CEO ARTICLE
ภาษีมีไว้ทำไม ?
ภาษีจะมีไว้ทำไมในเมื่อปัจจุบันสินค้านำเข้าส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้นภาษี ?
“ภาษี” และ “อากร” มีความหมายต่างกัน (บทความที่ 748 เผยแพร่วันที่ 08 พ.ย. 65) แต่มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคมเหมือนกัน
ในการนำเข้า ภาษีตัวแรกที่ต้องเสียคือ “อากรขาเข้า” ที่ใช้เป็นกำแพงป้องกันประเทศ หรือที่เรียกว่า “กำแพงภาษี” เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ ป้องกันวัฒนธรรมจากการบริโภคสินค้าต่างชาติ ส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่ผลิตในประเทศ ป้องกันค่าเงินบาทผันผวน ใช้กระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตให้เกิดสินค้าใหม่ ๆ ภายในประเทศ และการจ้างงาน
อากรขาเข้าคือกำแพงภาษีที่ชัดเจน สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ในอดีตจึงยอมเสียอากรขาเข้า
แต่ปัจจุบันอัตราอากรขาเข้าลดลงมาก ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายในประเทศก็มาก เช่น จากการส่งเสริมการลงทุน (BOI) คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ประเภทต่าง ๆ เขตยกเว้นอากร (Free Zone) และจากสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
ส่วนสินค้านำเข้าที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายในประเทศ ปัจจุบันส่วนใหญ่ก็อยู่ในบัญชีข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA (Free Trade Agreement)
FTA เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีระหว่างประเทศ สินค้าที่อยู่ในบัญชีข้อตกลงจะได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 ซึ่งผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะทราบและใช้สิทธิ์
แต่ผู้นำเข้าบางท่านไม่ทราบยังจมอยู่กับกำแพงภาษี และยังยอมเสียอากรขาเข้า
ขณะที่ตัวแทนออกของ (Customs Broker) บางท่านละเลย สั่งให้เสียก็เสีย ไม่แนะนำใด ๆ ยังจำภาพเดิมคล้ายหลงอยู่กับกำแพงภาษีจึงเดินพิธีการให้ผู้นำเข้าเสียอากรขาเข้า
ในเมื่อโลกเข้าสู่ FTA ไปมากแล้ว ทุกครั้งที่มีการนำเข้า ผู้นำเข้าจึงควรรู้ว่า หากซื้อสินค้าจากประเทศที่มี FTA กับไทย สินค้าเหล่านั้นก็ต้องได้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า
ประเทศที่มี FTA กับไทยมีมากมาย เช่น ประเทศในกลุ่มอาเซียน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี ฮ่องกง และอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกมาก
FTA ทำลายกำแพงภาษีลงไปเรื่อย ๆ แบบนี้ภาษียังจะมีไว้ทำไม ?
การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้า FTA ไม่ใช่อยู่ ๆ นึกจะยกเว้นก็ขอยกเว้นได้ทันที แต่มีกระบวนการที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. สินค้าที่จะนำเข้าต้องได้รับการตรวจสอบก่อนว่าอยู่ในข้อตกลง FTA ระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้ขายหรือไม่ หากอยู่ สิทธิการยกเว้นอากรขาเข้าจึงจะเกิดขึ้น
2. หากอยู่ในข่ายได้รับยกเว้นอากร ผู้นำเข้าก็ควรตรวจสอบพิกัดศุลกากรให้ถูกต้องก่อน หรือมอบให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) ตรวจให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นสินค้ารายเดียวกันหรือไม่
3. พิกัดสินค้าเป็นเรื่องสำคัญ อย่าปล่อยให้ผู้ขายต่างประเทศใส่พิกัดอะไรก็ได้ลงมาในใบรับรองถิ่นกำเนิด (Certificate of Origin) ประเภทต่าง ๆ โดยพละการณ์ซึ่งอาจไม่ตรงกับประเทศไทย และอาจทำให้สิทธิการยกเว้นอากรขาเข้าหมดไป
4. ใบรับรองเมืองกำเนิดยังต้องระบุข้อมูลอื่นอีก ผู้นำเข้าจึงควรสื่อสารกับผู้ขายให้ชัดเจน
5. ผู้นำเข้าอาจมอบผู้จัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Service Provider) หรือผู้ขนส่งอื่นให้จัดการข้อ 3-4 และเป็นผู้ประสานกับผู้ขายต่างประเทศให้เกิดความถูกต้องก็ได้
6. หากผู้นำเข้าไม่อยากวุ่นวายก็ซื้อสินค้าในราคาหน้าโรงงาน หรือราคา EXW (Ex-Works) และมอบให้โลจิสติกส์ระหว่างประเทศไปรับสินค้า ณ ที่ทำการผู้ขายต้นทาง เป็นผู้ตรวจสอบใบรับรองเมืองกำเนิดให้ได้ยกเว้นอากร และเป็นผู้เคลื่อนย้ายสินค้ามาส่งมอบ ณ ที่ทำการผู้นำเข้าก็ได้
กระบวนการเพื่อการยกเว้นอากรขาเข้าของ FTA จึงสำคัญมาก เหมือนจะยกเว้นให้ แต่ไม่ให้ง่าย ๆ หากทำผิด ทำพลาดจากกระบวนการก็จะตามมาด้วยความผิด ค่าปรับ และอากรขาเข้าที่จะหวนกลับมาทำหน้าที่กำแพงภาษีเช่นเดิม
กระบวนการของ FTA นี้ทำให้เห็นว่า อากรขาเข้ายังเป็นที่หวงแหน ยังเป็นกำแพงภาษี ยังจำเป็นเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ การจ้างงาน และอื่น ๆ
ด้วยเหตุนี้ อากรขาเข้าที่ได้ยกเว้นก็ยกไป ส่วนที่ไม่ได้ยกเว้นก็ยังเป็นกำแพงภาษีใช้ป้องกันและคุ้มครองประเทศ สร้างความเท่าเทียมในสังคม ยังเป็นรายได้ของรัฐในการพัฒนาประเทศ และเป็นคำตอบว่า ภาษีมีไว้ทำไม.
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
👉 Home and Health … https://www.inno-home.com
👉 Art and Design …… https://www.cose.life
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : October 24, 2023
Logistics
บอกลา QR Code! วีแชทเปิดตัวบริการ “ชำระเงินด้วยฝ่ามือ”
เมื่อเดือนกันยายน 2566 ระบบชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันยอดนิยมของจีน WeChat Pay เปิดให้บริการ “ชำระเงินด้วยฝ่ามือ” (WeChat Palm Payment) ที่ 7-Eleven ในมณฑลกวางตุ้งทุกสาขา
ในช่วงที่ผ่านมา WeChat Pay ได้ทดสอบการให้บริการชำระเงินด้วยการแสกนฝ่ามือที่ 7-Eleven บางสาขาซึ่งประสบความสำเร็จและเปิดให้บริการทุกสาขาเมื่อเดือนกันยายน นับว่า 7-Eleven เป็นร้านสะดวกซื้อกลุ่มแรกของจีนที่สนับสนุนการชำระเงินด้วยฝ่ามือ หรือ WeChat Palm Payment ปัจจุบัน 7-Eleven กว่า 1,500 สาขาในมณฑลกวางตุ้งเปิดให้ใช้งานบริการ WeChat Palm Payment แล้ว และคาดว่าจะสามารถขยายการบริการชำระเงินดังกล่าวไปยังร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ ภายในจีนต่อไปในอนาคตอันใกล้
WeChat Pay ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัท Tencent ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ยังนำบริการดังกล่าวไปใช้กับรถไฟฟ้าใต้ดินเส้นทางท่าอากาศยานต้าซิ่ง (Daxing Airport Express) ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งผู้โดยสารสารมารถชำระค่าบริการด้วยฝ่ามือเมื่อเข้า – ออกสถานีฯ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการดังกล่าวแล้วกว่าหลายแสนครั้ง นอกจากนี้ WeChat Pay ร่วมกับกับธุรกิจออกกำลังกาย Supermonkey ซึ่งให้บริการสแกนฝ่ามือเพื่อเปิดประตู ลงชื่อเข้าคอสเรียน และชำระค่าสินค้า เป็นต้น
นับตั้งแต่การใช้ QR Code จนไปถึงการสแกนใบหน้า “เทคโนโลยีการชำระเงินด้วยฝ่ามือ” นับว่าเป็นการยกระดับประสบการณ์การให้บริการชำระเงินและการบริการอื่น ๆ ของจีนไปอีกขั้น ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวจะคอยติดตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!