CEO ARTICLE
Local Charge
อะไรคือข้อแตกต่าง ???
การค้าระหว่างประเทศ VS การค้าภายในประเทศ
การค้าประกอบด้วยสินค้า ผู้ซื้อ ผู้ขาย และการเจรจาตกลงกันในเรื่องเงื่อนไขการชำระเงิน เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า และเงื่อนไขอื่น ๆ อีกมาก
การค้าภายในประเทศอาจมีข้อขัดแย้งกันบ้างแต่ไม่มาก เนื่องจากภาษาและวัฒนธรรมมักเป็นไปในแนวทางเดียวกัน หากจะมีข้อขัดแย้งบ้าง แต่สุดท้ายการตกลงประณีประนอมกันก็ไม่ใช่เรื่องยาก
มันต่างจากการค้าระหว่างประเทศอย่างสิ้นเชิง ภาษาเป็นอุปสรรคหนึ่งล่ะ วัฒนธรรมการซื้อการขายก็แตกต่างอีก หนำซ้ำยังมีเรื่องการผ่านศุลกากรตอนออกและเข้าแต่ละประเทศอีก
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศแตกต่างจากการค้าภายในประเทศอย่างสิ้นเชิง
ข้อแตกต่างเหล่านี้จึงทำให้องค์การการค้าโลก WTO (World Trade Orginzation) และองค์การศุลกากรโลก WCO (World Customs Organization) ต้องเข้ามาจัดระเบียบด้วยการทำเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อป้องกันปัญหา
แม้จะมีการทำข้อตกลงที่ผูกพันระหว่างประเทศแล้วก็ตาม แต่ระหว่างคนซื้อกับคนขายสินค้าระหว่างประเทศก็มักมีฝ่ายหนึ่งที่รู้มากกว่า กับอีกฝ่ายหนึ่งที่รู้น้อยกว่าหรืออาจไม่รู้เลยจนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบจนได้
ตัวอย่างที่เห็นกันบ่อย ๆ คือการซื้อสินค้าเพื่อนำเข้าด้วยเงื่อนไขราคา F.O.B. นี่เอง
การนำเข้าในราคา F.O.B. (Free On Board) หมายความว่าคนขายมีหน้าที่จัดหาสินค้า เคลื่อนย้ายสินค้ามายังท่าเรือส่งออก จัดทำพิธีการศุลกากรเพื่อการส่งออก นำสินค้าขึ้นเรือบรรทุกสินค้าที่ท่าเรือต้นทาง และชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ (Local Charge) ที่เกี่ยวกับการส่งออกภายในประเทศผู้ส่งออก ราคา F.O.B. ได้รวมสิ่งเหล่านี้ไว้หมดแล้ว
เมื่อเรือสินค้าเดินทางมาถึงประเทศไทย ผู้นำเข้าก็จะเป็นผู้ชำระค่าระวางเรือบรรทุกสินค้าและค่าใช้จ่ายในประเทศผู้นำเข้าเอง
ข้อตกลงลักษณะนี้ก็ดูแฟร์ ๆ และเข้าใจง่ายดี ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน
ผู้ใดเป็นผู้ชำระค่าชำระค่าระวางเรือ (Freight) ผู้นั้นก็ย่อมมีสิทธิ์เลือกสายการเดินเรือที่ตนเชื่อมั่นซึ่งในกรณีการซื้อแบบ F.O.B. ก็คือผู้นำเข้าของไทย
การเลือกสายการเดินเรือย่อมส่งผลให้เลือกท่าเทียบเรือเทียบท่าที่สะดวกต่อการนำเข้าได้อีกด้วย นี่คือสิ่งปกติธรรมดา
แต่สิ่งที่ไม่ปกติธรรมดาก็เกิดขึ้นจนได้
ผู้ขายสินค้าต่างประเทศบางราย บางประเทศ ผู้มีลูกเล่นแพรวพราวซึ่งอาจเกิดจากความรู้ที่มากกว่า หรือการมีตัวแทน Logistics ที่มีเล่ห์เหลี่ยมมากกว่า
เรื่องที่ไม่ปกติธรรมดาจึงมีให้เห็น
ปัจจุบัน ผู้นำเข้าของไทยบางท่านอาจพบผู้ขายต่างประเทศขายสินค้าในราคา F.O.B. แต่พยายามเสนอสายการเดินเรือเองให้ผู้ซื้อของไทยเลือกทั้ง ๆ ที่ผู้ซื้อของไทยเป็นผู้ชำระค่าระวางเรือ (Freight)
ผลตามมาที่อาจไม่สังเกตุคือ
เมื่อเรือเทียบท่าในประเทศไทย ค่าระวางเรือ (Freight) ที่ผู้ซื้อของไทยต้องชำระพร้อมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ภายในประเทศไทยกลับบวกค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ (Local Charge) ที่เกี่ยวกับการส่งออกของประเทศผู้ส่งออกเข้าไปด้วยโดยผู้ซื้อของไทยไม่รู้ตัว
พฤติกรรมเช่นกันมักเกิดจากผู้ขายต่างประเทศบางราย บางประเทศเท่านั้นจึงเป็นเล่ห์เหลี่ยมที่ผู้ซื้อสินค้าของไทยควรระวัง
ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งเมื่อผู้ซื้อสินค้าของไทยปฏิเสธที่จะใช้สายการเดินเรือที่ผู้ขายเสนอให้ ผู้ซื้อก็อาจได้รับข้อเสนอค่าระวางเรือจากผู้ขายที่ถูกกว่าปกติพอสมควร
การเสนอขายสินค้าพร้อมค่าระวางเรือนี้ก็คือการเปลี่ยนราคาสินค้าจาก F.O.B. (Free On Board) มาเป็น CFR (Cost and Freight) นั่นเอง
ราคาค่าระวาง (Freight) ที่ต่ำกว่าปกติพอสมควรก็จะกลับเข้ากรณีเดิมคือ ค่าธรรมเนียม (Local Charge) ที่เกิดขึ้นในประเทศผู้ขายจะถูกผลักภาระมายังผู้ซื้อตอนที่จะไปรับเอกสารปล่อยสินค้า หรือ D/O (Delivery Order) อีกเช่นกัน
ขอย้ำว่า พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นจากผู้ขายบางราย และบางประเทศเท่านั้น แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อสินค้านำเข้าของไทยควรทราบเพื่อการควบคุมต้นทุน Logistics ที่ดีต่อไป
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
LOGISTICS
พาณิชย์ จับมือกองทุนหมู่บ้านฯ จัดตั้งโลจิสติกส์ชุมชน เพิ่มรายได้ให้คนในท้องถิ่น
ทั้งนี้ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ และคนในท้องถิ่นที่เข้าร่
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า เบื้องต้นจะเน้นการให้บริ
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์จะจับมือกับภาคธุ
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า โครงการโลจิสติกส์ชุมชนน่
ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านและชุ