CEO ARTICLE
คุณค่าของคน
ผู้นำจะเพิ่มคุณค่าของคนที่กำลังลดลงให้มากขึ้นอย่างไร ?
เม็ดทรายมีคุณค่าของเม็ดทราย คนก็มีคุณค่าของคน
“คุณค่า” (Value) เกิดจากประโยชน์อันถูกต้องชอบธรรมที่ผู้อื่นได้รับ
คนที่อยู่คนเดียว ทำงานคนเดียว คน ๆ เดียวจะทำอะไร และจะทำอย่างไรก็ได้ตราบเท่าที่ตนเองคิดว่าได้ประโยชน์ และพอใจโดยไม่จำเป็นต้องใส่ใจผู้อื่น
แต่หากอยู่กันหลายคน อยู่เป็นครอบครัว หรือทำงานเป็นทีม คุณค่ากลายเป็นเรื่องสำคัญมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ปีของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา
คนต้องเว้นระยะห่าง ต้องทำงานคนเดียวที่บ้าน หรือ WFM (Work from Home) แม้จะมีระบบงานให้ปฏิบัติ แม้จะมีหน้าที่ประจำกำกับไว้ แต่พออยู่คนเดียว ประโยชน์อันถูกต้องชอบธรรมที่ผู้อื่นควรได้แม้ยังมี ยังได้ แต่ส่วนใหญ่ลดลง และทำให้คุณค่าของคนผู้นั้นลดลงไปด้วย
พอเข้าสู่ปี 2567 สถานการณ์ Covid-19 เริ่มเบาบาง แต่หลายคนเคยชินกับการทำงานคนเดียวไปแล้ว บางคนอายุมากขึ้นจนทำให้คุณค่าที่ควรมีของแต่ละคนลดลง
เมื่อร่วมทีมกับคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบ ไฟแรง คึกคัก เอาแต่ทำงาน อยากเรียนรู้ เจอแบบนี้คุณค่าของคนรุ่นเก่าบางคนก็ยิ่งลดลงจนอาจไม่เหลือคุณค่าให้สัมผัส
ปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หากไม่มีการบริหารจัดการใด ๆ คนย่อมเสื่อมลงเป็นธรรมชาติ คุณค่าย่อมลดลง สลายตัว และหมดไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ
พอมีคำว่า “บริหาร” และ “จัดการ” มันก็หนีไม่พ้นหน้าที่ของผู้นำทุกระดับไม่ว่าครอบครัว องค์กร หรือที่ใดที่ต้องมองให้ออก และต้องวางระบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าของทุกคนให้มากขึ้น
ปี 2566 ผ่านไปแล้ว ผู้นำที่ดีต้องมองย้อนได้ มองให้เห็นสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดควรปรับ ปรุงแก้ไข พอเข้าสู่ต้นปี 2567 ระบบงานที่ควรแก้ไขต้องเริ่มต้นแล้ว
การเริ่มต้นของปีจึงเป็นห้วงเวลาให้เริ่มพัฒนาคุณค่าของคนควบคู่กับการพัฒนาเนื้องาน
1. ด้านทัศนคติ
ช่วง Covid-19 ทำให้คนเข้าใจโลกและส่วนรวมมากขึ้น แต่หลายคนเข้าใจน้อยลง มองในทางลบมากขึ้น ทัศนคติแย่ลง การปรับปรุงทัศนคติให้ไปทางเดียวกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ผู้นำควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีเจตนารมณ์เพื่อพัฒนาทัศนคติ เช่น การจัดประชุมส่วนย่อยทุกสัปดาห์ มีวาระชัดเจน มีการจัดประชุมใหญ่ทุกเดือน มีการพูดคุยตัวต่อตัว (One on One) กับฝ่ายบริหาร ให้โอกาสคนในทีมสื่อสารได้ 2 ทางเพื่อเรียนรู้และพัฒนาทัศนคติแต่ละคน
2. ด้านการเรียนรู้ภายใน
คนรุ่นใหม่มีไฟแรง มีพลัง มีความรู้ มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ขาดประสบการณ์ และยังขาดคุณค่า ส่วนคนรุ่นเก่าไฟกำลังมอด ขาดพลัง คุณค่ากำลังลดลง แต่มีประสบการณ์สูง
ผู้นำควรจัดทำหัวข้อที่ควรเรียนรู้ จัดทำเนื้อหา จัดเวลาที่เหมาะสม และจัดให้คนรุ่นเก่ามีโอกาสได้เล่าประสบการณ์จากเนื้อหาดังกล่าวให้คนรุ่นใหม่ฟัง
เนื้อหาที่จัดเป็นเพียงทฤษฏี หรือแนวทางที่แสดงให้เห็นว่า 1 + 1 จะได้ 2 แต่ประสบการณ์เป็นของจริงที่แสดงให้เห็นว่า 1 + 1 อาจได้ 0 หรือได้มากถึง 10 ถึง 100 จนคนฟังอยากเรียนรู้
หากผู้นำไม่สร้างหัวข้อ ไม่มีเนื้อหา และไม่จัดเวลา คนรุ่นเก่าก็ไม่รู้ว่าจะเล่าประสบการณ์เรื่องอะไร คิดอะไรไม่ออก สุดท้ายคุณค่าตนเองที่มีก็ย่อมลดไปตามธรรมชาติ
3. ด้านการเป็นต้นแบบ
คุณค่าของคนที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเกิดได้โดยธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็สร้างให้เพิ่มมากขึ้นได้โดยการบริหาร การจัดการ และโดยผู้นำที่ต้องเป็นต้นแบบในการนำ
หากผู้นำไม่เคารพ ไม่เข้าหาคนรุ่นเก่า ไม่หาวิธีการพัฒนาคุณค่า ไม่ทำตัวเป็นต้นแบบให้เห็น ในอนาคตคนรุ่นใหม่ก็เป็นอย่างนั้น และคุณค่าของคนรุ่นใหม่ก็ต้องลดลงอย่างนั้นไปด้วย
เศรษฐศาสตร์สอนให้มองให้เห็นทรัพยากรที่มีจำกัด และให้จัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดให้ได้ประโยชน์ต่อส่วนรวมสูงสุด (Resources allocation to the best use.)
ทรัพยากรในการทำงานประกอบด้วยเครื่องจักร วัตถุดิบ อุปกรณ์ วัสดุสิ้นเปลือง เงิน เวลา ความรู้ ความคิด สติปัญญา และคน แต่ทั้งหมด คนถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุดเพราะคนเป็นผู้ใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ทั้งหมดให้ได้ประโยชน์สูงสุด
คุณค่าของเม็ดทรายเกิดเองได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณค่าของคนบางคนก็เกิดเองได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คนจึงเป็นทรัพยากรที่ต้องการการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์จึงต้องเป็นผู้นำการพัฒนาคนให้มีคุณค่าควบคู่กับการพัฒนาระบบงาน.
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : January 9, 2024
Logistics
สายการบินญี่ปุ่นมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างจริงจัง
ALL NIPPON AIRWAYS CO., LTD. (ANA) เป็นสายการบินแรกที่จะจัดซื้อคาร์บอนเครดิตที่มาจากการเทคโนโลยี DAC (Direct Air Capture) หรือการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงจากอากาศในปี 2568 เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 (ปี ค.ศ. 2050) โดยใช้เทคโนโลยีการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ (Negative Emissions Technologies : NETs) ด้วยการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ อุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศเริ่มมีการเคลื่อนไหวในยุคที่การลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonization) กลายเป็นตัวแบ่งแยกความสามารถทางการแข่งขัน
บริษัทฯ วางแผนจัดซื้อคาร์บอนเครดิตจาก DAC Plant ของบริษัท 1PointFive ประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2568 โดยให้ความเห็นว่า “DAC ที่ดักจับ CO2 โดยตรงในบรรยากาศกำลังได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมการบิน” และคาดการณ์ว่า ในปี 2593 (ปี ค.ศ. 2050) ร้อยละ 10 ของเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนจะมาจากการจัดซื้อจาก NETs
อุตสาหกรรมการบินที่ถดถอยในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง International Air Transport Association (IATA) ได้รายงานเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่า ผลประกอบการปี 2566 ของบริษัทที่เป็นสมาชิก 300 บริษัทจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้งเป็นครั้งแรกหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงทำให้เกิดความต้องการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ ส่งผลให้มีการผลักดันและเกิดการเคลื่อนไหวเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนในวงการอุตสาหกรรมการบิน นอกจากนี้ ความเคร่งครัดในกฎระเบียบข้อบังคับก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันเช่นกัน โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2565 International Civil Aviation Organization (ICAO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีประเทศ/ภูมิภาคเข้าร่วมกว่า 190 ประเทศ/ภูมิภาค ได้รับรองในที่ประชุมเกี่ยวการดำเนินการตามแนวทางลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามเป้าหมายระยะยาวในปี 2593 (ปี ค.ศ. 2050) และเป้าหมายระยะกลางในปี 2578 (ปี ค.ศ. 2035) นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนร้อยละ 85 ในปี 2567 เป็นต้นไปเมื่อเทียบกับปี 2562 และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2570 หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ก็จำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชย
สำหรับธุรกิจสายการบินแล้ว กุญแจสำคัญในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอน คือ การใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) ซึ่ง ICAO คาดการณ์ว่า เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนและเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจะใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี 2593 เป็นต้นไป โดยภายหลังปี 2573 สายการบินของประเทศพัฒนาแล้วจะต้องลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น และนับตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (EU) ได้ผลักดันนโยบายด้านการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมการบิน ดังนั้น เป้าหมายและการบังคับใช้กฎระเบียบของ ICAO จึงส่งผลบวกต่อความสามารถในการแข่งขันของสายการบินภายในเขตพื้นที่ EU นโยบายของ EU เน้นในเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ SAF โดยกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตเชื้อเพลิงผสม SAF เพื่อใช้กับเครื่องบินที่บินออกจากสนามบินในเขตพื้นที่ EU โดยกำหนดสัดส่วนการผสม SAF ในปี 2568 เท่ากับร้อยละ 2 และจะค่อยๆเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวต่อไป
Mitsubishi Research Institute กลุ่มงาน Sustainability ที่มีความรอบรู้ในนโยบายการลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมการบินให้ความเห็นว่า “ต่อจากนี้ไป ความสามารถในการจัดหา SAF จะกลายเป็นกุญแจสำคัญของการแข่งขันระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา รัฐบาลและสนามบินได้ร่วมมือกันช่วยบริษัทการบินในการจัดหา” ประเทศที่มีนโยบายช่วยเหลืออย่างโดดเด่น คือ สหรัฐอเมริกา โดยรัฐบาลลดภาษีให้กับบริษัทผู้ผลิตเชื้อเพลิงที่ผสม SAF โดยลดภาษีสูงสุด 1.75 เหรียญสหรัฐต่อ 1 แกลอน ให้เงินช่วยเหลือกว่า 30,000 ล้านเยน (ประมาณ 7,400 ล้านบาท) สำหรับการลงทุนในโรงงานผลิต SAF นอกจากนี้ ยังสามารถจำหน่ายคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการลดคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตได้อีกด้วย และหากใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนและการช่วยเหลือเหล่านี้ ก็จะทำให้ราคา SAF ลดลงและเท่ากับราคาเชื้อเพลิง อากาศยาน
สายการบิน ANA และ JAL มีแผนใช้เชื้อเพลิงอากาศยานที่มีส่วนผสมของ SAF ร้อยละ 10 ในปี 2573 ตามข้อบังคับของ EU และเมื่อเดือนมีนาคม 2565 บริษัท 16 บริษัทซึ่งเป็นบริษัทต่างอุตสาหกรรม เช่น Itochu (บริษัท trading) ENEOS (บริษัทผู้ผลิตเชื้อเพลิงรายใหญ่) ฯลฯ ได้รวมตัวกันและเริ่มดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดหา SAF แต่เพียงแค่กำลังของเอกชนอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ รัฐบาลควรตั้ง “เป้าหมายการจัดหา SAF” ในปี 2568 ที่ตรงกับปริมาณความต้องการภายในประเทศ กระตุ้นและผลักดันให้เกิดการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ วิเคราะห์ประเด็นปัญหา เช่น การลดต้นทุนการผลิต ฯลฯ ให้เกิดความชัดเจน และจำเป็นต้องกำหนดนโยบายช่วยเหลือด้วยการใช้ข้อบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ หรือการเปลี่ยนถ่ายความรับผิดชอบของเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจ Green Transformation เป็นต้น
บทวิเคราะห์ (ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย)
เช่นเดียวกับหลายอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมมที่มีการเคลื่อนไหวและตื่นตัวในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonization) อย่างมาก ทำให้สายการบินทั่วโลกรวมถึงภาครัฐและเอกชนต้องเร่งดำเนินการเพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ การจัดหาเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF กลายเป็นกุญแจที่บริษัทผู้ผลิตเชื้อเพลิงและรัฐบาลหลายประเทศให้ความสำคัญ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย และบริษัท คอสโม ออยล์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น โดยกรอบข้อตกลงความร่วมมือนี้ครอบคลุมการนำเข้า SAF ซึ่งผลิตโดยบางจากฯ สู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนปีละ 100 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่า 7 พันล้านบาท/ปี นอกจาก SAF แล้ว ทางบริษัทญี่ปุ่นยังแสวงหา “น้ำมันพืชใช้แล้ว” ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่นำมาผลิต SAF หรือวัตถุดิบอื่นๆที่สามารถนำมาผลิต SAF ได้อีกด้วย
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!