CEO ARTICLE
Start Up – 3
วิกฤติคือโอกาส หากมองในช่วงที่ Covid-19 แพร่ระบาดนี้ จะเห็นสิ่งที่ไม่สะดวก สิ่งที่จะนำมาเติมเต็มมากมาย มันคือขั้นที่ 1 ของ Start Up ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ธุรกิจส่งอาหาร เป็นต้น
ขั้นที่ 2 คือ “การสร้างต้นแบบแผนธุรกิจ” ที่กล่าวไปก่อนหน้าเพื่อสนองความไม่สะดวกที่มองเห็น ในขั้นนี้คือ การตั้งคำถามและหาคำตอบให้กับคำถาม
– กลุ่มเป้าหมายที่จะมาเป็นลูกค้าคือใคร ?
– ลูกค้าจะรับรู้สินค้าหรือบริการใหม่นี้ผ่านช่องทางไหนที่ดีที่สุด ?
– สินค้าหรือวัตถุดิบในกระบวนการผลิตจะจัดหามาจากไหน ?
ส่วนขั้นที่ 3 หรือ Start Up – 3 นี้ คือ “การทดสอบแผนธุรกิจ” เพื่อพิจารณาว่า คำตอบในขั้นที่ 2 นั้นถูกต้องซึ่งจะทำให้แผนธุรกิจเป็นแผนที่ดีที่สุด
การทดสอบ “แผนธุรกิจ” คือปัจจัยสำคัญ และคำตอบที่หาได้จะทำให้รู้ว่า แผนธุรกิจนี้คือแผนที่ดีจริง การทดสอบจึงต้องไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่ควรยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ดังนั้น การจะหาคำตอบได้ถูกต้องจริง ๆ จึงมีเพียงการทดสอบเท่านั้น
การทดสอบมีหลากหลายวิธี ด้านผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) หรือทีมงานก็อาจทำโดยการประชาสัมพันธ์ การเปิดรับสมัคร หรือการสัมภาษณ์
แต่ด้านลูกค้าซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด ผู้ทำ Start Up ควรทดสอบกับลูกค้าโดยตรง และการทดสอบที่ให้ผลดีก็ต้องผ่านลูกค้าอย่างน้อย 100 รายขึ้นไป ไม่ใช่เพียง 2-3 ราย
(1) การสำรวจ
การทดสอบอาจทำโดยการลงพื้นที่จริงเพื่อพิจารณาบุคคลที่คิดว่าจะเป็นลูกค้า ทำให้เห็นว่าสินค้าหรือการบริการในแผนธุรกิจนี้ (Start Up – 2) สามารถตอบสนองสิ่งที่ขาดหาย หรือความไม่สะดวกในชีวิตได้จริงหรือไม่ ?
การสำรวจมีข้อดีคือ สามารถทำได้เร็วด้วยตนเอง ไม่รบกวนลูกค้ามากเกินไป แต่ข้อเสียคือ ผลที่ได้อาจไม่เที่ยงตรง ไม่ถูกต้องจนอาจทำให้แผนธุรกิจไม่ใช่แผนที่ดีได้
(2) แบบสอบถาม
การทดสอบโดยการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มที่คิดว่าจะเป็นลูกค้า ข้อดีของวิธีการนี้ยังคงเป็นความเร็ว กระจายได้ทั่วถึง
แต่ข้อเสียคือ คำตอบอาจไม่ใช่คำตอบที่แท้จริง หรือผู้ตอบแบบสอบถามอาจไม่สนใจ หรือไม่ตอบแบบสอบก็ได้จนกลายเป็นการเสียเวลาและไม่ได้แผนธุรกิจที่ดี
(3) การทดลองใช้
การทดสอบด้วยวิธีการทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การทดลองใช้ให้คำตอบที่ดีกว่าวิธีการอื่น ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้สัมผัสของจริงและได้คำตอบที่แท้จริง ได้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของสินค้าจริง สามารถนำมาปรับปรุงสินค้าหรือบริการได้ตรงประเด็น และหากการทดลองอาจล้มเหลวก็สามารถหยุด Start Up ขั้นต่อไปได้ทัน
แต่ข้อเสียคือ การใช้เงินทุนในการสร้างสินค้าหรือบริการตามแผนธุรกิจขึ้นมาก่อนซึ่งอาจใช้มากขึ้นหากสินค้าหรือบริการที่จะทดลองใช้ต้องลงทุนมาก
(4) แบบผสม
การทดสอบต้นแบบแผนธุริจโดยการใช้หลายทางผสมกัน เช่น การสำรวจ แบบสอบถาม การทดลองใช้สินค้าและบริการจริง และอื่น ๆ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลได้ดี
แต่ข้อเสียคือ การเสียเวลา และต้นทุนมากขึ้น
แผนธุรกิจอาจไม่ทดสอบก็ได้ แต่ผลก็อาจทำให้ผู้ทำ Start Up คิดเอง เออเอง ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรือขาดความรอบคอบที่นำความล้มเหลวมาได้ง่าย
ยิ่งไปกว่านั้น การทดสอบในขั้นที่ 3 ยังทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ลงทุนที่จะกล่าวใน Start Up บทต่อไปในการตัดสินใจร่วมลงทุนง่ายขึ้น
ระหว่างการแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอก 3 ขณะนี้ เชื่อว่า ธุรกิจ Start Up ใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นอีกมากเพราะความไม่สะดวกเกิดขึ้นมากจริง ๆ
มันจึงขึ้นอยู่กับมุมมอง (Start Up – 1) ของแต่ละคน ทุก ๆ วิกฤติสร้างโอกาสที่ดีให้แก่คนที่มองวิกฤติและเห็นเป็นโอกาสได้เสมอ
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group
ปล. หนังสือ “เก่งง่าย รวยง่าย ด้วยบันได 3 ขั้น” เป็นหนังสือสร้างพื้นฐานเพื่อการเริ่ม Start Up ที่ดี มีจำหน่ายตามศูนย์หนังสือชั้นนำทั่วไปในราคาเล่มละ 250 บาท
รายได้จากหนังสือเข้ากองทุน CSR เพื่อมอบให้เด็กนักเรียนยากไร้ โรงเรียนวัดแก้วเจริญ (เฟื้อบำรุง) หมู่ 10 ต. เหมืองใหม่ อ. อัมพวา จ. สมุทรสงคราม 75110 โทร 034-735024 ครูณัจวรรณ จันทรตัง ในวันที่ 30 ต.ค. 2564
ผู้ติดตามบทความนี้สามารถขอรับ “ฟรี” ได้ที่ 02-333-1199 ต่อ 0 หรือ 087-519-4643 คุณปู ในเวลาทำการ (มีค่าจัดส่ง และค่าดำเนินการ 100 บาท)
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : April 20, 2021
Logistics
ไต้หวันขาดแคลนกล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษ โอกาสส่งออกของไทย
การแพร่ระบาดของโควิด-19 การล็อคดาวน์ และเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณการ ใช้กระดาษในปีที่ผ่านมามีน้อย ส่งผลให้ปริมาณกระดาษ Recycle ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตกล่องกระดาษมี น้อย นอกจากนี้ การขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้า ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้ากระดาษ Recycle จาก ต่างประเทศมาใช้ผลิตกล่องกระดาษ และทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น ภาวะขาดแคลนกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ ทั่วโลก ส่งผลให้ไต้หวันได้รับผลกระทบเช่นกัน ประกอบกับการที่จีนห้ามการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ ทำให้ ราคากระดาษ Recycle ในจีนเพิ่มสูงขึ้น อันมีผลให้การส่งออกกระดาษ Recycle มายังไต้หวันลดลง และส่งผล ต่อเนื่องให้ต้นทุนการผลิตในไต้หวันเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษได้รับ ผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกรชาวไต้หวันที่ประสบภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอยู่แล้ว ได้รับ ความเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นจากราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคากล่องกระดาษที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเกิดการขาด แคลน
โดยในช่วงนี้ เป็นฤดูการเก็บเกี่ยวของสับปะรดในไต้หวัน ทำให้เกษตรกรมีความต้องการใช้กล่อง กระดาษ สำหรับบรรจุสินค้าจำนวนมาก แต่เนื่องจากในไต้หวันมีปัญหาขาดแคลนกล่องกระดาษทำให้เกษตรกร ไม่สามารถจัดส่งสินค้าไปจำหน่ายได้ ล่าสุดทั้งกระทรวงเศรษฐกิจ กระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการ การเกษตร ต่างก็ได้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว โดยกระทรวงแรงงานของไต้หวัน ประกาศผ่อน คลายข้อบังคับด้านจำนวนชั่วโมงการทำงานให้แก่ผู้ผลิตในกลุ่มสินค้ากระดาษและบรรจุภัณฑ์กระดาษแล้ว เพื่อ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น คาดว่าจะช่วยให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อย ละ 5-10 นอกจากนี้ ตัวแทนของสมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษแห่งไต้หวันชี้ว่า สมาคมฯ ได้ขอให้สมาชิกเร่งการ ผลิตอย่างเต็มกำลังแล้ว คาดว่าจะสามารถบรรเทาภาวะการขาดแคลนได้ภายในเวลา 1-2 สัปดาห์อย่างไรก็ดี เนื่องจากตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จะเริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวของผลไม้หลายๆ ชนิดในไต้หวัน ปริมาณ ความต้องการกล่องกระดาษสำหรับใช้บรรจุผลไม้จึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงอาจต้องรอถึงช่วงต้น ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ กว่าที่ปัญหาการขาดแคลนในไต้หวันจะทุเลาลง
ทั้งนี้ในปี 2563 ความต้องการใช้กระดาษทั้งหมดในไต้หวันมีปริมาณ 4.37 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนหน้าร้อยละ 1.86 โดยในจำนวนนี้เป็นความต้องการใช้กระดาษอุตสาหกรรมประมาณ 2.10 ล้าน เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.05
ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/731499/731499.pdf&title=731499&cate=413&d=0
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!