CEO ARTICLE
นำเข้ายาสูบ
‘ยาสูบ’ หมายรวมถึงอะไร การนำเข้ายาสูบเพื่อจำหน่ายกับการนำเข้าเพื่อใช้ส่วนบุคคลมีความแตกต่างกันอย่างไรและเกี่ยวพันอะไรกับ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ???
‘ยาสูบ’ หมายรวมถึง บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้น ยาเส้นปรุง ยาเคี้ยว และให้หมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นใดที่บริโภคได้เช่นเดียวกับยาสูบตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ส่วนคำว่า ‘บุหรี่ซิกาแรต’ หมายความว่า ยาเส้นหรือยาเส้นปรุงไม่ว่าจะมีใบยาแห้ง หรือยาอัดเจือปนหรือไม่ซึ่งมวนด้วยกระดาษหรือวัตถุที่ทําขึ้นใช้แทน กระดาษ หรือใบยาแห้งหรือยาอัดรูปแบบอย่างใด (มาตรา 159 พรบ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560)
ยาสูบเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อมีผู้รับอันตรายจากการเสพมาก ๆ จะทำให้รัฐสิ้นเปลืองค่ารักษา ค่าดูแล และค่าสาธารณะสุข ยาสูบจึงเป็นกิจการผูกขาดของรัฐ (มาตรา 164)
การนำเข้าจึงต้องได้รับอนุญาตจากรัฐและปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อน ยกเว้นการนำเข้าที่มิใช่การค้า เช่น ตัวอย่างสินค้า ของใช้ส่วนตัว เป็นต้น (มาตรา 166)
การขออนุญาตนำเข้าไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนเป็นผู้จำหน่ายยาสูบก่อนและต้องเสนอตัวอย่างซองยาสูบที่ใช้เพื่อการนำเข้ามาให้ตรวจซึ่งต้องมีข้อความและฉลาก ดังนี้
1. ต้องระบุชื่อบริษัทและประเทศผู้ผลิต
2. ต้องระบุชื่อภูมิลำเนา หรือสถานประกอบการค้าของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นภาษาไทย
3. ต้องไม่มีข้อความ หรือคำที่ทำให้เข้าใจว่า บุหรี่ปลอดภัย หรือมีระดับสารพิษน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไปเช่น คำว่า mild light, ultra low, low tar, เป็นต้น
4. ต้องมีข้อความหรือคำเตือนถึงพิษภัยจำนวน 5 แบบในอัตรา 1 แบบต่อ 50 ภาชนะที่บรรจุคละกัน ดังนี้
แบบที่ 1 รูปภาพประกอบคำเตือน “สูบแล้วปากเหม็นกลิ่นบุหรี่”
แบบที่ 2 รูปภาพประกอบคำเตือน “ควันบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด”
แบบที่ 3 รูปภาพประกอบคำเตือน “ควันบุหรี่นำชีวิตสู่ความตาย”
แบบที่ 4 รูปภาพประกอบคำเตือน “สูบแล้วเป็นมะเร็งช่องปาก”
แบบที่ 5 รูปภาพประกอบคำเตือน “สูบแล้วเป็นมะเร็งกล่องเสียง”
5. ต้องชำระภาษีในพิกัดตอนที่ 2401 – 2403 อัตราอากร 60% ภาษีสรรพสามิต 40% หรือ 1.20 บาทต่อมวน ภาษีมหาดไทย 10% ของภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ยาสูบเป็นกิจการผูกขาด ภาษีสูง การนำเข้าเพื่อจำหน่ายอย่างถูกต้องก็ดูยุ่งยาก แต่คนมีรสนิยมเสพยาสูบจากต่างประเทศมีมากจึงทำให้การลักลอบนำเข้ามีมากเป็นเงาตามตัว
ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2564 มีการจับกุมรวมทั้งสิ้น 42,578 คดี ของกลาง 21,746,230 ซอง อัตราเฉลี่ยปีละ 8,660 คดี ของกลางปีละ 4,422,962 ซอง (คณะอนุกรรมการกํากับดูแลบริหาร การป้องกันและปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย)
4,422,962 ซองเป็นของกลางที่ถูกจับกุม หรืออัตราเฉลี่ยวันละ 12,118 ซองที่ถูกจับกุมนั้นมาก นำมาจำหน่ายไม่ได้ ยาสูบที่เห็นจำหน่ายอย่างผิดกฎหมายในท้องตลาดจึงอนุมานได้ว่าเป็นส่วนที่ลักลอบนำเข้า ไม่ถูกจับกุม และน่าจะมีจำนวนมหาศาลต่อปี
การลับลอบนำเข้ามีมาก การนำเข้าอย่างถูกต้องก็วุ่นวาย คนมีรสนิยมและมีความรู้จึงมักนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อเสพเอง แต่ต้องไม่ใช่การค้าซึ่งส่วนใหญ่จะทำกัน 2 ทางคือ
ก. นำเข้าแบบติดตัวผู้โดยสาร กฎหมายผ่อนผันให้นำบุหรี่เข้าได้ไม่เกิน 200 มวน หรือซิการ์ หรือยาเส้น อย่างละ 250 กรัม หรือหลายชนิดรวมกันมีน้ำหนักทั้งหมด 250 กรัม และถือเป็นของใช้ส่วนตัวที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร
ข. นำเข้าแบบของใช้ส่วนตัวทางไปรษณีย์ หรือการขนส่งเร่งด่วน (Express Consignment) หากปริมาณไม่มาก ศุลกากรก็อาจปล่อยโดยไม่เก็บภาษี หรืออาจเก็บภาษีก็ได้
ศุลกากรมีระบบการตรวจสอบย้อนหลัง (Post Audit) แถมยังพัฒนาระบบ AI (Artificial Intelligence) ขึ้นมาเรื่อย ๆ หากพบภายหลังว่าเป็นการทะยอยนำเข้าครั้งละไม่มาก แต่หลายครั้งรวมกันแล้วมากก็อาจถูกตีความว่าเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่าย แบบนี้ผู้นำเข้าก็ต้องเดือดร้อน
การทะยอยนำเข้าจึงมักใช้ชื่อคนหลายชื่อเพื่อป้องกันซึ่งก็ต้องระวัง AI จะพัฒนาไปถึงไหน
ส่วน ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ เป็นของห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามให้บริการ และห้ามสูบในที่สาธารณะ เป็นคนละประเภทกับ ‘ยาสูบ’ ภายใต้กฎหมายที่ต่างกัน และไม่เกี่ยวพันกัน
ในเมื่อห้ามนำเข้า คนที่ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าย่อมเป็นการครอบครองของที่กฎหมายห้ามจึงมีความผิด ส่วนคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าตามถนนก็มีความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ และอาจเป็นเหตุให้ถูกรีดไถ่ตามข่าว ‘ดาราสาวไต้หวัน’ ทั้งนี้รวมถึงการสูบในที่ส่วนตัวที่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่นซึ่งผู้เดือดร้อนสามารถแจ้งความได้
การนำเข้า ‘ยาสูบ’ เพื่อจำหน่ายกับการนำเข้าเพื่อใช้ส่วนบุคคล เบื้องต้นจึงแตกต่างกัน ยังมีรายละเอียดในทางกฎหมาย ผู้ประสงค์นำเข้าจึงควรเข้าใจกฎหมาย และควรพิจารณาวิธีการนำเข้าให้เหมาะสม.
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
SNP Group
อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/
Date Published : February 7, 2023
Logistics
ไฮฟองตั้งเป้าศูนย์กลางโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
ไฮฟอง (Hai Phong) ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบ
หลายประการในฐานะศูนย์กลางการขนส่งสำหรับการจราจรทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ ทางทะเล ทางบก ทางอากาศ และทางรถไฟ
วัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาภาคบริการของไฮฟอง ในปี 2573 เพื่อพัฒนาการให้บริการทุกมิติของเมืองและโลจิสติกส์
โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี 2588
เมืองไฮฟองกำลังศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ซึ่งเป็นการก้าวหน้าในการใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบที่ดีใน
ภาคโลจิสติกส์ของไฮฟอง เพื่อพัฒนาบริการโลจิสติกส์ ไฮฟองจำเป็นต้องส่งเสริมการปฏิรูปการบริหารและการเปลี่ยนแปลงทาง
ดิจิทัลในด้านท่าเรือและโลจิสติกส์ ซึ่งจะส่งเสริมในการดึงดูดการลงทุนและการส่งเสริมการค้า และสร้างห่วงโซ่บริการโลจิสติกส์ที่มี
มูลค่าเพิ่มสูงและมีความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาค
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระบุว่า ไฮฟองมีข้อได้เปรียบอย่างมากในด้านโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ ท่าเรือประมง
คลังสินค้า สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรม และกิจกรรมการนำเข้าและส่งออกสินค้า ในขณะเดียวกัน นิคมอุตสาหกรรมบางแห่ง
(Industrial Parks: IPs) ได้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของบริการโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน
ในช่วงที่ผ่านมา ไฮฟองได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือให้สอดคล้องกับแนวโน้มการ
พัฒนาของการขนส่งทางเรือในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ระบบการขนส่งได้รับการปรับปรุงมากขึ้น
อัตราการเติบโตของบริการโลจิสติกส์ของไฮฟองอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20-23 ต่อปี และคิดเป็นร้อยละ 13-15 ของ GRDP
ของเมือง ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือในเมืองไฮฟองเติบโตขึ้นอย่างมาก ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่ในระบบท่าเรือของประเทศ
ข้อคิดเห็น สคต.
เมืองไฮฟองเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ โดยการผลิตและธุรกิจฟื้นตัวและเติบโตอีกครั้ง การพัฒนา
ที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรมสนับสนุนและกิจกรรมอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ภาคการขนส่งและอุตสาหกรรม
โลจิสติกส์ของเวียดนามขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งได้สร้างโอกาสใหม่ให้กับอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเมืองไฮฟองมากขึ้น
แม้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ดี แต่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เวียดนามยังมีข้อจำกัดมากมาย ต้นทุนบริการ
ด้านโลจิสติกส์ในเวียดนามยังค่อนข้างสูง นอกจากนั้น บริษัทโลจิสติกส์ภายในประเทศ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กด้วยคลังสินค้าแบบดั้งเดิม
ขาดโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และเงินทุน ดังนั้น ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ในเวียดนามจึงยังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง
กับบริษัทต่างชาติ ซึ่งเป็นโอกาสการลงทุนธุรกิจโลจิสติกส์ในเวียดนามของนักลงทุนไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการ
คลังสินค้าและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/963640/963640.pdf&title=963640&cate=413&d=0
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!