SNP NEWS
ฉบับที่ 384
CEO Article
“ทำไมต้องมี ส.ส.”
“เฮ้ย … ผมสั่งให้หยุดทะเลาะกันเดี๋ยวนี้” เสียงผู้ใหญ่บ้านดังลั่นจนทำให้การทะเลาะกันของชาวบ้าน 2 กลุ่มยุติลง ชาวบ้าน
2 กลุ่มต่างก็อ้างสิทธิ์ของตนแย่งหนองน้ำสาธารณะเพื่อจับปลาหมู่บ้านแห่งนี้อยู่ในป่า มีหนองน้ำอุดมสมบูรณ์ท้ายหมู่บ้าน ชาวบ้านอยู่และใช้ประโยชน์จากหนองน้ำด้วยความสงบรวมถึงการจับปลามาช้านานอยู่ ๆ วันหนึ่ง ชาวบ้าน 2 คน ต่างแย่งไปจับปลาในบริเวณเดียวกัน ต่างคนต่างก็อ้างสิทธิ์ที่ตนเองควรได้จากนั้นไม่นาน ชาวบ้านที่เหลือต่างก็เข้ามาถือหางพวกของตนจนแยกเป็น 2 กลุ่มต่างคนต่างอ้างว่า บริเวณที่มีปลาชุกมากเป็นสิทธิ์ของกลุ่มตนจนร้อนถึงผู้ใหญ่บ้านต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยวิถีชาวบ้านในอดีตเป็นแบบนี้ผู้ใหญ่บ้านมีอิทธิพลเป็นที่เกรงกลัว แล้วในอดีตจะมีผู้ใหญ่บ้านสักกี่คนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใด จะมีผู้ใหญ่บ้านสักกี่คนที่ตัดสินภายใต้หลักธรรมาภิบาลโดยไม่มีผลประโยชน์ทับ
ซ้อน และจะมีชาวบ้านสักกี่คนที่ยอมรับนับถือด้วยใจจริงทุกหมู่บ้านต่างก็ผ่านระบบนี้จากนั้น สังคมก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็ค่อย ๆ กล้าแสดงอาการคัดค้านมากขึ้น ผู้ใหญ่บ้าน ก็ต้องแสวงหาหลักเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น
การประชุมชาวบ้านเพื่อกำหนดกติกา กำหนดแนวทางใช้ทรัพย์สินสาธารณะให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริงก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเมื่อใดกติกาชัดเจนและชาวบ้านเห็นชอบ เมื่อนั้นผู้ใหญ่บ้านก็สามารถนำกติกามาอ้างอิงจัดการกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น การตัดสินของผู้ใหญ่บ้านก็จะมีกติการองรับและเป็นไปที่ยอมรับของทุกฝ่ายแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ???หากผู้ใหญ่บ้านในอดีตที่ชอบผลประโยชน์ทับซ้อนก็มีวิวัฒนาการตามไปด้วย ผู้ใหญ่บ้านกลุ่มนี้ก็จะกะเกณฑ์พวกพร้องให้มากำหนดกติกาซะเอง เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านยังคงได้ผลประโยชน์ทับซ้อนจากกติกาที่ตั้งขึ้นชาวบ้านที่สูญเสียประโยชน์ก็ต้องไม่ยอมรับ การลุกฮือต่อต้านก็อาจเกิดขึ้นจนนำเข้าไปสู่ความขัดแย้งอีกครั้งผลประโยชน์ที่ว่านี้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยสักเพียงใด หากชาวบ้านมองอย่างคนมีวิสัยทัศน์ มองอย่างคนมีสติ มองเพียงแปล๊บเดียวก็ดูออกแล้ว เพราะนี่เป็นเพียงหมู่บ้าน
เล็ก ๆ แห่งเดียวหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งเดียว มองแปล็บเดียวก็มองออกแต่หากหมู่บ้านรวมตัวกันนับหมื่น ๆ แห่งจนกลายเป็นประเทศแล้วมีทรัพย์สินสาธารณะเข้ามาเกี่ยวข้องนับไม่ถ้วนละ มันย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครจะมองผลประโยชน์ทับซ้อนนั้นออก
การกำหนดกติกาของประเทศให้ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน จึงกลายเป็นเรื่องซับซ้อนขึ้นมาทันตาเห็น
การประชุมคนจากหมู่บ้านนับหมื่น ๆ แห่ง เพื่อร่วมกันกำหนดกติกาที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนให้แก่ผู้ใดก็กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
แต่จะหาสถานที่ใดมาบรรจุคนนับสิบล้านหรือร้อยล้านคน และจะหาวิธีประชุมอย่างไรที่ไม่สร้างความวุ่นวายจากคนจำนวนมหาศาลเหล่านี้
ทางออกที่ดีที่สุดคือ การกำหนดให้หลาย ๆ หมู่บ้านที่มีสภาพคล้ายกันให้มารวมตัวเป็นตำบล เป็นอำเภอ เป็นจังหวัด หรือเป็นเขตขึ้นมา
จากนั้น หมู่บ้านที่มีสภาพคล้ายกันก็หารือกันเองเพื่อเลือกตัวแทนเข้าร่วมประชุมกำหนดกติกาที่ว่านี้
นี่คือวิวัฒนาการด้านการเมืองการปกครองจนกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันเมื่อกติกาที่ยอมรับเสร็จสิ้นลง ผู้บริหารประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือข้าราชการประจำที่ทำหน้าที่แทนผู้ใหญ่บ้านก็สามารถนำกติกานี้ไปใช้ ในขณะที่ศาลก็ทำหน้าที่พิพากษา ตัดสินความไปตามกติกาที่กำหนดกติกาที่ว่าจะก็คือกฎหมายการคัดเลือกตัวแทนหมู่บ้านที่มีสภาพคล้าย ๆ กันก็คือการเลือก ส.ส. ให้เข้ามาทำหน้าที่ออกกฎหมายในวันนี้นี่เป็นแนวคิดว่า ทำไมมี ส.ส. และ ส.ส. มีหน้าที่อะไรในปัจจุบันแต่หาก ส.ส. มีนายทุนอยู่เบื้องหลัง ส.ส. ก็ต้องมาออกกฎหมายที่นายทุนได้ประโยชน์ มันก็เหมือนกับผู้ใหญ่บ้านจอมทับซ้อนในอดีตที่มีวิวัฒนาการขึ้นมาสร้างผลประโยชน์ทับซ้อนนั่นละส.ส. มีที่มาจากพรรคการเมือง แล้วใครเป็นเจ้าของพรรคการเมืองนั้น ส.ส.ก็ต้องมาออกกฎหมายเพื่อเจ้าของพรรคการเมืองนั้นเช่นกัน เว้นแต่พรรคเป็นของประชาชนอย่างแท้จริงยิ่งเจ้าของพรรคจ่ายเงินไม่อั้น เลี้ยงดูปูเสื่อ ส.ส. อย่างดี อย่างนี้การจ้างผีให้ขึ้นมาโม่แป้งที่ว่ายากกลับกลายเป็นเรื่องกล้วยทันตา“ชนใดเป็นผู้ออกกฎหมายก็มักจะออกเพื่อชนกลุ่มนั้น”ประเทศใดมีบุญหรือมีกรรมมากเพียงใด ก็ลองดูพฤติกรรมพรรคการเมืองที่สรรหาส.ส. มาเสริมบารมีพรรคแต่กลับเป็นการทั้งเสริมบุญและเสริมกรรมให้แก่ประเทศนั้นใน
เวลาเดียวกันพรรคการเมืองมองประชาชนสำคัญ พรรคก็จะจัดสรรผู้สมัคร ส.ส. ที่เข้าใจปัญหาในพื้นที่ จากนั้นก็ส่งมาต่อสู้ให้ประชาชนลงคะแนนเลือกเป็นตัวแทนเพื่อทำกฎหมายแก้ปัญหาในพื้นที่มันก็เป็นการเสริมบุญของประเทศทันตาตรงกันข้าม พรรคการเมืองมองนายทุนสำคัญ พรรคก็จะจัดสรรผู้สมัคร ส.ส. ที่เข้าใจความต้องการของนายทุน จากนั้นก็ส่งมาล่อลวงประชาชนให้ลงคะแนนเลือกเป็น
ตัวแทนเพื่อเข้ามาทำประโยชน์ให้แก่นายทุนโดยมีประโยชน์ประชาชนเล็กน้อยเป็นข้ออ้างมันก็เป็นการเสริมกรรมของประเทศทันตาเช่นกัน
เหลียวมองประเทศไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เรื่อยมา พรรคการเมืองของไทยจัดสรรผู้สมัคร ส.ส. อย่างไร ???
หลายพื้นที่ประสบปัญหาพืชผลการเกษตร หลายพื้นที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ หลายพื้นที่ประสบปัญหาสังคม กลุ่มอิทธิพล ของหนีภาษี เชื้อชาติ ภัยพิบัติ และอื่น ๆ อีกมากพรรคการเมืองที่เคยส่งผู้สมัคร ส.ส. ตามปัญหาพื้นที่ก็มีวิวัฒนาการส่งผู้สมัครเพื่อตอบแทนอะไรบางอย่าง
พรรคการเมืองน้อยจริง ๆ ที่จัดสรรผู้สมัคร ส.ส. ให้เหมาะกับปัญหาในแต่ละพื้นที่ พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะส่งผู้สมัคร ส.ส. ที่สนองนโยบายพรรค นโยบายที่กำหนดขึ้นเพียงเพื่อคะแนนนิยมที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนแต่ส่งผลให้พรรคการเมืองต่างก็ทะเลาะกันไม่รู้จบ
นี่คือปัญหาที่ ส.ส. ถูกบังคับให้สังกัดพรรคการเมือง มันมีดีและมีเสียแบบนี้ “เฮ้ย … ผมสั่งให้หยุดทะเลาะกันเดี๋ยวนี้” วันนี้ ประเทศไทยกลับย้อนอดีตที่ต้องมีผู้ใหญ่บ้านมาจัดให้มี ส.ส. มันดูแล้วขำไม่ออกโดยหลายคนก็สงสัยว่า ผู้ใหญ่บ้านรุ่นใหม่นี้จะมีธรรมาภิบาลเพียงใด
ปัญหาประชาชนต้องแก้ไขด้วยกฎหมาย แต่จะแก้ไขได้อย่างไร หากการเลือก ส.ส. ยังอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์แบบค้ำคอประชาชน มันก็ไม่ต่างอะไรไปจากระบบผู้ใหญ่บ้านในอดีตวันนี้ การมี ส.ส. กลับเป็นเรื่องยุ่งยาก แค่ใครสักคนลองคิดระบบที่ไม่มีการอุปถัมภ์ขึ้นมา คนที่เสียประโยชน์ก็จะลุกขึ้นมาต่อต้านเป็นการเสริมกรรมให้ประเทศไทยทันที
สิทธิชัย ชวรางกูร
The Logistics
เยอรมนีจับมือ 7 ชาติอาเซียน พัฒนาความปลอดภัยท่าเรือ 12 ท่าเรืออาเซียนจับมือหน่วยงานรัฐบาลเยอรมนี ยกระดับการพัฒนาท่าเรือใน
ภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินงาน “เมืองการขนส่งและสิ่งแวดล้อม” ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2552 และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานในเฟสที่ 2 (พ.ศ.2556 – 2558)โดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งมอบหมายให้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดำเนินโครงการร่วมกับสมาคมท่าเรืออาเซียนซึ่งปฏิบัติงานในนามของเลขาธิการอาเซียนนางฟรังก้า สปรอง ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่าง
ยั่งยืน เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขนส่งทางทะเลและท่าเรือมีบทบาทสำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศและการขนส่งสินค้าอย่างไรก็ตาม การกระจุกตัวของกิจกรรมเพื่อการขนส่งสินค้า และการปฏิบัติงานในเขตท่าเรือซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองหรือในเมืองก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเจ้าหน้าที่ท่าเรือและชุมชนโดยรอบ“ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ท่าเรือต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 12ท่าเรือจาก 7 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีความคืบหน้าในการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จากจุดเริ่มต้นที่ต่างกันไปทำให้ท่าเรือแต่ละแห่งได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน โครงการเน้นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยสำหรับเจ้าที่ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งที่ผ่านมา ท่าเรือที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาระบบการบันทึกอุบัติเหตุและมาตรการป้องกัน
และได้นำมาใช้จริง ท่าเรือบางแห่งยังได้พัฒนาระบบการจัดการของเสียจากเรือขนส่งให้ได้มาตรฐานสากลด้วย”นอกจากนี้ โครงการยังได้จัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือกว่า 1 พันคน โดยปรับเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลางและ
ระดับสูง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐของแต่ละประเทศ และจัดตั้งเครือข่ายผู้ฝึกอบรมและศูนย์อบรมต่างๆ ที่จะส่งเสริมการทำงานของท่าเรือต่างๆ ต่อไปหลังจากโครงการสิ้นสุดลงในปีหน้าด้านเรือโทชำนาญ ไชยฤทธิ์รองผู้อำนวยการ ท่าเรือกรุงเทพการท่าเรือแห่ง
ประเทศไทย กล่าวว่าประเทศไทยมีท่าเรือที่เข้าร่วมโครงการนี้ คือท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง และเนื่องจากไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานโครงการ ท่าเรือกรุงเทพจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือกันในภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของท่าเรืออีก 11 แห่งที่เข้าร่วมโครงการจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,103 วันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ที่มา : http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=7324.0
AEC Info
ไทยพร้อมประกาศศักยภาพที่สุดของกิจการฮาลาล จัดการประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ “Thailand Halal Assembly” หวังให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นพร้อมเปิดตัวภาพลักษณ์ THAILAND Diamond Halal ตั้งเป้าขยายการเติบโตด้านส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลปี 59 ได้ถึง 15-20 %รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานการจัดงาน “Thailand Halal Assembly” เผยว่า ตามที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง
ประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติดังกล่าว เพื่อแสดงศักยภาพของกิจการฮาลาลประเทศไทยให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นในระบบและกระบวนการผลิตและการดำเนินงานภายใต้หลักการศาสนาและวิทยาศาสตร์รองรับ อันเป็นผลใหผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยเป็นที่เชื่อถือในตลาดโลก“ปัจจุบันประชากรมุสลิมโลกคิดเป็น 25 % ของประชากรโลก หรือกว่า 1.8พันล้านคน ซึ่งมีการบริโภคอาหารฮาลาล เป็นมูลค่าปีละประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะในอาเซียนมีประชากร 600 ล้านคน เป็นชาวมุสลิมถึง 46% โดยคาดว่าภายในปี 2030 จะมีจำนวนประชากรมุสลิมทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2.2 พันล้านคนคิดเป็น 26.4% ของจำนวนประชากรทั่วโลกทั้งนี้จากจำนวนประชากรมุสลิมที่มีอยู่จำนวนมากและยังคงมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นทำให้ตลาดสินค้าฮาลาล ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค ตั้งแต่เครื่องสำอาง เครื่องดื่มซอสปรุงรส น้ำผลไม้ เสื้อผ้า รวมถึงภาคบริการ เช่น ธนาคาร โรงแรม โรงพยาบาลมีความต้องการเพิ่มขึ้น ในขณะที่อาหารฮาลาล ซึ่งเป็นอาหารที่ชาวมุสลิมสามารถบริโภค
ได้อย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะสามารถขยายการเติบโตการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลในปี 2558 ได้ถึง 15-20 %รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทยกล่าวเสริมว่า ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นอันดับที่ 5 ของโลก หากจะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำอันดับ 1 ของโลกแล้วประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ พร้อมทั้งสร้างสัญญะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวมุสลิมได้จากทั่วโลก ภายใต้แบรนด์ “Thailand DiamondHalal” หรือ “ฮาลาลระดับเพชรจากประเทศไทย” ทั้งนี้ชาวต่างชาติต่างเรียกตรา
สัญลักษณ์ฮาลาลประเทศไทยกันมานานว่า Diamond Halal อันเนื่องจากตราฮาลาลของไทยมีรูปลักษณ์เป็นเพชร (Diamond)
การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ “Thailand Halal Assembly”จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 ธันวาคม 2558 ณ บางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ถือเป็นงานด้านกิจการฮาลาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นการเปิดตัวสัญลักษณ์ “Thailand Diamond Halal”อย่างเป็นทางการอีกด้วย โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์
โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงานในวันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2558 เวลา9 โมงเช้า ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมมากมาย อาทิ งานจัดแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลทั้งอุปโภคและบริโภค ทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 200 บูธ ภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ3 ฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พิธีลงนาม MRAระหว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย และองค์กรรับรองฮาลาลนานาชาติกว่า 47 ประเทศ
การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยไปสู่ตลาดโลก ภายใต้หัวข้อ “Importance of Halal Branding for Export Enhancement”การประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยมาตรฐานฮาลาล จากหน่วยงานตรวจรับรองฮาลาลทั่วโลกจำนวนกว่า 75 หน่วยงาน การประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาล ครั้งที่ 7 (HASIB), การเสวนาในหัวข้อ “หลักสูตร
อิสลามศึกษา เพื่อบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล” รวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากมุสลิมทั่วประเทศ อาทิ การแสดงขับร้อง อัน-นาชีด, การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยระบำ 4 ภาค และการแสดงไวโอลิน โดยคณะศิลปินแห่งชาติ พร้อมไฮไลต์พิเศษที่จัดแสดงครั้งแรกในเมืองไทย กับการแสดงนิทรรศการความมหัศจรรย์ของ “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในโลกอิสลา
ที่มาhttp://www.aec.thanjob.com/
คุยข่าวเศรษฐกิจ
กรมศุลกากร และ กรมประมง ร่วมเดินหน้าแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (IUU FISHING)
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 น. นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร และนายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง ร่วมแถลงข่าวในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเรื่อง การควบคุม ตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำนำเข้า ส่งออก และนำผ่านเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal,Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) ณ ห้อง
ประชุมภาสกรวงศ์ อาคาร 1 กรมศุลกากรอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลกากร ได้ให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้าควบคู่กับการควบคุมทางศุลกากร และในฐานเป็นหน่วยงานหลักในศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และเป็นหนึ่งในหกหน่วยงานหลักของศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) ในการดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) และเพื่อเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไม่ให้มีการทำงานซ้ำซ้อน และมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ กรมศุลกากร จึงได้กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พิธีการศุลกากรเฉพาะเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreportedand Unregulated: IUU Fishing) โดยมีอธิบดีกรมศุลกากรเป็นที่ปรึกษาคณะคุยข่าวเศรษฐกิจทำงานฯ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2. จัดทำข้อตกลงระหว่างกรมศุลกากรและกรมประมง เรื่องการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไม่ให้มีการทำงานซ้ำซ้อน และมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การตรวจสอบเรือก่อนเข้ามาในราชอาณาจักรจนเรือ มาเทียบท่า การควบคุมการขนถ่าย ณ ท่าเทียบเรือ การควบคุมการขนส่งไปยังสถานประกอบการ/โรงงาน การตรวจสอบกระบวนการผลิตเพื่อตรวจสอบย้อนกลับ การประสานงานและการ แลกเปลี่ยนข้อมูล การเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด
3. จัดทำคำสั่งพิธีการเฉพาะเรื่อง ว่าด้วยพิธีการศุลกากรในการควบคุมสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากการกระทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการประกาศยกเลิกGreen Line สำหรับสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์นำเข้าในกลุ่มประเภทพิกัด 0302 0303 0304 และ 1604
4. ปรับปรุงระบบการจัดเก็บสถิติการนำเข้า – ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ของกรมศุลกากรให้มีความครบถ้วนถูกต้อง และสอดคล้องกับการจัดเก็บสถิติของกรมประมงเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ให้มีประสิทธิผลโดยการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์กับกรมประมงผ่านทางระบบ National Single Window ผ่านแอพพลิเคชั่นที่สามารถดำเนินการทางสมาร์ทโฟน
และแทบเล็ตทำให้ตรวจสอบข้อมูลได้ทันเหตุการณ์
5. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการตีความพิกัดอัตราศุลกากรในส่วนสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ระหว่างกรมศุลกากรและกรมประมงให้ถูกต้องตรงกัน รวมถึงผู้ประกอบการนำเข้า – ส่งออก และนำผ่าน ผู้ประกอบการที่ได้รับสถานะ AEO ให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการสำแดงพิกัดสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง
6. เพิ่มความเข้มงวดในการทบทวนหลังการตรวจปล่อย ณ ที่ทำการศุลกากร (Post Review) และการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Post Audit) ณ สถานประกอบการ คลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร และเขตประกอบการเสรี
7. จัดทำคู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติ เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจ ให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องคุยข่าวเศรษฐกิจ
8. จัดตั้งศูนย์ต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายฯ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับ IUU Fishing รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจปล่อยสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์อย่างไรก็ตาม กรมศุลกากร และกรมประมง จะมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่และกำหนดมาตรการต่างๆ สนับสนุนและบูรณาการร่วมแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย
ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (IUU FISHING) ในฐานะของหน่วยงานราชการในศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักของศูนย์ประสานงานการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ต่อไป
เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเป็นสำคัญ
ที่มา :http://www.ryt9.com/s/prg/2299571