ์และคลองขุดทำเพื่อการขนส่งเป็นหลัก คำตอบสุดท้ายจึงอยู่ที่สายการเดินเรือต่างชาติ หากเรือขนส่งไม่มาใช้บริการหรือใช้บริการน้อย ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้คุ้มค่า มันก็อาจได้แต่ไม่คุ้มค่าอย่างที่คิด แบบนี้สู้ไม่สร้างอะไรเลยจะดีกว่า.
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : January 30, 2024
Logistics
จีน-ลาว ร่วมมืออำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรข้ามพรมแดน
นายจินดาวงศ์ ไซยาสิน ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและวัฒนธรรม สถานทูตลาวประจำประเทศจีน ได้เปิดเผยในการสัมภาษณ์พิเศษกับไชน่าเดลี่ว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวได้เดินทางมาเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อค้นหาวิธีลดระยะเวลาในการผ่านพิธีการศุลกากรเมื่อเดินทางด้วยรถไฟ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การลดเวลาการผ่านด่านชายแดนจาก 2 ชั่วโมงเหลือเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งนี้ รถไฟจีน-ลาวเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 และเริ่มให้บริการผู้โดยสารข้ามพรมแดนในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 เส้นทางรถไฟฟ้าระยะทาง 1,035 กิโลเมตร เชื่อมโยงคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนาน กับนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว โดยการให้บริการผู้โดยสารที่เริ่มต้นในปี 2566 ต้องใช้เวลารวมกัน 3ชั่วโมง ในการผ่านด่านศุลกากรที่ท่าเรือทางรถไฟโมฮันในจีนและบ่อเต็นในลาว ท่าเรือโมฮันได้ก่อตั้งสำนักงานและริเริ่มช่องทางสีเขียวตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อเร่งกระบวนการเคลียร์เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ภายในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากความร่วมมือระหว่างจีนและลาว เวลาทั้งหมดจึงลดลงจาก 3ชั่วโมงเหลือ 2 ชั่วโมง ส่งผลให้ระยะเวลาการเดินทางลดลง 64 นาที โดยระยะเวลาการเดินทางทั้งหมดจากคุนหมิงไปยังเวียงจันทน์ใช้เวลา 9 ชั่วโมง 26 นาที ตามตารางรถไฟของ China Railway Kunming Group ซึ่งรถไฟจีน-ลาว ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกำลังช่วยกระตุ้นการเติบโตของลาวและฟื้นฟูการค้าและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ นายจินดาวงศ์ ไซยาสิน ยังกล่าวว่า ลาว ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบปัญหามายาวนานกับการขนส่งราคาแพงซึ่งจำกัดการค้าและการพัฒนา ซึ่งนับตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชในทศวรรษ 1960 การคมนาคมทางรถไฟก็เป็นที่ต้องการของชาวลาว โดยสำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ชาวลาวมองเห็นโอกาสที่ถูกสร้างขึ้นโดยทางรถไฟที่เชื่อมโยงประเทศกับจีนและส่วนอื่นๆ ของโลก โดยได้รับประโยชน์จากโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) โครงการจีนเชื่อมโลก ซึ่งธนาคารโลกประมาณการว่าการรถไฟจีน-ลาวสามารถลดต้นทุนการขนส่งภายในประเทศได้ร้อยละ 20 ถึง 40 ในลาว และลดต้นทุนการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างคุนหมิงและเวียงจันทน์ได้ร้อยละ 40 ถึง 50 รวมถึงโครงการบูรณาการโครงการรถไฟจีน-ลาว และโครงการรถไฟด่วนจีน-ยุโรป ได้สร้างเส้นทางโลจิสติกส์ระหว่างประเทศใหม่ ช่วยลดระยะเวลาการขนส่งระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรปเหลือประมาณ 15 วัน “ทางรถไฟเติมเต็มยุทธศาสตร์ของลาว โดยเปลี่ยนประเทศจากไม่มีทางออกสู่ทะเลไปสู่การเชื่อมโยงทางบก” นายจินดาวงศ์ ไซยาสินกล่าว
ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/159472
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!