CEO ARTICLE
ข้อมูลหีบห่อ
ปัญหาหนึ่งที่ผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อนำเข้ามาจำหน่ายมือใหม่ประสบคือ การไม่ทราบต้นทุนสินค้าต่อหน่วยจนเกิดอาการกล้า ๆ กลัว ๆ ต่อการสั่งซื้อสินค้านำเข้า
ผู้นำเข้าบางรายอาจใช้ต้นทุนสินค้าจากผู้ขายต่างประเทศเลย ไม่ว่าจะเป็นราคาต้นทุนภายในเงื่อนไข EXW, FOB, CFR, หรืออื่น ๆ แล้วบวกรายจ่ายอื่นตามแต่จะประมาณขึ้นมา
ปัญหานี้ แม้ผู้นำเข้าที่มีประสบการณ์บางรายก็อาจประสบได้เช่นกัน
การทราบต้นทุนสินค้าต่อหน่วยจึงเป็นข้อดีที่ทำให้รู้ล่วงหน้าว่า ควรนำสินค้านี้เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหรือไม่ หรือควรรับความเสี่ยงอย่างไร ???
วิธีการง่าย ๆ วิธีหนึ่งที่จะทำให้ผู้เตรียมการสั่งซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมาขายได้ทราบต้นทุนสินค้าต่อหน่วยตั้งแต่ก่อนการสั่งซื้อสินค้านำเข้าคือ
การมอบให้ตัวแทนโลจิสติกส์ที่มีบริการระหว่างประเทศอย่างครบวงจรคำนวณให้
วิธีการคำนวณก็ไม่ยาก เพียงผู้จะซื้อสินค้าร้องขอ “ข้อมูลหีบห่อ” ที่จะใช้บรรจุสินค้าในขณะสอบถามราคาจากผู้ขายต่างประเทศ ข้อมูลหีบห่อที่ต้องการคือ
ความกว้าง ยาว และสูงของขนาดหีบห่อเป็นเซนติเมตร
น้ำหนักรวม (Gross Weight) เป็นกิโลกรัมของแต่ละหีบห่อ และ
จำนวนสินค้าที่จะบรรจุในแต่ละหีบห่อ
ด้วยข้อมูลหีบห่อเพียงเท่านี้ ตัวแทนโลจิสติกส์ก็จะสามารถเสนอราคาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายภายในประเทศผู้ขายต้นทาง
หมายถึง ค่าใช้จ่ายตั้งแต่รับสินค้าหน้าโรงงานต้นทาง ค่ารถขนส่งสินค้าภายในประเทศผู้ขายต้นทาง ค่าพิธีการศุลกากรส่งออกต้นทาง ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในประเทศต้นทางเพื่อการส่งออกกระทั่งสินค้านำขึ้นเรือบรรทุกสินค้า
2. ค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทาง
หมายถึง ค่าระวางเรือ (Freight) และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับเรือ เช่น ค่าธรรมเนียมน้ำมัน เป็นต้น
3. ค่าใช้จ่ายภายในประเทศไทย
หมายถึง ค่าใช้จ่ายตั้งแต่เรือเทียบท่าในประเทศไทย ค่าธรรมเนียมท่าเรือ ค่าภาษีอากร (หากมี) หรือค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารเพื่อขอยกเว้นอากรตามข้อตกลง FTA (Free Trade Agreement) ค่าขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยกระทั่งสินค้าส่งถึงมือผู้ซื้อ
ด้วยข้อมูลของหีบห่อจะทำให้การเสนอราคาข้างต้นมีความถูกต้องแม่นยำ จากนั้นผู้ซื้อสินค้านำเข้าก็เพียงนำค่าใช้จ่ายข้างต้นมารวมกับค่าสินค้าและคำนวณต้นทุนต่อหน่วยได้ทันที
ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยราคาที่เสนอ 3 ข้อข้างต้น ยังทำให้ผู้ซื้อสินค้ามีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกซื้อสินค้าภายใต้เงื่อนไขราคาที่แตกต่างออกไปแต่ให้ประโยชน์แก่ผู้ซื้อ เช่น
EXW (Ex-Works) หมายถึง ราคาต้นทุนสินค้าที่ตัวแทนโลจิสติกส์ระหว่างประเทศไปรับสินค้า ณ หน้าโรงงานผู้ขายในต่างประเทศ
FOB (Free On Board) หมายถึง ราคาต้นทุนสินค้าที่ผู้ขายต่างประเทศจะรวมรายจ่ายภายในประเทศผู้ขายกระทั่งสินค้าถูกนำขึ้นเรือบรรทุกสินค้าลำที่ผู้ซื้อหรือตัวแทนโลจิสติกส์ระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนด
CFR (Cost and Freight) หมายถึง ราคาต้นทุนสินค้าที่ผู้ขายต่างประเทศจะรวมรายจ่ายภายในประเทศผู้ขายกระทั่งสินค้าถูกนำขึ้นเรือบรรทุกสินค้าลำที่ผู้ขายเลือก และค่าระวางเรือจนสินค้าเดินทางถึงท่าเรือประเทศไทย
เงื่อนไขอื่น ๆ ที่ตัวแทนโลจิสติกส์ที่มีบริการระหว่างประเทศอย่างครบวงจรจะเสนอให้ซึ่งแน่นอนย่อมเป็นประโยชน์และให้ความแน่นอน ชัดเจนแก่ผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศอีกด้วย
ข้อมูลหีบห่อจึงมีความสำคัญต่อผู้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศด้วยเหตุผลข้างต้น
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
Logistics
สวิตเซอร์แลนด์เตรียมยกเลิกอากรขาเข้าสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม
สภามนตรีแห่งสมาพันธรัฐสวิส (Bundesrat) เสนอให้มีการยกเลิกจัดเก็บอากรขาเข้าสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสวิตเซอร์แลนด์ และปรับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้เอื้อต่อทั้งภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม รวมทั้งผู้บริโภคให้มากขึ้น รวมถึงเป็นหนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงภายในประเทศ ทั้งนี้ หากผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 (ค.ศ. 2022)
มาตรการดังกล่าวจะยกเลิกการจัดเก็บอากรขาเข้าสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมทุกชนิด (ยกเว้นสินค้าเกษตร อาหาร และอาหารสัตว์) ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมเคมี สินค้าเภสัชกรรม เครื่องสำอาง พลาสติก เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องประดับ เหล็ก อุปกรณ์ทำความเย็น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยานและส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นต้น โดย รัฐบาลจะนำระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอัตโนมัติมาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าประโยชน์จากการยกเลิกจัดเก็บอากรขาเข้านี้ จะถูกส่งต่อไปยังผู้บริโภคอย่างแท้จริง
ถึงแม้นโยบายนี้จะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ประมาณ 500 ล้านฟรังก์ต่อปี (ในปี 2018 สวิตเซอร์แลนด์มีรายได้จากการจัดเก็บอากรขาเข้าสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม 560 ล้านฟรังก์) อย่างไรก็ตาม นาย Guy Parmelin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ได้อ้างถึงข้อมูลจากงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การยกเลิกการจัดเก็บอากรขาเข้าสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม จะส่งผลเชิงบวกสะท้อนกลับมายังเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ในที่สุด
มาตรการนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคหรือไม่? ต่อคำถามดังกล่าว ดร. Jan Atteslander สมาชิกคณะกรรมการบริหาร และหัวหน้าฝ่ายการค้าระหว่างประเทศ สมาคมเศรษฐกิจสวิส Economiesuisse ซึ่งสนับสนุนนโยบายนี้ตั้งแต่ต้น คาดว่า ราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคจะลดลง ยกตัวอย่างเช่น หากอากรขาเข้าถูกยกเลิกไป 300 ล้านฟรังก์ จะส่งผลให้ระดับราคาของสินค้าทุกประเภทถูกลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้นด้วย โดยคาดว่าระดับราคาจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.1 – 2.6 หากบริษัทต่าง ๆ ที่สามารถประหยัดต้นทุนจากนโยบายดังกล่าว ส่งต่อประโยชน์ไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ เมื่อมาตรการนี้บังคับใช้ จะส่งผลให้ระดับราคาในสวิตเซอร์แลนด์ลดลง 350 ล้านฟรังก์ต่อปี โดยสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง และสิ่งทอ จะได้รับอานิสงฆ์จากนโยบายนี้มากที่สุด โดยราคาจะปรับตัวลดลงสูงสุดที่ร้อยละ 3.6 ทั้งนี้ เสื้อผ้าเป็นกลุ่มสินค้าที่สวิตเซอร์แลนด์จัดเก็บอากรขาเข้ามากที่สุด (ร้อยละ 8.6) ในปัจจุบัน
ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/578634/578634.pdf&title=578634&cate=413&d=0
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!