CEO ARTICLE

ความภักดีที่เปลี่ยนไป

Published on July 4, 2023


Follow Us :

    

ความภักดีคืออะไร และเมื่อเปลี่ยนไปผู้นำควรดำเนินการอย่างไร ???

ความภักดี หรือความจงรักภักดี (Loyalty, Faithfulness, หรือ Allegiance) คือ ความเชื่อมั่น ความนับถือ ความเคารพ ความศรัทธา ความระลึกถึง และความเลื่อมใสอย่างไม่เสื่อมคลายของคนหมู่มากที่มีต่อผู้นำ กลุ่มผู้นำ องค์กร ประเทศ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ความภักดีเกิดขึ้นเกิดโดยธรรมชาติ เกิดจากจิตใจ เกิดอย่างช้า ๆ ใช้เวลานาน บังคับกันไม่ได้ และเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น
1. การให้ด้วยใจบริสุทธ์ ให้ความรู้ ให้สิ่งดีงามของผู้นำ
2. การทำให้บุคลากรเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่า และมีภาพลักษณ์ดี
3. การรับด้วยหลักการ เหตุผล และความพึงพอใจของผู้รับ
4. ความเป็นผู้นำ และภาวะผู้นำที่สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ติดตาม
5. วัฒนธรรมที่ดีและได้รับการส่งเสริมให้ปฏิบัติสืบต่อกัน
ปัจจัยอื่นยังมีอีก และทุกปัจจัยจะเชื่อมกันเป็นห่วงโซ่ (Chain) ด้วยวัฒนธรรม (Culture) จนเป็นความภักดี เมื่อใดวัฒนธรรมถูกละเลย ถูกทำลาย เมื่อนั้นความภักดีจะเสื่อม และเปลี่ยนไป
ความภักดีเป็นประโยชน์ต่อผู้นำและคนหมู่มาก และเป็นเรื่องที่ทุกสถานที่ต้องการ
สถานที่ใดเกิดความภักดี สถานที่นั้นจะมีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนหมู่มาก มีความสามัคคี มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
คนผู้หนึ่งจะยินดีทำเพื่อคนหมู่มาก และคนหมู่มากก็จะยินดีทำเพื่อคนผู้หนึ่งตามคำกล่าวที่ว่า “One for All, All for One” (The Man in the Iron Mask 1988)

วัฒนธรรม คือ ระบบสังคม ความเชื่อ และพฤติกรรมที่มนุษย์คิดขึ้น สร้างขึ้น หลากหลายกิจกรรมจนเป็นห่วงโซ่ และมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี (Tradition)
องค์กรแต่ละแห่ง ประเทศแต่ละประเทศจะมีวัฒนธรรมที่ต่างกันตามสภาพประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน และอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนหมู่มาก
วัฒนธรรมบางอย่างเป็นที่ยอมรับมากและพัฒนาไปเป็นกฎ ระเบียบขององค์กรและสังคม เช่น การมาเช้า ไปมาลาไหว้ การยืนแสดงความเคารพ การโค้งคำนับ การแสดงความกตัญญู การแต่งชุดนักเรียน หรืออาจพัฒนาไปเป็นกฎหมาย (Law) เช่น การทิ้งขยะจะถูกปรับ เป็นต้น
วัฒนธรรมจึงมีหลากหลาย แต่ต้องเกิดจากการปฏิบัติสืบต่อกันอย่างเป็นห่วงโซ่ของคนรุ่นเก่าจนกลายเป็นความภักดีอย่างช้า ๆ และส่งต่อความภักดีเป็นทอด ๆ สู่คนรุ่นใหม่
ดังนั้น เมื่อความภักดีเปลี่ยนไป ผู้นำจึงควรพิจารณาห่วงโซ่วัฒนธรรมใดขาดหาย เสื่อมลง เร่งฟื้นฟู ใช้ภาวะผู้นำสร้างการให้ สร้างคุณค่า ภาพลักษณ์ ส่งเสริมคนรุ่นเก่า ส่งเสริมวัฒนธรรมให้ได้รับการปฏิบัติ และสร้างการมีส่วนร่วมของคนทุกรุ่นในห่วงโซ่วัฒนธรรมต่าง ๆ
แต่หากผู้นำต้องการเปลี่ยนความภักดีมาสู่ตน ต้องการคนหมู่มากให้ทำเพื่อคนผู้หนึ่ง หรือทำเพื่อกลุ่มผู้นำ ผู้นำก็ต้องสร้างห่วงโซ่วัฒนธรรมขึ้นใหม่ แม้จะดูไร้รากไร้ที่มา ฉาบฉวย เรียนแบบวัฒนธรรมผู้อื่นก็ต้องทำให้ได้เพื่อสร้างความภักดีต่อคนผู้หนึ่งขึ้นแทนที่
องค์กรต้องการความภักดีต่อองค์กร ประเทศก็ต้องการความภักดีต่อประเทศไม่ต่างกัน
เมื่อเป็นประเทศก็ต้องมีการเมือง มีผลประโยชน์ มีการแย่งชิงอำนาจ และมีความขัดแย้ง มันจึงเป็นเรื่องของผู้นำทางการเมืองที่จะต้องการคนหมู่มากให้ทำเพื่อคนผู้หนึ่งมากเพียงใด
หากต้องการมาก หรือต้องการคะแนนนิยมมาก ผู้นำก็ต้องเปลี่ยนห่วงโซ่วัฒนธรรมดั้งเดิมให้มาก เปลี่ยนกฎ ระเบียบ และรวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปลี่ยนความภักดีมาสู่ตน
ความภักดีที่เปลี่ยนไปในระดับองค์กรสามารถกู้กลับคืนได้ไม่ยาก
แต่ความภักดีที่เปลี่ยนไปในระดับประเทศจะกู้กลับคืนได้ยากกว่า เหตุผลเพราะวัฒนธรรมดั้งเดิมในระดับประเทศจะเป็นห่วงโซที่ดูล้าหลัง คนหมู่มากที่เป็นรุ่นใหม่ไม่ชอบ และยินดีที่จะเพื่อคนผู้หนึ่งให้ช่วยเปลี่ยนโดยไม่สนใจว่า คนผู้หนึ่งจะยินดีทำเพื่อคนหมู่มากได้จริงแค่ไหน
“One for All, All for One” ที่เป็นความภักดีในภาพยนต์ แต่ในทางการเมืองก็อาจเปลี่ยนไปไม่เหมือนกันก็ได้.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
👉  Home and Health … https://www.inno-home.com
👉  Art and Design …… https://www.cose.life

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : July 4, 2023

Dr. Sitthichai Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

กระดาษคราฟท์สีน้ำตาล โอกาสในการส่งออกไปในอินเดีย

อินเดียมีการนำเข้ากระดาษและกระดาษแข็งที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ ข้อมูลจากหน่วยงานด้านสถิติการค้าของอินเดีย (DGCIS) ระบุว่าในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา (เมษายน 2565 – มีนาคม 2566) มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 52,331 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 47% ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 35,631 ล้านบาท โดยพบว่าเป็นการนำเข้าจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นถึง 97% โดยเฉพาะการนำเข้ากระดาษที่ยังไม่ได้เคลือบผิว (Uncoated Paper) และกระดาษสำหรับสิ่งพิมพ์ที่มีการนำเข้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้นถึง 102% โดยอินเดียนำเข้าจากอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ มากที่สุดตามลำดับ สำหรับกระดาษที่เคลือบผิวแล้วมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 51% โดยเฉพาะจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ในขณะที่ การนำเข้าเยื่อกระดาษขยายตัวประมาณ 41%

ด้านสมาคมผู้ผลิตกระดาษในอินเดีย Indian Paper Manufactures Association (IPMA) ให้ความเห็นว่าอินเดียมีความต้องการใช้กระดาษเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และเรียกร้องให้ภาครัฐพิจารณาสนับสนุนการเพิ่มกำลังการผลิตภายในประเทศและออกมาตรการที่ชะลอการนำเข้า โดยอาจใช้มาตรการควบคุมด้านคุณภาพ (Quality Control Order) ในขณะที่สมาพันธ์ผู้ค้ากระดาษ หรือ Federation of Paper Traders’ Associations of India (FPTA) ซึ่งประกอบไปด้วย 37 สมาคมที่เกี่ยวข้อง มองว่าการใช้กระดาษในอินเดียไม่ได้สูงขึ้นมากนักหากเทียบกับช่วงก่อนภาวะโควิด

นอกจากนี้ สินค้าที่อินเดียมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นคือเศษกระดาษที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปนำไปใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษ(Recycled Pulp) และต่อยอดเป็นกระดาษลูกฟูก (Kraft Paper) สำหรับผลิตกล่องบรรจุสินค้ารองรับการค้าออนไลน์ที่กำลังขยายตัว สมาคมบรรจุภัณฑ์ของอินเดีย (Packaging Industry Association of India) คาดการณ์ว่าตลาดบรรจุภัณฑ์ในอินเดียจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2563 ถึง 2568 โดยจะเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 26.7% ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราเติบโตสูงสาขาหนึ่งในห้าของอินเดีย
(ที่มา www.thepulpandpapertimes.com มิถุนายน 2566)

ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น
ปัจจุบันอินเดียต้องนำเข้าเศษกระดาษและกล่องกระดาษใช้แล้ว (Waste Paper) จากต่างประเทศมาผลิตเยื่อกระดาษ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของวัตถุดิบทั้งหมด โดยอินเดียนำเข้าจากประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาส่งมีราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศพัฒนาแล้วเช่นกัน อินเดียจึงได้แก้ไขปัญหานี้ด้วยหันไปนำเข้ากล่องและกระดาษลูกฟูกที่ใช้แล้วจากเวียดนาม มาเลเซีย และไทย โดยพบว่ามีการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในสินค้าพิกัด HS Code 4804.39 และ 4804.21 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ว่าไทยน่าจะสามารถขยายตลาดในอินเดียได้อีก

แม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะมีนโยบายพึ่งพาตนเองและยกระดับการผลิตภายในประเทศ แต่เนื่องจากสินค้ากระดาษเป็นสินค้าขั้นกลาง (Intermediate Goods) ที่สามารถสร้างงานและรายได้ในประเทศได้ด้วย อินเดียจึงยังไม่ได้มีมาตรการออกมาเพื่อลดการนำเข้าในระยะ 1-2 ปีนี้

ที่มา : https://www.ditp.go.th/post/132365

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.