CEO ARTICLE

VAT 15%

Published on December 17, 2024


Follow Us :

    

VAT 15% ที่รัฐยอมถอยสื่อความหมายอะไร ?

“ในโลกนี้ ทุกสิ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ ยกเว้นความตายและภาษี”
“In this world nothing can be said to be certain, except death and taxes.” เป็นคำกล่าวของ Benjamin Franklin ระหว่างปี ค.ศ. 1706-1790 และเป็นความจริง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT (Value Added Tax) เป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภค
ผู้ใดมีความสามารถมาก มีเงินมาก บริโภคได้มาก ผู้นั้นต้องเสียภาษีมากโดยรัฐนำภาษีไปช่วยคนจน คนมีความสามารถน้อย คนด้อยโอกาส สร้างถนน ไฟฟ้า น้ำประปา สาธารณประโยชน์ จ้างข้าราชการเพื่อบริการประชาชน และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศ
ในทางทฤษฏี ภาษีจึงเป็นเงินที่สร้างความเท่าเทียมเพื่อความยุติธรรมในสังคม
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 80 บัญญัติให้เรียกเก็บ VAT อัตรา 10% ในยามปกติ แต่ทุกปี รัฐจะมี พรก. ลด VAT ให้เหลือ 7% เพื่อช่วยประชาชน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2567 ครม. ก็มีมติเช่นเดิมให้ลดเหลือ 7% ต่อไปอีก 1 ปี
แต่อยู่ ๆ ช่วงปลายเดือน พ.ย. 2567 รมต. คลังก็ออกมาโยนหินถามทางจะขึ้น VAT 15% เลียนแบบประเทศที่เจริญแล้วที่เก็บ VAT ระหว่าง 15%-25% โดยให้เหตุผลตามทฤษฎีว่าจะนำเงินที่คนรวยบริโภคมากกว่า เสียภาษีมากกว่าไปช่วยคนจน และเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ
ทฤษฎีฟังดูดี แต่โลกโซเชียลไม่ดีด้วย มีการพูดกันว่า รัฐไม่มีเงิน ไม่มีความสามารถในการหาเงินเพื่อทำโครงการแจกเงิน 10,000 บาทต่อตามที่หาเสียงไว้จึงขึ้น VAT 15%
เสียงคัดค้านทำให้นายกฯ ต้องออกมายืนยันว่าจะไม่ขึ้น VAT 15%

หากประชาชนไม่มีกิน ไม่มีใช้ ไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรี ต้องรอรับเงินแจกจากรัฐ แนวคิดจะขึ้น VAT 15% คงถูกต้องไม่ต่างจาก Robinhood ที่ปล้นคนรวยไปช่วยคนจน
แต่ในความเป็นจริง คนจนก็ต้องซื้อของกิน ต้องซื้อของใช้ ไม่ต่างจากคนรวย
แม้จะซื้อน้อย แต่หากขึ้น VAT 15% คนจนย่อมถูกปล้นไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น สินค้านำเข้าที่ไม่ขอคืน VAT และสินค้าที่ไม่อยู่ในระบบ VAT จำนวนมากย่อมมีต้นทุนสูงขึ้น และขายแพงขึ้น
การขึ้น VAT 15% จึงเป็นการหยิบยื่นความตายให้คนจนตามคำกล่าวข้างต้น
หากรัฐจะขึ้น VAT 15% รัฐก็ต้องทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนแคบลงก่อน ต้องสร้างงานให้เกิดขึ้นภายในประเทศ ต้องทำเศรษฐกิจให้ดี ให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ ให้มีกิน มีใช้ ให้มีเกียรติ และมีศักดิ์ศรีไปพร้อม ๆ กันเหมือนประเทศที่เจริญแล้วให้ได้ก่อน
วิธีการง่าย ๆ คนเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงศึกษาจากประเทศที่ทำให้เจริญเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ หรือจีนที่ทำให้การทุจริตหมดไปจากประเทศ ลงโทษนักการเมืองที่ทุจริตด้วยการประหารชีวิตจริง ลดยาเสพติด อบายมุข สิ่งมอมเมา ส่งเสริมการศึกษาที่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนมีความรู้ มีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย ไม่มัวเมากับประชานิยมที่มุ่งแต่รอรับ ไม่มุ่งทำงาน ทำให้ประชาชนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีด้วยการทำงาน และมีรายได้ของตน
เมื่อคนมีกิน มีใช้แล้วจึงขึ้น VAT อย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่ว่าจะเป็น 15% หรือ 25% ได้
ด้วยเหตุนี้ คนจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้จึงต้องมาจากคนที่เก่งที่สุดของพรรคการเมือง ต้องผ่านการต่อสู้กันเองภายในพรรคด้วยระบบคุณธรรมจนก้าวขึ้นมาเป็นแคนดิเดตนายกฯ ก่อน
เมื่อมีหลายพรรคก็จะมีแคนดิเดตนายกฯ ที่เก่งหลายคนให้ประชาชนเลือก
ไม่ว่าประชาชนจะเลือกใคร เลือกพรรคไหนก็จะได้คนเก่งที่สุดของพรรค และได้นายกฯ ที่ดีที่สุดมานำประเทศ มาทำให้ประชาชนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีกิน และมีใช้ได้แน่นอน
แต่หากทุกพรรคการเมืองเลือกคนด้วยระบบอุปถัมภ์เหมือนกัน เอาแต่เครือญาติที่ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุดภายในพรรคมาให้ประชาชนเลือกเหมือนกัน ตัวแคนดิเดตนายกฯ ย่อมไม่ใช่คนเก่งที่สุดของพรรค ไม่ว่าประชาชนจะเลือกใคร เลือกพรรคไหน ประชาชนก็ย่อมเสี่ยงที่จะไม่มีกิน ไม่มีใช้ ต้องคอยรับเงินแจกฟรีอย่างไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี และจมอยู่ในความยากจนไม่จบสิ้น
ประชาชนที่คิดแต่จะรับเงินฟรี รัฐที่ส่งเสริมประชาชนให้คอยแต่รับเงิน หากกู้เงินมาแจกก็อาจผิดกฎหมาย เมื่อไม่รู้จะเอาเงินจากที่ไหนมาแจก รัฐก็อาจกลับมาขึ้น VAT 15% อีกเมื่อไรก็ได้
ทุกอย่างจึงอยู่ที่ประชาชนจะคิดสร้างงาน สร้างรายได้ หรือคิดแต่รอรับเงินฟรีที่ส่งผลให้รัฐอาจต้องขึ้น VAT 15% อีกครั้งให้เป็นภาษีเพชฌฆาตส่งความตายสู่ประชาชนทั้งที่หลีกเลี่ยงได้
ประชาชนเลือกนักการเมืองอย่างไรก็ย่อมได้รับผลอย่างนั้นเป็นธรรมดา.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : December 17, 2024

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

การขนส่งแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ทางรถไฟครั้งแรกในประเทศจีน

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เกิดเหตุการณ์สำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีน เมื่อขบวนรถไฟบรรทุกแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนหนัก 24 ตันได้เคลื่อนออกจากท่าเรือเมืองอี๋ปิน มณฑลเสฉวน มุ่งหน้าสู่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์การขนส่งแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทางรถไฟครั้งแรกของประเทศ ที่ผ่านมา การขนส่งแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีข้อจำกัดอย่างมาก เนื่องจากถูกจัดประเภทเป็นสินค้าอันตราย ทำให้บริษัทต้องพึ่งพาการขนส่งทางถนนและทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งมีต้นทุนสูงและใช้เวลานาน โดยเฉพาะการส่งออกระหว่างประเทศ กระบวนการขนส่งจะใช้เวลาประมาณ 53 วัน ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งมอบสินค้าของบริษัท ความสำเร็จครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์มณฑลเสฉวนที่ได้ผลักดันนโยบายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565

ในเดือนมกราคม 2567 กลุ่มรถไฟแห่งชาติจีนได้จัดตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อศึกษาการขนส่งแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ใช้เวลาถึง 9 เดือนในการวิจัยและพัฒนา ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อาทิ มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ เงื่อนไขทางเทคนิค การจัดการความปลอดภัย และพัฒนาตู้คอนเทนเนอร์เฉพาะกิจ ผลจากความสำเร็จครั้งนี้ไม่เพียงแก้ปัญหาโลจิสติกส์ แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ให้กับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของจีน โดยเฉพาะมณฑลเสฉวนซึ่งมีทรัพยากรลิเธียมมากถึง 57% ของประเทศ และมีบริษัทชั้นนำอย่าง CATL และ Honeycomb Energy

การขนส่งทางรถไฟจะช่วยลดต้นทุนและระยะเวลา โดยเฉพาะการส่งออกไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เช่น อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้แบตเตอรี่จีนเข้าสู่เส้นทางรถไฟสายไหมใหม่ (Belt and Road Initiative) ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของจีนในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างนวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ข้อเสนอแนะ สคต. ณ นครเฉิงตู
สำหรับผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ ควรให้ความสนใจกับการพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรชาวจีน โดยเฉพาะบริษัทในมณฑลเสฉวนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานร่วมกันจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและตลาดใหม่ ๆ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญคือการพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่ โดยเฉพาะการศึกษาเทคโนโลยีการขนส่งและการจัดการความปลอดภัย การสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนามาตรฐานการขนส่งแบตเตอรี่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและโอกาสทางธุรกิจ

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรมองหาโอกาสในการเป็นพันธมิตรกับบริษัทจีนที่ต้องการขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน การสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบการขนส่งข้ามแดนจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สำหรับภาครัฐ ควรสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและองค์ความรู้ การออกนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ รวมถึงการลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบเพื่อเอื้อต่อการลงทุนและการพัฒนานวัตกรรม ท้ายสุด การติดตามแนวโน้มและพัฒนาการของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในระดับโลกอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวและคว้าโอกาสทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/190119

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.