CEO ARTICLE
ผลจากยูเครน
เช้าวันพฤหัส 24 ก.พ. 2565 รัฐเซียเปิดฉากโจมตียูเครน สร้างสงครามบ้านพี่เมืองน้อง แต่ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น กระทบค่าระวางขนส่ง (Freight) และเศรษฐกิจทั่วโลก
สงครามยูเครนจะลงเอยอย่างไร และจะส่งผลกระทบต่อไทยมากน้อยเพียงใด ?
ในอดีต ยูเครนและอีกหลายประเทศเคยเป็นส่วนหนึ่งของ ‘สหภาพโซเวียต’ ที่เรืองอำนาจมาก และเป็นพี่ใหญ่ของประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์
ในปี พ.ศ. 2472 สหรัฐต้องการคานอำนาจจึงรวบรวมประเทศต่างๆตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO (North Atlantic Treaty Organization) ขึ้นโดยมีสัญญาว่า ประเทศสมาชิก NATO ประเทศใด ถูกสหภาพโซเวียตโจมตี ประเทศสมาชิกที่เหลือจะต้องเข้าช่วยเหลือ
ภายหลังการล่มสลาย สหภาพโซเวียตจึงกลายเป็นประเทศรัสเซียในปัจจุบัน ส่วน ‘คู่กัด’ ของโลก ‘ประชาธิปไตย’ และ ‘คอมมิสนิสต์’ คู่ใหม่ก็แทนที่โดย ‘สหรัฐและจีน’
รัสเซียยังเป็นประเทศใหญ่ ที่สงบนิ่ง แต่ก็น่าเกรงขามในโลกของคอมมิวนิสต์ที่อยู่ติดยูเครน
ประชาชนยูเครนแบ่งเป็น 2 ขั้ว ๆ หนึ่งยังอยากอยู่กับรัสเซียเนื่องจากมีวัฒนธรรมและภาษาเดียวกัน แต่อีกขั้วอยากอยู่ในโลกประชาธิปไตยจึงกลายเป็นความขัดแย้ง สุดท้ายก็มาจบที่การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสวิงไปมา ปี พ.ศ. 2562 ขั้วประชาธิปไตยกลับมาชนะ ‘นายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี’ ได้เป็นประธานาธิบดี จากนั้นก็พยายามนำยูเครนเข้าเป็นสมาชิก NATO เพื่อหวังพึ่งมหาอำนาจ รับความคุ้มครอง และยอมให้สหรัฐตั้งขีปนาวุธจ่อใส่รัฐเซียที่จึงสร้างความไม่พอใจให้กับรัสเซีย
รัสเซียทั้งเตือน ทั้งขู่ในฐานะพี่ใหญ่เตือนน้อง แต่ยูเครนก็ไม่ฟัง สหรัฐและ NATO ก็ดูเหมือนจะเกรงใจรัฐเซียรัสเซีย เหมือนจะยอมรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ไม่ยอมรับ
ไม่มีใครตอบได้ว่า การที่ประชาชนส่วนใหญ่ของยูเครนเลือกประชาธิปไตย และเลือกนายเซเลนสกีเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ลักษณะภูมิศาสตร์ และความถูกต้องหรือไม่ ?
แต่ผลในวันนี้ สงครามได้เกิดขึ้นแล้ว ความหายนะของยูเครนก็เกิดขึ้นแล้ว และคนยูเครนก็หนีตายลี้ภัยออกนอกประเทศนับหมื่น สหรัฐและ NATO จะช่วยเหลือยูเครนโดยอ้างความถูกต้องก็ได้ หรือจะปฏิเสธโดยอ้างยูเครนยังไม่ได้เป็นสมาชิก NATO ก็ได้อีกเช่นกัน
เหตุผลฟังได้ทั้ง 2 ทาง สุดท้ายก็เลือกทางปฏิเสธทำให้ยูเครนถูกโดดเดี่ยว
นักวิเคราะห์หลายท่านมองว่า หากมีประเทศใดเข้าช่วย หายนะใหญ่โตเกิดขึ้นแน่
แต่นี่สหรัฐ NATO และจีนต่างนิ่งเฉย เหมือนความรุนแรงในเมียนม่าที่นิ่งเฉยภายนอก ไม่ยุ่งเกี่ยว แบบนี้สงครามโลกครั้ง 3 ที่คนทั่วโลกกลัวก็คงยังไม่เกิดขึ้น
การตัดสินใจของผู้นำไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง และไม่ว่าจะในสงครามอาวุธ สงครามฝีปาก หรือสงครามเศรษฐกิจล้วนส่งผลต่อความสงบสุขของประชาชนทั้งสิ้น
ไม่ว่าภายใต้ระบอบการปกครองใด ผู้นำประเทศที่ดีควรมอง ‘ความสงบสุข’ ของประชาชนมาก่อน ไม่ใช่มองแต่อำนาจและผลประโยชน์ของตัวเองมาก่อน
สงครามยูเครนจึงน่าจะจำกัดอยู่แค่ 2 ประเทศ ส่วนประเทศใดค้าอาวุธก็คงทำได้แต่เพียงขายอาวุธสงครามทั้งในทางแจ้งและทางลับ ทำกำไรเพลิน
ยูเครนเล็กกว่ารัสเซียมาก คงยืนสู้ได้ไม่นาน การเจรจาเพื่อยุติสงครามก็น่าจะมีขึ้นในไม่ช้า
ส่วนผลจะจบลงอย่างไร และยูเครนจะเสียมากแค่ไหน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตอบว่า ‘คาดการณ์ไม่ได้’ (Unpredictable) เพราะยังมีปัจจัยที่ซับซ้อนอีกหลายด้านผสมกัน
แต่เมื่อถึงที่สุดแล้ว ทุกประเทศต่างก็คงเลือกผลประโยชน์ของตนไว้ก่อนทั้งสิ้น
รัสเซียอาจเป็นผู้ผิดที่เปิดฉากสงคราม แต่ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน ยูเครนในฐานะรัฐกันชนที่อยากเป็นอิสระ การช่วงชิงดินแดน และขีปนาวุธที่จ่อชายแดน ใครเป็นรัสเซียคงอยู่เฉยไม่ได้
สงครามครั้งนี้จึงให้หลายแง่คิด เช่น ความขัดแย้งภายในประเทศที่คิดว่าตัดสินได้ด้วยการเลือกตั้งก็อาจไม่ใช่ ความหวังให้ประเทศอื่นช่วยเหลือในยามคับขันที่อาจไม่สมหวัง เป็นต้น
รัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน แม้จะไม่ใช่รายใหญ่ของโลก แต่ก็ส่งผลด้านจิตวิทยาให้เกิดการกักตุน ราคาน้ำมันทั่วโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอยู่แล้วก็ขยับขึ้นไปอีก ราคาสินค้าอื่น ค่าบริการ และค่าระวางขนส่ง (Freight) จึงมีทีท่าจะขึ้นตามให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกของไทยเดือดร้อน
รัฐเซียนำเข้าจากไทยไม่น้อย เมื่อถูกสหรัฐและประเทศอื่นลงโทษด้วยการบอยคอต ไม่ขาย ไม่ซื้อสินค้า การส่งออก การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของไทยย่อมได้รับผลกระทบซ้ำเข้าไปอีก
วันนี้ มาตรการกดดันรัสเซียออกมาเรื่อย ๆ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกของไทยจึงควรติดตามข่าวสารให้ใกล้ชิด วางแผนป้องกันความผันผวนของค่าเงิน ราคาน้ำมันและค่าระวางขนส่ง (Freight) เพื่อป้องกันตัวเองให้มากที่สุด.
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : March 1, 2022
Logistics
ไห่หนานประกาศเตรียมเปิด Hainan Free Trade Port อย่างเป็นทางการ ในปี 2568
คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติมณฑลไห่หนาน ประกาศเตรียมเปิดเขตการค้าเสรีไห่หนาน (Hainan Free Trade port) อย่างเป็นทางการในปี 2568 ซึ่งหมายความว่าการนำเข้าและส่งออกของสินค้าจะดำเนินการผ่านศุลกากรเกาะไห่หนาน และการเดินทางเข้าสู่เกาะไห่หนานของนักท่องเที่ยวจะต้องผ่านการอนุญาตจากตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เช่นเดียวกับการไปเที่ยวต่างประเทศ การประกาศครั้งนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ หน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่เตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเขตการค้าเสรี ตามแผนพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ เช่น การจัดระบบการนำเข้าและส่งออก การวางโครงสร้างการบริการพื้นฐานของท่าเรือ การวางแผนและออกแบบระบบศุลกากรที่มีประสิทธิภาพ และวางรากฐานด้านการจัดการด้านอื่นๆ อย่างครอบคลุม สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างมณฑลไห่หนาน ประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถเปิดเขตการค้าเสรีไห่หนานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังเพื่อปรับปรุงข้อด้อยต่างๆ เตรียมพร้อมเปิดเขตการค้าเสรีไห่หนานในปี 2568 นี้
หนึ่งในเขตการค้าที่สำคัญในเกาะไห่หนาน คือ “ท่าเรือหยางผู่ (Yangpu Port)” ซึ่งถือว่าเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจของเกาะไห่หนาน (Economic Development Zone) โดยในปี 2564 เขตหยางผู่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสินค้าจากต่างประเทศกว่า 76% ที่ต้องการนำเข้าสู่เกาะไห่หนานจะต้องผ่านท่าเรือหยางผู่นี้ และการเติบโตของของเขตหยางผู่คิดเป็นร้อยละ 33 ของมณฑลไห่หนานทั้งหมด ความสำคัญของเขตหยางผู่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น ยังเชื่อมโยงไห่หนานกับนานาประเทศ และในช่วงเวลาที่ประเทศจีนกำลังเร่งพัฒนาภูมิภาคตะวันตก เขตหยางผู่คือเขตที่เชื่อมโยงภูมิภาคตะวันตกของจีนกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศและในประเทศร่วมกับอ่าวเป่ยปู๋ในมณฑลกวางสี กลายเป็นจุดเชื่อมต่อทางทะเลระหว่างจังหวัด เทศบาล และเขตปกครองตนเองในภาคตะวันตกของจีน เช่น ฉงชิ่ง เสฉวน กวางสี และกุ้ยโจว อีกทั้งเชื่อมต่อกับประเทศในกลุ่ม Belt and Road Initiatives (BRI) ซึ่งหมายความว่าการส่งออกของสินค้าที่ผลิตในเกาะไห่หนานและทางตะวันตกของจีน รวมถึงการนำเข้าจากกลุ่มประเทศ Belt and Road Initiatives (BRI) ล้วนสามารถใช้หยางผู่เป็นศูนย์กลางท่าเรือได้ นอกจากนี้เกาะไห่หนานยังใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบระดับภูมิภาคของหยางผู่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปและปิโตรเคมีอีกด้วย
ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย
การประกาศของเกาะไห่หนานครั้งนี้ ถือว่าเป็นการตอกย้ำความพร้อมเปิดเขตการค้าเสรีและมุ่งเน้นพัฒนาให้เกาะไห่หนานเป็นท่าเรือการค้าเสรีระดับสูงที่มีประสิทธิภาพและมีอิทธิพลระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจต่อคู่ค้านานาประเทศ ว่าการค้าในเขตการค้าเสรีไห่หนานจะมีความราบรื่น รวดเร็ว ผ่านการวางระบบศุลกากรที่มีมาตรฐาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมความพร้อมในการส่งออกสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นศึกษากฎระเบียบการนำเข้า ศึกษา negative list ศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่ เช่น เกาะไห่หนานถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวฤดูร้อนที่สำคัญของประเทศจีน โอกาสการทำธุรกิจด้านการบริการต่างๆ จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่ หรือชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในเกาะไห่หนานนิยมจับจ่ายบริโภคสินค้าในร้านค้าปลอดภาษี จึงทำให้ร้านค้าปลอดภาษีในเกาะไห่หนาน เป็นช่องทางการกระจายสินค้าที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่ง และการค้าในเกาะไห่หนานจะมีอัตราการแข่งขันสูงขึ้นในอนาคตแน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบการต้องพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสินค้าไทย เพื่อให้โดดเด่นกว่าสินค้าอื่นๆ ในท้องตลาด
https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/762105/762105.pdf&title=762105&cate=413&d=0
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!