SNP NEWS
ฉบับที่ 381
CEO Article
“คิดถึง ร.5”
ย้ำอีกครั้ง … รถไฟ “บิ๊กตู่” ไทยเสียเปรียบจีน หัวข้อข่าวข้างต้น ปรากฏเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์ของคุณลม เปลี่ยนทิศ
ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2558 ในวันปิยมหาราช วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันที่คนไทยต่างรำลึกถึงคุณงามความดี และผลงาน
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บทความกล่าวถึงพระราชกรณีกิจที่สำคัญของพระองค์นอกจากการเลิกทาสแล้ว ยัง มีการป้องกันประเทศจากการล่าอาณานิคม การประกาศให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระ ในประเทศ การใช้ธนบัตรและเหรียญบาท การปฏิรูประบบราชการและจัดระบบเขตการ ปกครองใหม่ และการเริ่มต้นรถไฟของไทย รถไฟที่ไม่ใช่เพื่อการขนส่งคนและสินค้า เท่านั้นแต่ยังเป็นยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศจากการล่าอาณานิคมอีกด้วย รถไฟมีความสำคัญมาก รัฐบาลเกือบทุกชุดต่างก็พยายามสร้างและพัฒนารถไฟเพิ่ม ขึ้น รัฐบาลก่อนก็พยายามใช้เรื่องรถไฟความเร็วสูงให้กระจายทั่วประเทศเพื่อการพัฒนา และการกระตุ้นเศรษฐกิจ สมมุติว่ามีการสร้างรถไฟจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือรางคู่ขนาด ใหญ่ มันจะมีการจ้างงานเกิดขึ้นในประเทศไทยมหาศาล การซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและสินค้าที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจอาหาร โรงแรม สิ่ง บันเทิงต่าง ๆ และกิจกรรมเกี่ยวกับโลจิสติกส์จะตามมาในวงกว้าง
ประชาชนจะมีงานทำกระจายทั่วประเทศและจะมีเงินอยู่ในมือไว้จับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจของประเทศก็จะเติบโตขึ้นทันตาเห็น
นี่คือผลพวงด้านเศรษฐกิจภายในประเทศจากโครงการก่อสร้างมโหฬาร มาถึงรัฐบาลนายกตู่ ท่านก็มีดำริจะสร้างทางรถไฟเพิ่มเหมือนกันแต่มาสะดุดตรงที่ การลงทุนที่ไทยยังขาดเงินซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะจบที่การกู้จากต่างชาติ ในบทความบอกว่า รัฐบาลนายกตู่ก็คิดจะกู้ต่างชาติเหมือนกัน ไทยอาจกู้เงินหลายแสนล้านจากจีนเพื่อสร้างทางรถไฟ เส้นทางหนองคาย- แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด โดยไทยต้องเสียดอกเบี้ยราวร้อยละ 3-4 ต่อปี พร้อมเงื่อนไขอื่นประกอบ เช่น ไทยต้องซื้อราง หัวรถจักร โบกี้ และจ้างผู้ เชี่ยวชาญทั้งหมดจากจีน ยิ่งไปกว่านั้น บทความตั้งข้อสังเกตว่า จีนอาจมีเงื่อนไขน่ากลัวที่เคยใช้กับลาวมาก่อน นั่นคือ จีนขอแบ่งพื้นที่ 2 ข้างทางรถไฟกว้าง 80 เมตร มาใช้ประโยชน์ของจีนจนทำให้ข้อตกลงกับลาวสะดุดลงไป นี่คือประเด็นที่บทความหยิบยกขึ้นมาเตือน เมื่อประเทศไม่มีเงินจำนวนมากมาลงทุน ประเทศจะพัฒนาและจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในได้อย่างไร ??? มันเป็นเรื่องธรรมดาจริง ๆ ที่ประเทศด้อยหรือกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีเงินมาก ๆ ต้องกู้เงินจากประเทศอื่นการกู้เงินทุกครั้ง ประเทศผู้ให้กู้นอกจากจะคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำๆ แล้วประเทศผู้ให้กู้ยังมีเงื่อนไขอื่นผูกพันสัญญากู้มาอีกไม่มากก็น้อย เช่น กำหนดให้บริษัทก่อสร้างต้องมีสัญชาติของประเทศผู้ให้กู้ หรือเครื่องจักรและอุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต่อการก่อสร้างต้องซื้อและนำเข้าจากประเทศผู้ให้กู้ เป็นต้นเงื่อนไขต่าง ๆ นานาเหล่านี้ ทำให้บางกรณีประเทศผู้ให้กู้ไม่คิดดอกเบี้ยเลยก็มีทั้งนี้เพราะเงื่อนไขเหล่านี้ให้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจต่อประเทศผู้ให้กู้มหาศาลการใช้อุปกรณ์ การใช้ผู้รับเหมา หรือการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้ให้กู้ส่งผลให้รายได้มหาศาลกลับคืนไปสู่ประเทศผู้ให้กู้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ใช้อุปกรณ์ ใช้เทคโนโลยี และใช้ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้ให้กู้ย่อมทำให้ประเทศผู้ให้กู้ได้ผลกำไรจากธุรกิจ ได้ภาษีเงินได้จากธุรกิจที่กำไร ได้การจ้างงานจนคนว่างงานลดลงเงื่อนไขเหล่านี้ คือประโยชน์ที่ประเทศผู้ให้กู้จะได้รับและหากผสมกับเงื่อนไขที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ แล้วไทยจะทำอย่างไรหากไทยไม่กู้เงินไทยจะเอาเงินที่ไหนมาพัฒนารถไฟและกระตุ้นเศรษฐกิจ มาถึงจุดนี้แล้วก็ให้คิดถึงในหลวง ร. 5 ขึ้นมาทันใด ในตอนนั้นท่านคิด ท่านทำอย่างไร ??? การพัฒนารถไฟ สาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อประเทศ ไม่ว่าอย่างไรประเทศก็ได้ประโยชน์จากการพัฒนาและประโยชน์ก็ส่งถึงมือประชาชนโดยตรงไม่ต้องดูอื่นไกล เอาแค่รถไฟฟ้ามหานะเธอที่ให้บริการในกรุงเทพฯ ในเวลานี้ และทางด่วนเส้นทางต่าง ๆ ที่พาดผ่านไปทุกแห่ง รัฐบาลในอดีตไม่มีเงินทำเองก็ให้สัมปทานผู้อื่นลงทุน จากนั้นก็ให้ผู้ลงทุนเก็บเงินค่าบริการใครใช้บริการสาธารณะประโยชน์เหล่านี้ คนนั้นก็เป็นผู้จ่าย มันดู ๆ ก็ยุติธรรมดีแล้วเป็นอย่างไร ??? โครงการที่ให้สัมปทานผู้อื่นในวันนี้ทุกอย่างดีเจริญก้าวหน้า คนใช้เยอะ ผู้ได้สัมปทานก็ได้สิทธิ์ขึ้นค่าบริการตามที่ตกลงในสัญญาสัมปทานใครเป็นผู้ใช้ คนนั้นก็เป็นผู้จ่าย แต่คนจ่ายกลับต้องจ่ายแพงขึ้นเรื่อย ๆ โดยรัฐบาลแก้ไขปัญหาการขึ้นราคาไม่ได้เพราะมันเป็นสัญญาที่กำหนดไว้แล้วหากจะถามว่า ในวันที่ทำสัญญาสัมปทานนั้น รัฐบาลในเวลานั้นรู้หรือไม่ว่า ราคาจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ และสร้างความลำบากให้กับประชาชนหากตอบว่า ไม่รู้ ก็แปลว่า รัฐบาลไม่มีวิสัยทัศน์แต่หากตอบว่า รู้ ก็แปลว่ารู้ทั้งรู้แล้วรัฐบาลในเวลานั้นทำไมไม่ทำเอง ทำไมไปให้สัญญาสัมปทานผู้อื่น ทำไมรัฐบาลไม่ทำเองจะได้กำหนดราคาและเงื่อนไขเองพอบอกว่ารัฐบาลทำเอง มันก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งบอกว่า รัฐบาลไม่มีเงิน อย่างนี้ก็ลองเหลียวมองเรื่องการประกันราคาข้าว การจำนำข้าว การใช้บัตรทอง และโครงการอื่น ๆ อีกมาก มันก็ต้องใช้เงินเป็นแสนเป็นล้านล้านบาทเหมือนกันรัฐบาลไปเอาเงินมาจากไหน ทำไมรัฐบาลในอดีตทำเองได้แต่พอถึงการสร้างรถไฟฟ้ากับทางด่วนกลับให้สัมปทานผู้อื่น รัฐบาลในอดีตก็มีเหตุผล
ของท่านสารพัดเพื่อรองรับว่า ทำเองไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินจากต่างประเทศ หรือการให้สัมปทานผู้อื่นก็ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งสิ้น
แล้วก็คิดถึงในหลวง ร. 5 ขึ้นมาอีกจนได้ ท่านคิด ท่านทำของท่านอย่างไรจึงมีรถไฟเกิดขึ้นในประเทศไทย ???หากโครงการกระทบต่อประชาชน รัฐบาลก็ควรทำเองหากไม่มีเงินก็กู้จากประชาชนในประเทศด้วยพันธบัตรรัฐบาลก่อนซึ่งจะมีเงื่อนไขเพียงดอกเบี้ยเท่านั้น
แต่หากการกู้ประชาชนได้ไม่เพียงพอ รัฐบาลก็กู้เงินจากต่างประเทศได้แต่รัฐบาลต้องรู้ว่า ประเทศผู้ให้กู้เขาก็อยากได้ประโยชน์กระตุ้นเศรษฐกิจของเขาเหมือนกันอะไรที่จะให้เขาจึงต้องคิดให้ดีก่อน เขาขออย่างหนึ่ง เราก็ขออย่างหนึ่งให้มันยุติธรรม ประเทศผู้ให้กู้เขาอยากจะให้กู้อยู่แล้ว หรือจะประกาศให้ประชาชนรับรู้ก่อนก็จะเก๋ไม่หยอกหากรัฐบาลมีวิสัยทัศน์และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน การเจรจาตกลงเงื่อนไขก็จะเห็นอย่างชัด ๆ รัฐบาลไม่มีทางเสียเปรียบแน่นอนแต่หากคิดไม่ออก ขอเพียงผู้รับผิดชอบการสร้างรถไฟค้นคว้าประวัติศาสตร์ในยุค ร. 5ท่านก็จะรู้ว่าเวลานั้น ในหลวง ร. 5 ท่านคิด ท่านทำอย่างไร การรถไฟจึงเริ่มขึ้นได้และเป็นรากฐานมาจนทุกวันนี้พอมาถึงยุคนี้ พ.ศ. นี้ จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่คนรับผิดชอบจะคิดจะทำให้ดียิ่งกว่าไม่ได้มองมาถึงจุดนี้ก็คิดถึงในหลวง ร. 5 ขึ้นมาอีก หากผู้รับผิดชอบคิดอะไรไม่ออกจริง ๆการคิดถึง ร. 5 ก็อาจมีคำตอบให้เห็นจริง ๆ ก็ได้สิทธิชัย ชวรางกูร
The Logistics
‘รายงานวันจันทร์’-พัฒนาไทยเป็นศูนย์โลจิสติกส์อาเซียน รถไฟเชื่อมไทย-ลาว-จีน ระหว่างวันที่ 15–16 ต.ค.2558 “รายงานวันจันทร์” ได้ร่วมเดินทางไป กับคุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รอง ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนจราจรและขนส่ง (สนข.)กระทรวงคมนาคม ดูความก้าวหน้าโครงการศึกษาออกแบบ รถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เชื่อมไทย–ลาว–จีน รองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต สายกรุงเทพฯ–หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย ซึ่งขณะนี้ผลการศึกษาคืบหน้าไปมากจะแล้วเสร็จเดือน พ.ย.2558 โดยตั้งเป้าจะก่อสร้างและเปิดบริการปี 2565โครงการรถไฟรางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาดความกว้างของราง 1.435 เมตร ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เริ่มต้น สถานีนครราชสีมา สิ้นสุดที่สถานีหนองคาย ระยะทาง 355 กม. ตัดผ่าน 4 จังหวัด ได้แก่นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย แนวเส้นทางจะขนาน ไปกับแนวเส้นทางรถไฟปัจจุบัน เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน ออกแบบ เส้นทางให้เป็นแนวตรงมากขึ้น และเพิ่มรัศมีโค้งในบางบริเวณเพื่อรองรับ การเดินรถด้วยความเร็วสูงในอนาคตโดยจะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีต่างๆที่ตัดผ่าน มีสถานียกระดับ 5 สถานีได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดร และสถานีหนองคาย และมีสถานีสำคัญเพื่อเป็นย่านเก็บกองสินค้าและขนถ่ายสินค้า (Container Yard : CY) ที่สถานีบ้านกระโดน จังหวัดนครราชสีมา และสถานีนาทา จังหวัดหนองคายโครงการนี้จะเป็นการเดินรถร่วมระหว่างรถไฟโดยสารกับขบวนสินค้า (MixedTraffic) ใช้พลังงานไฟฟ้า ขบวนรถโดยสารความยาว 400 เมตร จุผู้โดยสารได้สูงสุด 1,000 คน/ขบวน ส่วนขบวนรถสินค้าความยาว สูงสุด 750 เมตร ขนสินค้าได้สูงสุด 105 TEU/ขบวน ความเร็วสูงสุด รถโดยสาร 200 กม./ชม.ใช้เวลาเดินทางจากนครราชสีมา–หนองคาย 2.23 ชม. รถสินค้า 120 กม./ชม.ใช้เวลา 4.70 ชม. ค่าโดยสารเริ่มต้น 70 บาท บวกเพิ่ม กม.ละ 1.80 บาทค่าระวางสินค้า 20 บาท/TEU/กม. มูลค่าการลงทุน ประมาณ 240,000 ล้านบาท
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย กับสาธารณรัฐประชาชนจีนสำหรับสถานีหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีปลายทางฝั่งไทย เชื่อมต่อสถานีท่านาแล้งของ สปป.ลาว เปิดให้บริการปี 2552 ภายในสถานีมีด่านตรวจคนเข้าเมือง และด่านศุลกากร ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาพัฒนาเพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่ง จากการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางไทย-ลาว-จีน ขณะเดียวกันที่สถานีนาทา จังหวัดหนองคาย มีการศึกษาออกแบบพื้นที่โดยรอบสถานีประมาณ 890 ไร่ เพื่อเป็น CY ส่งเสริมศักยภาพการเป็นศูนย์กลางรวบรวมและกระจายสินค้าคอนเทนเนอร์ในรูปแบบ Multi modeltransportation hub ที่จะขนถ่าย สินค้าจากรถบรรทุกมาขึ้นตู้คอนเทนเนอร์ และขนย้ายสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์ สู่รถบรรทุก เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นอกจากนี้ จะพัฒนาเป็นด่านศุลกากร ศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรสำหรับขบวนสินค้า ย่านจอดรถไฟ และศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟโดยสาร อีกด้วยกรมการขนส่งทางบกคาดการณ์ว่า ปี 2565 จะมีรถบรรทุกสินค้า เข้ามายังสถานีวันละ 240 เที่ยว ปีละ 87,000 เที่ยว ปี 2575 จะเพิ่มเป็น 620 เที่ยว หรือปีละ226,300 เที่ยว การขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การขนส่งสินค้านำเข้า–ส่งออกของจังหวัดหนองคายและใกล้เคียง การขนส่งสินค้าผ่านแดนของ
สปป.ลาวประเทศ ที่สาม และการขนส่งสินค้านำเข้า–ส่งออกของจีนตะวันตกส่วนสถานีท่านาแล้ง สปป.ลาว เป็นสถานีแรกที่เชื่อมต่อจากไทย และมีแนวเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศที่ 3 ทั้งจีนและเวียดนาม ปัจจุบัน มีการเดินรถระหว่างสถานีหนองคาย-ท่านาแล้ง วันละ 4 เที่ยว ในอนาคต จะขยายเส้นทางไปสู่เวียงจันทน์ เพื่อเชื่อมต่อการคมนาคมระบบรางระหว่างไทย-สปป.ลาวโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เป็น ส่วนหนึ่งของเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-ท่าเรือมาบตาพุด ในอนาคตจะต่อเชื่อมกับ
AEC Info
รุกจัดทัพทูตพาณิชย์ใหม่ ดึงคนเก่งเข้ามาดูแลกลุ่มอาเซียนนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงการเร่งผลักดันการ ส่งออก ว่า
ในระยะสั้น กระทรวงพาณิชย์ จะมุ่งการเปิดตลาดใหม่ เน้นผลักดันการส่งออกไปตลาดที่ยังเติบโตได้ มีการจัดคณะนักธุรกิจไทยเดินทางไปยังตลาดที่เศรษฐกิจเติบโต เช่นCLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ซึ่งจะเริ่มต้นจากกัมพูชาและไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค รวมถึงไปยังตลาดใหม่ เช่น อิหร่าน เป็นต้นในขณะเดียวกันช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 นี้จะมีการ ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรค ที่มีต่อการส่งออก และปรับโครงสร้างการส่งออกทั้ง
ระบบ แบบ บูรณาการกับทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดทัพทูตพาณิชย์ ตามยุทธศาสตร์การเจาะลึกอาเซียน โดยได้มีการดำเนินการปรับเปลี่ยน ด้วยการนำทูตพาณิชย์ที่เก่งที่สุดมาประจำอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ ซึ่งคาดว่าการดำเนินการน่าจะแล้วเสร็จในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 เพื่อให้แผนการบุกเจาะตลาดอาเซียนดียิ่งขึ้น อีกทั้งจะThe Logistics สปป.ลาว เวียงจันทน์ และเชื่อมรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง- ลาว เมื่อโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์จะทำให้โครงข่ายการขนส่งสินค้าและประชาชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ภาคตะวันออก โดยเพราะการขนส่งสินค้าจากจีน-สปป.ลาวและไทย ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ในอาเซียน
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/534783
เป็นการช่วยเพิ่มยอดการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดอาเซียน ในฐานะตลาดส่งออกอันดับ 1 และยังรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)นอกจากนี้ภายหลังการปรับทัพทูตพาณิชย์ จะมีการดำเนินการ ตามแผนการบุกเจาะตลาดเชิงลึก โดยจะมุ่งเน้นตลาดที่เป็นเมืองสำคัญ 50 เมืองของโลก และ 50เมืองของอาเซียน ซึ่งทูตพาณิชย์จะต้องเข้าไปสำรวจในแต่ละเมือง ว่ามีสินค้าและบริการใดของไทยที่มีโอกาสเข้าไปเจาะในตลาดเป้าหมายเหล่านี้ได้บ้าง และให้ทำแผนในการบุกเจาะตลาดมาเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์สำหรับภาพรวมการส่งออกของไทยในช่วง 9 เดือน ปี 2558 พบว่ามีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 161,563 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.98% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปี 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ ยอดการส่งออกจะไม่ดีนัก แต่ส่วนแบ่งการตลาดของไทยในตลาดคู่ค้าทุกประเทศกลับเพิ่มขึ้น และมูลค่าการส่งออกของไทย เมื่อเทียบกับ 1 ใน 20ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่สุดของโลก ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2558 พบว่าภาพรวมการส่งออกของไทย ยังถือว่าติดลบน้อยกว่าในหลายประเทศ เช่น รัสเซีย ติดลบ 30.7%ออสเตรเลีย ติดลบ 21.8% นิวซีแลนด์ ติดลบ 17.6% อินเดีย ติดลบ 15.3% สิงคโปร์ติดลบ 14% ญี่ปุ่น ติดลบ9.2% เกาหลีใต้ ติดลบ 9.0% และสหรัฐ ติดลบ 6.1% เป็นต้น
ที่มาของข่าว : http://www.ryt9.com/s/nnd/2283951
คุยข่าวเศรษฐกิจ
อธิบดีกรมศุลฯเตรียมปรับมูลค่านำเข้าสินค้าจากตปท.หิ้วขึ้นเครื่องไม่เกิน80,000-100,000บาทนายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า การตรวจสอบการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและให้ผ่านช่องแดง เพื่อสำแดงสินค้านำเข้านั้น จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจมากขึ้น โดยอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกผู้เดินทางไปต่างประเทศ หากนำสินค้าเข้ามาเพื่อฝากญาติ ใช้เองปริมาณที่เหมาะสมคงไม่ต้องตรวจ แต่หากเป็นการนำเข้าเชิงพาณิชย์คงต้องเข้มงวดมากขึ้น เพราะสามารถติดตามได้จากแหล่งขายสินค้าตามอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งจำหน่าย เมื่อมีการเดินทางเข้าออกเป็นประจำผู้สื่อข่าวรายงานว่าฝ่ายกฎหมายกรมศุลกากรได้หารือเกี่ยวกับการอนุญาตนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเมื่อวานนี้ เพื่อแก้ไขประกาศกรมศุลกากรให้สอดคล้องกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน หลังจากบังคับใช้มาหลายสิบปีแล้ว ด้วยการอนุญาตให้นำสินค้าจากต่างประเทศผ่านเข้าออกผ่านสนามบินหรือด่านชายแดนจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 10,000 บาท เพิ่มเป็น 80,000-100,000 บาทต่อครั้ง เพราะเห็นว่าประกาศดังกล่าวใช้มานาน แต่ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน เพราะขณะนี้เศรษฐกิจดีขึ้นคนไทยมีกำลังซื้อสินค้าบางส่วน เพื่อใช้เองหรือฝากญาติ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศการถือครองเงินสดจาก 500,000 บาท เพิ่มเป็น 2 ล้านบาท ในการนำเข้าออกผ่านชายแดน หากได้ข้อสรุปจะออกประกาศกรมศุลกากรเพื่อบังคับใช้แต่อีกด้านหนึ่งต้องเข้มงวดสำหรับผู้นำเข้ามาเพื่อค้าขายเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีเพราะหากเดินทางไปต่างประเทศเพียง 1-2 ครั้ง และซื้อสินค้าเข้ามาใช้สอยคงจะไม่สุ่มตรวจ แต่หากปรากฏว่ามีการเดินทางเป็นประจำ 3-4 ครั้งต่อเดือนเพื่อนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายต้องให้สำแดง เพื่อเสียอากรนำเข้าร้อยละ 30 ของมูลค่าสินค้า การตรวจจะครอบคลุมไปถึงลูกเรือสายการบิน ทุกอาชีพที่ผ่านเข้าออกนายสมชัย กล่าวในฐานะประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลว่า การแก้ปัญหาสลากฯ ในช่วงสั้นขณะนี้ยังคงปล่อยให้ผู้ค้าจำหน่ายสลากฯ ราคาเหมาะสมตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่ยังมีสลากใกล้ครบกำหนดสัญญาอีกจำนวนหนึ่ง จึงเตรียมนำมาจัดสรรให้กับรายย่อยเพิ่ม ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาเฟส 2 ทั้งเรื่องโควตา การหาผลิตภัณฑ์แบบใหม่ และเรื่องต่าง ๆ ต้องเร่งจัดสรรหาผู้อำนวยการคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะเริ่มประชุมบอร์ดสลาก เพื่อพิจารณามาตรการต่างๆ
ที่มาของข่าว : http://www.ryt9.com/s/nnd/2283951