CEO ARTICLE

จับคู่ธุรกิจ

Published on August 30, 2022


Follow Us :

    

ธุรกิจขนาดใหญ่ มีทุนหนา ขยายธุรกิจง่าย แถมยังจับคู่ด้วยกันเพื่อขยายสินค้าและบริการ (Product) ให้กว้างขึ้น มากขึ้น และใหญ่ขึ้นมีให้เห็นมากมายจากข่าวในหลายสิบปีที่ผ่านมา
ทำไมธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) ไม่จับคู่เพื่อสู้กับธุรกิจขนาดใหญ่กันบ้าง ?

การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เป็นการรวมกันของคน กลุ่มคน หรือกิจการตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปเพื่อลดจุดอ่อนของตน และนำจุดแข็งที่แต่ละกลุ่มมีต่างกันมาสร้างประโยชน์ร่วมกัน
การจับคู่ธุรกิจทำให้ธุรกิจดั้งเดิมสามารถต่อยอดให้โตขึ้นได้ง่าย เกิดธุรกิจใหม่ (Start Up) ขึ้นง่าย เป็นลักษณะได้กับได้ หรือ Win Win ของคนทุกกลุ่มที่รวมตัวกัน
การรวมกันต้องใช้เงิน ยิ่งต้องก่อตั้งเป็นธุรกิจใหม่ก็ยิ่งใช้เงินมาก ธุรกิจขนาดใหญ่ (Large) จึงได้เปรียบและทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) จะทำไม่ได้ ยิ่งหากไม่ต้องก่อตั้งธุรกิจขึ้นใหม่ การใช้เงินไม่มาก การจับคู่ธุรกิจก็ยิ่งทำได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างเช่น การจับคู่กันหลวม ๆ เพื่อทำการตลาดร่วมกัน ทำโครงการ CSR ร่วมกัน ช่วยกันประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ หรือการเป็น Out Sources ที่ดีซึ่งกันและกัน
ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ธุรกิจที่จับคู่กันก็ควรมีสัญญาเพื่อความชัดเจน มีระบบปฏิบัติงานที่เข้าใจกัน มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ และมีการปฏิบัติในลักษณะเพื่อนที่ดีต่อกัน เป็นต้น
ปัจจุบันจึงมีละครที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เข้าร่วมฉาก มีฉากการร้องเพลงอวยพรวันเกิดคุณย่าโดยการนำนักร้องใหม่เข้าฉาก แนะนำตัว และโปรโหมตเพลงใหม่ ๆ ต่อยอดธุรกิจ
ในวงการโลจิสติกส์ก็มีการจับคู่ธุรกิจ เช่น Customs Broker จับคู่กับ Freight Forwarder หรือจับคู่กับตัวแทนขนส่งต่างประเทศ (Overseas Agent) ผู้ให้บริการรถขนส่ง คลังสินค้า ตัวแทนเรือ (Shipping Agent) ท่าเรือ (Port) หรือตัวแทนประกันภัย (Marine Insurance) เป็นต้น
ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกก็มีการจับคู่กับผู้ผลิต คู่ค้าต่างประเทศ (Overseas Partner) ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Servider Provider) เพื่อร่วมกันผลิต ซื้อ ขาย รวบรวม จัดเก็บ เคลื่อนย้าย และกระจายสินค้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก

โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก กระแสโลกาภิวัฒน์ การค้าเสรี และเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมากจึงมีธุรกิจจากต่างประเทศเกิดขึ้นมาก เข้ามาในประเทศไทยมาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจดั้งเดิมมาก
ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ มีเงินหนา จับคู่ธุรกิจกับต่างประเทศได้ง่าย ยิ่งได้เปรียบซึ่งเข้าทฤษฏีปลาใหญ่กินปลาเล็กอย่างชัดเจน
หากธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) ไม่ปรับตัว ไม่พัฒนา และไม่จับคู่ธุรกิจกันเอง ความเสี่ยงที่จะเล็กลงจนสูญสิ้นก็อาจเป็นไปได้
ยิ่ง 3 ปีที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดของ Covid-19 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แม้จะอยู่ในช่วงที่ทั่วโลกกำลังฟื้นตัว แต่ธุรกิจมากมายก็ได้ผลกระทบหนักและปิดตัวมาก มันจึงเป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าภายในและต่างประเทศต้องปรับตัวอย่างสูง
การจับคู่ธุรกิจในช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสม อย่างน้อยก็จะได้ประโยชน์ ดังนี้
1. ได้การส่งเสริมสินค้าและบริการ ได้การตลาด และได้การประชาสัมพันธ์ร่วมกัน
2. ได้เพิ่มคุณค่าและภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการระหว่างกันให้กว้างขึ้น
3. ได้การประหยัดงบประมาณด้านต่าง ๆ เช่น การตลาด การส่งเสริมการขาย เป็นต้น
4. ได้ขยายเครือข่าย (Network) ให้กว้างขึ้น ยิ่งได้จับคู่กับธุรกิจกับต่างประเทศก็ยิ่งกว้างขึ้น
5. ได้การเรียนรู้ระบบงาน วิธีการทำงาน เทคโนโลยี และกลยุทธ์ใหม่ ๆ ซึ่งกันและกัน
6. ได้โอกาสสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ที่อาจมีในอนาคตร่วมกันตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเร็ว
7. ได้เพื่อนทางธุรกิจมากขึ้น ไม่มีใครรู้ว่าโลกอนาคตจะเป็นอย่างไร อะไรจะเกิดขึ้น แต่การได้เพื่อนเพิ่มขึ้นย่อมดีกว่าการไม่มีเพื่อน
ธุรกิจแม้จะไม่อยู่ในสายเดียวกันก็ไม่มีข้อห้ามใด ๆ ที่จะจับคู่กันเพื่อการเติบโตร่วมกัน แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับคำว่า ‘วิสัยทัศน์’ (Vision) คำเดียว
ผู้นำมองอะไร เห็นอย่างไร และกำลังจะทำอะไร ธุรกิจก็คงเป็นไปอย่างนั้นเท่านั้น.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : August 30, 2022

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

สินค้านำเข้าไหลผ่านท่าเรือวลาดีวอสตอค

การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สินค้าผ่านท่าเรือ พาณิชย์ของวลาดีวอสตอค (ส่วนหนึ่งของ กลุ่มบริษัท Fesco) เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยสายการเดินเรือในเอเชีย ได้เข้ามาแทนที่ธุรกิจของประเทศตะวันตกที่ถอนตัว ออกจากตลาดรัสเซีย

ด้วยปริมาณคอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือและโครงสร้าง พื้นฐานที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ในช่วง สามเดือนที่ผ่านมา การนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์ผ่าน ท่าเรือพาณิชย์ของวลาดีวอสตอคเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า สูงสุด 28,000 TEU ต่อเดือน แต่ถึงแม้จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ท่าเรือก็ยังทำงานตามปกติตลอด 24 ชั่วโมง เจ็ดวันต่อ สัปดาห์ และสามารถรับมือกับปริมาณคอนเทนเนอร์ที่ เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี

ตลาดการขนส่งทางทะเล แผนการขนส่ง และเส้นทางตู้ คอนเทนเนอร์กำลังเปลี่ยนแปลงไปในขณะนี้ กระแส ไหลเวียนการส่งออกและนำเข้ากำลังถูกปรับเปลี่ยนไปสู่ ตะวันออกไกลของรัสเซียอีกครั้ง

สายการเดินเรือที่หยุดการให้บริการสินค้าเข้า-ออก ตลาดรัสเซียจากมาตรการคว่ำบาตรกำลังถูกแทนที่ด้วย สายการเดินเรือใหม่จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ HEUNG-A LINE, SITC, GFL, Reel Shipping, Zhonggu Shipping Group, OVR Shipping Co และ อื่น ๆ

จากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียอย่าง เข้มข้น ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการไหลเวียนของสินค้าผ่านท่าเรือต่าง ๆ ของรัสเซีย เนื่องจากสายการเดินเรือและท่าเรือสำคัญของยุโรปได้ ยุติการให้บริการกับสินค้าเข้า-ออกรัสเซีย ส่งผลให้ ท่าเรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่อยู่ใกล้กับสหภาพยุโรปและ อยู่ไม่ไกลจากกรุงมอสโกมีปริมาณการขนส่งสินค้านำเข้า ผ่านช่องทางนี้ลดลง ด้วยเหตุนี้สินค้าจากแถบเอเชียจึง ไหลไปผ่านท่าเรือวลาดีวอสตอคชายฝั่งมหาสมุทร แปซิฟิกทางตะวันออกไกลของรัสเซียแทน ก่อนจะ ลำเลียงสินค้าผ่านระบบรางไปทางฝั่งตะวันตกอีกทอด หนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีสายการเดินเรือหน้าใหม่ของแถบ เอเชียเข้ามาเสริมการให้บริการขนส่งสินค้าแทนสายการ เดินเรือของยุโรปที่ถอนตัวออกไป

ขณะนี้ปัญหาการขาดแคลนธุรกิจบริการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศในรัสเซียอันมีเหตุมาจากมาตรการคว่ำ บาตรตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเริ่มคลี่คลาย ลงบ้างแล้ว แต่ยังมีปัญหาต้นทุนค่าบริการในอัตราสูง และต้องใช้เวลาการขนส่งนานขึ้น แต่ผู้นำเข้าก็สามารถ ชดเชยค่าใช้จ่ายได้จากค่าเงินท้องถิ่น (สกุลรูเบิล) ที่แข็ง ค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐจึงช่วยให้ ต้นทุนราคาสินค้านำเข้าไม่แพงจนเกินไป

การส่งออกสินค้าจากไทยไปยังรัสเซียเริ่มปรับตัวดีขึ้น เป็นลำดับในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมายกเว้นสินค้าบาง รายการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทแม่ใน ต่างประเทศที่ร่วมใช้มาตรการคว่ำบาตร และหาก สถานการณ์ของระบบการขนส่งระหว่างประเทศไม่มี เงื่อนไขหรือปัจจัยลบเข้ามาแทรกแซงเพิ่มเติมก็คาดว่า การส่งออกสินค้าของไทยไปยังรัสเซียจะกลับเข้าสู่ภาวะ ปกติได้ภายในปลายปีนี้

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/792065/792065.pdf&title=792065&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.