CEO ARTICLE

CCTV เสีย

Published on December 24, 2024


Follow Us :

    

ทำอย่างไรจึงจะป้องกันมิให้กล้อง CCTV เสียบ่อย ?

CCTV (Closed Circuit Television System) หมายถึง ระบบบันทึกภาพเคลื่อนไหว
CCTV เป็นกล้องวงจรปิดที่ปัจจุบันทุกประเทศทั่วโลกนิยมนำมาติดตามสถานที่สาธารณะ ส่วนราชการ สถานีขนถ่ายสินค้า ท่าเรือ สนามบิน และสถานที่ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมจนประชาชนนิยมนำมาติดตั้งตามบ้านเรือน และสำนักงาน
หลายเหตุการณ์ที่กล้อง CCTV ช่วยให้ตำรวจเห็น และเข้าใจเหตุการณ์จนจับคนร้ายได้
แต่จากข่าว สจ. โต้งถูกยิงเสียชีวิตในบ้านคุณโกทร (นายสุนทร วิลาวัลย์) และตามมาด้วยข่าวกล้อง CCTV บริเวณใกล้เคียงของหน่วยงานท้องถิ่นเสียจนตอกย้ำคำว่า “Thailand Only”
หลายเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวพันกับผู้มีอิทธิพล หรือการกระทำผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่ตามมาด้วยข่าวกล้อง CCTV ในสถานที่ราชการทุกระดับเสียไม่ต่างจากข่าว สจ. โต้ง
กล้องเสียเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ไม่เว้นแม้แต่ในโรงพยาบาล แต่ที่ไม่ปกติมาก ๆ เพราะจะเกิดขึ้นเฉพาะเรื่องที่มีผู้มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง และเกิดเฉพาะ “ที่นี่ประเทศไทย”
สุดท้ายก็มักเป็นภาระของสื่อมวลชนที่ร่วมกันตามหากล้องของชาวบ้าน กล้องที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กล้องจากหน้ารถยนต์ที่เผอิญผ่านไปมา หรือรถยนต์ที่จอดบริเวณใกล้เคียงที่เกิดเหตุเพื่อนำมาเป็นข่าว และมีส่วนทำให้หลายคดีคลี่คลายด้วยกล้องชาวบ้าน
กล้อง CCTV จึงมีความสำคัญ และจำเป็นต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

ในเมื่อมีความสำคัญ กล้อง CCTV เสียจึงเป็นปัญหาระดับชาติ รัฐจึงควรลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพแก้ไขปัญหา หรือจัดทำมาตรการให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ของคนในชาติ ตัวอย่างเช่น
1. หน่วยราชการจะเสียไม่ได้
นายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทุก ๆ หน่วยงานราชการต้องมีคำสั่งให้หน่วยราชการทุกแห่ง หน่วยงานท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถานที่สาธารณะทุกแห่งต้องติดตั้งกล้อง CCTV ให้มีหน้าที่บำรุงรักษา และให้มีความรับผิดชอบในการดูแลรักษากล้อง CCTV มิให้เสีย
ในเมื่อเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ กล้องเสียก็ต้องรีบซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่โดยเร็ว
หากระหว่างซ่อมเกิดเหตุร้ายให้ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรง ให้ถูกย้าย หรือพักการปฏิบัติหน้าที่โดยอัตโนมัติภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อทำการสอบสวนว่า การซ่อมกล้องช้าเกินไปหรือไม่ หรือให้เป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ก็ยิ่งดี
2. ยกเว้นอากรขาเข้า
นายกรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้กล้อง CCTV ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อให้มีราคาถูกลง ให้ชาวบ้านเอื้อมถึงมากขึ้น และให้มีการติดตั้งเป็นการทั่วไปเพื่อช่วยราชการเหลือราชการมากขึ้น
3. ลดหย่อนภาษี
บ้านเรือน หรือสถานประกอบการค้าใด หากติดตั้งกล้อง CCTV ให้สามารถบันทึกภาพได้ถึงที่สาธารณะในระยะห่างมากกว่า 50 เมตร จะได้รับการลดหย่อนภาษีโรงเรือน ภาษีทรัพย์สิน หรือภาษีอื่นที่เห็นว่าเหมาะสมในอัตราที่กำหนดเช่นร้อยละ 20 ของอัตราที่ต้องเสีย เป็นต้น
4. พาหนะเคลื่อนที่ต้องติดกล้อง
รถยนต์ใหม่ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ หรือพาหนะเคลื่อนที่ใหม่ที่วิ่งในท้องถนนต้องติดกล้องจากผู้ผลิต รัฐต้องทำเป็นกฎหมายให้กล้องบันทึกภาพเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของพาหนะ
เมื่อรวมกับราคากล้องถูกลงจะทำให้เจ้าของรถยนต์เก่าหันมาติดกล้องกันมากขึ้น
ต่าง ๆ นานาเหล่านี้เป็นทั้งมาตรการบังคับและการส่งเสริมให้ทั้งสถานที่ราชการ และบ้านเรือนเอกชนมีกล้อง CCTV หรือกล้องบันทึกภาพอื่นเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม
ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดำเนินการ และเป็นหน้าที่นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาแล้วต้องใช้อำนาจรัฐสั่งการให้เกิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
แต่หากนักการเมืองมาจากผู้มีอิทธิพล พัวพันสิ่งผิดกฎหมาย หรืออาชญากรรม แบบนี้ใครจะสั่งการ สุดท้ายประเทศไทยก็ต้องจมอยู่กับปัญหากล้อง CCTV เสียในสถานที่ราชการเรื่อยไป
หากจะทำให้ประเทศไทยพ้นจากคำว่า “Thailand Only” หรือให้คำว่า “Thailand Only” มีความหมายที่ดีในทางบวกก็ต้องเริ่มจากรัฐ และนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ร่วมมือกัน.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : December 24, 2024

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

ท่าเรือเทียนจิน ประตูสู่เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งอนาคต

ท่ามกลางยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ท่าเรือเทียนจิน ซึ่งเป็นประตูทางทะเลที่สำคัญของ เขตปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย ได้กลายเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ ของหนิงเซีย บริษัทมาเสิร์กได้จับมือกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ด้วยความโดดเด่นของท่าเรือเทียนจินคือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเป็นท่าเรือน้ำลึกเทียมระดับโลกที่ประกอบด้วยพื้นที่ท่าเรือหกแห่ง มีความสามารถในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ติดอันดับ 10 ของโลก ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะ และการเชื่อมต่อทั้งทางเรือและรถไฟที่ครอบคลุม นายเหยียนซินหัว ประธานบริษัทโลจิสติกส์ใหม่หัวแห่งหนิงเซีย เปิดเผยว่า จุดแข็งของความร่วมมือครั้งนี้คือการเชื่อมโยงเส้นทางพาณิชย์ระหว่างภูมิภาคกลางเอเชียและท่าเรือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์เคมี เช่น กรดอะมิโน ซึ่งหนิงเซียมีปริมาณการผลิตสูง

ความร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระหว่างประเทศ แต่ยังเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของหนิงเซีย ท่าเรือเทียนจินได้ขยายบริการอย่างครอบคลุม ตั้งสำนักงานภูมิภาค จัดตั้งบริษัทร่วมทุน และพัฒนาเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ วิสัยทัศน์ของทั้งสองฝ่ายคือการสร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ การสนับสนุนนวัตกรรม และการขยายโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ หนิงเซียซึ่งเป็นฐานการผลิตพลังงาน เคมีภัณฑ์ และเกษตรกรรมที่สำคัญ จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากความร่วมมือครั้งนี้

ในอนาคต ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือ เพื่อสร้างระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการไหลเวียนทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และผลักดันให้หนิงเซียก้าวสู่เวทีการค้าโลกอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ สคต. ณ นครเฉิงตู
โอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทยในการร่วมมือกับเครือข่ายโลจิสติกส์จีนมีแนวโน้มที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญ อาทิ เกษตรอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ อาหาร และเทคโนโลยีการเกษตร ความร่วมมือระหว่างท่าเรือเทียนจินและบริษัทมาเสิร์กเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายเครือข่ายการค้าในภูมิภาคเอเชียกลางและจีนตอนตะวันตกเฉียงเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ถือเป็นช่องทางสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสนใจ โดยเฉพาะการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการจีนในหนิงเซีย ซึ่งมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย การเข้าไปลงทุนหรือสร้างเครือข่ายความร่วมมือในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาระบบโลจิสติกส์และเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศผ่านท่าเรือเทียนจิน จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถวางแผนการส่งออกและกระจายสินค้าไปยังตลาดเอเชียกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับพันธมิตรในพื้นที่จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มโอกาสทางการค้าได้อย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/190923

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.