CEO ARTICLE

วิสัยทัศน์ รมต.

Published on March 2, 2021


Follow Us :

    

“คนนอก” จ้องฉกเก้าอี้ รมว.
พลังประชารัฐเต้นสกัด ป้อมโยนตู่ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี

26 ก.พ. 64 ไทยรัฐออนไลน์ขึ้นหัวข่าวข้างต้นภายหลังมีกระแสข่าวการดึงคนนอกมาเป็นรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐแทน 3 รมต. ที่หลุดตำแหน่งจากคำตัดสินของศาลอาญาในคดีชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส.
เมื่อผ่านการเลือกตั้งแล้ว ใคร ๆ ก็อยากเป็นรัฐมนตรี
แต่ตำแหน่งรัฐมนตรีไม่ใช่ของรางวัลที่จะให้กับใครก็ได้ และประเทศไทยก็ไม่ใช่สถานที่ที่จะให้ใครก็ได้มาทดลองบริหาร
คนที่จะมาบริหารกระทรวงใดต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารกระทรวงนั้น เช่น มีความรู้ด้านกฎหมาย แรงงาน เกษตร เทคโนโลยี สาธารณะสุข คมนาคม ด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น
คนที่อยากเป็นหรืออ้างว่าตนเองมีความรู้ความสามารถจึงควรแสดงวิสัยทัศน์ให้เห็น
การแสดงวิสัยทัศน์จึงเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง แม้ไม่มีกฎหมายใดกำหนด แม้เป็นที่เข้าใจกันว่าตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นโควต้าของพรรคการเมืองที่มาร่วมจัดตั้งรัฐบาล และแม้จะไม่มีประเทศใดเขาทำกัน แต่ในภาพรวมนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ
นายกรัฐมนตรีจึงควรจัดเวทีลักษณะนี้ อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันความผิดพลาดจากการเลือกคนและเป็นการสะท้อนวิสัยทัศน์ของตัวนายกรัฐมนตรีเอง
นายกรัฐมนตรีอาจขอให้เปิดเวทีขนาดใหญ่ ๆ เช่น สภาเพื่อให้คนที่จะเป็นรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ให้เต็มที่ ประชาชนเข้ารับฟัง ซักถาม ออกทีวี และนายกรัฐมนตรีก็รับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนก่อนตัดสินใจ
การแสดงวิสัยทัศน์เป็นเรื่องของการคิดและการมองจึงไม่เกี่ยวกับการพูดเก่งหรือไม่เก่ง
เสียงสะท้อนของประชาชนย่อมมีทั้งด้านบวกและลบ มีคุณภาพและไร้คุณภาพ แต่จะเป็นกำแพงให้นายกรัฐมนตรีอ้างอิง ผู้ใดมีวิสัยทัศน์เหมาะสมในตำแหน่งรัฐมนตรีมากกว่ากัน
ทำไมจึงควรจัดให้มีการแสดงวิสัยทัศน์สำหรับคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ???

หลายสิบปีที่ผ่านมา ข้อเสียหนึ่งของประเทศไทยคือ นักเลือกตั้งแฝงตัวเข้ามาในหมู่นักการเมืองอย่างกลมกลืนมากขึ้นจนแยกลำบากว่าใครเป็นใคร
นักเลือกตั้งสร้างวาทะกรรมเก่ง โน้มน้าวก็เก่ง สร้างเสน่ห์ สีสรรค์ และจินตนาการเพ้อฝันให้เชื่อได้ง่าย ประชาชนจึงหลงเชื่อและหย่อนบัตรเลือกตั้งให้
แต่หากพิจารณาอย่างมีหลักการและเหตุผลด้วยความตั้งใจก็จะเห็น
นักเลือกตั้งต่างจากนักการเมืองมาก คุณค่า ภาพลักษณ์ คำพูด และพฤติกรรมที่ทำเพื่อประโยชน์ประชาชนจริง ๆ โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนก็ต่างกัน คุณสมบัติและความสามารถในการบริหารกระทรวงก็ต่างกัน
คุณสมบัติที่ต่างกันเหล่านี้ย่อมทำให้ผลของการแสดงวิสัยทัศน์ต่างกันไปด้วย
ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ได้เสียง ส.ส. มากก็ย่อมมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลมาก ทุกพรรคจึงอยากได้ ส.ส. มาก แม้พรรคการเมืองจะให้คุณค่านักการเมืองมากกว่า แต่ก็ไม่อาจทิ้งนักเลือกตั้งได้
นักเลือกตั้งใดสามารถรวบรวมนักเลือกตั้งอื่นให้เข้ามาเป็น ส.ส. เป็นกลุ่มก้อนได้มาก นักเลือกตั้งนั้นก็จะมีส่วนร่วมก่อตั้งรัฐบาลมาก มีพลังอำนาจค้ำจุนรัฐบาลมาก ต่อรองได้มาก และมีอำนาจต่อรองการเป็นรัฐมนตรีได้มากเช่นกัน
การได้ ส.ส. มาเป็นกลุ่มก้อนจึงทำให้นักเลือกตั้งมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน
นี่จึงเป็นต้นทางของการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ซื้อพวก ซื้อบารมี การทุจริต การต่อรอง การแย่งเก้าอี้รัฐมนตรี และในอีกทางหนึ่งก็เป็นการสะท้อนคุณภาพประชาชนผู้เลือก
ตอนเลือกตั้งประชาชนอาจดูไม่ออก อาจต้องการแค่คนเป็นกระบอกเสียง อาจเลือกด้วยอารมณ์ อาจเพียงชอบนโยบายของพรรคการเมือง หรืออาจด้วยปัจจัยบางอย่าง
แต่เมื่อเลือกไปแล้วโดยเสียงส่วนใหญ่ ประเทศชาติก็จะได้นักเลือกตั้งหรือนักการเมืองอย่างนั้น
ประชาชนจึงเป็นผู้สร้างนักเลือกตั้ง สร้างนักการเมือง สร้างรัฐมนตรี และทำให้ประเทศเป็นอย่างนักเลือกตั้งหรือนักการเมืองที่เลือกเป็นตามไปด้วย
ในเมื่อประชาชนอาจมองไม่ออก การแสดงวิสัยทัศน์ของคนที่จะเป็นรัฐมนตรีจึงเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง รัฐบาลจึงควรมีความกล้าหาญเพียงพอจัดให้แก่นักเลือกตั้ง นักการเมือง หรือคนนอกที่เป็นข่าวในเวลานี้

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : March 2, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

รัฐบาลฮ่องกงเดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมการเดินเรือ สร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทย

ปัจจุบันมีบริษัทเรือเดินขนส่งสินค้าที่ จดทะเบียนมากกว่า 2,600 บริษัทในฮ่องกง ซึ่งคิดเป็นความจุสินค้ามากถึง 130 ล้านตัน จัดเป็นอุตสาหกรรมการเดินเรือขนส่งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งนี้ Mr. Frank Chen, The Secretary of Transport and Housing ได้กล่าวว่าเพื่อเป็นการกระตุ้นให้บริษัทผู้ประกอบการเดินเรือเข้ามาดำเนินธุรกิจในฮ่องกง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังสำรวจหาแรงจูงใจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการลดหย่อนภาษีกำไร และการสัมปทานสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ทั้งนี้ Mr. Frank Chen ได้ชี้ว่าการพัฒนาของงานบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติก อาทิ กฎหมายการเดินเรือ การบริหารการเดินเรือ และการประกันการเดินเรือ นั้น ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮ่องกงกลายเป็นศูนย์กลาง การเดินเรือนานาชาติที่หลากหลาย โดยมีระบบการลงทะเบียนที่มีชื่อเสียงระดับโลก และมีอัตราการตกค้างที่ท่าเรือเพียง ร้อยละ 0.81 ซึ่งน้อยกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ร้อยละ 2.44 เป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลฮ่องกงจะเพิ่มประสิทธิภาพ และดึงดูดการลงทุนด้านการเดินเรือให้เข้ามาลงทุนในฮ่องกงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อต้นเดือนมกราคม 2564 หอการเดินเรือนานาชาติ (The International Chamber of Shipping) ได้แถลงผลการดำเนินงานประจำปี (2563-2564) และฮ่องกงยังคงครองตำแหน่งผู้มีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม โดยได้แสดงผล การดำเนินงานของกว่า 120 เขต/ประเทศ จากแผนกควบคุมการเดินเรือของท่าเรือ ระดับการปฏิบัติตามอนุสัญญาทางทะเลระหว่างประเทศ และเอกสารต่าง ๆ ที่ยื่นให้กับ The International Maritime and Labor Organization เป็นต้น ซึ่งจาก 10 อันดับสูงสุดที่ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณสินค้าทั่วโลกนั้น 5 อันดับแรกมีผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมโดยไม่มีข้อตำหนิใด ๆ รวมถึงฮ่องกงด้วย

เช่นเดียวกับประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกของกลุ่มประเทศอาเซียน การประกาศดำเนินโครงการ Eastern Economic Corridor ได้ผลักดันให้ไทยขยายเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบริษัทต่างชาติจำนวนมากที่กำลังย้ายฐานการผลิต ประเทศไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นเลิศท่ามกลางการเติบโตของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะช่วยให้นักลงทุนได้เปรียบในเรื่องของต้นทุน วัตถุดิบ และแรงงานได้

อย่างไรก็ดีประเทศไทยจะสามารถได้ประโยชน์จากมาตรการที่รัฐบาลฮ่องกงได้ประกาศใช้ อาทิ มาตรการลดหย่อนภาษีกำไร และควรศึกษาโอกาสที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการการเดินเรือ การประกันภัย โกดังเก็บของ และการซ่อมแซมบำรุงรักษา เป็นต้น
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีอัตราการใช้บริการท่าเรือขนส่งของฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 3 ของสินค้าจากทุกประเทศ และเป็น 1 ใน 10 อันดับประเทศที่มีการใช้บริการท่าเรือฮ่องกงสูงสุด ดังนั้นฮ่องกงจึงเป็นเขตการปกครองที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ การขนส่งสินค้ากับไทย

ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ
1. ผู้ประกอบการไทยควรติดตามความคืบหน้าการประกาศใช้มาตรการสนับสนุนธุรกิจการเดินเรือของฮ่องกงเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนการปรับตัวทางธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง อาทิ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับธุรกิจบริการการเดินเรือ และการให้บริการประกันภัย เป็นต้น
2. หน่วยงานภาครัฐบาลไทย ควรเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการท่าเรือ และการเชื่อมโยงระบบขนส่ง ทั้งทางบก และทางน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี และการพัฒนาในอุตสาหกรรมการเดินเรือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไทยต่อไป

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/721940/721940.pdf&title=721940&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.