SNP NEWS

ฉบับที่ 383

CEO Article

“โยงภาษี”

post-01

“ถ้าผมได้รับการเลือกเป็น ส.ส. ผมจะแปรญัตตินำงบประมาณมาพัฒนาจังหวัดนี้ให้เจริญก้าวหน้า ผมจะสร้างถนนลาดยาง จะมีไฟฟ้าให้ทั่วถึง และจะสร้างโรงเรียนให้ทันสมัย”

คนที่ติดตามการเมืองในอดีตต้องเคยได้ยินถ้อยคำลักษณะนี้มาบ้างไม่ว่าจะเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้หรือไม่ และไม่ว่าจะเป็นการกล่าวกันในทางเปิดเผยหรือในทางลับ แต่ก็เป็นถ้อยคำที่เคยได้ยินกัน การนำงบประมาณมาลงพื้นที่ใดต้องทำเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณ และงบ
ประมาณแผ่นดินส่วนใหญ่ต้องผ่านการแปรญัตติจาก ส.ส. พระราชบัญญัติก็คือกฎหมายผู้สมัคร ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งจะทำหน้าที่ตัวแทนประชาชนในการออกกฎหมายให้เป็นของประชาชนโดยตัวแทนประชาชน และเพื่อประชาชน นี่คือแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การแปรญัตติ ถือเป็นกระบวนการแก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎหมายที่เสนอโดยบรรดาท่าน ส.ส. เห็นว่างบประมาณที่เสนอมีข้อบกพร่อง ควรแก้ไขหรือโยกย้ายให้เหมาะสมหากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เงินแผ่นดินไม่ใช่ของใครคนหนึ่ง ดังนั้นการจะนำเงินแผ่นดินไปใช้ต้องมีกฎหมายรองรับ
ขั้นตอนการออกกฎหมายเกี่ยวกับเงินแผ่นดิน ก็ต้องมีการแก้ไขให้เหมาะสมเพื่อ

CEO Article

ในประสบการณ์ของผู้ติดตามการเมืองส่วนใหญ่จะพบว่า นักการเมืองต้องแปรญัตติกฎหมายงบประมาณเกือบทุกฉบับระหว่างการแปรบัญญัติกระทั่งลงมติ นักการเมืองจะเป็นคนกลุ่มแรกที่รู้ว่า เงินงบประมาณแผ่นดินกำลังจะไหลไปทางไหนหากนักการเมืองมีสายสัมพันธ์กับบรรดาผู้รับเหมา หรือผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การดักรอเส้นทางที่เงินงบประมาณจะไหลผ่านก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายคนที่รู้ก็จะดักรอแล้วก็ได้งานจากงบประมาณแผ่นดิน ส่วนนักการเมืองจะมีส่วนได้ส่วนเสียร่วมด้วยหรือไม่นั้น มันเป็นเรื่องพิสูจน์ยากการจัดสรรงบประมาณและการแปรญัตติ จึงเป็นเรื่องที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้น และอาจทำให้นักการเมืองเสื่อมเสียชื่อเสียงง่าย ๆ เช่นกันแต่ทำไมนักการเมืองจึงพยายามดิ้นรนเข้ามาสู่ถนนการเมือง ???เงินงบประมาณแผ่นดินปี ๆ หนึ่งมีมากมายนับล้านล้านบาทนักการเมืองที่มุ่งหวังหากินกับเงินงบประมาณแผ่นดินก็อาจจะมี ขณะที่นักการเมืองที่มุ่งหวังพัฒนาประเทศด้วยการบริหารและการออกกฎหมายไม่มุ่งหวังหากินกับเงินงบ
ประมาณก็อาจจะมีเช่นกันไม่ว่านักการเมืองจะมุ่งหวังหรือไม่ก็ตาม สุดท้าย การพัฒนาประเทศ การบริหารและการออกกฎหมายก็หนีไม่พ้นเงินงบประมาณแผ่นดินอยู่ดีแล้วเงินงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาลในแต่ละปีมาจากไหน ???คำตอบสั้น ๆ คือ เงินงบประมาณแผ่นดินมาจากเงินภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บจากประชาชนเงินภาษีอากรมหาศาลที่ถูกเก็บไว้ ย่อมไม่มีเท้าที่จะเดินไปจ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการได้เอง และย่อมไม่มีสมองที่จะเดินไปพัฒนาจังหวัดใดได้เอง แต่ต้องอาศัยมือของนักการเมืองในการนำไปใช้ด้วยกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งแต่ละประเภทเป็นการเลือกตัวแทนประชาชนเข้าไปทำหน้าที่บริหาร ตรวจสอบ และออกกฎหมายนักการเมืองจึงเป็นบุคคลที่ถูกเลือกเข้ามาให้นำเงินภาษีของประชาชนไปใช้นี่ก็คือหลักการระบอบประชาธิปไตยเงินภาษีที่ประชาชนเป็นผู้จ่าย ประกอบด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

CEO Article

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพามิตร ภาษีสุรา ภาษีรถยนต์ ภาษีมหาดไทย ภาษีการโอนที่ดิน และภาษีอื่น ๆ อีกมากเมื่อรัฐมีรายได้มหาศาลจากเงินภาษี นักการเมืองจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำเงินเหล่านี้ไปใช้ในโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันราคาข้าว จำนำข้าว ประกัสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค เพิ่มเงินเดือนให้ตนเอง หรืออื่น ๆ อีกมากแล้วก่อนที่จะนำเงินไปใช้ นักการเมืองเคยถามเจ้าของเงินแล้วหรือยัง ???
วันนี้คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังหาข้อยุติที่มา ส.ส. ที่เหมาะสมกับประเทศไทยไม่ได้ แต่ก็มีทีท่าว่าจะวนเวียนอยู่กับจำนวนประชาชนในแต่ละจังหวัดเหมือนเดิม ทั้ง ๆ ที่ส.ส. ต้องมาใช้เงินภาษี แล้วจะไม่ให้จังหวัดที่มีผู้เสียภาษีมาก ๆ น้อยใจได้อย่างไรสูตรประชาชน 150,000 คน ในแต่ละจังหวัดจะได้ ส.ส. 1 คน เพื่อเข้ามาดูแลเงินภาษีและกฎหมายต่าง ๆ มันก็ยังสร้างความวุ่นวายไม่รู้จบหากการทำงานของ ส.ส. หนีไม่พ้นเงินงบประมาณแผ่นดินจริง คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะน่าจะพิจารณาที่มาของ ส.ส. จากจำนวนเงินภาษีที่แต่ละจังหวัดจัดเก็บจังหวัดใดที่ประชาชนจ่ายภาษีมากก็ควรมีจำนวน ส.ส. เข้าไปมากเพื่อให้เป็นตัวแทนในการออกกฎหมายนำเงินของตนไปใช้ในที่ใด ใช้ในโครงการอะไร และใช้อย่างไรมันเข้าหลักการถามเจ้าของเงินมากกว่าที่มาของ ส.ส. ด้วยวิธีนี้ก็ยังคงเป็นระบบ One Man One Vote เหมือนเดิม
แต่ที่ต่างกันคือ ภายหลังการลงคะแนนเสียงแล้ว จังหวัดที่มีรายได้ภาษีมากก็จะได้ ส.ส.จำนวนมากตามไปด้วยสมมุติ ทุกจังหวัดของไทยมีรายได้ภาษีทุกประเภทรวมเป็นเงิน 10 ล้านล้านบาทต่อปี แล้วอยากมี ส.ส. รวมกัน 500 คนการคำนวณก็จะออกมาว่า จังหวัดใดมีรายได้ภาษีรวมกัน 20,000 ล้านบาท ก็จะมีสิทธิ์เลือก ส.ส. ให้เข้ามาดูแลการใช้เงินได้ 1 คนจังหวัดใดมีรายได้ภาษีรวมได้ 200,000 ล้านบาท ก็จะมี ส.ส. ได้ 10 คนเศษของ 20,000 ล้านบาท จะปัดขึ้นหรือปัดลงก็สุดแล้วแต่คณะผู้ร่างจะพิจารณาผลดีของวิธีนี้จะทำให้จังหวัดที่มีเศรษฐกิจดี มีรายได้ภาษีรวมมากก็จะสามารถเลือกผู้แทนของตนเข้ามาดูแลเงินภาษีที่ตนเสียไปได้มากCEO Articleเวลาลงมติเขานับกันที่มือของ ส.ส.ที่ยกในสภา ส.ส.1 คน มีสิทธิ์ยกได้ 1 มือเท่ากัน แต่ว่าจังหวัดที่ประชาชนเสียภาษีมากก็ต้องมีมือในการดูแลเงินมากตามไปด้วย
ส่วนข้อเสียก็คือ จังหวัดที่มีภาษีน้อยจะได้ ส.ส. น้อยก็อาจน้อยใจ ส่วนจังหวัดที่มีส.ส. มาก ก็จะแปรญัตตินำงบประมาณมาลงจังหวัดของตนมากนั่นมันแนวคิด แต่ในข้อเท็จจริงก็คือ ไม่ว่าจะเลือก ส.ส. วิธีไหนก็มีคนน้อยใจส่วนจังหวัดที่มี ส.ส. มากต้องเป็นจังหวัดที่มีเศรษฐกิจดี การพัฒนาของจังหวัดเหล่านี้มันโตอยู่แล้ว แค่จะนำเงินมาสร้างถนนเพิ่มก็ไม่รู้จะลงถนนตรงไหนมันต่างไปจากจังหวัดที่เศรษฐกิจไม่ดีอย่างสิ้นเชิง มันมีเรื่องให้พัฒนามากมายและด้วยวิธีนี้ก็ย่อมทำให้เจ้าของเงินเขามีสิทธิ์ในการนำเงินของเขาไปพัฒนาที่ใดจังหวัดไหน หรือโครงการอะไรได้มากกว่านักการเมืองคนไหนอยากประกันราคาข้าว หรืออยากรับจำนำข้าว ก็จะมีตัวแทนของผู้เสียภาษีให้ความเห็นชอบและมาดูแลมากกว่าตามไปด้วยมันเป็นแนวคิดย้อนศรเชิงกึ่งประชดสำหรับนักการเมืองที่เข้ามาเพื่อเงินงบประมาณ อะไร ๆ ก็จะแปรญัตติ เอะอะก็สัญญาว่าจะให้ เผลอ ๆ ก็ทำประชานิยมสุดท้าย มันก็หนีไม่พ้นงบประมาณแผ่นดินที่ไม่เคยถามเจ้าของเงินจริง ๆ สักทีไม่มีใครกล้ายืนยันว่า งบประมาณจำนวนมากเป็นตัวล่อใจนักการเมืองหรือไม่ แต่ข่าวการซื้อเสียงให้เข้ามาเป็น ส.ส. ก็เกิดขึ้นทุกทีดังนั้น การกำหนดที่มา ส.ส. ให้โยงกับเงินภาษีจึงน่าจะเป็นตัวเลือกอีกทางหนึ่งแต่หากคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า จำนวน ส.ส. ควรเชื่อมโยงกับจำนวนประชาชนในแต่ละจังหวัด แล้วจะนำหลักการโยงภาษีมาใช้กับการเลือก ส.ว. หรือการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็น่าจะน่าอัศจรรย์เช่นกันส.ว. ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบ และควบคุมการทำงานของฝ่ายการเมือง มันก็จะทำให้จังหวัดที่เสียภาษีมากมีจำนวน ส.ว. ตรวจสอบมากส่วนนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้เงินแผ่นดินสูงสุด หากมีที่มาจากรายได้ภาษี มันก็จะทำให้จังหวัดที่เสียภาษีมากมีโอกาสเลือกนายกฯ ให้เข้ามาใช้เงินมากเช่นกันการเลือกตั้งนักการเมืองโดยการโยงเงินภาษี ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.หรือนายกรัฐมนตรีโดยตรงก็อาจทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงสู่โฉมใหม่ก็ได้สิทธิชัย ชวรางกูร

The Logistics

พาณิชย์ นำคณะผู้บริหารเทศบาลของจีนพบเอกชนไทยหารือด้านโลจิสติกส์ ผลักดันสร้างศูนย์กระจายผลไม้นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีนจะนำผู้บริหารจากเทศบาลเมืองฝางเฉิงก่างเดินทางเยือนประเทศไทยในระหว่างวันที่ 4 – 7 พฤศจิกายน 2558 เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยเข้าสู่มลฑลกว่างซี รวมทั้งหารือความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้ากับท่าเรือแหลมฉบังทั้งนี้ คณะเทศบาลเมืองฝางเฉิงก่าง นำโดยนายหวัง เต๋อ รองนายกเทศมนตรีเมืองฝางเฉิงก่าง มีกำหนดจะเข้าหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้บริหารตลาดไทและเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน“เรากำลังผลักดันการใช้ท่าเรือฝางเฉิงก่างเป็นศูนย์กระจายผลไม้ เนื่องจากมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งทางถนนและรถไฟ นอกจากนี้ ยังยินดีอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไทยในด้านเอกสารและพิธีการ รวมทั้งจะสร้างห้องเย็นรองรับการเก็บผลไม้ ซึ่งปัจจุบันผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก”นายหวังเต๋อ กล่าวนอกจากการหารือเรื่องการส่งสินค้าผลไม้ของไทยแล้ว คณะเทศบาลเมืองฝางเฉิงก่างจะเข้าพบสมาคมไทย – กว่างซี เพื่อหารือด้านการลงทุนและความร่วมมือต่างๆโดยเฉพาะการใช้ไทยเป็นศูนย์กลางด้าน Supply Chain ในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยมีจุดเด่นด้านทำเลที่ตั้งที่สามารถเชื่อมต่อกับภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดี และสอดคล้อง

The Logistics

กับนโยบายเส้นทางสายไหมของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการขนส่ง
สินค้าจากประเทศไทยไปยังเมืองฝางเฉิงก่างโดยตรงยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและผู้ใช้บริการยังมีจำนวนไม่มาก จึงทำให้ต้นทุนการขนส่งสูง แต่หากมีการพัฒนาท่าเรืออย่างต่อเนื่อง คาดว่าต้นทุนการขนส่งจะถูกลงเมื่อเทียบกับเส้นทางเดิมๆ คือ กรุงเทพ– ฮ่องกง – กวางโจว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 28,000 – 30,000 หยวน หรือประมาณ 150,000 – 170,000 บาทต่อ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ ในขณะที่การขนส่งมายังท่าเรือฝางเฉิงก่างจะมีค่าใช้จ่ายเพียง 20,000 หยวน หรือประมาณ 110,000 บาทต่อ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ อีกทั้งระยะเวลาการขนส่งมายังท่าเรือฝางเฉิงก่างจะใช้ระยะเวลาเพียง 3 – 4 วันเท่านั้น ในขณะที่ท่าเรืออื่นๆ ของจีนจะใช้ระยะเวลา 5 – 7วันการเดินทางเยือนประเทศไทยครั้งนี้ คณะเทศบาลเมืองฝางเฉิงก่างยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับพาณิชย์จังหวัดชลบุรี และผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อขอทราบข้อมลูเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งสินค้าไปนังท่าเรือฝางเฉิงก่างอีกด้วยเมืองฝางเฉิงก่างตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นเมืองเดียวที่มีทั้งด่านท่าเรือและด่านชายแดน อีกทั้งเป็นเมืองท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้จีน ท่าเรือฝางเฉิงก่างมีจุดเด่นคือ เป็นท่าเรือน้ำลึกที่มีระยะทางขนส่งสั้นกว่าท่าเรือในมณฑลอื่นๆ ของจีน รัฐบาลจีนจึงกำหนดให้ท่าเรือฝางเฉิงก่าง เป็นท่าเรือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรฐกิจจีนสู่ภายนอก โดยได้คัดเลือกให้ท่าเรือฝางเฉิงก่างอยู่ในนโยบาย “เส้นทางสายไหมทางทะเล” ของจีน เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ท่าเรือฝางเฉิงก่างได้รับอนุมัติให้มีการนำเข้าผลไม้จากกระทรวงตรวจสอบคุณภาพและกักกันโรคจีนซึ่งเป็นท่าเรือแห่งเดียวที่สามารถนำเข้าผลไม้ของบริเวณอ่าวเป่ยปู้ ดังนั้น ท่าเรือฝางเฉิงก่าง จึงกลายเป็นช่องทางสำคัญของการส่งออกผลไม้อาเซียน โดยเฉพาะสินค้าผลไม้จากไทย
ที่มา : http://www.ryt9.com/s/iq03/2290674

สระแก้ว/ นางสายันต์ จันทรา ประธานที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลคลองหาดกล่าวว่า เทศบาลตำบลคลองหาด มีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชา มีจุดผ่อนปรนจำนวน 1แห่ง บ้านเขาดินและสำเภาลูน ทำให้การค้าชายแดนมีบทบาทสูง โดยมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการค้ารวมระหว่างประเทศทั้งสอง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามีอยู่ 2 ลักษณะ คือมีลักษณะทั้งในรูปแบบการค้าชายแดนที่แท้จริงคือเป็นการซื้อขายระหว่างคนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดชายแดน มีรูปแบบคล้ายกับการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ได้มีการทำการค้าขายเฉพาะกลุ่ม ผู้ค้าภายในพื้นที่บริเวณจังหวัดชายแดนเท่านั้น แต่ประกอบด้วยผู้ค้าจากส่วนกลาง และที่อื่นๆ เข้ามาดำเนินการค้าขายผ่านชายแดนไทย-กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีพรมแดนติดต่อกันหลายด้าน และมีจุดการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานางสายันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เทศบาลตำบลคลองหาดจัดระเบียบเน้นเรื่องความสะอาด จึงต้องจัดระเบียบเพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาอยู่ในอาคารที่ทางเทศบาลได้สร้างขึ้น เทศบาลไม่มีนโยบายเช่นนี้เพราะปัจจุบันตลาดจุดผ่อนปรนบ้านเขาดินได้พัฒนาความเจริญไปมากแล้ว หากมีการผูกขาดตลาดก็จะซบเซา ผู้บริหารของเทศบาลคงไม่ทำอย่างนั้นแน่นอน กับรถยนต์บรรทุกทุกชนิดที่วิ่งผ่านเข้าออกด่านพรมแดนจุดผ่อนปรนการค้าบ้านเขาดินฯ โดยเฉพาะรถยนต์บรรทุกสุกร (หมู) มีชีวิตที่ผู้ประกอบการชาวไทยนำส่งออก

AEC Info

ข้ามชายแดนไปส่งขายให้กับพ่อค้าชาวกัมพูชา ในฝั่ง จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชาเพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ที่อาจจะติดต่อกัข้ามประเทศ และเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาอย่างเข้มงวด โดยปัจจุบันประเทศกัมพูชาได้สั่งซื้อสุกรมีชีวิตจากประเทศไทย เพื่อนำไปชำแหละขายให้ประชาชนทั่วไปได้บริโภคอย่างทั่วถึง ประกอบกับประเทศกัมพูชายังไม่สามารถเลี้ยงสุกรในระบบฟาร์มไว้บริโภคเองได้ จึงต้องสั่งนำเข้าสุกรจากประเทศไทยเป็นหลัก สำหรับจุดผ่อนปรนบ้านเขาดิน อยู่ในเขตตำบลคลองหาด อ.คลองหาด อยู่ตรงกับอำเภอสำเภาลูนจ.พระตะบอง วันธรรมดามีชาวกัมพูชาที่เข้ามาจับจ่ายชื้อของวันละเกือบ 3,000 คนส่วนวันเสาร์อาทิตย์วันละเกือบ 7,000 คน ส่วนพ่อค้า-แม่ค้าของชาวกัมพูชาและของไทยมีเงินหมุนเวียนวันละเกือบ 200,000 บาท เทศบาลตำบลคลองหาดเก็บรายได้วันละ 30,000 บาท ซึ่งจะเป็นตลาดรองรับความแออัดของรถบรรทุกสินค้าจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศได้ในระดับหนึ่งอ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/bmnd/2291424

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทยกล่าวในงาน สัมมนา “แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2559 ปีวอกจะเฮงหรือไม่” ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จะขยายตัว ดีขึ้นที่ 2-3% จากปีนี้ที่จะขยายตัว ได้ 2.8%ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพจริง ของประเทศ เนื่องจากประเทศไทย ยังอยู่ระหว่างการปฏิรูปประเทศ ซึ่งหากเป็นไปตามแผนที่รัฐบาลกำหนดไว้จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยประเมินการส่งออก มีทิศทางดีขึ้นเล็กน้อยจากที่ติดลบ 5% ในปีนี้เป็นไม่ขยายตัว หรือ 0% ในปีหน้า โดยได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าถึง 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าต่อเนื่องจากสิ้นปี 2558 อยู่ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความสามารถทางการแข่งขัน สินค้าไทยในตลาดโลกส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ ความเสี่ยงด้านการเมือง ซึ่งเมื่อไม่มีความชัดเจนทำให้เอกชนไม่ตัดสินใจลงทุน ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการปฏิรูปประเทศ ยังเป็นเพียงแค่ความหวังหากไม่เกิดการลงมือปฏิบัติจริง ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ คือแนวโน้ม ดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ โดยคาดการณ์ว่า แม้ธนาคารกลางสหรัฐ
หรือ เฟด จะปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนธันวาคม หลังจากนั้น ในปี 2559จะปรับขึ้นอีก 2 ครั้งตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น ซึ่งหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่อค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ และไทยมีความผันผวน ซึ่งจะต้องติดตามว่าจะมีเม็ดเงินเข้าต่างชาติไหลกลับออกไปมากน้อยแค่ไหน ส่วนผลกระทบต่อ อัตราดอกเบี้ยในประเทศแม้เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เชื่อว่าคณะกรรมการ นโยบายการเงิน หรือ กนง. จะยังคง อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ต่อไป อีกระยะหนึ่ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำที่ 1-1.5% และต้องการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

คุยข่าวเศรษฐกิจ

post-02

ด้านนายพรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะขยายตัว 3-3.5% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะโตได้ 4-5% เนื่องจากส่งออกยังติดลบ 2-3% แม้ว่าดีขึ้นจากที่ปีนี้ติดลบ 5% แต่เป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ดังนั้นการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะมาจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟรางคู่ มอเตอร์เวย์ ส่วนการบริโภคและการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนจะยังไม่ดีมากนัก เพราะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ดังนั้นจึงคาดว่า เศรษฐกิจไทยอาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปีที่จะกลับสู่ภาวะการเติบโตเต็มศักยภาพ โดยระหว่างนี้รัฐบาลควรที่จะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การปรับปรุงโครงสร้างและกฎระเบียบมากกว่าใช้นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนแนวโน้มราคาน้ำมัน ในปีหน้าคาดว่า อยู่ที่ประมาณ 60-70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลจากปีนี้ที่อยู่ที่ 40-50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก การผลิตน้ำมันจากหินดินดานลดลงทำให้ปริมาณน้ำมันน่าจะลดลงบ้าง ส่งผลให้ราคาน้ำมันจะมีโอกาสขยับขึ้นด้านนายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธาน กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2559 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมาจากการฟื้นตัวของภาคส่งออก ซึ่งมีสัดส่วนถึง 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก คือ อเมริกา ฟื้นตัวขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจ ของยุโรปและ ญี่ปุ่น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่พร้อมส่งเสริมการลงทุนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน จะเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในประเทศ และช่วยสร้างความมั่นใจกลับเข้ามา ซึ่งคาดหวังว่าการบริโภค การค้าปลีก และการจับจ่ายในประเทศ จะฟื้นตัวขึ้นในปีหน้าส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นไปตามคาดหรือไม่และความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอกชนให้ความสำคัญ ทำให้ภาคเอกชนยังลดการลงทุน โดยเสนอให้รัฐบาลปรับปรุงกฎหมาย ระบบภาษี เพื่อสนับสนุนความสามารถการแข่งขันให้มากขึ้น และ ต้องสู้กับประเทศคู่แข่งได้ส่วนทิศทางการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น นายก้องเกียรติ กล่าวว่าคงต้องพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมมากกว่ามองภาพรวมของดัชนี เพราะน้ำหนักของดัชนีหุ้นไทย อิงกับหุ้นกลุ่มน้ำมันและสื่อสาร ซึ่งเคลื่อนไหวผันผวนตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน และ ข่าวที่เข้า
มากระทบ ดังนั้นควรพิจารณาหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโต ขณะเดียวกันเห็นว่าราคาหุ้นไทยที่ระดับอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ หรือ พีอี เรโช ประมาณ 17 เท่า ค่อนข้างแพง หากเทียบกับหุ้นสหรัฐที่มีระดับพีอี เรโช ใกล้เคียงกัน หรือหุ้นยุโรป และญี่ปุ่นที่มีระดับพีอี เรโช ต่ำกว่าหุ้นไทย ดังนั้น นักลงทุนต่างชาติ จึงไม่สนใจเข้าลงทุนในหุ้นไทยเหมือนกับที่ผ่านมา
ที่มา : http://www.ryt9.com/s/nnd/2294913