SNP NEWS

ฉบับที่ 388

CEO Article

“โลจิสติกส์ไทย”

snp-388-01

“โลจิสติกส์ไม่ใช่การขนส่ง”

คำพูดแบบนี้มีแต่นักวิชาการและผู้รู้เรื่องโลจิสติกส์เท่านั้นที่จะพูด คนทั่วไปส่วนใหญ่ที่ไม่รู้เรื่องจะไม่พูดแบบนี้แต่จะพูดว่า “โลจิสติกส์คือการขนส่ง” ซึ่งทำให้โลจิสติกส์มีความหมายที่แคบเกินไปนอกจากจะมีความหมายที่แคบแล้ว คนที่ไม่รู้ยังเอา “โลจิสติกส์” ไปพ่วงร่วมกับชื่อกิจการเกี่ยวกับขนส่ง คลังสินค้า ตัวแทนออกของ และกิจการอื่น ๆ จนตอกย้ำความหมายที่แคบยิ่งขึ้นหากคนทำกิจการขนส่งอย่างเดียวจะพูดว่า “ทำขนส่ง” มันน่าฟังดูสั้น ง่ายและได้ใจความชัดเจนที่สุด แต่ทำไมขนส่งหลายกิจการต้องเอาคำว่า “โลจิสติกส์” มาผสมกับชื่อกิจการด้วยแม้คนในแวดลงรัฐบาลเองบางท่านก็มักกล่าวในมุมแคบจนทำให้คนเข้าใจแคบๆ ตามไปด้วย เช่น ให้สัมภาษณ์ว่า การสร้างทางรถไฟสายใหม่เป็นการพัฒนาโลจิสติกส์ไทย เป็นต้นมันฟังดูก็ไม่ผิดอะไร แต่ทำไมไม่ให้สัมภาษณ์ว่า การสร้างทางรถไฟสายใหม่เป็นการพัฒนารถไฟไทยซึ่งมันน่าจะตรงประเด็นที่สุดทำไมต้องไปลากคำว่า “โลจิสติกส์” เข้ามาร่วมด้วยมันเหมือนกับคนรุ่นเก่าเรียกผู้ผ่านพิธีการศุลกากรว่า “ชิปปิ้ง” มาเกือบ 100ปี นั่นละ จนเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา กรมศุลกากรก็ออกมารณรงค์และออกเป็นพรบ. ที่เรียกว่า “ตัวแทนออกของ” ขึ้นมา
แล้วเป็นอย่างไร ???วันนี้ คนไทยก็ยังเรียกว่า “ชิปปิ้ง” (Shipping) อยู่ดี ฝรั่งก็งง คนที่รู้เรื่องก็งงเพราะคำว่า Ship แปลว่าเรือ ส่วนคำว่า Shipping หมายถึงการเดินเรือ หรือการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศชิปปิ้งของไทยจึงมีความหมายต่างจากประเทศอื่นเขาเรื่อยมาแม้แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ยังรับจดทะเบียน “ตัวแทนออกของ” ด้วยคำว่า “ชิปปิ้ง” และรับจดทะเบียนขนส่ง คลังสินค้า และตัวแทนออกของด้วยคำว่าโลจิสติกส์ หรือโลจิส หรือคำอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันผสมเข้าไปแม้มันจะไม่ผิด แต่มันก็ตอกย้ำคนไทยให้เข้าใจ “โลจิสติกส์” ในมุมแคบเรื่อยไป หากปล่อยไว้อย่างนี้แล้วอนาคตโลจิสติกส์ไทยจะเป็นอย่างไร ???โลจิสติกส์ หมายถึงการบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการรวบรวมการจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการกระจายสินค้าและวัตถุดิบตั้งแต่ต้นทางแหล่งผลิต เข้าสู่กระบวนการผลิตจนสินค้านั้นนำสู่ปลายทางการบริโภคโลจิสติกส์ มีเป้าหมายเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและต้นทุนที่ต่ำลงไม่มีใครรู้ว่า มันเป็นเพราะคนไทยเข้าใจโลจิสติกส์ในมุมแคบเรื่อยมาหรือไม่วันนี้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยจึงยังสูงกว่าประเทศอื่นเขาประเทศไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์ราว 14% ของ GDP ขณะที่ประเทศอื่นอยู่ที่8-9% ส่วนต่าง 5-6% นี่เองที่ส่งผลให้สินค้าของไทยมีต้นทุนสูงกว่าประเทศอื่นเมื่อสินค้ากระจายสู่ตลาด ต้นทุนโลจิสติสก์ที่สูงกว่าทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าที่แพงกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ต้นทุนที่สูงกว่าก็ทำให้สินค้าส่งออกมีราคาขายสูงกว่าเวลาแข่งขันราคากับชาติอื่น ๆ ผู้ส่งออกของไทยก็ต้องเสียเปรียบด้านต้นทุนอยู่วันยันค่ำหลายรัฐบาลที่ผ่านมามอบให้กระทรวงพาณิชย์พัฒนาโลจิสติกส์ไทย กระทรวงพาณิชย์เองก็รู้ว่าวงการโลจิสติกส์ไทยแตกออกเป็นหลายประเภทและต่อสู้กันอย่างไม่มีเอกภาพการแย่งงานและการตัดราคาจึงเกิดขึ้นไม่เว้นวัน และไม่สามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้นอกจากการจดทะเบียนชื่อตนเองให้หรูด้วยคำว่า “โลจิส หรือโลจิสติกส์”กระทรวงพาณิชย์ก็เลยจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อให้โลจิสติกส์ที่แตกเป็นหลายประเภทมีความรู้ความเข้าใจและมารวมกลุ่มกันให้เป็นเอกภาพ ให้มีพลังเข้าต่อสู้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต่างชาติใครทำขนส่ง ใครทำ Freight ใครทำคลังสินค้า ใครทำตัวแทนออกของและอื่น ๆ ที่มีใจอยากสร้างการบริการให้เป็นโลจิสติกส์ที่แท้จริงก็มารวมตัวกันจนสามารถก่อตั้งกิจการใหม่ขึ้นได้ถึง 2 บริษัท นั่นคือ TLA (Thai Logistics Alliance Co., Ltd.) และ SLA (Siam Logistics Alliance Co., Ltd.)ผ่านระยะเวลาไม่กี่ปี บริษัทที่คลอดโดยกระทรวงพาณิชย์กลับไม่สามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคง ไม่สามารถปฏิวัติโลจิสติสก์ไทยได้ ทั้ง 2 บริษัท จึงมีสภาพเหมือนล้มหายตายจากไปสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน และกลายเป็นรายจ่ายให้เอกชนหลายรายอย่างไม่คุ้มค่าหากถามกระทรวงพาณิชย์ ท่านก็ว่า ท่านมีหน้าที่เป็นแกนกลางดึงกิจการที่ต่างคนต่างอยู่อย่างกระจัดกระจายให้มารวมตัวเป็นโลจิสติกส์จริง ๆ อย่างมีเอกภาพเพื่อต่อสู้ จากนั้นการต่อสู้ก็ต้องเป็นเรื่องของบริษัทใหม่ที่เป็นเอกชนท่านไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้แต่หากถามสมาชิกทั้งของ TLA และ SLA คำตอบก็คือ สมาชิกทุกคนมีกิจการ
ของตนที่ต้องดูแลจนกลายเป็นข้อจำกัดในการทุ่มเทได้อย่างจริงจังสมาชิกทุกคนต่างหวังลึก ๆ แบบล้ม ๆ แล้ง ๆ ว่า กระทรวงพาณิชย์น่าเป็นหัวหอกนำไปรับงานโลจิสติกส์ระหว่างประเทศใหญ่ ๆ แข่งกับต่างชาติสุดท้าย คนทำโลจิสติกส์ก็ยังขาดเอกภาพเหมือนเดิม ในขณะที่ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยก็ยังสูงกว่าประเทศอื่นเหมือนเดิม และคนไทยก็ยังเข้าใจโลจิสติกส์ในมุมแคบเหมือนเดิมผลของความเข้าใจในมุมแคบ ๆ ส่งผลอะไรในวันนี้ ???วันนี้ ผู้ส่งออกไทยมักถูกบังคับจากผู้ซื้อต่างประเทศให้เสนอขายสินค้าในราคาEXW (Ex-Works) มากขึ้นซึ่งหมายถึงผู้ซื้อต่างประเทศจะมารับมอบสินค้า ณบริเวณหน้าโรงงานในไทยเองผู้ส่งออกถูกบังคับก็ไม่ได้เสียหายอะไรเพราะยังได้เงินค่าสินค้าเหมือนเดิม แต่เงื่อนไข EXW กลับทำให้การรวบรวม การจัดเก็บ และการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังต่างประเทศตกอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของผู้ให้บริการโลจิสติสก์ต่างชาติผู้ให้บริการต่างชาติได้งานไปก็ไม่ได้เข้ามาทำงานเอง มันไม่คุ้ม แต่มาว่าจ้างผู้ให้บริการแต่ละประเภทของไทยทำงานแทนเขาให้กำไรคนไทยนิดหน่อยเพราะคนไทยชอบตัดราคาแย่งงานกัน แต่ค่าบริหารจัดการโลจิสติกส์ทั้งกระบวนการที่มากกว่ากลับตกไปอยู่ในมือต่างชาติแล้วผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต่างชาติก็ได้ฝึกฝนการบริหารจัดการ มีความรู้ความเข้าใจ และมีความชำนาญมากกว่าคนไทยเรื่อยมาใคร ๆ ก็รู้เรื่องนี้แต่จะแก้ไขอย่างไรในเมื่อมันเป็นความต้องการของผู้ซื้อต่างประเทศการส่งออกด้วยเงื่อนไข EXW มันเป็นภาวะจำยอม แต่พอลองหันมาดูการนำเข้าบ้าง มันยิ่งน่าตกใจ วันนี้ คนไทยเริ่มสั่งซื้อสินค้านำเข้าด้วยข้อเสนอด้วยเงื่อนไขราคาแบบ DDP (Deliery Duty Paid) กันมากขึ้นความหมายก็คือ ผู้นำเข้าของไทยจ่ายเงินค่าสินค้าที่รวมค่าระวางเรือ ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือต้นทางและในประเทศไทย ค่าภาษีนำเข้า ค่าขนย้ายจนสินค้าส่งถึงมือผู้นำเข้าในประเทศไทยมันให้ความสะดวกสบายแก่ผู้นำเข้าจริง ๆ เพราะแม้แต่ค่าพิธีการศุลกากรและค่าภาษีนำเข้า ผู้ขายต่างประเทศก็ยังจ่ายให้โดยผู้นำเข้าอาจลืมว่า มันถูกบวกในค่าสินค้าแล้ว และก็อาจไม่รู้ด้วยว่าจำนวนเงินที่บวกเข้าไปมันมากกว่าความจริงเพียงใดในโลกนี้ไม่มีของฟรีจากนั้น ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต่างชาติก็จะได้งานและได้เงินกำไรค่าบริหารจัดการเหมือนการส่งออก แล้วก็มาว่าจ้างผู้ให้บริการท้องถิ่นของไทยทำงานทั้ง ๆ ที่เป็นการทำงานในประเทศไทย และผู้นำเข้าของไทยเป็นผู้จ่ายเงินค่าทำงานนั้น แต่ผู้ให้บริการต่างชาติได้งานแล้วขนกำไรงาม ๆ กลับบ้านโดยทิ้งกำไรนิดหน่อยให้ผู้ให้บริการไทยที่ได้งานรับช่วงต่อเงินกำไรที่ถูกขนออกไปก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยในภาพรวมสูงขึ้นนั่นละนี่คือวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นทั่วโลกโดยโลจิสติกส์ไทยค่อย ๆ ตกเป็นเบี้ยล่างซึ่งมาประกอบกับประเทศไทยค่อย ๆ เปิดโลจิสติกส์เสรีให้ต่างชาติเข้ามามากขึ้นอีก
วันนี้ คนไทยจึงควรทำกลับในมุมตรงข้ามให้ได้ ผู้ส่งออกควรขายสินค้าในราคาDDP แทน EXW และผู้นำเข้าควรซื้อสินค้าในราคา EXW แทน DDP เพื่อให้กำไรไหลกลับประเทศไทยโดยผู้ให้บริการของไทยจะได้โอกาศฝึกฝนการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในต่างประเทศระดับสากลมากขึ้นหากทำได้อย่างนี้นาคตโลจิสติกส์ไทยในระดับสากลก็น่าจะดีขึ้นตามไปด้วยวันนี้หน่วยงานที่จะแก้ไขจึงมีแต่เพียงรัฐบาลหน่วยเดียวรัฐบาลเพียงเป็นเจ้าภาพถามคนทำโลจิสติกส์ไทยว่าต้องการอะไร คนทำโลจิสติกส์เขารู้ดีว่า อะไรควรทำ อะไรต้องช่วยเหลือ อะไรถูกกฎหมาย และอะไรต้องแก้ไขกฎหมาย แล้วสนองเขาให้ได้มันมีสมาคมและสมาพันธ์เกี่ยวกับโลจิสติกส์ในไทยมากจริง ๆ มันมากจนคนที่
ไม่รู้เรื่องก็อาจงง ๆ ว่าเขาก่อตั้งขึ้นมาแล้วยังทำให้คนไทยส่วนใหญ่พูดว่าโลจิสติกส์คือการขนส่งอยู่อีกหลายรัฐบาลในอดีตก็พยายามทำแบบนี้ แต่ตัวแทนรัฐบาลมักตอบเขาว่า ไอ้นั่นให้ไม่ได้ ไอ้นี่ทำไม่ได้ซึ่งมันน่าจะหมดยุคทำไม่ได้ไปนานแล้ววันนี้รัฐบาลต้องเชิญคนในแต่ละอาชีพมา ถามเขา แล้วสนองเขาให้ได้ สร้างเครื่องมือให้ตามที่เขาต้องการ แล้วการต่อสู้กับต่างชาติก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนในแต่ละอาชีพผลทางเศรษฐกิจและต้นทุนโลจิสติกส์จะกลับคืนสู่ประเทศชาติเองวันนี้ ประเทศไทยยังมีคนเก่ง ๆ มีความเข้ารู้ และมีความเข้าใจอีกมากเพียงแต่ระบบราชการทำให้คนเก่ง ๆ ทำอะไรไม่ออกนอกจากปลีกตัวมาเฝ้ามองอย่างน้อยวันนี้ คนในวงการโลจิสติกส์ไทยแต่ละประเภทต้องรู้ว่าโลจิสติกส์ไม่ใช่การขนส่ง ต้องรู้ว่ากิจการของตนทำอะไร หากไม่ใช่ก็ต้องไม่เอาคำว่าโลจิสติกส์มาพ่วงกับชื่อกิจการสุดท้าย ต้องรู้วิธีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและต้นทุนที่ต่ำลงเขาทำกันอย่างไรมันต้องเริ่มจริงจังจากรัฐบาลเท่านั้น

สิทธิชัย ชวรางกูร

The Logistics

snp-388-02
“ผอ.กทท.” ยันเดินหน้าแหลมฉบังขั้นที่ 3 เร่งทบทวนผลศึกษาเดิม คาดเสนอนโยบายตัดสินใจภายใน 2-3 ปี เปิดบริการในปี 64-65 ขณะที่มูลค่าลงทุนขยับเป็นแสนล้าน ส่วนรูปแบบลงทุนเป็นไปได้ทั้ง PPP เอกชน 100% หรือรัฐลงโครงสร้าง 40% เผยงานด่วนปี 59 ขันนอตทุกส่วนยกระดับคุณภาพบริการเรือเอก สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยภายหลังลงนามในสัญญาจ้างดำรงตำแหน่ง ผอ.กทท.เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ว่า นโยบายเร่งด่วนคือการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการขนถ่ายตู้สินค้า ลดระยะเวลาในการออกสินค้า ที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง โดยจะลงพื้นที่สำรวจและวิเคราะห์การทำงานในปัจจุบันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับโครงสร้าง วางบุคลากรให้เหมาะสมกับงานมากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่าการให้บริการบางตัวยังต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้นจะต้องมีการวางแผนเพื่อปรับปรุง ทั้งระบบ บุคลากรและเครื่องมือให้สามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพส่วนการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 นั้น จะมีการทบทวนผลการศึกษาเดิมเพื่อให้ข้อมูลมีความทันสมัยมากขึ้น เช่นสถานการณ์ตู้สินค้าของตลาดโลกประมาณการการเติบโต ค่าเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และจากการวิเคราะห์การเติบโตของปริมาณตุ้สินค้าเฉลี่ยที่ปีละประมาณ 5% คาดว่าท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 ควรเปิดให้บริการในอีก 6-7 ปีข้างหน้า หรือในปี 2564-2565 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ดังนั้น ในช่วง 3 ปีจากนี้ (59-61) จะเป็นช่วงของการเตรียมความพร้อมด้านการเงินโดยตามผลศึกษาเดิมเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว มูลค่าการลงทุนแหลมฉบังขั้นที่ 3 อยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประมาณ30,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือในการให้บริการประมาณ50,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันประเมินว่ามูลค่าลงทุนจะเพิ่มเป็น 100,000ล้านบาท ส่วนรูปแบบการลงทุนจะมีการศึกษาเปรียบเทียบใน 2 รูปแบบเพื่อให้รัฐบาลตัดสินใจ คือ ตามรูปแบบเดิมรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสัดส่วน 40%เอกชนลงทุนเครื่องมือให้บริการสัดส่วน 60% หรือจะให้เอกชนลงทุนทั้งหมด100% รูปแบบ PPP เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ“ที่ผ่านมามีการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนมาโดยตลอด ซึ่งการท่าเรือฯ แสดงความจริงใจในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงในการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งคนในพื้นที่เริ่มเข้าใจมากขึ้น ซึ่งในการพัฒนาเฟส 3 คงรอให้เฟส 2เต็มก่อนแล้วค่อยทำไม่ได้ ส่วนเฟส 2 จะเต็มเร็วหรือช้าขึ้นกับปัจจัยภายนอกเป็นหลัก คือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน หรือกรณีเกิดสงครามเพราะล้วนกระทบต่อปริมาณตู้สินค้าทั้งสิ้นสำหรับปี 2559 มีโครงการลงทุนที่สำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการคือ โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) งบลงทุนรวม 1,864.19 ล้านบาท สามารถรองรับตู้สินค้าได้ 300,000 TEU/ปี ขณะนี้ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว กำหนดเปิดบริการปี 2561 และโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operator : SRTO) งบลงทุนรวม2,944.93 ล้านบาท อยู่ระหว่างประกาศร่างทีโออาร์ คาดสรุปประมูลในเดือน ม.ค. 2559 และเปิดให้บริการปี 2561 ซึ่งทั้ง 2 โครงการใช้รายได้ของ กทท.ลงทุนเอง ดังนั้นในการบริหารงานการลงทุนต่างๆ

ในช่วงปี 2559-2560 จะต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้กระทบต่อกระแสเงินสด“ปี 59-60 การท่าเรือมีแผนการลงทุนค่อนข้างมากอยู่แล้วใน 2 โครงการและบางส่วนเป็นการลงทุนจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือหรือเครน ซึ่งผมจะลงไปดูสภาพการทำงานจริงก่อนที่จะตัดสินใจจัดซื้อ ว่าปัจจุบันเครื่องมือที่มีนั้นมีการใช้งานเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง เช่น ตอนนี้เครนยกตู้สินค้าได้ 25 ตู้/ชม. ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ ต้องดูว่าเพราะอะไร เช่น ลานหองตู้ ส่งตู้มาให้ได้เท่านี้ ภายใน 1 ชม. ดังนั้นมีเครนเพิ่มก็ไม่มีประโยชน์ เป็นต้น” เรือเอกสุทธินันท์กล่าว

ที่มา : http://www.marinerthai.net/forum/index.

AEC Info

snp-388-03

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้มีการ คาดการณ์SMEsที่มีแนวโน้มดีในปี 2556 ได้แก่
1. กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ จากการขยายตัวของการผลิตรถยนต์ ป้อนผู้สั่งจองในประเทศจากนโยบายรถคันแรก และตลาดในต่างประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว โดยคาดว่าในปี 2556 การส่งออกรถยนต์จะขยายตัวได้มากกว่า 20%ซึ่งSMEsกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ให้บริการประดับยนต์ ก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย
2. กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและพลังงานทดแทน เช่น ยางและผลิตภัณฑ์จากยางพารา มีแนวโน้มดีขึ้นจากเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัว และการร่วมมือเพื่อลดกำลังการผลิตจะทำให้ราคายางพาราดีขึ้น, พลังงานทดแทนจากพืชเนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันจากปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
3. กลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการไลฟ์สไตล์ ที่สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคของคนเมือง คนชั้นกลาง และคนรุ่นใหม่ เช่น ของขวัญ ของชำร่วย สินค้าแฟชั่น สินค้าเชิงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งในประเทศไทยมีSMEsจำนวนมากที่ดำเนินธุรกิจด้านนี้อยู่
4.ธุรกิจในกลุ่มก่อสร้าง จะมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นในปี 2556 อันเป็นผลมาจากมาตรการลงทุน ของภาครัฐตามกรอบแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการขยายตัวของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งมูลค่าการลงทุนน่าจะขยายตัวได้มากกว่า10% โดยSMEsที่เป็นผู้รับช่วงการผลิตจากผู้รับ เหมารายใหญ่ก็จะได้ประโยชน์
5. ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม เป็นผลมาจากความคืบหน้าของการประมูล 3G จะทำให้มูลค่าตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตมากขึ้นรวมทั้งกลุ่มเคเบิลและทีวีดาวเทียมที่คาดว่าจะมีปริมาณผู้รับชมในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเพราะมีผู้ดำเนินการรายใหม่เข้ามาแข่งขัน ซึ่งก็มีSMEsหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องเช่น กลุ่มที่พัฒนาแอพพลิเคชั่น กลุ่มผู้ผลิต digital content ผู้ผลิต computergraphic กลุ่มผู้ผลิตรายการบันเทิง เป็นต้น
6. กลุ่มการผลิตและบริการเพื่อสุขภาพและความงาม เช่น อาหารเสริมสมุนไพร เครื่องสำอาง อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ บริการด้านสุขภาพ บริการด้านความงาม เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยมีSMEsเป็นผู้ผลิตและผู้ให้บริการทางด้านนี้จำนวนมาก
7. กลุ่มธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก บริการรถรับจ้างรถเช่า เนื่องจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดนักท่องเที่ยว และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน เศรษฐกิจเอเชีย-อาเซียน และบางประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มที่นิยมท่องเที่ยวในประเทศไทยAEC Info
8. กลุ่มธุรกิจด้านสันทนาการ เนื่องจากความต้องการบริการด้านนี้ขยายตัวมากขึ้น ประกอบกับการมีลู่ทางขยายตลาดไปในเอเชียและอาเซียนมากขึ้นธุรกิจกลุ่มนี้ ก็เช่น ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี กีฬา ข่าวสาร สารคดี รายการทีวี และเคเบิลทีวี มีทั้งSMEsที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวนี้เอง และSMEsที่รับช่วงงานจากธุรกิจรายใหญ่ ทั้งนี้แม้ปี 2556 นี้จะมีSMEsหลายกลุ่มที่มีแนวโน้มดี แต่ทางหน่วยงานที่คาดการณ์
เรื่องนี้ก็ระบุไว้ด้วยว่า ในปีนี้ไทยก็ยังมีความเสี่ยงทั้งจากภายนอกประเทศและภายในประเทศเอง เช่น ปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับค่าแรงวันละ300 บาททั่วประเทศ รวมไปถึงการปรับขึ้นของค่าพลังงาน ทั้งน้ำมัน ไฟฟ้าค่าขนส่ง ซึ่งSMEsก็อย่าประมาท

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม 2558

ประมูล4จีคลื่น900Mhzรอบที่9แตะ34,744ล้านกสทช.ประมูล 4จี คลื่น 900 Mhz มีผู้เข้าร่วมประมูล 4 ราย หมดรอบที่ 36เวลา 21.00 น. ทั้ง 2 ชุดคลื่นความถี่ รวมมูลค่า 52,132 ล้านวันที่ 15 ธันวาคม 2558 การเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2558 ผู้ประกอบการ 4 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัทแจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 3.บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ 4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์เซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ทยอยเดินทางมาลงทะเบียนที่สถานที่จัดการประมูล(สำนักงาน กสทช.) ตั้งแต่เวลา 07.00 น โดยเริ่มการประมูลตั้งแต่เวลา09.00 น กำหนดให้ประมูลต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 21.00 น. จากนั้นจะพัก
การประมูล 3 ชั่วโมง และดำเนินกมรประมูลใหม่ตั้งแต่เวลา 24.00 น. -06.00 น และพักการประมูล 3 ชั่วโมง ก่อนจะเปิดให้ประมูลอีกครั้งหากการประมูลยังไม่สิ้นสุดทั้งนี้ ล่าสุด การประมูลดำเนินการมาถึงรอบที่ 5 โดยผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 4รายยังเสนอราคาประมูลกันอย่างพร้อมเพรียง มีการเสอราราประมูลคลื่น900 ชุดที่ 1 ราคา 16,084 ล้านบาท และชุดท่ 2 ราคาเสนอประมูลเท่ากัน

คุยข่าวเศรษฐกิจ

snp-388-04
เข้าสู่รอบที่9ราคาแตะ34,744ล้านคาดอีกยาวผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 12.00 น. การประมูลดำเนินมาถึงเวลา 12.00
น. โดยถึงรอบที่ 9 แล้ว ซึ่งราคาเสนอประมูลรวมทั้ง 2 ชุดคลื่นความถี่ขึ้นไปแตะระดับ 34,744 ล้านบาท ซึ่งนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกทค. กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ล่าสุดพบว่าการแข่งขันการประมูลรอบนี้รุนแรง และอีกยาว ขณะนี้ยังไม่มีผู้ประมูลรายใดหมอบ ยังคงอยู่ครบทุกราย แต่ราคาจะขึ้นไปถึงระดับไหนขึ้นอยู่กับผู้ประมูลว่าจะรับได้แค่ไหน แต่ก็มองว่าไม่น่าจะยืดเยื้อเท่าการประมูลคลื่น 1800 เพราะแต่ละชุดคลื่นความถี่มีจำนวนน้อยกว่าคือชุดละ 10 MHzการประมูล 4 จีบนคลื่นความถี่ 900 MHz ยังคงดำเนินมาถึงรอบที่ 15 ณเวลา 14.00 น. ราคายังคงขยับด้วยการเสนอราคาทั้ง 2 ชุดคลื่นความถี่ราคาเท่ากัน อยู่ที่ 19,304 ล้านบาท ราคารวมอยู่ที่ 38,608 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ประเมินเบื้องต้นว่า การประมูลครั้งนี้ราคาเสนอประมูลแต่ละชุดคลื่นความถี่ไม่น่าเกินชุดละ3 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง การประมูลน่าจะสิ้นสุดลงก่อนเสลา 6โมงเช้าของวันที่ 16 ธ.ค. โดยหากดำเนินการไปถึงการประมูลรอบที่ 54ราคาประมูลแต่ละชุดคลื่นความถี่จะขยับขึ้นไป 31,862 ล้านบาทเมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.แถลงสถานการณ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ว่า การประมูลได้ดำเนินมาถึงรอบที่ 18 มูลค่าเสนอประมูลรวมอยู่ที่ 40,540 ล้านบาท โดยยังไม่มีผู้เสนอราคาประมูลรายใดใช้สิทธิ์ในการไม่เสนอราคาเลยสักรายเดียว แต่ยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์จากนี้ได้ว่าจะเป็นอย่างไร บอกได้แต่ว่า“เลือดท่วมซอยสายลม” และผู้ประมูลทั้ง4 รายยังคงเดินหน้าต่อคุยข่าวเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม ผู้ประมูลเองจะทราบต้นทุนตัวเองดีอยู่แล้วว่ารับได้เท่าไร แต่หากการประมูลเรื่อยไปจนถึงเวลา 3 ทุ่ม คาดว่าราคาประมูลแต่ละชุดคลื่น
ความถี่จะขึ้นไปถึงราคาชุดละ 2.5-2.6 หมื่นล้านบาทผ่านไป 9 ชั่วโมง การประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 900 ยังไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดลง และผู้เข้าร่วมประมูลยังอยู่ครบทุกราย โดย ณ 18.00 น การประมูลรอบที่ 27 ราคาประมูลขยับขึ้นไปที่ใบอนุญาตละ 23,168 ล้านบาท รวม 2 ใบ
อนุญาต มูลค่าแตะ 46,336 ล้านบาทผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประมูลดำเนินจนถึงรอบที่ 36 หมดรอบ เวลา21.00 น. ใช้เวลาประมูลมาแล้ว 12 ชั่วโมง ซึ่ง กสทช.ได้กำหนดกรอบเวลาในการพัก 3 ชั่วโมง ก่อนเปิดประมูลอีกครั้งในเวลา 24.00 น. ถึง06.00 น. ทั้งนี้ ราคาประมูลในรอบที่ 36 ยังคงมีการเสนอทั้ง 2 ชุดคลื่นความถี่ โดยชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ราคาอยู่ที่ 26,066 ล้านบาท ชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 3 ราย ราคา 26,066 ล้านบาท รวมมูลค่า 52,132ล้านบาทพ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ประธาน กทค. กล่าวภายหลังเวลา 21.00 น. ว่าจนล่าสุดมีรายได้ที่จะนำเข้ารัฐแน่นอนแล้ว 52,132 ล้านบาท ซึ่งคงรอดูกันต่อไปว่าราคาประมูลจะหยุดอยู่ตรงไหน อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าเหนือความคาดหมายแล้วจากที่คาดว่าประมูลจะจบเวลาก่อน 3 ทุ่มด้าน นายฐากร กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมประมูลยังอยู่ครบทั้ง 4 ราย จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะยุติลงเมื่อใด อย่างไรก็ตามเชื่อว่าผู้ประมูลน่าจะเคาะราคากันจนถึงจุดคุ้มทุน ซึ่งเป็นจุดที่ต้องตัดสินใจ แต่ตนคิดว่าราคาประมูลคลื่น 900 ไม่น่าจะต่ำกว่าคลื่น 1800 ซึ่งจุดที่น่าจะต้องตัดสินใจน่าจะคุยข่าวเศรษฐกิจอยู่ที่ราคาประมูล 2.8-3 หมื่นล้านบาท ส่วนในช่วงที่มีการประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลได้แจ้งข้อความสิ่งที่ต้องการ เช่น เชอร์รี่ หูฉลาม ซึ่ง กสทช.สั่งให้ได้แต่ผู้ประมูลต้องจ่ายเงินเอง แต่ยังไม่มีการแจ้งขอยาแต่อย่างใด

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสดฉบับวันที่ 16 ธันวาคม 2558