CEO ARTICLE
แชร์ลูกโซ่
ทำอย่างไรจึงจะป้องกันประชาชนมิให้หลงเข้าสู่แชร์ลูกโซ่ ?
“การขายตรง” และ “แชร์ลูกโซ่” มีลักษณะคล้ายกันจนประชาชนอาจสับสน
“การขายตรง” อยู่ภายใต้ พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 3 ระบุโดยย่อว่า หมายถึง “การทำการตลาดและการขายโดยตรงไปยังผู้ซื้อซึ่งอาจเป็นการขายผ่านตัวแทนชั้นเดียว หรือผู้ขายอิสระหลายชั้น” กฎหมายและธุรกิจแบ่งการขายตรงเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. แบบการตลาดชั้นเดียว (Single Level Marketing)
หมายถึง ผู้ขายสินค้า หรือผู้ขายบริการจะมุ่งขายไปยังผู้ซื้อโดยตรง
ผู้ขายชั้นเดียวมีรายได้จากยอดขายตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น รายได้อัตราร้อยละ หรือจากส่วนแบ่งกำไร ไม่มีรายได้จากการหาสมาชิกให้มาเป็นผู้ขาย ไม่มีรายได้จากค่าหัว
2. แบบการตลาดหลายชั้น หรือ MLM (Multi Level Marketing)
หมายถึง การสร้างเครือข่ายให้มีผู้ขายหลายคน เป็นทีม มีรายได้จากการขายเช่นเดียวกับการตลาดชั้นเดียว และอาจมีรายได้เล็กน้อยจากการหาสมาชิกให้มาเป็นเครือข่ายช่วยขาย
การตลาดหลายชั้นตามมาตรา 3 หรือ MLM ยินยอมให้ผู้ขายหาสมาชิกเป็นทีมได้
แต่กฎหมายการขายตรงยังมีมาตรา 19 ที่ระบุเนื้อหาโดยย่อว่า “ห้ามมิให้ผู้ขายตรงชักชวน หรือจูงใจบุคคลอื่นเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโดยให้ผลประโยชน์ตามจำนวนผู้เข้าร่วม” และมีมาตรา 20 ระบุโดยย่อว่า “ผู้ทำธุรกิจขายตรงต้องไปจดทะเบียนต่อคณะกรรมการตาม พรบ. ขายตรงก่อน”
กฎหมายทุกมาตรามีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกมุ่งหารายได้จากการขายสินค้า อาจมีรายได้เล็กน้อยจากการหาเครือข่ายช่วยขาย แต่ห้ามมีรายได้เป็นรายหัวจากสมาชิกที่เพิ่มจนเป็นเครือข่าย ให้สมาชิกมุ่งขายลูกค้าทั่วไป มิให้มุ่งขายกันเองในหมู่สมาชิกจนมีสภาพเป็น “แชร์ลูกโซ่”
พอมีคำว่า “แชร์” มันก็ไปตรงกับ “การเล่นแชร์” ที่ประชาชนคุ้นเคยจนอาจเข้าใจผิด
การเล่นแชร์มี “พรบ. การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534” มาตรา 3 ระบุโดยย่อว่า “ห้ามนายวงแชร์จัดวงแชร์มากกว่า 3 วง ห้ามจำนวนคนทุกวงแชร์รวมกันมากกว่า 30 คน และจำนวนเงินทุนกองกลางก็มีกฎกระทรวงกำหนด”
การเล่นแชร์มุ่งหาสมาชิก มุ่งตั้งกองทุนโดยไม่มีสินค้า สมาชิกทุกคนต้องส่งเงินเข้ากองทุนเป็นงวด ๆ มีรายได้จากการประมูลหมุนเวียนในหมู่สมาชิก สมาชิกที่ประมูลได้จะเสียดอกเบี้ย
การเล่นแชร์มีกฎหมายรองรับ แต่แชร์ลูกโซ่ไม่มี คนทำจึงใช้การตลาด MLM เป็นตัวนำ
วิธีการคือ การไปจดทะเบียนตามกฎหมาย มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ ให้ดูน่าเชื่อถือ จูงใจให้เป็นสมาชิก ให้เป็นเครือข่าย มีการชูสินค้าต่าง ๆ โดยไม่มุ่งเน้นคุณภาพ ไม่มุ่งเน้นการขายสินค้า แต่มุ่งเน้นการหาสมาชิกมาก ๆ ให้สมาชิกบอกต่อสมาชิกเพื่อสร้างรายได้
สมาชิกจะมีรายได้จากสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งขัดต่อมาตรา 19 พรบ. ขายตรงฯ
สินค้าที่สร้างภาพส่วนใหญ่เป็นของใช้ในครัวเรือน ของใช้ประจำวัน หรือของที่สมาชิกต้องใช้อยู่แล้ว ราคาขายตั้งสูงกว่าคุณภาพเพื่อจูงใจสมาชิกให้ซื้อในปริมาณมากให้ได้ราคาต่ำลง
แต่คนขายก็มีมาก มีไปทั่ว การขายจึงไม่ใช่จะขายคนภายนอกได้ง่าย ๆ ส่วนใหญ่จึงขายกันเองในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน ขายคนในครอบครัว แจก หรือนำไปใช้เอง
สมาชิกเก่าต้องเสียเงินค่าตำแหน่งเพิ่มไปเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มฐานะเป็น Up Line ให้ได้ส่วนลดสินค้ามากขึ้น และให้มุ่งหาสมาชิกใหม่เป็น Down Line เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นเป็นลูกโซ่ และเอาค่าสมาชิกมาแบ่งกันจนเป็นแชร์ลูกโซ่
วิธีการสังเกตง่าย ๆ คือ คนขายตรงที่ถูกกฎหมายจะมุ่งเน้นสินค้า มุ่งเน้นคุณภาพ และมุ่งเน้นการขาย ไม่มุ่งเน้นรายได้จากสมาชิก แต่คนทำแชร์ลูกโซ่จะมุ่งเน้นรายได้ มุ่งเน้นความร่ำรวยอย่างก้าวกระโดด มุ่งเน้นการหาสมาชิกจนเป็นเครือข่าย และเป็นลูกโซ่โดยไม่มุ่งเน้นการขายสินค้า
หากจะว่าคล้ายกันก็ใช่ แต่กฎหมายควบคุมมี หน่วยงานของรัฐที่ต้องกำกับดูแลก็มี และตอนประชาสัมพันธ์ก็ใช้คนมีชื่อเสียงให้ประชาชนรับรู้ ติดตามไปทั่วจนเกิดอาการอยากรวยไปทั่ว
แต่แปลกที่หน่วยงานของรัฐไม่รู้ ยปละละเลยหลายปี
บางหน่วยงานของรัฐไปรับของบริจาคจากคนทำแชร์ลูกโซ่ กลายเป็นการสร้างภาพให้ทางอ้อม ให้คนทำแชร์ลูกโซ่นำไปประชาสัมพันธ์จนประชาชนเชื่อว่า หน่วยงานของรัฐรับรอง
กฎหมายขายตรงฯ ห้ามชักชวน ห้ามจูงใจมาเป็นเครือข่าย และหากเป็นการเล่นแชร์ก็มีข้อจำกัดซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ประชาชนไม่รู้ แต่หน่วยงานของรัฐไม่รู้ ไม่ตรวจสอบ และไม่ดำเนินการใด ๆ กลับเป็นเรื่องผิดปกติอย่างมาก และเป็นต้นเหตุให้ประชาชนถูกจูงใจจนเสียหายนับพันล้านบาท
เมื่อคนทำแชร์ลูกโซ่มีการจดทะเบียน มีหน่วยงานของรัฐกำกับดูแล มีการประชาสัมพันธ์ที่รับรู้ในวงกว้าง หน่วยงานของรัฐที่ปล่อยปละละเลยจึงเป็นต้นเหตุของความเสียหาย
การป้องกันประชาชนมิให้หลงเข้าสู่แชร์ลูกโซ่ต้องเริ่มจากการลงโทษหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่รับเงินเดือนจากประชาชนต้องลุกขึ้นทำหน้าที่ปกป้องประชาชนอย่างแท้จริง
เศรษฐกิจประเทศไทยไม่เคยดี คนจนจึงมีมาก คนอยากรวยก็มีมาก มีตลอดเวลา
หากรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไม่ลงมาสั่งการให้สมกับเงินเดือนที่ได้รับ หน่วยงานของรัฐก็ไม่ถูกลงโทษ ไม่มีเยี่ยงอย่าง แชร์ลูกโซ่ก็จะกลับมาหลอกลวงประชาชนซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่จบสิ้น.
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : October 15, 2024
Logistics
อินโดนีเซียบล็อกแอปอีคอมเมิร์ซ Temu เพื่อปกป้องบริษัทท้องถิ่น
การดำเนินการของ Temu ซึ่งเป็นอีคอมเมิร์ซของจีนถูกระงับในอินโดนีเซีย หลังจากที่ กลุ่มอุตสาหกรรมเรียกร้องให้รัฐบาลลบแอปดังกล่าวออก เนื่องจากกังวลว่าแอปดังกล่าว จะคุกคามวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อม (MSMEs) ของท้องถิ่น “เราได้ลบแอป Temu ออก เพื่อตอบสนองต่อข้อกังวลของประชาชน โดยเฉพาะธุรกิจ MSMEs” นายบูดี อารี รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ กล่าวที่สำนักงานกระทรวงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ตามรายงานของสำนักข่าว Antara
กระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศอินโดนีเซียระบุว่า Temu ไม่สามารถดำเนินการในอินโดนีเซียได้ เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ (PSE) และไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง นายบูดี อารี กล่าวเพิ่มเติมว่าการตัดสินใจระงับการดำเนินการของ Temu ในอินโดนีเซียนั้นเกิดขึ้นตามจดหมายของ นายนายเตเตน มัสดูกี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ขอให้มีการคุ้มครอง MSMEs จากรูปแบบธุรกิจของ Temu “ผลิตภัณฑ์ MSME ในท้องถิ่นต้องได้รับการคุ้มครอง จากรัฐบาลจากธุรกิจต่างประเทศที่ขายผลิตภัณฑ์ต่างประเทศโดยตรงจากโรงงาน ทำให้มีราคาถูกกว่ามาก ซึ่งเป็นการแข่งขันที่เป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอินโดนีเซีย เมื่อเร็วๆ นี้ Temu มีให้บริการบน Play Store ของ Google และ App Store ของ Apple ในอินโดนีเซีย ทำให้เกิดกระแสออนไลน์และมีการร้องเรียนจากชุมชน MSME และตัวแทนรัฐบาล
“เราได้บล็อกแอป Temu ทั้งใน App Store และ Play Store เพื่อปกป้องผู้บริโภคและผู้ประกอบการ MSME” นายบูดี อารี ประกาศตามที่ CNN Indonesia รายงาน อย่างไรก็ตามยังเหลือแอป Temu เวอร์ชันหนึ่งยังคงดาวน์โหลดได้จาก Play Store เมื่อวันพฤหัสบดี แต่ราคาผลิตภัณฑ์แสดงเป็นเงิน ปอนด์อังกฤษแทนที่จะเป็นเงินรูเปียห์อินโดนีเซีย
Temu เผชิญข้อกล่าวหาว่าได้รับเงินอุดหนุนทำให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ในราคาต่ำเทียมได้ ในปี 2023 Google ได้ระงับ Pinduoduo ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Temu เนื่องจากสงสัยว่าบริษัทติดมัลแวร์ซึ่งก่อให้เกิด ภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้ มีข่าวลือแพร่สะพัดทางออนไลน์ว่า Temu กำลังมองหาช่องทางเข้าซื้อตลาด Bukalapak ของอินโดนีเซียเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการเข้าสู่ประเทศ แต่นาง Cut Fika Lutfi เลขาธิการบริษัท Bukalapak กล่าวว่าไม่เคยได้ยินแผนดังกล่าว
“บริษัทไม่ทราบข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับแผนการเข้าซื้อกิจการของ Temu” นาง Cut Fika Lutfi เขียนไว้ในการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX) เมื่อวันอังคารว่าการคาดเดาเกี่ยวกับความ พยายามเข้าซื้อกิจการที่อาจเกิดขึ้นส่งผลให้หุ้นของ PT Bukalapak.com ซึ่งจดทะเบียนใน IDX ภายใต้รหัสตัวย่อ BUKA พุ่งขึ้น 25% ในวันจันทร์ บริษัทเน้นย้ำว่าการเพิ่มขึ้นนี้เป็นปฏิกิริยาของตลาดต่อข้อมูลที่ แพร่กระจายไปในตลาด “การคาดเดาในตลาดอยู่เหนือการควบคุมของบริษัท ดังนั้น บริษัทจึงขอให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไป ให้ความสนใจกับข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยก่อนตัดสินใจลงทุนในบริษัท”
ความคิดเห็นของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.)
รัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่อนุญาตให้ Temu ซึ่งเป็นแอพลิเคลั่นซื้อขายสินค้าออนไลน์สัญชาติจีนดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซีย เพราะความกังวลว่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจรายย่อย รายเล็ก และรายกลาง (MSMEs) ภายในประเทศ ซึ่งเป็นการบรรลุข้อตกลงลงร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการสื่อสารและสารสนเทศ (นายบุดีอารี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายซัลคิฟลี ฮาซัน) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์และรัฐวิสาหกิจขนาดย่อม (นายเตเตน มัสดูกี) เนื่องจากเห็นว่าแอปดังกล่าวเป็นแพลตฟอร์มการค้าข้ามพรมแดนจากจีนที่ใช้ระบบขายตรงจากโรงงานถึงผู้บริโภค ซึ่งต่างจากแอปซื้อขายออนไลน์อื่นๆ โดยแอป Temu จะตัดห่วงโซ่คนกลางออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบไม่เฉพาะกับผู้ประกอบการรายย่อย แม้แต่โรงงานขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลกระทบด้วย การห้ามแอปTemu ดำเนินการในอินโดนีเซียเน้นย้ำถึงความตึงเครียดระหว่างการสนับสนุน อุตสาหกรรมในประเทศและการอนุญาตให้มีการแข่งขันจากต่างประเทศ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของวิสาหกิจในประเทศ จึงเกิดการเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซง
ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/185147
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!