CEO ARTICLE

ยิ่งยุบ ยิ่งโต

Published on August 13, 2024


Follow Us :

    

พรรคก้าวไกลถูกยุบแล้วจะยิ่งโตจริงหรือไม่ ?

การเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้ ส.ส. รวม 81 คนใหญ่เป็นลำดับ 3
ปี พ.ศ. 2563 พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบด้วยเงินกู้ 191.2 ล้านบาทซึ่งขัดต่อ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติประโยชน์อื่นใดไม่เกิน 10 ล้านบาท
พรรคก้าวไกลจึงเกิดแทนที่ สานต่อเจตนารมณ์ และเป็นที่ชื่นชอบของคนรุ่นใหม่
การเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 พรรคก้าวไกลได้ ส.ส. รวม 151 คนด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย 14.4 ล้านเสียงขึ้นเป็นลำดับที่ 1 จากการเทคะแนนของคนทุกรุ่นที่เบื่อการเมืองเก่า ๆ อยากได้สิ่งใหม่ ๆ และคิดว่าพรรคก้าวไกลจะเปลี่ยนประเทศไทยให้ดีกว่าเดิม
พรรคก้าวไกลเติบโตอย่างก้าวกระโดด และคำว่า “ยิ่งยุบ ยิ่งโต” ก็เริ่มดังกระหึ่ม
แต่แล้ว วันที่ 7 ส.ค. 2567 พรรคก้าวไกลก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบซ้ำรอยพรรคอนาคตใหม่ จากการติดตามคำวินิจฉัยของศาลฯ พบว่า สาเหตุวนเวียนอยู่กับมาตรา 112 ดังนี้
1. พยายามแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายอาญาคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ พยายามจะให้มาตรา 112 พ้นจากหมวดความมั่นคงไปอยู่ในหมวดทั่วไปของกฎหมายอาญา
2. มีการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตเกี่ยวกับมาตรา 112 จนดูเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งเป็นเสาหลักของประเทศ
ทันทีที่พรรคก้าวไกลถูกยุบ กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปีเป็นเหตุให้ ส.ส. เหลือ 143 คน โดยทุกฝ่ายต่างยืนยันคำเดิมว่า “ยิ่งยุบ ยิ่งโต”

หากพิจารณาสาเหตุที่ทั้ง 2 พรรคถูกยุบจะพบว่าเกิดจาก “มุมมองกฎหมายที่ต่างกัน”
ทั้ง 2 พรรคบริหารโดยบุคคลกลุ่มก้าวหน้าเดียวกัน มีมุมมองกฎหมายแบบหนึ่ง แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมีมุมมองอีกแบบหนึ่ง การมองต่างกันถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้
แม้แต่นักกฎหมายที่เรียนจากสถาบันเดียวกัน ตำราเดียวกัน มีอาจารย์ผู้สอนคนเดียวกันก็ยังมีมุมมองและการตีความที่ต่างกันได้จนต้องมีระบบศาลเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดให้ทุกคนยอมรับ
กรณีพรรคอนาคตใหม่มองว่า การกู้เงินของพรรคฯ เหมือนการกู้เงินแบบธุรกิจ ไม่ว่าจะกู้ 191.2 ล้านบาท หรือกู้เท่าไรก็คือ การกู้เงิน เมื่อแสดงรายการทางบัญชีแล้วก็คือ ความถูกต้อง
แต่ศาลฯ มองกฎหมายที่บัญญัติให้พรรครับผลประโยชน์อื่นใดได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท
การกู้คือ การรับผลประโยชน์อื่นใด หากรับเกิน 10 ล้านบาท พรรคจะถูกนายทุนครอบงำ ต้องสนองนายทุน ขาดอิสระ และพรรคจะไม่ยึดโยงประชาชนทั้งที่พรรคต้องเป็นของประชาชน
กรณีพรรคก้าวไกลมองว่า มาตรา 112 เป็นกฎหมายอาญาทั่วไปที่ต้องแก้ไขได้ ต้องมีโทษตามกฎหมายอาญาทั่วไปเหมือนบุคคลธรรมดา และต้องไปอยู่ในหมวดทั่วไป
แต่หากมองจากประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญทุก ๆ ฉบับมีเจตนารมณ์ให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ให้ทรงอยู่เหนือการเมือง และให้ทรงใช้อำนาจผ่าน 3 เสาหลักคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการเพื่อให้สถาบันฯ เป็นที่เคารพ และได้รับศรัทธาในหมู่ประชาชน
แต่การเมืองและผู้ไม่ศรัทธาอาจยุ่งเกี่ยวกับสถาบันฯ อาจดึงสถาบันฯ ให้ลงมายุ่งเกี่ยว
มาตรา 112 จึงเป็นกฎหมายอาญาเพื่อคุ้มครอง และรักษาพระเกียรติของสถาบันฯ มิให้ถูกดึงลงมา มิให้ถูกดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย ให้มีโทษสูง และให้อยู่ในหมวดความมั่นคงของรัฐ
ทั้ง 2 กรณีเป็นเรื่องการมองกฎหมายในมุมที่ต่างกัน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้
แต่ที่ไม่ปกติ เมื่อพรรคการเมืองนำมุมมองที่ต่างกันทำเป็นนโยบาย ใช้หาเสียง มีประชาชนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศมากขึ้น และะเป็นความเสียหาย หากมองว่า รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนประเทศอื่นต้องเปลี่ยนไป ความมั่นคงของรัฐถูกกระทบมาก และความเสียหายมีมากจนต้องรับโทษสูงสุดตามที่กฎหมายบัญญัติก็พอเข้าใจ
แต่หากจะมองว่าทำให้ประเทศไทยเหมือนประเทศอื่นจึงไม่เสียหายก็พอเข้าใจได้
แต่ที่แน่ ๆ นโยบายนี้แบ่งประชาชนเป็น 2 ฝ่าย โต้เถียงกันเหมือนเด็กแย่งของเล่น ไม่ได้ก็โกรธ ก่อเหตุจลาจล ทั้งที่ในระบบรัฐสภา กฎหมายทุกประเภทต้องแก้ไขได้ แต่ต้องแก้ไขในรัฐสภา อภิปรายด้วยเหตุผล ไม่นำมาเป็นนโยบายหาเสียงให้ประชาชนขัดแย้งกับสถาบันฯ
ศาลย่อมมีเหตุผลของศาลที่คนควรเคารพ แต่คนที่คิดต่าง ไม่ยอมรับ ไม่เคารพ เมื่อศาลฯ มองเป็นความมั่นคงของชาติถูกกระทบมาก การลงโทษจึงถึงขั้นยุบพรรคอย่างที่เห็น
ทันทีที่พรรคฯ ถูกยุบ นักวิชาการ นักกฎหมาย และประชาชนก็แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเหมือนเดิม ขัดแย้ง วนเวียนซ้ำซากแบบเดิมจากคนหน้าเดิม ๆ จนเห็นชัดว่า “ยุบก็ขัดแย้ง ไม่ยุบก็ขัดแย้ง”
แต่เผอิญความขัดแย้งไปสร้างคะแนนนิยมได้ คะแนนนิยมก็สร้างอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองได้ทั้ง 2 ฝ่ายจึงแสดงพลัง ข่าวแจ้งว่า ส.ส. ที่เหลือ 143 คนจะไปเข้าพรรคประชาชนที่ตั้งรอไว้ และพรรคฯ ให้ข่าวว่าจะแก้ไขมาตรา 112 ต่อไป แต่จะเรียนรู้ และระมัดระวังมากขึ้น
ในเมื่อพรรคฯ ยืนยันจะมุ่งไปที่มาตรา 112 ส่วนที่เหลือจึงเป็นเรื่องของประชาชน หากยังเบื่อการเมืองเก่า ๆ ยังอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง และยังอยากได้สิ่งใหม่ ๆ ก็คงเห็นด้วยกับพรรคฯ
แบบนี้คะแนนนิยมจะยิ่งมากขึ้น และคำว่า “ยิ่งยุบ ยิ่งโต” จะเกิดขึ้นจริงอีกครั้ง
เมื่อยิ่งโต แต่พรรคฯ ยิ่งหมกมุ่นกับมาตรา 112 ไม่เลิก ไม่ใส่ใจปัญหาปากท้อง และความทุกข์สุขของประชาชนให้มากขึ้น แบบนี้ “ยิ่งยุบ ยิ่งโต” ก็อาจกลายเป็น “ยิ่งโต ยิ่งยุบ” แทนที่
ทั้งหมดจึงอยู่ที่พฤติกรรมของพรรคฯ และอยู่ที่ประชาชนจะชอบความขัดแย้งจนเทคะแนนนิยมให้มากเพียงใด ประชาชนส่วนใหญ่มีมุมมองไปทางไหน คะแนนนิยมก็จะเทไปทางนั้น
“ยิ่งยุบ ยิ่งโต” หรือ “ยิ่งโต ยิ่งยุบ” จึงเป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง ทุกทางมีคนชอบ และคนไม่ชอบ แต่ที่แน่ ๆ จะส่งความขัดแย้งให้ยืดยาวโดยไม่รู้บทจบจะเป็นอย่างไร.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : August 13, 2024

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

คลองฟูนัน เตโช เส้นทางเดินเรือใหม่กัมพูชา

กัมพูชา ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เริ่มโครงการขุดคลองฟูนัน เตโช เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยชื่อเต็มของโครงการนี้ คือ โครงการระบบขนส่งทางน้ำและโลจิสติกโตนเลบาสัก ที่กินระยะทางยาวถึง180 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างท่าเรือพนมเปญ กับ จังหวัดแกบ ก่อนออกไปสู่อ่าวไทย

ที่มาของชื่อนั้น ฟูนัน ก็หมายถึงอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรโบราณของขอม ที่มีศูนย์กลางอยู่ในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง หรือพื้นที่ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน
ส่วนคำว่า เตโช หมายถึงการสื่อถึงอำนาจและความยิ่งใหญ่

โครงการขุดคลองฟูนัน เตโช นี้ เกิดจากความร่วมมือกัน ระหว่างบริษัทของจีนกับกัมพูชา ใช้งบประมาณสูงถึง 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 60,000 ล้านบาท!!

เส้นทางคลองแห่งนี้ จะทำให้กัมพูชา สามารถเดินเรือออกสู่อ่าวไทยได้ โดยไม่ต้องผ่านแม่น้ำโขง เข้าเวียดนาม ทำให้ลดการพึ่งพาเส้นทางออกสู่ทะเลของเวียดนามลง แถมยังจะมีรายได้จากการเก็บค่าผ่านทางอีกด้วย รวมไปถึงพื้นที่บริเวณริมคลอง ที่จะมีผลดีด้านเศรษฐกิจไปด้วย

แม้จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับกัมพูชา หากแต่ก็มีชาวบ้นที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ก่อสร้างที่ถูกเวนคืนที่ดิน ที่บางคนยังไม่ได้รับข้อมูลว่า จะได้รับเงินชดเชยอย่างไร

นอกจากนี้ ก็ยังมีข้อกังวล เกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อการไหลของแม่น้ำโขง รวมไปถึงข้อกังวลที่ว่า การที่จีนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง อาจส่งผลให้จีนมีข้ออ้างในการนำกำลังทางเรือและทหารเข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้น

ที่มา: https://www.matichon.co.th/foreign/indepth/news_4722644

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.