CEO ARTICLE
แฟกซ์จากพระเจ้า
กฎหมายไม่ใช่แฟกซ์จากพระเจ้าแล้วมาจากไหน ?
ในยุคดึกดำบรรพ์ คนส่วนใหญ่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อความปลอดภัย
เมื่อคนมากขึ้นก็กลายเป็นชุมชน เป็นหมู่บ้าน และเป็นชนเผ่าที่ต้องมีผู้นำที่มีอำนาจ คอยดูแลความปลอดภัย และคอยจัดระบบเพื่อความสงบสุขของสังคมโดยรวม
ระบบก่อให้เกิดความนับถือ ความศรัทธา ประเพณี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลายกรณีกลายเป็น “พระเจ้า” ที่สร้างความเชื่อ แต่ให้ความสะดวกต่อการปกครอง และในที่สุดก็เป็น “จารีต”
เมื่อชนเผ่าใหญ่ขึ้น มีคนมากขึ้น และพัฒนาเป็นประเทศ จารีตกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อการปกครองที่สร้างความสงบสุขต่อส่วนรวมที่ดี ผู้นำจึงนำจารีตที่สำคัญมาทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้มีความชัดเจน ให้เป็นคำสั่ง ให้ปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน และหากไม่ปฏิบัติจะมีบทลงโทษ
ส่วนจารีตที่ไม่สำคัญ แต่ยังเป็นประโยชน์ด้านการปกครองและความสงบสุขร่วมกัน ผู้นำก็จะรักษาให้เป็นจารีต ให้เป็นประเพณี และเป็นวัฒนธรรมสืบต่อไปโดยไม่ทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ในยุคต่อมา คำสั่งเพื่อการปฏิบัตินี้ถูกเรียกกว่า “กฎหมาย” (Law)
ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงแบ่งเป็น 2 ระบบคือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) และกฎหมายจารีตที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law) ให้เลือกใช้ แต่มีเจตนารมณ์เหมือนกันคือ มุ่งสร้างความสะดวกในการปกครองและความสงบสุขของประชาชนร่วมกัน
เจตนารมณ์จึงต้องมีร่วมกัน เป็นสาระสำคัญของกฎหมายที่ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดมิได้
ปัจจุบัน หลายประเทศเป็นประชาธิปไตย ส่วนใหญ่ใช้กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีรัฐธรรมนูญ และมีกฎหมายต่าง ๆ แต่ยังถือจารีตในการปฏิบัติ ส่วนอำนาจบริหาร และการจัดการกฎหมายก็ถ่ายโอนมาเป็นของประชาชนตามหลักประชาธิปไตย
ประชาชนจะใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้ง เลือกนักการเมืองให้เข้ามาบริหาร ให้จัดการเสนอกฎหมาย แก้ไข และยกเลิกเพื่อความสงบสุขของประชาชน
หากจะเปรียบว่ากฎหมายในยุคดึกดำบรรพ์คือแฟกซ์จากพระเจ้าก็พอเข้าใจได้
แต่ในโลกประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน กฎหมายต้องมาจากประชาชนผ่านนักการเมือง ต้องแก้ไขได้ และต้องแก้ไขเพื่อความสะดวกต่อการปกครองและความสงบสุขของประชาชนร่วมกัน
ประเทศต่างกันย่อมมีจารีตต่างกัน กฎหมายที่ใช้ก็ย่อมต่างกันเป็นธรรมดา
กฎหมายบางประเทศยอมให้เล่นการพนัน ให้ค้าประเวณี ให้ทำแท้งเสรี และอื่น ๆ อีกมาก แต่บางประเทศไม่ยินยอม ถือเป็นจารีตที่ทำลายความสงบสุข กฎหมายจึงห้ามพฤติกรรมเหล่านั้น
การนำกฎหมายของประเทศหนึ่งมาเปรียบเทียบกับอีกประเทศหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงศรัทธาและความเคารพที่มีต่อจารีตดั้งเดิมจึงเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้ ประเทศประชาธิปไตยที่มีกฎหมายชัดเจน มีจารีตที่สืบต่อกันมายาวนาน และมีเอกลักษณ์โดดเด่นจึงต้องมีกระบวนการ (Process) ในการเสนอ แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมาย มีการตรวจสอบและการถ่วงดุล (Check and Balance) ที่ชัดเจน
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันนักการเมืองมิให้ใช้อำนาจที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ตัวอย่างเช่น เทศกาลสงกรานต์เป็นจารีต และเป็นความสงบสุขของประชาชนมานับร้อย ๆ ปี หากนักการเมืองจะมาเสนอเป็นกฎหมาย ให้สาดน้ำได้อย่างเดียว สาดให้แรง สาดได้ตลอดทั้งปี สาดเพื่อประโยชน์ของการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ แต่ให้ยกเลิกกิจกรรมการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
กฎหมายนี้มุ่งแต่ประโยชน์ด้านเดียว แต่กระทบชีวิตที่ปกติและความสงบสุขของประชาชน
ดังนั้น รัฐธรรมนูญและกฎหมายใด ๆ หากเป็นการเสนอ แก้ไข หรือยกเลิกโดยมุ่งหวังแต่เพียงประโยชน์ของการปกครอง เศรษฐกิจ หรือการเมืองด้านเดียว แต่สร้างความแตกแยก กระทบต่อศรัทธาและความสงบสุขจึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
“The Bible did not arrive by fax from heaven.”
คำแปล “คำภีร์ไบเบิลไม่ใช่แฟกซ์มาจากพระเจ้า” เป็นคำมาจากนิยาย Davinci Code แต่เปลี่ยนคำว่า “คำภีร์ไบเบิล” เป็น “กฎหมาย” จึงเป็นการเปรียบเทียบที่ดี ถูกต้อง ทำให้เข้าใจว่า คำภีร์และกฎหมายมาจากมนุษย์เหมือนกัน และต้องแก้ไขได้เหมือนกัน
แต่การแก้ไขต้องเพื่อประโยชน์ต่อการปกครองและความสงบสุขของประชาชนร่วมกัน
การกระทำใด ๆ ที่อ้างประชาชนกลุ่มเดียว ให้ประโยชน์ต่อการปกครองด้านเดียว แต่สร้างความแตกแยกจึงเป็นเพียงเกมการชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองเท่านั้น
ส่วนการนำคำ “แฟกซ์จากพระเจ้า” ในยุคดึกดำบรรพ์ที่ใช้ยกย่องพระเจ้ามาประชดทุกฝ่ายที่มุ่งหวังผลประโยชน์จากกระบวนการกฎหมายก็เป็นการใช้คำประชดที่ถูกต้องตรงไปตรงมาที่สุด.
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : February 13, 2024
Logistics
โปแลนด์เดินหน้าโครงการสนามบิน CPK ฮับการบินแห่งใหม่กลางใจยุโรป
อีกไม่นาน โปแลนด์จะมีสนามบินหลักแห่งใหม่ขึ้นมาแทนสนามบิน วอร์ซอ โชแปง ซึ่งต้องรองรับจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากจนใกล้จะเต็ม Capacity สนามบินแห่งใหม่นี้ มีชื่อว่า Warsaw Solidarity Airport หรือ Central Communication Port (CPK) ตามกำหนด สนามบิน CPK จะพร้อมให้บริการแก่ผู้โดยสารในปี 2028 (2571)
ปัจจุบัน ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ต้องไปหยุดเปลี่ยนเครื่องที่ยุโรปตะวันตก โดยมีฮับหลักที่มีผู้นิยมใช้เพื่อแวะหยุดพักสำหรับเที่ยวบินระยะไกล (long-haul) อยู่ที่อัมสเตอร์ดัม ปารีส และแฟรงค์เฟิร์ต ซึ่งทางฝั่งประเทศยุโรปตะวันตก มีถึง 60 สนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระยะไกล ในขณะที่ทางยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก มีเพียง 16 สนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระยะไกล โดยในช่วงก่อนสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ผู้โดยสารนิยมแวะพักเพื่อเปลี่ยนเครื่องสำหรับเที่ยวบินระยะไกล ที่สนามบิน Sheremetyevo International Airport กรุงมอสโก
สนามบินแห่งใหม่ของโปแลนด์จะทำให้ผู้โดยสารที่มาใช้บริการสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศปลายทางได้ทั่วโลกอย่างสะดวกสบาย แม้ว่าสนามบิน วอร์ซอ โชแปง จะมีการขยายตัวของปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเป็นหนึ่งในสนามบินที่เล็กที่สุดในยุโรป ในปี 2019 (2562) สนามบินโชแปงรองรับผู้โดยสารราว 19 ล้านคนต่อปี คาดการณ์ว่า จะเต็มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร จำนวน 20 ล้านคนต่อปี ในช่วงปี 2025 (2568) – 2027 (2570) สนามบินใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโปแลนด์เพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ก็จะเอื้อประโยชน์ให้แก่สายการบินแห่งชาติ LOT บรรลุเป้าหมายในการให้บริการแก่ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว พร้อมกับการพัฒนาเส้นทางบินระยะไกลไปสู่เอเชียและสหรัฐอเมริกา
โครงการพัฒนา Warsaw Solidarity Airport หรือ CPK นั้น ครอบคลุมทั้งส่วนการก่อสร้างสนามบิน และส่วนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงวอร์ซอราว 40 กิโลเมตร จึงจำเป็นต้องพัฒนาเครือข่ายรถไฟเชื่อมสนามบิน CPK เพื่อไปยังกรุงวอร์ซอ และเมืองต่างๆ ทั่วโปแลนด์อย่างสะดวกรวดเร็ว ดังนั้น นอกจาก สนามบิน CPK
จะให้บริการรองรับปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้นแล้ว ยังจะเป็นแลนด์มาร์กที่มีความสำคัญโดดเด่นในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ไม่แพ้สนามบินลอนดอน ฮีทโธรว์ (London Heathrow Airport) หรือสนามบินดูไบ (Dubai International Airport) และเมื่อก่อสร้างระยะแรกแล้วเสร็จ ก็จะเริ่มการขยายรันเวย์เพิ่มขึ้นในระยะถัดไป เมื่อเสร็จสมบูรณ์ คาดว่า สนามบิน CPK จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 40 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2035 (2578)
ข้อสังเกต/ข้อคิดเห็นของสคต.
1. การที่โปแลนด์เดินหน้าโครงการสร้างสนามบินแห่งใหม่นั้น สะท้อนให้เห็นว่า โปแลนด์ต้องการมีบทบาทอย่างสำคัญในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะการขยายขีดความสามารถในการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อภาคการค้า การลงทุน ตลอดจนภาคการท่องเที่ยวในภูมิภาค และเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการขนส่งของโปแลนด์มากขึ้น
2. ปัจจุบันยังไม่มีสายการบินพาณิชย์ให้บริการเที่ยวบินตรงระหว่างไทยและโปแลนด์ แม้ว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต้องการเดินทางไปยังประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ประกอบการท่องเที่ยวของโปแลนด์จึงใช้วิธีเช่าเหมาลำ พร้อมจำหน่ายแพ็คเกจทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยว ในเส้นทางวอร์ซอ-กรุงเทพฯ และวอร์ซอ-ภูเก็ต โดยความถี่ของเที่ยวบินขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการของนักท่องเที่ยว เฉลี่ยประมาณ 1 – 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
ในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทาง ทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้หากประเทศไทยและโปแลนด์จะร่วมมือกันพิจารณาเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกัน ก็จะเอื้อประโยชน์ให้การค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวของ 2 ฝ่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นได้
ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/162731
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!