CEO ARTICLE

กองเรือไทย

Published on June 15, 2021


Follow Us :

    

“ศักดิ์สยาม” ฟื้นจัดตั้ง “สายการเดินเรือแห่งชาติ”
ลดต้นทุนโลจิสติกส์ตามนโยบายนายกฯ

ไทยรัฐออนไลน์ขึ้นหัวข้อข่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2564 โดยสรุปว่ากระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง “สายการเดินเรือแห่งชาติ” ขึ้นมาใหม่ตามนโยบายรัฐบาลให้สอดรับกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ
คนที่อยู่ในวงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศกลุ่มหนึ่งทราบข่าวนี้ก็ดีใจ ประเทศไทยจะมีกองเรือของเราเอง ไม่ต้องง้อเรือต่างชาติที่ขึ้นค่าระวาง (Freight) และไม่มีเรือบรรทุกบ่อย ๆ
หากทำได้ ผู้นำเข้าของไทยอาจซื้อสินค้าจากต่างประเทศในราคา FOB หรือ EXW ที่ส่งผลให้การจัดการเคลื่อนย้ายสินค้าและการจ่ายค่าระวางเกิดขึ้นเป็นเงินบาทในประเทศไทย
แบบนี้กองเรือไทยจะได้รับการอุดหนุน ค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพ กิจกรรมโลจิสติกส์จะได้รับการจัดการ และได้รับการฝึกฝนโดยคนไทยจนชำนาญขึ้น
ในทำนองเดียวกัน ผู้ส่งออกก็อยากขายสินค้าในราคา CFR หรือ DDP หรือส่งสินค้าถึงมือผู้ซื้อในต่างประเทศแบบ Door to Door ที่ส่งผลให้การจัดการและการจ่ายค่าระวางในไทยเช่นกัน
เรือไทยจัดการโดยคนไทย ต้นทุนโลจิสติกส์ก็ควบคุมได้ ต้นทุนสินค้านำเข้า สินค้าส่งออก และสินค้าบริโภคที่เคยถูกพิษจากค่าระวางแพงก็จะควบคุมได้ง่ายขึ้น
นี่คือมุมดีที่คนในวงการฯ กลุ่มหนึ่งทราบแล้วดีใจ
แต่คนอีกกลุ่มตกใจ ประเทศไทยเคยมี “กองเรือไทย” มาก่อนในชื่อ “บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด” ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2483 ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ คลังสินค้า ท่าเทียบเรือ ฯลฯ เรือที่ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นการเช่าจากผู้อื่น
เนื่องจากก่อตั้งโดยรัฐบาล รูปแบบการบริหารจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ ขึ้นกับกระทรวงคมนาคม ลูกค้าส่วนใหญ่คือการไฟฟ้า โรงงานยาสูบ กองทัพไทย กระทรวงการคลัง
เอกชนใช้บริการน้อย นอกจากการขายสินค้านำเข้าให้กับหน่วยราชการและถูกบังคับให้ใช้เรือไทย กิจการจึงมีแต่ทรง ทรุด และชะลอจนปิดกิจการในปี พ.ศ. 2554 โดยมติคณะรัฐมนตรี
นี่คือเหตุผลของคนอีกกลุ่มที่เคยรู้เรื่อง “กองเรือไทย” มาก่อนต้องตกใจ

“กองเรือไทย” คำนี้ฟังดูเท่ ประโยชน์ได้มากมายข้างต้น และยังใช้ต่อสู้ในทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่แข่งที่มีกองเรือของตนเอง เช่น เวียดนาม ได้อีกด้วย
แต่หากก่อตั้งขึ้นมาแล้วยังใช้การบริหารแบบเดิม โอกาสซ้ำรอยเดิมก็ยังมี
หากมีกองเรือไทย อันดับแรกรัฐบาลไทยต้องคิด “นอกกรอบ” โดยการนำ “ระบบการเมือง” และ “ระบบราชการ” ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยออกจาก “กองเรือไทย” ให้ได้ก่อน
หากติดขัดที่กฎหมายก็ต้องแก้กฎหมาย หากไม่มีกฎหมายรองรับก็ต้องสร้างขึ้นมา
โชคดีที่กระทรวงคมนาคมอยู่ในระหว่างการศึกษา บทความนี้จึงเป็นเพียงการชี้นำเพื่อใช้ประกอบการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น
“การถือหุ้น” รัฐบาลควรเชิญสมาชิกในสภาผู้ส่งสินค้าออกทางเรือ สภาอุตสาหกรรม ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก สมาคมเกี่ยวกับโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการ สมาชิกในสมาคมต่าง ๆ ที่มีการขนส่งทางเรือ และสาธารณะชนโดยการประกาศให้เป็นผู้ถือหุ้น
“กองเรือไทย” ควรเป็น “มหาชน” โดยปราศจากระบบการเมืองและระบบราชการ
“การส่งเสริม” รัฐบาควรให้การส่งเสริมมากกว่า BOI เช่น ยกเว้นภาษีทุกประเภทในระยะยาว ให้สิทธิประโยชน์คนงานต่างชาติที่จำเป็น ลดค่าภาระเรือเทียบท่า (Port Charge) ต่าง ๆ ในท่าเรือที่เป็นของรัฐ ให้เงินกู้ ให้ความช่วยเหลือด้านการทำสัญญากับต่างประเทศ เป็นต้น
“การจัดการโลจิสติกส์” รัฐบาลต้องส่งเสริมหลักสูตรการจัดการและการปฏิบัติเพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศมากกว่าหลักสูตรวิศวกรรม
ด้านการจัดการและด้านวิศวกรรมมีความสำคัญทั้ง 2 ด้าน แต่หากจะมุ่งเน้นประสิทธิภาพการบริการโลจิสติกส์ การแข่งขัน และการสนองความต้องการลูกค้า การจัดการต้องนำหน้า
หาก “กองเรือไทย” แข่งขันได้ดี มีกำไรเหมือนสายการเดินเรือต่าง ๆ การจัดการโลจิสติกส์โดยคนไทยจะชำนาญขึ้น ต้นทุนสินค้านำเข้าและส่งออกจะถูกลง ค่าครองชีพถูกลง การจ้างงานในอุตสาหกรรมการเดินเรือและโลจิสติกส์ของคนไทยก็จะเพิ่มขึ้น
แต่หากบทความนี้ไม่น่าสนใจ อย่างน้อยรัฐบาลก็ไม่ควรให้ “ระบบการเมือง” และ “ระบบราชการ” เข้ามาเกี่ยวข้อง
ประโยชน์ของ “กองเรือไทย” มีแน่ ความต้องการก็มี เอกชนก็สนใจ ยิ่งรัฐบาลส่งเสริมเต็มที่ ผู้เกี่ยวข้องก็อยากมีส่วนร่วม ทั้งหมดจึงอยู่ที่รัฐบาลจะเริ่มอย่างไรมิให้ซ้ำรอยเดิมเท่านั้น

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : June 15, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

สนค.ชี้สินค้าอาหาร ทำงานที่บ้าน ป้องกันโรค ยังเป็นดาวรุ่งส่งออกปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยเทรนด์การส่งออกปีนี้ถึงปีหน้า สินค้าอาหาร สินค้าที่ใช้อำนวยความสะดวกในการทำงานที่บ้าน และสินค้าป้องกันโรค ยังเป็นดาวเด่น ส่วนสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน จะพลิกกลับมาขยายตัวแบบก้าวกระโดด แต่สินค้าเกี่ยวเนื่องท่องเที่ยวและสินค้าฟุ่มเฟือย มีลุ้นเติบโตช่วงครึ่งปีหลัง มั่นใจปีนี้ส่งออกโตเกิน 4% ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจคู่ค้าฟื้น การทำงานหนักของพาณิชย์ ทั้งส่งเสริมและแก้ปัญหาอุปสรรค
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า สนค. ได้วิเคราะห์และติดตามแนวโน้มการส่งออกไทยในปี 2564 พบว่า กลุ่มสินค้าที่มีแนวโน้มการขยายตัวได้ดี ได้แก่ สินค้ากลุ่มอาหาร ซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต จะมีอัตราการเติบโตสูง เช่น ผัก ผลไม้ สด แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแปรรูป เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร น้ำผลไม้ และอาหารสัตว์ เป็นต้น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานที่บ้าน ซึ่งเป็นสินค้าเมกะเทรนส์ มีความต้องการเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลก เน้นการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน การทำงานและเรียนระยะไกล และการใช้ชีวิตในที่พักอาศัยมากขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศเตาอบไมโครเวฟ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และสินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายตัวได้ต่อเนื่องในปีนี้ และปีหน้า จนกว่าการฉีดวัคซีนจะกระจายได้ทั่วถึง
สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ คาดว่า จะมีการฟื้นตัว หลังจากที่เศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ ซึ่งเป็นตัวเร่งด้านราคาสำหรับสินค้ากลุ่มนี้ เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ปิโตรเคมี เหล็ก ยางพารา น้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง
ส่วนสินค้าที่จะกลับเข้าสู่วัฏจักรการผลิตเดิม หลังจากปัญหาโลจิสติกส์ผ่อนคลาย และกำลังซื้อของประเทศผู้นำเข้าสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น สหรัฐฯ จีน ยุโรป จากการมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีความต้องการสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ยานยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
ขณะที่สินค้าที่ฟื้นตัวช้าจากผลกระทบที่รุนแรงของโควิด-19 น่าจะเห็นการกลับเข้าสู่ระดับปกติในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 เมื่อหลายๆ ประเทศมีการเปิดประเทศรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องสำอาง นาฬิกา กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์สำหรับการเดินทาง เป็นต้น
นายภูสิตกล่าวว่า การส่งออกทั้งปี 2564 มีแนวโน้มโตกว่าเป้าหมาย 4% โดยปัจจัยสำคัญมาจากเศรษฐกิจของคู่ค้าฟื้นตัวอย่างชัดเจน ทั้งสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป และการทำงานหนักของกระทรวงพาณิชย์ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดแผนงานขับเคลื่อนการส่งออก เน้นนโยบายเกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด , อาหารไทยอาหารโลก , กระตุ้นการค้าออนไลน์ , การเร่งรัดการส่งออกในยุคนิวนอร์มอล โดยใช้นวัตกรรมใหม่ทางการตลาด เพื่อส่งเสริมตลาดเชิงรุกทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ และยังได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ทั้งการแก้ปัญหาการค้าชายแดนผ่านแดน โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน การแก้ไขปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในระยะถัดไป ได้แก่ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 จากการเกิดสายพันธ์ใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การการค้าโลก (WTO) มองว่าการฟื้นตัวของการค้าโลกอาจเกิดการชะงักงัน หากหลายประเทศไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างทั่วถึง ขณะที่การเร่งการกระจายวัคซีนและการคลายล็อกดาวน์ที่เร็วขึ้น จะส่งผลให้การค้าโลกเติบโตเพิ่มขึ้น 2.5% ซึ่งจะกลับสู่แนวโน้มก่อนเกิดการแพร่ระบาดในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000054743

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.