CEO ARTICLE
ของต้องกำกัด
ศรีลังกาสั่งห้ามนำเข้า “แป้งเด็กจอห์นสัน”
จนกว่าจะทดสอบว่าปลอดมะเร็งจริง
ข่าวสั้น ๆ ข้างต้นสรุปว่า รัฐบาลโคลอมโบของศรีลังกาได้สั่งห้ามนำเข้าแป้งเด็กจอห์นสันจนกว่าบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จะพิสูจน์ในการทดสอบครั้งใหม่ว่า ผลิตภัณฑ์แป้งเด็กนั้นปลอดสารแร่ใยหิน (asbestos) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง
(ผู้จัดการออนไลน์ 31 ม.ค. 2562)
ข่าวให้ข้อมูลว่า ใบอนุญาตนำเข้าได้หมดอายุลงเดือนธันวาคม 2561 การนำเข้าจึงถูกระงับจนกว่าจะมีการพิสูจน์ดังกล่าว ส่วนสต๊อกเก่าที่นำเข้ามาก่อนหน้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้
ข่าวนี้ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวขึ้นมาอีกว่า แร่ใยหินเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง
บังเอิญข่าวนี้มาพร้องกับช่วงวิฤติอากาศพิษที่ผ่านมาของไทย ช่วงนั้นหน้ากากอนามัยชนิด N95 มีราคาสูง ขาดตลาด คนไทย บางท่านจึงนำติดตัวเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้เองแต่ถูกปฏิเสธจากด่านศุลกากรด้วยเหตุผลว่า หน้ากากอนามัยชนิดนั้นต้องมีใบอนุญาตนำเข้าด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและเกรงว่าสินค้าจะไม่ได้มาตรฐาน
ต่อมากรมศุลกากรได้ออกมาชี้แจงว่า ของติดตัวผู้โดยสารที่จะได้รับสิทธิ์เป็นของส่วนตัวเพื่อใช้เองโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้านั้น ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ไม่มีลักษณะทางการค้า และของนั้นต้องไม่เป็นของต้องห้าม ต้องกำกัด
แม้มูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท แต่หากปริมาณที่นำเข้าเกินกว่าของใช้ส่วนตัว หรือเห็นว่ามีลักษณะทางการค้า ของนั้นก็ต้องชำระภาษีนำเข้าอยู่ดี
ข่าวการห้ามแป้งนำเข้าในศรีลังกา กับข่าวหน้ากากอนามัยเป็นของที่ต้องขออนญาตนำเข้าของไทยมีลักษณะคล้ายกัน ทำให้ผู้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองบางท่านเกิดข้อสงสัยขึ้น
ของต้องห้าม ต้องกำกัด คืออะไร ???
ทำไมต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า ???
ปัจจุบัน รัฐบาลที่เป็นสมาชิกองค์การระดับสากลต่าง ๆ เกือบทุกประเทศทั่วโลกต่างรับรู้และให้ความสำคัญต่อคุณค่าความเป็นมนุษย์มากขึ้น
สินค้าที่ซื้อขายกันระหว่างประเทศมากมายที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือที่เป็นอันตรายต่อชีวิตถูกหยิบหยกขึ้นมาเป็นประเด็นมิให้นำเข้ากันอย่างเสรี
การตรวจสอบให้ได้มาตรฐาน หรือให้มีความปลอดภัยก่อนอนุญาตให้นำสินค้านั้นเข้าของแต่ละประเทศจึงเป็นมาตรการที่นำขึ้นมาใช้
หากเครื่องมือที่ใช้ในการชั่ง ตวง หรือวัด ถูกนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยหน่วยที่วัดเช่น จำนวนนิ้ว เซนติเมตร หรือจำนวนกิโลกรม ไม่ได้มาตรฐาน อะไรจะเกิดขึ้นตามมา ???
หากสินค้าอุปโภค บริโภคที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อคนใช้ชาติ หรือก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ต่อผู้ใช้ อะไรจะเกิดขึ้นตามมา ???
การมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐทำหน้าที่ป้องกันประเทศจึงเกิดขึ้น
การประกาศทางกฎหมายให้สินค้าบางอย่างอยู่ในรายการ “ของต้องห้าม” และอีกหลายรายการก็อยู่ใน “ของต้องกำกัด” จึงให้เห็น
คำว่า “ของต้องห้าม” หรือ “ของต้องกำกัด” เป็นคำที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรที่ใชักันมานานแล้ว
ของต้องห้าม หมายถึง ของที่ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด
ของต้องกำกัด หมายถึง ของต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะนำเข้าได้
ส่วนหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาตการนำเข้าก็มีหลากหลาย เช่น อย. หรือองค์การอาหารและยา สำนักงานมาตรฐานสินค้า กองชั่งตวงวัด เป็นต้น
ขนาดบริษัทหลักใหญ่นำเข้าในศรีลังกายังพลาดนำเข้ามาก่อน ผู้นำเข้าของไทยก็เคยผิดพลาดมากมายสินค้าถูกอายัดไว้ที่ด่านศุลกากร
กรมศุลการไม่มีอำนาจอนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออก แต่กรมศุลกากรมีหน้าที่ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของหน่วยงานที่กำกับดูแลดังกล่าว
อย่างนี้นับประสาอะไรกับประชาชนทั่วไปที่ไม่ชินต่อการนำเข้าหรือส่งออกของ
ดังนั้น เมื่อไรที่สงสัยว่าสินค้านั้นเป็นของต้องห้าม ต้องกำกัดหรือไม่ ก็ให้ตรวจสอบให้ดีก่อนโดยการสอบถามจากตัวแทนออกของที่น่าเชื่อ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐาน หรือจาก
http://itd.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp ที่เป็นเว็บไซด์บริการของกรมศุลกากร
เพียงเท่านี้ การนำเข้าหรือส่งออกก็จะราบรื่นมากขึ้น
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร