CEO ARTICLE

ภาษีความหวาน

Published on June 22, 2021


Follow Us :

    

แม่ค้าสเต็กลักษณะอาคารพาณิชย์รายหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อน้ำส้มคั้น 500 ขวด
เธอดีใจ จ้างคนเร่งผลิต สุดท้ายกลายเป็นการล่อซื้อจากเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ถูกจับกุมในข้อหาไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. (สำนักงานอาหารและยา) และไม่ได้เสีย “ภาษีความหวาน”

น้ำส้มคั้นเป็นหัวข้อวิจารณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Covid-19 ทำให้คนตกงานหันมาประกอบอาชีพเล็ก ๆ เพื่อยังชีพกันมาก การคั้นน้ำส้มในครัวเรือนขายก็เป็นอาชีพเสริมหนึ่ง
ข่าวนี้ทำให้คนคั้นน้ำส้มขายรายเล็ก ๆ หวั่นวิตก ไม่รู้ตนเองจะโดนแบบนี้เมื่อไหร่
สิ่งที่ทุกคนควรรู้คือ “ภาษีความหวาน” หรือภาษีน้ำตาล คือ ภาษีสรรพสามิตประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจาก “ผู้ผลิต” และ “ผู้นำเข้า” เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือมีความหวานผสม
สาเหตุที่เรียกเก็บภาษีเพราะ “น้ำตาลและความหวาน” ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตเสื่อม มะเร็ง และอื่น ๆ ที่ทำลายสุขภาพ สิ้นเปลืองค่ารักษา เป็นภาระต่อญาติที่ดูแล และทำลายเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
อัตราภาษีความหวานปัจจุบันเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 62 จะสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 64 ดังนี้
น้ำตาล 0-6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่เสียภาษี
ค่าความหวาน 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
ค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ขึ้นไป เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร
อัตรานี้แสดงว่า เครื่องดื่มที่มี “ค่าความหวานมาก” ก็จะเสีย “ภาษีความหวานมาก”
หลังวันที่ 30 ก.ย. 64 อัตราภาษีความหวานจะเพิ่มขึ้นอีก 2 ระยะ แต่มีการชะลอเนื่องจากพิษ Covid-19
การเก็บภาษีความหวานเป็นกุศโลบายให้ราคาจำหน่ายสูงขึ้นและทำให้การบริโภคลดลง
พรบ. สรรพสามิต 2560 มาตรา 3 ให้ความหมายคำว่า “นำเข้า – ผลิต – โรงอุตสาหกรรม” ไว้ชัดเจน คนไม่รู้กฎหมายพอจะเดาได้ว่า พรบ. นี้มีเจตนารมณ์เพื่อปกป้อง และคุ้มครอง “สุขภาพประชาชน” มากกว่าการจับกุม
แต่กฎหมายส่วนใหญ่ก็ไม่เขียนเจตนารมณ์ลงไป คนที่เกี่ยวข้องจึงมักตีความให้ตนเองได้ประโยชน์ “นี่คือปัญหาของกฎหมายไทย”
ในข่าวไม่ได้บอกว่า “ค่าความหวาน” ของแม่ค้าคำนวณได้เท่าไร ภาษีความหวานต้องเสียเท่าไร บอกแต่เพียงว่าเธอเสียเงิน 12,000 บาทซึ่งไม่รู้เป็นค่าปรับหรือเงินใต้โต๊ะกันแน่
ขณะที่กรมสรรพสามิตแถลงข่าวว่า ไม่มีการจับกุม ไม่มีการปรับ มีแต่การให้คำแนะนำ แต่เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมถูกคำสั่งย้ายและถูกสอบสวน

“ภาษีความหวาน” คำนี้จะมีแม่ค้าที่คั้นน้ำส้มขายยังชีพกี่คนรู้จัก
เมื่อไม่รู้จัก พอถูกล่อซื้อแม่ค้าก็ตกใจ หากรู้และเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายคงไม่ตกใจ ไม่งอมืองอเท้าให้เจ้าหน้าที่ล่อซื้อและจับกุมฝ่ายเดียว คงต้องสู้กันถึงโรงถึงศาลแน่
เรื่องนี้เห็นชัดว่า เจ้าหน้าที่เข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายจึงใช้จำนวน 500 ขวดให้ดูมาก เข้าข่ายอุตสาหกรรมล่อซื้อ จำนวนที่มากเป็นสิ่งเทียม ไม่ใช่ปกติ จึงดูไม่สุจริต
กฎหมายบางฉบับสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ได้ชัดเจน เช่น พรบ. ยาเสพติดให้โทษ และกฎหมายประกอบที่แยกผู้ค้ากับผู้เสพเพื่อให้เกิดการลงโทษและการบำบัด
แต่กฎหมายบางฉบับ เจตนารมณ์เข้าใจยาก ต้องตีความ เช่น พรบ. ลิขสิทธิ์ที่มีการจับกุมพ่อค้าซีดีลิขสิทธิ์ไม่กี่แผ่นในตลาดนัดเพื่อนำเงินไปซื้ออาหารให้ลูก หรือกระทงใส่รูปการ์ตูนลิขสิทธิ์ถูกล่อซื้อ 20 ใบจากเด็กนักเรียน ทุกเรื่องเป็นข่าวโด่งดังหลายปีก่อน
ครั้งนี้ก็มาเกิดกับแม่ค้าน้ำส้มอีก แล้วทุกเรื่องก็ค่อย ๆ เงียบลงไป รอเพียงการล่อซื้อ การจับกุมเรื่องใหม่ แบบนี้ผู้ค้ารายเล็ก ๆ ก็คงทุกข์ใจกับปัญหานี้ไม่รู้จบ
อย่าว่าแต่แม่ค้าไม่รู้กฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายเลย ต่อให้รัฐมนตรีก็เถอะ จะมีรัฐมนตรีสักกี่คนที่รู้กฎหมาย หากไม่มีข่าวออกมา
แม้จะไม่รู้ แต่หากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ มันก็ต้องเริ่มที่รัฐมนตรีทั้งที่ไม่รู้นั่นล่ะ
เมื่อมีข่าว รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณะสุข เป็นต้น ต้องหารือกันและบัญชาการให้เจ้าหน้าที่ออกมาสร้างความกระจ่างทันที และต้องออกมาบ่อย ๆ
เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร ข้อยกเว้น ข้อผ่อนผันมีอะไร แบบไหนต้องขึ้นทะเบียน แบบไหนไม่ต้อง การขึ้นทะเบียน อย. ยากง่ายอย่างไร หากยากก็ต้องทำให้ง่าย แบบไหนต้องเสียภาษี การวัดค่าความหวานทำอย่างไร และหากกฎหมายไม่ชัดเจนก็ต้องแก้กฎหมาย เป็นต้น
หลังให้ข่าว กระทรวงยังต้องประชาสัมพันธ์ให้บ่อย ทำประกาศ คำสั่ง แผ่นพับให้มาก แจกตาม อบต. ตลาดนัด และเขตชุมชนต่าง ๆ เพื่อขจัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน
เชื่อว่าวันนี้ แม่ค้าน้ำส้มอีกหลายคนก็ยังไม่รู้เลยว่าจะทำอย่างไรต่อ หลายคนก็ยังกังวลจะถูกล่อซื้อซ้ำรอย
รัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง แต่เมื่อมีเรื่องและรู้แล้ว ก็ต้องสร้างแนวทางให้มากขึ้น ให้ชัดเจนกับแม่ค้าน้ำส้ม พ่อค้าซีดีลิขสิทธิ์ หรือนักเรียนทำกระทงการ์ตูนลิขสิทธิ์ให้มากกว่านี้
ภาษีความหวานเป็นภาษีเพื่อสุขภาพประชาชน รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจึงควรทำให้เป็นภาษีดีตามเจตนารมณ์ ไม่ควรปล่อยให้เป็นภาษีร้ายทำลายขวัญประชาชนอีกต่อไป

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : June 22, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

อินโดนีเซียเปิดตัวท่าเรือบก GL Terminal ใน Jakarta

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานท่าเรือบกหรือสถานีจัดการและบรรจุตู้สินค้า (ICD) มาตรฐานระดับโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในอินโดนีเซีย ผู้ประกอบการสองรายในอินโดนีเซียได้ร่วมมือกันเปิดตัว บริษัท PT. Good Logistics (GL) Terminal หรือท่าเรือบก GL Terminal ในช่วงปลายปี 2020 โดยศูนย์ปฏิบัติการดังกล่าวมีฐานปฏิบัติการใน Jakarta ห่างจากท่าเรือ Jakarta เพียง 10 กิโลเมตร และสามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าได้ถึง 180,000 ทีอียูต่อปี โดยที่ท่าเรือบกแห่งใหม่นี้ นอกจากจะปฏิบัติการด้วยอุปกรณ์ยกขนสินค้าที่ทันสมัยแล้ว GL Terminal ยังได้เริ่มปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ และยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติการให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนให้แก่ผู้ใช้บริการด้วย

โดยทีมผู้ริเริ่มโครงการประกอบด้วย Mr. Pak Soehono Koenarto และ Mr. Paul Good ซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นเจ้าของและผู้บริหารในแวดวงธุรกิจโลจิสติกส์ การส่งออก การผลิต และธุรกิจกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) หลังจากดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซียมาเป็นเวลาหลายปี พวกเขาก็ตระหนักว่าอินโดนีเซียมีความต้องการท่าเรือบกที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และสามารถก้าวข้ามความท้าทายที่มีอยู่ในตลาดท้องถิ่นได้

Mr. Koenarto กล่าวว่า “เราเชื่อว่าอินโดนีเซียมีความต้องการศูนย์ปฏิบัติการระดับโลก เราจึงได้เปิดตัว GL Terminal โดยเป้าหมายของเราคือการเป็นผู้ให้บริการชั้นนำในตลาดนี้ และมอบผลิตภัณฑ์ซึ่งประกอบไปด้วย คุณภาพการให้บริการ การปฏิบัติการที่เป็นไปตามกฎระเบียบ มีความปลอดภัยต่อพนักงาน ความปลอดภัยต่อสินค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว”

ขณะเดียวกัน Mr. Good ได้กล่าวเสริมว่า “GL Terminal ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในการเพิ่มผลิตภาพ คุณภาพ และระดับการให้บริการ รวมทั้งเพื่อมอบบริการที่ได้มาตรฐานในระดับเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ”

ทั้งนี้ GL Terminal มีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่ใกล้กับถนนวงแหวนรอบนอกของ Jakarta และห่างท่าเรือ Tg Priok Jakarta เพียงไม่ถึง 10 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงทางหลวงสายหลักได้โดยตรง ทำให้สามารถตอบรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมไปถึงบริการนำเข้าและส่งออก และความต้องการในการกระจายสินค้าอีกด้วย

นอกจากนี้ GL Terminal ยังมีพื้นที่ลานคอนกรีตเปล่าขนาด 30,000 ตร.ม. ซึ่งสามารถขยายพื้นที่ปฏิบัติการรวมถึงอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าในการจัดวางตู้สินค้าหนักและตู้สินค้าเปล่าได้ ทีมบุคลากรยังได้รับการฝึกฝนในโครงการจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งยังปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐบาลในด้านแรงงาน และได้รับใบรับรองระดับนานาชาติจากสถาบัน Institute of International Container Lessors (IICL) โดยท่าเรือบกแห่งนี้สามารถรองรับตู้สินค้าราว 2,000 ทีอียูต่อวัน มีทางเข้า-ออกที่แยกระหว่างสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออก ซึ่งช่วยให้เข้า-ออกได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งยังมีบริการเสริมภายในสถานที่ที่หลากหลาย โดยนอกจากบริการจัดเก็บสินค้าแล้ว ยังมีบริการสำรวจ ซ่อมบำรุง ทำความสะอาด โดยสามารถติดต่อและปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง และมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : https://www.logistics-manager.com/th/experienced-management-team-launch-gl-terminal-an-innovative-and-digitally-focused-inland-container-depot-to-serve-jakarta-and-surrounding-areas/

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.