CEO ARTICLE

ขายชาติ 99 ปี

Published on July 30, 2024


Follow Us :

    

อะไรคือสาเหตุของการขายชาติในปัจจุบัน ?

“ขายชาติ” และ “รักชาติ” เป็นคำที่ให้ความหมายตรงกันข้าม
“ขายชาติ” เป็นคำที่มีมาตั้งแต่อดีต เป็นคำใช้กับคนในชาติที่เอาใจออกห่างจากบ้านเมืองของตนไปเข้ากับศัตรู คนที่เอาความลับของชาติไปให้ศัตรูเพื่อหวังสิ่งตอบแทน ทำประโยชน์ให้ชาติอื่นเมืองอื่นมากกว่าชาติของตน หรือทำให้ชาติของตนถูกชาติอื่นยึดครอง
ในอดีตที่เป็นยุคสงครามชิงเมือง การขายชาติเกิดจากการติดสินบน หรือบางกรณีก็ส่งคนให้แฝงเข้าไปอยู่ในเมืองอื่น เข้าไปอยู่อาศัย หรือสร้างธุรกิจการค้าบังหน้า
แต่เบื้องหลังคอยแอบส่งข่าวสารในทางลับ ในยามศึกคอยเปิดประตูเมืองให้ศัตรูบุกเข้ามา พออยู่นาน ๆ ก็สร้างครอบครัว เกิดลูกหลานเป็นพลเมืองพันธุ์ผสมในเมืองใหม่นั้น
หากลูกหลานพันธุ์ใหม่ซึมซับประเพณี วัฒนธรรม และชื่นชอบระเบียบสังคมของเมืองนั้นก็จะเกิดความศรัทธาต่อแผ่นดินที่รองรับในตนเองเกิด แต่หากไม่ชื่นชอบก็อาจเฉย ๆ ไม่ใส่ใจ อาจเห็นชาติอื่นเมืองอื่นดีกว่าแผ่นดินที่เกิดตามบรรพบุรุษ หรืออาจทำตัวในลักษณะขายชาติก็ได้
หลายพันปีผ่านไป สงครามชิงเมืองกลายเป็นสงครามชิงเศรษฐกิจ
แต่พลเมืองพันธุ์ผสมยังอยู่ ยังสืบเผ่าพันธุ์ต่อมาเรื่อย ๆ การชิงเศรษฐกิจทำให้เกิดการช่วงชิงทรัพยากร การผลิต การซื้อ การขาย การเดินทาง การย้ายถิ่นฐานไปอยู่ประเทศอื่นเพิ่มขึ้น เป็นครอบครัวพันธุ์ผสมมากขึ้น และเกิดคนรุ่นใหม่ไม่รู้จบ
ปัจจุบันในประเทศหนึ่งจึงมีคนอยู่ร่วมกันหลายเชื้อชาติ มีทั้งคนในชาติดั้งเดิมและคนพันธุ์ผสม มีเลือดรักชาติ รักแผ่นดินที่รองรับให้ตนเองเกิด และเลือดเจือจางลงเรื่อย ๆ อยู่ปะปนกัน
เมื่อคนปัจจุบันเข้าสู่การเมืองเป็น ส.ส. และ ส.ว. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย และใช้กฎหมายเพื่อปกครองประเทศ กฎหมายจึงมีโอกาสกลายพันธุ์มากขึ้นเรื่อย ๆ
กฎหมายของทุกประเทศจึงมีทั้งที่ยึดมั่นประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมของชาติ และมีทั้งที่ละเลยค่านิยมจนเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนให้แก่นักการเมือง พวกพ้อง และคนต่างชาติ
ดังนั้น เมื่อใดที่กฎหมายขัดแย้งค่านิยม และให้ประโยชน์ต่อต่างชาติมากกว่า เมื่อนั้นคำว่า “ขายชาติ” จึงดังกระหึ่มขึ้นจากคนดั้งเดิม และคนพันธุ์ผสมที่วันนี้มีความรักชาติ รักแผ่นดินเกิด
แต่หากนักการเมืองยึดมั่นประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมที่มีมาแต่ดั้งเดิมของคนในชาติ หรือรักแผ่นดินที่รองรับให้ตนเองเกิด คำว่า “ขายชาติ” คงไม่มีทางดังขึ้นให้ได้ยินแน่

กฎหมายที่ดีต้องมีแนวทางของประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมของคนในชาติ
แต่ทุกประเทศมีประเพณี มีวัฒนธรรม และมีค่านิยมที่ต่างกัน กฎหมายของทุกประเทศจึงต่างกัน ไม่สามารถนำกฎหมายมาเปรียบเทียบกันได้ แต่นำมาเป็นกรณีศึกษาถึงผลกระทบได้
การเสนอกฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเก่าในอดีตมีมาตลอด แต่ทุก ๆ การเสนอต้องมุ่งรักษาประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมเพื่อความเจริญก้าวหน้า และความสงบสุขของคนในชาติ
ตัวอย่างกฎหมายที่แสดงถึงค่านิยม เช่น การสงวนอาชีพตัดผม เสริมสวย อาชีพทำเครื่องดนตรีไทย นายหน้า ตัวแทน งานนวด และงานอื่น ๆ ไว้ให้คนไทยทำ ห้ามคนต่างชาติทำ หรืองานที่ยอมให้คนต่างชาติทำ แต่มีเงื่อนไข เช่น กรรมกร งานขายของหน้าร้าน เป็นต้น
ประเด็นที่น่าคิดคือ การให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี (กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ) การให้ถือครองอาคารชุดได้ถึง 75% ของพื้นที่ และอื่น ๆ ที่ให้ประโยชน์ต่างชาติจะเป็นการขายชาติ 99 ปีหรือไม่ ?
หากมองในมุมการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านเดียวก็อาจจำเป็น และไม่ใช่การขายชาติ
แต่หากมองในมุมความรู้และความสามารถ มุมการรักษาแผ่นดินที่รองรับให้เกิด คนที่เป็นรัฐบาลไม่มีทางอื่นที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจจริงหรือ ทำไมต้องใช้วิธีการสุ่มเสี่ยงที่ทำให้ราคาบ้านและที่ดินสูงขึ้นจนคนไทยที่รักชาติขาดโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ?
ยิ่งไปกว่านั้นยังเสี่ยงต่อคนชาติพันธุ์ผสมจะเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ เลือดรักชาติจะจางลงเรื่อย ๆ กฎหมายจะผิดเพี้ยนไปเรื่อย ๆ เสี่ยงต่อการสูญเสียประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม และยังเสี่ยงต่อการเสียแผ่นดินบางส่วนให้ถูกต่างชาติยึดครองจนกลายเป็นการขายชาติอย่างที่ถูกกล่าวหา
การพยายามทำกฎหมายเลียนแบบประเทศอื่นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดจากนักการเมืองที่รักชาติ เว้นแต่นักการเมืองนั้นเกิดจากพันธุ์ผสม หรือเลือดดั้งเดิม แต่ความรักชาติ รักแผ่นดินจางลง
ในทำนองเดียวกัน หากประชาชนมีเลือดพันธุ์ผสม หรือเลือดรักชาติที่เจือจาง ประชาชนก็จะเลือกนักการพันธุ์ผสมมากขึ้น และมีแนวโน้มจะออกกฎหมายให้ประโยชน์ต่างชาติมากขึ้น
ขายชาติ 99 ปีหรือไม่จึงอยู่ที่กฎหมาย อยู่ที่นักการเมือง และอยู่ที่ประชาชนจะมีเลือดเข้มข้น หรือเลือดพันธุ์ผสมมากกว่า จะรักชาติ หวงแหนแผ่นดินที่รองรับให้เกิดมากแค่ไหน
ประชาชนเลือกนักการเมืองแบบไหนมาก ประเทศก็มีโอกาสเป็นแบบนั้นมากเป็นธรรมดา.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : July 30, 2024

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

เปิด 5 อันดับ ตลาดส่งออก-นำเข้า-ไทยขาดดุลการค้า ครึ่งทางปี 67

เปิดที่สุด 5 ตลาดส่งออก นำเข้า ดุลการค้าไทย ครึ่งแรกปี 67 สหรัฐตลาดส่งออกอันดับ 1 จีนตลาดนำเข้าและไทยขาดดุลการค้ามากสุด 7.2 แสนล้าน รถยนต์ยังครองสินค้าส่งออกอันดับ1 น้ำมันดิบนำเข้ามากสุด

กระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมิถุนายน และ 6 เดือนแรกของปี 2567 โดยการส่งออกไทยเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่า 24,796.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (892,766 ล้านบาท) หดตัว 0.3%

ขณะที่ภาพรวมการส่งออกไทยช่วง 6 เดือนแรกปี 2567 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่ารวม 145,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน(ในรูปเงินบาทส่งออก 5.19 ล้านล้านบาท +7.4%) การนำเข้ามีมูลค่า 150,532.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.0% (ในรูปเงินบาทนำเข้า 5.43 ล้านล้านบาท +8.3%) ไทยขาดดุลการค้า 5,242.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในรูปเงินบาทขาดดุล 2.46 แสนล้านบาท)

ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร ของ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงการค้าระหว่างประเทศของไทย ในภาพรวมครึ่งแรกปี 2567 มีมูลค่าการค้ารวมในรูปเงินบาท 10.62 ล้านล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.9% โดยไทยส่งออก 5.19 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.4% นำเข้า 5.43 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.3% ไทยขาดดุลการค้า 2.4 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ไทยขาดดุลการค้า 1.89 แสนล้านบาท)

ในส่วนการค้าในภาพรวม(ส่งออก+นำเข้าไทย) คู่ค้า 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มีมูลค่าการค้า 1.98 ล้านล้านบาท (+9.75%), สหรัฐอเมริกา มูลค่า 1.26 ล้านล้านบาท (+13.70%), ญี่ปุ่น 9.22 แสนล้านบาท (-5.95%), ไต้หวัน 4.98 แสนล้านบาท (+58.07%) และมาเลเซีย 4.67 แสนล้านบาท (+6.14%)

เฉพาะด้านการส่งออก ตลาด 5 อันดับแรกของไทย ได้แก่ สหรัฐ มูลค่า 9.20 แสนล้านบาท (+17.03%), จีน มูลค่า 6.30 แสนล้านบาท (+4.26%), ญี่ปุ่น มูลค่า 4.13 แสนล้านบาท (-2.68%), มาเลเซีย มูลค่า 2.15 แสนล้านบาท (+6.94%) และไต้หวัน มูลค่า 8.39 หมื่นล้านบาท (+3.37%)

ด้านการนำเข้า ไทยนำเข้าสินค้าจาก จีน เป็นอันดับ 1 มูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท (+12.50%), ญี่ปุ่น 5.09 แสนล้านบาท (-8.45%), ไต้หวัน 4.14 แสนล้านบาท (+77.01%), สหรัฐ 3.48 แสนล้านบาท (+5.77%) และมาเลเซีย 2.51 แสนล้านบาท (+5.47%)

ส่วนประเทศที่ไทยขาดดุลการค้ามากที่สุด 5 อันดับ ช่วง 6 เดือนแรกปี 2567 ได้แก่ จีน ไทยขาดดุล 7.2 แสนล้านบาท, ไต้หวัน ไทยขาดดุล 3.31 แสนล้านบาท, ญี่ปุ่น ไทยขาดดุล 9.6 หมื่นล้านบาท, เกาหลีใต้ ไทยขาดดุล 5.3 หมื่นล้านบาท และมาเลเซีย ไทยขาดดุล 3.5 หมื่นล้านบาท

สำหรับสินค้าส่งออก 5 อันดับแรกของไทยไปทั่วโลกช่วง 6 เดือนแรกปี 2567 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 5.50 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3.94 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.81%, อัญมณีและเครื่องประดับ 2.70 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.19%, ผลิตภัณฑ์ยาง 2.32 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.99% และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 1.70 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.39%

ส่วนสินค้านำเข้าของไทยจากทั่วโลก ช่วง 6 เดือนแรกปี 2567 ได้แก่ น้ำมันดิบ มูลค่า 6.08 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.78%, แผงวงจรไฟฟ้า 4.55 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.96% , เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3.69 แสนล้านบาท ลดลง 0.17%, เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 3.60 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.97% และเคมีภัณฑ์ 3.25 แสนล้านบาท ลดลง 0.87%

ที่มา: https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/602818

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.