CEO ARTICLE

สถาบันฯ

Published on May 23, 2023


Follow Us :

    

ภายหลังการเลือกตั้ง 2566 สถาบันพระมหากษัตริย์จะเป็นอย่างไร ???

ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในทางสังคม สถาบันฯ จึงอยู่สูงสุด ทรงได้รับการยกย่อง และการเทิดทูนจากประชาชน ส่วนในทางการเมือง สถาบันฯ ก็อยู่สูงสุดทั้งในทางกฎหมาย และการเทิดทูนไม่ต่างกัน
นักการเมืองใดจะขึ้นสู่อำนาจ จะใช้เงินแผ่นดินปีละนับล้านล้านบาท จะออกกฎหมาย จะแก้ไข ทหารจะรัฐประหาร และอื่น ๆ อีกมากก็ต้องทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระนามทั้งสิ้น
สมมุติไม่มีสถาบันฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นกับสังคมไทย
1. นักการเมืองจะมีอำนาจสูงสุดแทนที่ จะพาประเทศไปร่วมกับมหาอำนาจใดก็ได้
2. นักการเมืองและข้าราชการไม่ว่าดีหรือเลวจะไม่เกรงกลัว และขึ้นสู่ตำแหน่งได้ทันที
3. นักการเมืองและข้าราชการดีจะหมดกำลังใจ โดนรังแก และไม่มีการถวายฎีกา
4. การพาประเทศไทยไปอยู่ในความเสี่ยงท่ามกลางความขัดแย้งโลกก็เกิดขึ้นได้ง่าย
5. การปลุกปั่น ยุงยงให้คนไทยทะเลาะกัน แตกความสามัคคีเพื่อให้ได้อำนาจจะทำได้ง่าย
6. ประชาชนจะขาดศูนย์รวมใจ ความคิดเสียสละเพื่อบ้านเมืองจะลดลง
7. การทุจริต พฤติมิชอบจะเกิดได้ง่าย และทำให้ประเทศล่มสลายได้ง่าย
8. ไทยจะแตกออกเป็นประเทศหลายประเทศ เช่น ไทยเหนือ ไทยใต้ ไทยอิสานได้ง่าย

คนเทิดทูนสถาบันฯ จะอ้างลาว กัมพูชา เมียนม่า เวียตนามที่ไม่มีสถาบันฯ และไม่เจริญ ส่วนคนไม่เทิดทูนสถาบันฯ จะอ้างฝรั่งเศส เกาหลีใต้ที่เจริญโดยไม่มีสถาบันฯ
แต่คนไทยปัจจุบันเกิดจากการผสมคนหลายเชื้อชาติ ต่างจากฝรั่งเศส หรือเกาหลีใต้ ความรักชาติ รักแผ่นดินของสังคมไทยจึงเสื่อมลงง่ายส่งผลให้วัฒนธรรม และความเป็นชาตินิยมที่เคยมีมากในอดีตเสื่อมลงไปด้วย
นักการเมืองที่ขาดความเป็นชาตินิยมจึงมีมากขึ้น การพัฒนาการศึกษาจึงเป็นไปอย่างผิดครรลอง ทัศนคติต่อสถาบันฯ จึงเปลี่ยนไป แนวคิดการไม่มีสถาบันฯ ที่เคยมีในปี 2475 จึงผุดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้น คณะราษฎรสายฝรั่งเศสเห็นว่าต้องกำจัดสมาชิกในราชวงศ์ให้หมดไป ต้องล้มล้างสถาบันฯ และเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นสาธารณรัฐทันที
แต่คณะราษฎรส่วนใหญ่ที่ยังมีความจงรักภักดีไม่ยอม สถาบันฯ จึงยังคงรักษาไว้ได้
นับแต่นั้น แนวคิดคณะราษฎรสายฝรั่งเศสจึงถูกซ่อนไว้ และจะแสดงตนเมื่อเปลี่ยนรัชกาลเช่นในสมัย ร. 9 จนจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ทำการรัฐประหาร เรื่องการต่อต้านจึงสงบลง
ในด้านประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้นำทางการทหาร เป็นศูนย์กลางประชาชนในการต่อสู้ และในการรวบรวมผืนแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่นมานับร้อย ๆ ปี
คณะราษฎรส่วนใหญ่จึงยังภักดี และส่งต่อความภักดีมาให้ประชาชนเทิดทูน จนถึงวันนี้
หากวันนี้ ประชาชนมีความรู้ เข้าใจระบอบการปกครอง มีความเป็นชาตินิยมอย่างแท้จริงก็จะเลือกนักการเมืองด้วยความเป็นชาตินิยม และจะควบคุมนักการเมืองให้ไปทางนั้น
แต่เพราะความเป็นชาตินิยมลดลง ความเป็นส่วนตัวสูงขึ้น การถูกชักจูงจึงเกิดได้ง่าย
ในอดีตนักการเมืองก็รู้ มองออก ตอนหาเสียงจึงเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ส่วนตัวเพื่อให้ได้คะแนน เมื่อได้เป็นรัฐบาล เรื่องที่ทำได้ก็คือผลงาน ส่วนที่ทำไม่ได้ก็มักอ้างเหตุมากมายแล้วจบไป
ปัจจุบัน ความเป็นชาตินิยมยิ่งลดลงมาก อาจไม่ถึงครึ่งเมื่อเทียบกับปี 2475 ด้วยซ้ำ
การแย่งชิงคะแนนเสียงจากคนรุ่นใหม่ด้วยประชานิยมจึงไม่เพียงพอ การโจมตีรัฐบาลเดิมก็ไม่เพียงพอ ประจวบกับการเปลี่ยนรัชกาลใหม่ แนวคิดคณะราษฎรสายฝรั่งเศสที่ซ่อนไว้จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
เมื่อรวมกับการปฏิรูปสังคมและการเมืองที่ไม่ดีขึ้น และอารมณ์เบื่อรัฐบาลเดิมที่พุ่งแรงขึ้น ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาจึงกระทบต่อสถาบันฯ อย่างน่าตกใจ
แม้คะแนนที่ได้จะไม่ถึงครึ่งของคนทั้งประเทศ และแม้คนที่เลือกอาจไม่มีเจตนาจะกระทบสถาบันฯ ก็ตาม แต่ก็สร้างความตื่นตระหนกระดับหนึ่งให้แก่คนที่เฝ้ามองด้วยเหตุผลง่าย ๆ เพราะคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์จากการมีสถาบันฯ และคนอีกกลุ่มก็ได้ประโยชน์จากการไม่มีสถาบันฯ
วันนี้ วัฒนธรรม ความเป็นชาตินิยม และการเทิดทูนสถาบันฯ จะเป็นอย่างไรจึงเป็นหน้าที่ของนักการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้งจะนำทาง และเป็นหน้าที่ของประชาชนที่เป็นผู้เลือกจะร่วมกันควบคุมนักการเมืองให้นำพาไปในทางที่ประชาชนต้องการเท่านั้น
(ข้อมูลอ้างอิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ MGR Online เผยแพร่ 7 มิ.ย. 2564)

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
👉  Home and Health … https://www.inno-home.com
👉  Art and Design …… https://www.cose.life

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : May 23, 2023

Dr. Sitthichai Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

จีนก้าวขึ้นสู่ผู้นำการส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่ระดับโลก

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมด้านพลังงานใหม่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั่วโลก จีนได้มีการสนับสนุนวิจัยพัฒนาด้านพลังงานใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยจีนให้ความสำคัญกับสินค้าพลังงานใหม่ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ รถยนต์พลังงานใหม่ แบตเตอรี่ลิเธียม และโซล่าเซลล์จากแสงอาทิตย์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีการเติบโต และได้รับความนิยมสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าพลังงานใหม่ 3 ประเภทหลักสูงถึง 264,690 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.9 ส่งผลให้อัตราการเติบโตของการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2

อัตราการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 โดยมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า 64,750 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 122.3 คิดเป็นร้อยละ 43.9 ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมดของจีน ในขณะที่ แบตเตอรี่ลิเธียมที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของยานพาหนะก็มีการเติบโตอย่างโดดเด่นไม่แพ้กัน โดยในไตรมาสแรกของปี 2566 มูลค่าการส่งออกแบตเตอรี่ลิเธียมสูงถึง 109,790 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.3

จากการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพสินค้าที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับประเทศจีน ในการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโลกสีเขียว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน ด้วยผลกระทบจากหลายปัจจัย บวกกับการแข่งขันในตลาดรถยนต์ในประเทศทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้บริษัทรถยนต์หลายแห่งในประเทศเริ่มที่จะให้ความสำคัญในการขยายไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมเริ่มมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ สินค้าด้านพลังงานใหม่ “Made in China” ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลจากศุลกากรจีน แสดงให้เห็นว่า ในปี 2565 ปริมาณการส่งออกรถยรต์ของประเทศจีนสูงถึง 3.11 ล้านคัน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยแซงหน้าผู้ส่งออกรายใหญ่อย่างเยอรมนี จีนขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น ในจำนวนนี้ มีการส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่ถึง 679,000 คัน เพิ่มขึ้นถึง 1.2 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่จากทั่วโลก

ในปี 2566 การส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่ยังคงขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศจีน ระบุว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 จีนส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่แล้ว 248,000 คัน เพิ่มขึ้น 1.1 เท่า โดยรถยนต์พลังงานใหม่อย่างแบรนด์ BYD, CHERY และ NETA เป็นต้น มีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 นอกจาก รถยนต์พลังงานใหม่จะมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นแล้ว การส่งออกผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ลิเธียมก็ยังมีแนวโน้มพัฒนาเติบโตขึ้นเช่นกัน ในประเทศแถบอเมริกาและยุโรปมีนโยบายสมทบเงินในด้านรถยนต์พลังงานใหม่ บวกกับความต้องการแบตเตอรี่ลิเธียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศแถบอเมริกาและยุโรปกลายเป็นตลาดศักยภาพในการบริโภคแบตเตอรี่ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกแบตเตอรี่ลิเธียมของจีนอยู่ที่ 109,790 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.3 ปริมาณการส่งออกคิดเป็น 25.8 GWh คุณ Zhao Weijun ประธานบริษัท Envision AESC กล่าวว่า ในปี 2568 คาดว่าความต้องการแบตเตอรี่ลิเธียมในตลาดต่างประเทศจะสูงถึง 400GWh ผู้เล่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีกำลังการผลิตที่มั่งคง สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างเพียงพอ จะกลายเป็นผู้ได้รับโอกาสในการแข่งขัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดแบตเตอรี่ในประเทศยุโรปและอเมริกาขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด มีกฎเกณฑ์ในการจดทะเบียนลงทุนในต่างประเทศค่อนข้างต่ำ บริษัทผู้ผลิตด้านแบตเตอรี่รายใหญ่ในประเทศหลายแห่งวางแผนเข้าไปจดทะเบียนลงทุนในต่างประเทศ เพื่อดึงดูดเงินทุน ขยายตลาดและสร้างอิทธิพลระหว่างประเทศ

ในอนาคตการส่งออกแบตเตอรี่ลิเธียมของจีนอาจจะต้องเผชิญกับข้อจำกัดเพิ่มขึ้นหลายด้าน อาทิ สหภาพยุโรปมีการออกนโยบาย เรียกเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 และตั้งแต่ปี 2569 สหภาพยุโรปจะลดโควต้าลดหย่อนภาษีนำเข้าคาร์บอนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ตามกฎหมายแบตเตอรี่ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป และยังมีการตรวจสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่พลังงานต่างๆ ซึ่งจะกําหนดเกณฑ์มาตรฐานที่แน่นอนขึ้นในปี 2570 ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานจะไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน :
ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจสินค้าและบริการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ก็กลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนจากทั่วโลกเป็นอย่างมาก ซึ่งจีนได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในตลาดรถยนต์และแบตเตอรี่ไฟฟ้าของโลก การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์จีนจะเป็นหนึ่งในโอกาสของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในการสร้างโอกาสกาสการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ เพื่อยกระดับตลาดยานยนต์ไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต ส่งออกอะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าไปสู่ตลาดโลกในอนาคต นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมยางพารา ในการผลิตชิ้นส่วนประกอบในรถยนต์อย่าง ล้อรถ ท้อยาง และแผ่นพลาสติกรถยนต์เป็นต้น ในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/105200

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.